นักวิชาการหนุนศธ. หลังผุดไอเดียงานบุคคล ใช้อำนาจคู่ ‘ผอ.สพท.-บอร์ด’ เพื่อตรวจสอบ จี้ ‘หมอธี’ ยุบศธภ.

นักวิชาการหนุนศธ. หลังผุดไอเดียงานบุคคล ใช้อำนาจคู่ ‘ผอ.สพท.-บอร์ด’ เพื่อตรวจสอบ จี้ ‘หมอธี’ ยุบศธภ.ความคืบหน้ากรณีนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะเสนอนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้เพื่อแก้ไขคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่ 19/2560 ในข้อที่ 13 ที่กำหนดให้อำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดและกรุงเทพฯ ตามมาตรา 53(3)และ(4)แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นของศึกษาธิการ(ศธจ.)โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) จากเดิมเป็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ผอ.สพท.)และผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.ร.ร.)โดยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ให้รายละเอียดว่า จะคืนอำนาจตามมาตรา 53(3)และ(4) ให้เป็นของผอ.สพท.และผู้อำนวยการโรงเรียน โดยความเห็นชอบของบอร์ดการบริหารงาน ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน นอกจากนี้จะมีบอร์ดอีกชุดทำหน้าที่บูรณาการการศึกษาต่างหาก มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน เพื่อให้งานบริหารการศึกษาขับเคลื่อนไปได้นั้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า แนวทางการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผอ.สพท.และศธจ. ของศธ. โดยการคืนการใช้อำนาจในการบรรจุและแต่งตั้ง ตามมาตรา 53(3)และ(4)ให้ผอ.สพท.)และผู้อำนวยการโรงเรียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานนั้น ตนเห็นด้วยและตรงกับแนวคิดของตนที่เห็นว่าควรมีคณะกรรมการร่วมระหว่าง 2 ฝ่ายในการพิจารณาเห็นชอบแล้วคืนการใช้อำนาจตามมาตรา 53(3)และ(4)แก่ผอ.สพท.และผอ.โรงเรียนไป เพราะต้องเข้าใจก่อนว่าเจตนารมณ์ของการเกิดคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.)แทนคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่ฯ ก็เพื่อต้องการให้เกิดการตรวจสอบ เพราะสมัยมีอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ มีปัญหาเรื่องทุจริต เรียกรับผลประโยชน์ จึงต้องยุบไป แต่ทั้งนี้คณะกรรมการร่วมที่จะจัดตั้งใหม่ดังกล่าว ไม่ควรใหญ่เทอะทะ เพราะไม่เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนและเด็ก แถมเพิ่มบุคลากร เพิ่มซี เพิ่มงบประมาณ ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่นพ.ธีระเกียรติ ควรต้องทบทวนลดตำแหน่งซึ่งนพ.ธีระเกียรติเคยพูดเองว่าตำแหน่งศึกษาธิการภาค(ศธภ.) ไม่มีงาน ดังนั้นจึงควรต้องยุบศธภ.“1 ปีที่ผ่านมาชัดเจนเกิดปัญหาความแตกแยก ขัดแย้ง เกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจ ความขัดแย้งระหว่างผอ.สพท.และศธจ.ในครั้งนี้ สะท้อนอย่างหนึ่งว่าปัญหาอุปสรรคของการศึกษาไทยที่ไม่ไปไหนเพราะอะไร ก็เพราะมัวแต่มาแย่งอำนาจการบริหารงานบุคคลกัน เนื่องจากมีผลประโยชน์ ผมยังไม่เห็นใครมาแย่งทำเรื่องแผน ยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษา คุณภาพการศึกษา หลักสูตร ทั้งที่เรื่องการศึกษามีปัญหาหมักหมมมานาน” นายสมพงษ์ กล่าวนายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่วิเคราะห์การจัดการศึกษาในระดับชุมชน และโรงเรียน ใน 16 จังหวัด ทั่วประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับศธจ. และสพท.ในจังหวัดต่าง ๆ พบข้อมูลพบว่า งานของศธจ. และสพท.มีความซ้ำซ้อน ทั้งที่การปฏิรูปการศึกษาของศธ.ในภูมิภาค ตั้งกศจ. ศธภ. และศธจ. ยุบอ.ก.ค.ศ.เพราะต้องการแก้ปัญหาการวิ่งเต้น โยกย้าย หรือระบบครูกินครู เพื่อให้เกิดการตรวจสอบการทำงาน แต่เมื่อดำเนินการมาแล้ว กลับพบว่าทำให้เกิดปัญหามากขึ้น ศธจ. ศธภ. เป็นระบบการบริหารงานในรูปแบบซิงเกิลคอมมานด์ ผ่านปลัดศธ. เป็นระบบของทหาร แต่พอมาใช้กับการศึกษา เห็นชัดเจนว่าทำให้เกิดความแตกแยก ระบบราชการจากส่วนกลางกระจายลงสู่ภูมิภาค เกิดผลเสียกับผู้อำนวยการโรงเรียน และครู มีการเพิ่มจำนวนข้าราชการระดับ 8 ระดับ 9 และ10 คิดเป็น 30-35% ของจำนวนข้าราชการที่มีอยู่เดิม โดยจากการวิเคราะห์ พบว่าการเพิ่มจำนวนข้าราชการดังกล่าว ทำให้สัดส่วนงบประมาณ ถูกนำไปใช้ในเรื่องค่าตอบแทนบุคลากรเพิ่มขึ้น จากเดิม ศธ.ใช้งบค่าบุคคลากรประมาณ 70% ของงบที่ได้รับ เป็น 80% มีผลทำให้เงินที่จะลงสู่โรงเรียนและตัวเด็ก เหลือเพียงแค่เศษเงิน เพราะถูกดึงไปเป็นค่าตอบแทน เงินเดือน เงินวิทยฐานะ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบกับอัตราครู โดยล่าสุดพบว่า มีการเกลี่ยอัตราเกษียณของครู จำนวน 1,400 อัตรา ไว้ให้สพท.และศธจ. แทนที่จะนำมาใช้ในการบรรจุครูใหม่ แก้ปัญหาขาดแคลนครู นอกจากนี้ระบบดังกล่าว ยังทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า เพิ่มขึ้นตอนการเดินเอกสาร รอการอนุมัติเพราะต้องผ่านศธจ .ไปกศจ. ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ไม่เกิดการประสานงานหรือบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างที่คาดหวัง ที่สำคัญ ยังพบว่า กศจ. ใช้เวลาเกือบ 90% แต่เรืองงานบุคคล ไม่สนใจประชุมพัฒนาทางวิชาการ หรือปรับหลักสูตรเพื่อพัฒนาการศึกษาขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก มติชนออนไลน์ วันที่ 7 ธันวาคม 2560 - 18:45 น. 3255

