การประเมิน PA คืออะไร และนำมาใช้อย่างไรกับการประเมินข้าราชการครู
หลักจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูใหม่ ซึ่งมีการนำการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Agreement : PA ) มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมิน ทำให้รูปแบบการประเมินที่เคยเป็นมานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ข้าราชการครูทั้งระบบจะต้องตื่นตัวและทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Agreement : PA ) คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุพันธกิจและความสำเร็จขององค์กร โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินและกิจกรรมตัวชี้วัดต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า สอดคล้องกับตำแหน่งและภาระงาน รวมถึงจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นๆโดยมีจุดมุ่งหมายในการประเมินเพื่อ 1. วัดศักยภาพของพนักงาน ในภาระงานที่ได้ปฏิบัติว่า ดีหรือต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ ซึ่งจะช่วยทำให้ทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของพนักงานแต่ละคน 2. ช่วยในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้าย รวมถึงพิจาณาปรับฐานเงินเดือนและให้เงินพิเศษต่าง ๆ กับพนักงานได้ 3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน เพื่อการประเมินจะช่วยให้พนักงานทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง ซึ่งทำให้พนักงานทราบถึงจุดที่ควรส่งเสริม แก้ไข หรือพัฒนาได้ 4. ช่วยให้หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาทราบถึงจุดเด่นของพนักงานแต่ละคน ทำให้สามารถมอบหมายงานได้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคนได้ 5. เป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ การประเมินรูปแบบนี้ จะช่วยทำให้ทราบศักยภาพของพนักงานแต่ละคนว่า มีศักยภาพในภาระงานที่ได้ปฏิบัติหรือไม่ อะไรที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อย รวมถึงสามารถพิจารณาได้ว่า พนักงานคนนั้นมีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาตัวเองของพนักงานแล้ว และเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าอีกด้วย ทำให้การประเมินผลการปฎิบัติงาน (PA) นี้ จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรได้อย่างดี สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานที่นำมาใช้ในการประเมินวิทยฐานะใหม่ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ซึ่งเรียกว่า วPA นั้น จะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาเกี่ยวกับเงินเดือนและการขอวิทยฐานะ คือ ใช้ในการขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอเลื่อนขั้นเงินเดือน และการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ โดยมีองค์ประกอบในการพัฒนางาน 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ซึ่งแบ่งเป็น 1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การปฏิบัตงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 2. คุณภาพการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ข้าราชการครูในสังกัดของ ก.ศ.ค. จะต้องยื่นข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งผู้อำนวยการจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับประเมิน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย 1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่เป็นประธานกรรมการ 2. กรรมการจำนวน 2 คน โดยอาจแต่งตั้งจากศึกษานิเทศก์ไม่ต่ำกว่า คศ.3 อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ ครูจากโรงเรียนอื่นไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวิติจากภายนอกโรงเรียนที่มีความเหมาะสมก็ได้ ซึ่งการพิจารณานั้น จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ด้าน คือด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยจะพิจารณาจาก แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน บันทึกวิดีโอการสอน และ บันทึกวิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งคศ. 2 นั้นจะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วนคศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอน โดยส่งเป็น บันทึกดิจิทัล ภาพถ่าย หรือ เอกสาร ซึ่ง คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วน คศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70 สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สามารถยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นผู้ดูแลพร้อมหลักฐาน คือ 1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน และแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF 2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์ 3. บันทึกวิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ 4. บันทึกวิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นครูผู้สอน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เอกสารคู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องการประเมินผลการปฏิบัติงาน (PA) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษา ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ครูผู้สอน โดยเฉพาะที่เป็นข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และรวมถึงข้าราชการครูในสังกัดอื่น ๆ ที่ต้นสังกัดอาจจะพิจารณาใช
หลักจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูใหม่ ซึ่งมีการนำการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Agreement : PA ) มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมิน ทำให้รูปแบบการประเมินที่เคยเป็นมานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ข้าราชการครูทั้งระบบจะต้องตื่นตัวและทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Agreement : PA ) คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุพันธกิจและความสำเร็จขององค์กร โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินและกิจกรรมตัวชี้วัดต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า สอดคล้องกับตำแหน่งและภาระงาน รวมถึงจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นๆโดยมีจุดมุ่งหมายในการประเมินเพื่อ
1. วัดศักยภาพของพนักงาน ในภาระงานที่ได้ปฏิบัติว่า ดีหรือต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ ซึ่งจะช่วยทำให้ทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของพนักงานแต่ละคน
2. ช่วยในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้าย รวมถึงพิจาณาปรับฐานเงินเดือนและให้เงินพิเศษต่าง ๆ กับพนักงานได้
3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน เพื่อการประเมินจะช่วยให้พนักงานทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง ซึ่งทำให้พนักงานทราบถึงจุดที่ควรส่งเสริม แก้ไข หรือพัฒนาได้
4. ช่วยให้หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาทราบถึงจุดเด่นของพนักงานแต่ละคน ทำให้สามารถมอบหมายงานได้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคนได้
5. เป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้
การประเมินรูปแบบนี้ จะช่วยทำให้ทราบศักยภาพของพนักงานแต่ละคนว่า มีศักยภาพในภาระงานที่ได้ปฏิบัติหรือไม่ อะไรที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อย รวมถึงสามารถพิจารณาได้ว่า พนักงานคนนั้นมีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาตัวเองของพนักงานแล้ว และเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าอีกด้วย ทำให้การประเมินผลการปฎิบัติงาน (PA) นี้ จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรได้อย่างดี
สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานที่นำมาใช้ในการประเมินวิทยฐานะใหม่ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ซึ่งเรียกว่า วPA นั้น จะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาเกี่ยวกับเงินเดือนและการขอวิทยฐานะ คือ ใช้ในการขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอเลื่อนขั้นเงินเดือน และการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ โดยมีองค์ประกอบในการพัฒนางาน 2 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ซึ่งแบ่งเป็น
1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การปฏิบัตงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
2. คุณภาพการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ข้าราชการครูในสังกัดของ ก.ศ.ค. จะต้องยื่นข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งผู้อำนวยการจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับประเมิน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่เป็นประธานกรรมการ
2. กรรมการจำนวน 2 คน โดยอาจแต่งตั้งจากศึกษานิเทศก์ไม่ต่ำกว่า คศ.3 อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ ครูจากโรงเรียนอื่นไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวิติจากภายนอกโรงเรียนที่มีความเหมาะสมก็ได้
ซึ่งการพิจารณานั้น จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยจะพิจารณาจาก แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน บันทึกวิดีโอการสอน และ บันทึกวิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งคศ. 2 นั้นจะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วนคศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอน โดยส่งเป็น บันทึกดิจิทัล ภาพถ่าย หรือ เอกสาร ซึ่ง คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วน คศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สามารถยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นผู้ดูแลพร้อมหลักฐาน คือ
1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน และแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF
2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์
3. บันทึกวิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
4. บันทึกวิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นครูผู้สอน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เอกสารคู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (PA) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษา ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ครูผู้สอน โดยเฉพาะที่เป็นข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และรวมถึงข้าราชการครูในสังกัดอื่น ๆ ที่ต้นสังกัดอาจจะพิจารณาใช้เกณฑ์เหล่านี้ในภายหลัง จะต้องทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์เหล่านี้เพื่อให้ปฏิบัติตามได้ถูกต้องและส่งผลดีต้องการปฏิบัติงาน
เรียบเรียงโดย : นรรัชต์ ฝันเชียร
การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) หนึ่งในเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ประสบผลสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564
สรุปเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแบบใหม่ วPA ตำแหน่งครู ฉบับอ่านเข้าใจง่าย. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564
คู่มือหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วPA (ว9/2564) . สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?