"ครูตั้น"ลั่นถึงเวลา ต้องปรับศธ.ครั้งใหญ่ ทั้งองคาพยพ เพื่อสร้าง รร.ให้มีคุณภาพเท่ากันทั้งปท.ไม่เกินอีก 3ปีข้างหน้า
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมความก้าวหน้าการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพชุมชน และการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมทั้งสองคณะ เป็นการหารือถึงเรื่องการติดตามแผนยกระดับโรงเรียนคุณภาพชุมชน ซึ่งจะแตกต่างจากโครงการในอดีตที่ผ่านมา เช่น โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล หรือ อำเภอ เป็นต้น แต่โครงการเหล่านี้ก็ยังมีการขับเคลื่อนอยู่เพียงแต่ในปัจจุบัน เรามีความจำเป็นต้องนำบริบทของแต่ละจังหวัดมาศึกษา เพื่อที่จะทำให้การยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของจังหวัดแต่ละจังหวัดผ่านระบบการศึกษาจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใด และขณะนี้ ศธ.ได้จัดทำโมเดลของจังหวัดภูเก็ตและได้มีการลงรายละเอียดการขับเคลื่อนงานในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับหลายๆ เรื่องภายใน ศธ. อย่างเรื่องที่ ศธ.มีโรงเรียนจำนวนมาก แต่คุณภาพไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าหากเรามีความเข้าใจที่ตรงกันและร่วมกันในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เรื่องนี้จะสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างแน่นอน ทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างแท้จริงนายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนยังได้รับฟังข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย การประสานงานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งตนได้มอบนโยบายให้ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องต้องฟันฝ่าไปให้ได้ ผู้ตรวจราชการที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ในช่วงที่ผ่าน จะเป็นกลไกสำคัญร่วมกับผู้บริหารของ ศธ.ในการขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะเรื่องนี้ตนถือเป็นประเด็นสำคัญที่ ศธ.จะต้องตกผลึกให้ได้ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายกรัฐมนตรี และการจัดทำงบประมาณ ปี 2565-2567 ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าจะใช้ระยะประมาณเวลา 3 ปี ในการดำเนินการ แต่หากได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็อาจจะใช้ระยะเวลาสั้นลงได้ แต่เนื่องจากครั้งนี้ ถือเป็นการปรับองคาพยพของ ศธ.ครั้งใหญ่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้ง การเตรียมความพร้อมในหลายเรื่องเราต้องมองดูบุคลากร หรือ หน่วยงานที่จะเข้ามาช่วยเสริมด้วย ว่ามีเพียงพอหรือไม่และเข้าใจเรื่องการศึกษาทิศทางเดียวกับ ศธ.ไหม“ทั้งนี้ผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะทำให้การจัดสรรงบประมาณและการใช้งบฯ แต่ละปี จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญ คือ ผลพวกจากงบฯ ที่รัฐบาลจัดสรรให้จะไปถึงตัวนักเรียนในเรื่องของคุณภาพการศึกษาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการต่างๆ หรือ การเสริมทักษะอาชีพที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ และโมเดลนี้จะสามารถเห็นถึงภาพการลงทุน และผลตอบแทนในการลงทุน ว่าในอนาคตภาครัฐจะสามารถประหยัดงบประมาณไปได้มากน้อยเพียงใด เช่น แผนเรื่องสวัสดิการอาหารกลางวัน หากมีการลดจำนวนโรงเรียนลงก็จะสามารถทำให้ลดการใช้งบประมาณได้พอสมควร อีกทั้งประสิทธิภาพในการจัดทำอาหารก็จะมีความคล่องตัวมากขึ้น หรือ เงินอุดหนุนรายหัวที่ปัจจุบันมีการกระจายอยู่ ก็จะสามารถรวมเป็นกลุ่มและส่งผลให้การบริหารจัดการทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น”รมว.ศธ.กล่าวขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 16 ธันวาคม 2563 5716
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมความก้าวหน้าการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพชุมชน และการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมทั้งสองคณะ เป็นการหารือถึงเรื่องการติดตามแผนยกระดับโรงเรียนคุณภาพชุมชน ซึ่งจะแตกต่างจากโครงการในอดีตที่ผ่านมา เช่น โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล หรือ อำเภอ เป็นต้น แต่โครงการเหล่านี้ก็ยังมีการขับเคลื่อนอยู่เพียงแต่ในปัจจุบัน เรามีความจำเป็นต้องนำบริบทของแต่ละจังหวัดมาศึกษา เพื่อที่จะทำให้การยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของจังหวัดแต่ละจังหวัดผ่านระบบการศึกษาจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใด และขณะนี้ ศธ.ได้จัดทำโมเดลของจังหวัดภูเก็ตและได้มีการลงรายละเอียดการขับเคลื่อนงานในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับหลายๆ เรื่องภายใน ศธ. อย่างเรื่องที่ ศธ.มีโรงเรียนจำนวนมาก แต่คุณภาพไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าหากเรามีความเข้าใจที่ตรงกันและร่วมกันในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เรื่องนี้จะสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างแน่นอน ทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างแท้จริง
นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนยังได้รับฟังข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย การประสานงานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งตนได้มอบนโยบายให้ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องต้องฟันฝ่าไปให้ได้ ผู้ตรวจราชการที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ในช่วงที่ผ่าน จะเป็นกลไกสำคัญร่วมกับผู้บริหารของ ศธ.ในการขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะเรื่องนี้ตนถือเป็นประเด็นสำคัญที่ ศธ.จะต้องตกผลึกให้ได้ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายกรัฐมนตรี และการจัดทำงบประมาณ ปี 2565-2567 ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าจะใช้ระยะประมาณเวลา 3 ปี ในการดำเนินการ แต่หากได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็อาจจะใช้ระยะเวลาสั้นลงได้ แต่เนื่องจากครั้งนี้ ถือเป็นการปรับองคาพยพของ ศธ.ครั้งใหญ่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้ง การเตรียมความพร้อมในหลายเรื่องเราต้องมองดูบุคลากร หรือ หน่วยงานที่จะเข้ามาช่วยเสริมด้วย ว่ามีเพียงพอหรือไม่และเข้าใจเรื่องการศึกษาทิศทางเดียวกับ ศธ.ไหม
“ทั้งนี้ผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะทำให้การจัดสรรงบประมาณและการใช้งบฯ แต่ละปี จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญ คือ ผลพวกจากงบฯ ที่รัฐบาลจัดสรรให้จะไปถึงตัวนักเรียนในเรื่องของคุณภาพการศึกษาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการต่างๆ หรือ การเสริมทักษะอาชีพที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ และโมเดลนี้จะสามารถเห็นถึงภาพการลงทุน และผลตอบแทนในการลงทุน ว่าในอนาคตภาครัฐจะสามารถประหยัดงบประมาณไปได้มากน้อยเพียงใด เช่น แผนเรื่องสวัสดิการอาหารกลางวัน หากมีการลดจำนวนโรงเรียนลงก็จะสามารถทำให้ลดการใช้งบประมาณได้พอสมควร อีกทั้งประสิทธิภาพในการจัดทำอาหารก็จะมีความคล่องตัวมากขึ้น หรือ เงินอุดหนุนรายหัวที่ปัจจุบันมีการกระจายอยู่ ก็จะสามารถรวมเป็นกลุ่มและส่งผลให้การบริหารจัดการทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น”รมว.ศธ.กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 16 ธันวาคม 2563
5716
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?