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  4
นักวิชาการหนุนศธ. หลังผุดไอเดียงานบุคคล ใช้อำนาจคู่ ‘ผอ.สพท.-บอร์ด’ เพื่อตรวจสอบ จี้ ‘หมอธี’ ยุบศธภ.

นักวิชาการหนุนศธ. หลังผุดไอเดียงานบุคคล ใช้อำนาจคู่ ‘ผอ.สพท.-บอร์ด’ เพื่อตรวจสอบ จี้ ‘หมอธี’ ยุบศธภ.


ความคืบหน้ากรณีนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะเสนอนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้เพื่อแก้ไขคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่ 19/2560 ในข้อที่ 13 ที่กำหนดให้อำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดและกรุงเทพฯ ตามมาตรา 53(3)และ(4)แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นของศึกษาธิการ(ศธจ.)โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) จากเดิมเป็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ผอ.สพท.)และผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.ร.ร.)โดยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ให้รายละเอียดว่า จะคืนอำนาจตามมาตรา 53(3)และ(4) ให้เป็นของผอ.สพท.และผู้อำนวยการโรงเรียน โดยความเห็นชอบของบอร์ดการบริหารงาน ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน นอกจากนี้จะมีบอร์ดอีกชุดทำหน้าที่บูรณาการการศึกษาต่างหาก มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน เพื่อให้งานบริหารการศึกษาขับเคลื่อนไปได้นั้น

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า แนวทางการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผอ.สพท.และศธจ. ของศธ. โดยการคืนการใช้อำนาจในการบรรจุและแต่งตั้ง ตามมาตรา 53(3)และ(4)ให้ผอ.สพท.)และผู้อำนวยการโรงเรียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานนั้น ตนเห็นด้วยและตรงกับแนวคิดของตนที่เห็นว่าควรมีคณะกรรมการร่วมระหว่าง 2 ฝ่ายในการพิจารณาเห็นชอบแล้วคืนการใช้อำนาจตามมาตรา 53(3)และ(4)แก่ผอ.สพท.และผอ.โรงเรียนไป เพราะต้องเข้าใจก่อนว่าเจตนารมณ์ของการเกิดคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.)แทนคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่ฯ ก็เพื่อต้องการให้เกิดการตรวจสอบ เพราะสมัยมีอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ มีปัญหาเรื่องทุจริต เรียกรับผลประโยชน์ จึงต้องยุบไป แต่ทั้งนี้คณะกรรมการร่วมที่จะจัดตั้งใหม่ดังกล่าว ไม่ควรใหญ่เทอะทะ เพราะไม่เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนและเด็ก แถมเพิ่มบุคลากร เพิ่มซี เพิ่มงบประมาณ ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่นพ.ธีระเกียรติ ควรต้องทบทวนลดตำแหน่งซึ่งนพ.ธีระเกียรติเคยพูดเองว่าตำแหน่งศึกษาธิการภาค(ศธภ.) ไม่มีงาน ดังนั้นจึงควรต้องยุบศธภ.

“1 ปีที่ผ่านมาชัดเจนเกิดปัญหาความแตกแยก ขัดแย้ง เกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจ ความขัดแย้งระหว่างผอ.สพท.และศธจ.ในครั้งนี้ สะท้อนอย่างหนึ่งว่าปัญหาอุปสรรคของการศึกษาไทยที่ไม่ไปไหนเพราะอะไร ก็เพราะมัวแต่มาแย่งอำนาจการบริหารงานบุคคลกัน เนื่องจากมีผลประโยชน์ ผมยังไม่เห็นใครมาแย่งทำเรื่องแผน ยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษา คุณภาพการศึกษา หลักสูตร ทั้งที่เรื่องการศึกษามีปัญหาหมักหมมมานาน” นายสมพงษ์ กล่าว

นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่วิเคราะห์การจัดการศึกษาในระดับชุมชน และโรงเรียน ใน 16 จังหวัด ทั่วประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับศธจ. และสพท.ในจังหวัดต่าง ๆ พบข้อมูลพบว่า งานของศธจ. และสพท.มีความซ้ำซ้อน ทั้งที่การปฏิรูปการศึกษาของศธ.ในภูมิภาค ตั้งกศจ. ศธภ. และศธจ. ยุบอ.ก.ค.ศ.เพราะต้องการแก้ปัญหาการวิ่งเต้น โยกย้าย หรือระบบครูกินครู เพื่อให้เกิดการตรวจสอบการทำงาน แต่เมื่อดำเนินการมาแล้ว กลับพบว่าทำให้เกิดปัญหามากขึ้น ศธจ. ศธภ. เป็นระบบการบริหารงานในรูปแบบซิงเกิลคอมมานด์ ผ่านปลัดศธ. เป็นระบบของทหาร แต่พอมาใช้กับการศึกษา เห็นชัดเจนว่าทำให้เกิดความแตกแยก ระบบราชการจากส่วนกลางกระจายลงสู่ภูมิภาค เกิดผลเสียกับผู้อำนวยการโรงเรียน และครู มีการเพิ่มจำนวนข้าราชการระดับ 8 ระดับ 9 และ10 คิดเป็น 30-35% ของจำนวนข้าราชการที่มีอยู่เดิม โดยจากการวิเคราะห์ พบว่าการเพิ่มจำนวนข้าราชการดังกล่าว ทำให้สัดส่วนงบประมาณ ถูกนำไปใช้ในเรื่องค่าตอบแทนบุคลากรเพิ่มขึ้น จากเดิม ศธ.ใช้งบค่าบุคคลากรประมาณ 70% ของงบที่ได้รับ เป็น 80% มีผลทำให้เงินที่จะลงสู่โรงเรียนและตัวเด็ก เหลือเพียงแค่เศษเงิน เพราะถูกดึงไปเป็นค่าตอบแทน เงินเดือน เงินวิทยฐานะ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบกับอัตราครู โดยล่าสุดพบว่า มีการเกลี่ยอัตราเกษียณของครู จำนวน 1,400 อัตรา ไว้ให้สพท.และศธจ. แทนที่จะนำมาใช้ในการบรรจุครูใหม่ แก้ปัญหาขาดแคลนครู นอกจากนี้ระบบดังกล่าว ยังทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า เพิ่มขึ้นตอนการเดินเอกสาร รอการอนุมัติเพราะต้องผ่านศธจ .ไปกศจ. ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ไม่เกิดการประสานงานหรือบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างที่คาดหวัง ที่สำคัญ ยังพบว่า กศจ. ใช้เวลาเกือบ 90% แต่เรืองงานบุคคล ไม่สนใจประชุมพัฒนาทางวิชาการ หรือปรับหลักสูตรเพื่อพัฒนาการศึกษา



ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก มติชนออนไลน์ วันที่ 7 ธันวาคม 2560 - 18:45 น.
3255

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow