9 ประโยชน์ของการเล่นเกม ที่คนเล่นเกมเท่านั้นถึงจะเข้าใจ
เมื่อพูดถึงการเล่นเกมแล้ว คำว่า “ปัญหาเด็กติดเกม” มักจะเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นปัญหาในสังคมไทยจริงๆ เพราะมีวัยรุ่นไทยกว่า 2.7 ล้านคนที่เข้าข่ายติดเกมอย่างจริงจัง แต่เราเชื่อว่าเกมเป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่หากเล่นให้เป็นประโยชน์มันก็จะเป็นประโยชน์ แต่หากเล่นให้เป็นโทษก็สามารถเป็นโทษได้เช่นกัน และพ่อแม่ในฐานะบุคคลที่ใกล้ชิดที่สุด ก็ควรจะเป็นคนที่คอยสอดส่องดูแลบุตรหลานให้เล่นเกมได้อย่างถูกวิธีเมื่อถามว่า ‘เกม คืออะไร?’ หลายคนอาจจะนึกถึงร้านเกม ร้านเน็ตที่มีเด็กวัยรุ่นอยู่รวมกันจนถึงดึกดื่น หรือวัยรุ่นอาจจะนึกถึงสังคมที่เป็นเหมือนเพื่อน ไว้แก้เครียด คลายเหงา เป็นสิ่งบันเทิงที่หากเล่นอย่างไม่แบ่งเวลาก็จะติดงอมแงมและเสียการเรียนได้ ซึ่งคำนิยามจาก th.wikipedia.org นั้น กล่าวว่า “เกม เป็นลักษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เพื่อฝึกทักษะ และเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น และในบางครั้งอาจใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้“ประโยชน์จากการเล่นเกมมีอะไรบ้าง ?“เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สอบถามและเก็บเกี่ยวมาจากคนที่เล่นเกมและจากตัวเองที่เคยเป็นเด็กติดเกมคนหนึ่งเช่นกัน”http://forum.ratemyserver.net/mid-rates/littlecubic-ro/1. ฝึกภาษาเกมออนไลน์เกมแรกๆ ที่เล่น ก็คือ Ragnarok เป็นเกมที่มีภาษาอังกฤษเยอะมาก ไม่ว่าจะ items (สิ่งของ) ต่างๆ ในเกม รวมถึงสิ่งที่ NPC (non player charecter = ตัวละครในเกมที่ไม่ใช้คนเล่น ถูกเซ็ตขึ้นมาในเกมอยู่แล้ว) พูด หรือการทำ quest (ภารกิจ) ต่างๆ ในเกม ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษ การเล่นเกมออนไลน์เลยทำให้เราต้องขวนขวายและเปิดดิก เพื่อพยายามจะเข้าใจสิ่งต่างๆ นี่เลยถือเป็นก้าวแรกที่ทำให้เราอยากรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น อื่นๆแนะนำเข้าเว็บ คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี http://www.zonammorpg.com/juegos/audition/2. ฝึกพิมพ์ไวอีกเกมที่ต้องใช้ทักษะการกดแป้นพิมพ์มากที่สุดก็คือ เกม Audition เพราะเป็นเกมที่ต้องกดเครื่องหมายลูกศรให้ทันเพื่อจะได้คะแนน แถมบางเพลงที่ยากๆ ก็ต้องกดไวมาก ทำให้การเล่นเกมนี้ฝึกให้เราสามารถพิมพ์แบบไม่ต้องมองแป้นพิมพ์ได้เลย (เรียกว่าหลับตากดก็ยังได้) http://lol.mmosite.com/news/2013-10-24/league_of_legends_pro_builds_worlds_part1_zed.shtml3. ฝึกการทำอะไรเป็นทีมเกมบางเกมสามารถเล่นได้มากกว่าหนึ่งคน รวมถึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ด้วย นี่จึงเป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม และฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ มีแนวทางที่ชัดเจน ถือเป็นการฝึกทีมเวิร์ค (Teamwork) ที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับวัยเด็กเลย แล้วรู้หรือไม่? ว่าในประเทศไทยเองก็มีแฟนเพจเจ้าหนึ่งที่มารวมตัวกันได้เพราะการเล่นเกม จนตอนนี้โด่งดังมียอดไลค์เป็นหลักล้านแล้ว 4. สร้างรายได้และอาชีพใครจะไปคิดว่าการเล่นเกมก็สามารถสร้างรายได้จนทำเป็นอาชีพได้ ตอนเด็กๆ เราเห็นพี่ชายขายเงินในเกมก็รู้สึกแปลกใจว่าเอ๊ะ เจ๋งจัง แค่เล่นเกมก็ยังทำเงินได้ แต่ในสมัยนี้เมื่อเห็นพวกคนที่แคสเกม (game casting = การเล่นเกมให้คนดู) ก็สามารถสร้างรายได้จนทำเป็นอาชีพที่มั่นคงได้เลย ตัวอย่างนักแคสเกมในไทยที่ดังๆ ก็เช่น HEARTROCKER และ คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี เป็นต้น 5. พัฒนาสมอง ฝึกไหวพริบนอกจากเกมออนไลน์ต่างๆ ที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีเกมอีกมากมายที่เป็นการฝึกไหวพริบ พัฒนาสมอง ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เกมซูโดะกุ (sudoku = เกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน) ถือเป็นเกมฝึกไหวพริบที่ถึงกับมีการแข่งขันอย่างจริงจัง อย่างตัวเราเองก็เคยร่วมแข่งซูโดกุระดับโรงเรียนเช่นกัน และรู้สึกว่าเกมนี้ฝึกให้เรามีสมาธิ รวมถึงฝึกสมองให้คิดวิธีการแก้ปัญหาได้หลายแนวทางดี 6. เป็นเหมือนคลังความรู้ที่อาจเทียบได้กับการอ่านหนังสือหลายครั้งที่ได้ความรู้จากการเล่นเกม ยกตัวอย่างเช่น เกมปังย่า (Pangya = เกมตีกอล์ฟ) หรือฟีฟ่า (Fifa = เกมฟุตบอล) เมื่อเล่นเกมเหล่านี้ก็ทำให้เราเรียนรู้วิธีการเล่นกีฬาพวกนี้ในชีวิตจริงไปด้วย เราเข้าใจการนับคะแนน เทคนิคการเล่น รวมถึงทำให้เราดูกีฬาในชีวิตจริงเป็น เวลาคุยกับผู้ชายเรื่องฟุตบอลก็คุยรู้เรื่อง (เห้ย! อันนี้ไม่เกี่ยว #แต่ก็ถือเป็นประโยชน์ได้เหมือนกันแฮะ) http://www.healthygamer.net/information/article/150377. สร้างมิตรภาพการสร้างมิตรภาพกับคนในเกมเป็นเรื่องที่ต้องระวังและผู้ปกครองควรช่วยดูแลสอดส่อง แต่สำหรับมิตรภาพกับคนที่รู้จักกันอยู่แล้วนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายมากๆ จากการเล่นเกม มีงานวิจัยกล่าวว่าหากพ่อแม่เล่นเกมกับลูกๆ จะช่วยสร้างมิตรภาพในครอบครัวในแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และลูกๆ เองก็จะรู้สึกดีที่พ่อแม่สนใจในสิ่งเดียวกับที่เขาสนใจ และจะเป็นหนทางที่ดีที่ลูกๆ จะยอมเปิดใจคุยเรื่องอื่นๆ กับพ่อแม่ด้วย “It’s cool to see my parents interested in things I’m interested in also,” https://www.ea.com/news/celebrate-the-sims-sweet-sixteen-then-and-now8. เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์อีกเกมที่ทุกคนน่าจะรู้จักและเคยเล่นกัน ก็คือ The Sims (เกมสร้างบ้านและสมมติตัวละครจริงขึ้นมาในเกม) ในเกมนี้เราทุกคนจะต้องสร้างตัวละครของตัวเอง ต้องจัดแต่งทรงผม สีผิว เสื้อผ้าที่จะใส่ รวมถึงอุปนิสัยใจคอของตัวละคร และสิ่งที่เรารักที่สุดตอนเล่นซิมส์ก็คือ การสร้างบ้าน!! ตอนนี้แหละที่เราจะใช้เงินที่กดสูตรโกงมาอย่างไม่อั้น สร้างบ้านให้สวยที่สุดเสมือนกับว่าตัวเองเป็นสถาปนิคชื่อดัง มันเป็นการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดในตอนเด็กเลย บางครั้งเราก็ถึงขั้นต้องหาตัวอย่างบ้านจริงๆ เพื่อมาสร้างบ้านในเกมด้วยซ้ำ http://apkdownloadaz.blogspot.com/2015/08/peak-brain-training-v179-unlocked.html9. ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ข้อนี้หลายคนอาจจะคิดว่า ‘หืมมม จริงหรือ?’ เราเองก็จะไม่เถียงว่าเป็นหนึ่งคนที่เคยติดเกมอย่างบ้าคลั่ง เรียกว่าแบ่งเวลาไม่ถูกเลย แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงนั้นมาได้ก็รู้สึกว่าการเล่นเกมก็เป็นการใช้เวลาได้อย่างมีประโยชน์เช่นกัน เราอ
เมื่อพูดถึงการเล่นเกมแล้ว คำว่า “ปัญหาเด็กติดเกม” มักจะเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นปัญหาในสังคมไทยจริงๆ เพราะมีวัยรุ่นไทยกว่า 2.7 ล้านคนที่เข้าข่ายติดเกมอย่างจริงจัง แต่เราเชื่อว่าเกมเป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่หากเล่นให้เป็นประโยชน์มันก็จะเป็นประโยชน์ แต่หากเล่นให้เป็นโทษก็สามารถเป็นโทษได้เช่นกัน และพ่อแม่ในฐานะบุคคลที่ใกล้ชิดที่สุด ก็ควรจะเป็นคนที่คอยสอดส่องดูแลบุตรหลานให้เล่นเกมได้อย่างถูกวิธี
เมื่อถามว่า ‘เกม คืออะไร?’ หลายคนอาจจะนึกถึงร้านเกม ร้านเน็ตที่มีเด็กวัยรุ่นอยู่รวมกันจนถึงดึกดื่น หรือวัยรุ่นอาจจะนึกถึงสังคมที่เป็นเหมือนเพื่อน ไว้แก้เครียด คลายเหงา เป็นสิ่งบันเทิงที่หากเล่นอย่างไม่แบ่งเวลาก็จะติดงอมแงมและเสียการเรียนได้ ซึ่งคำนิยามจาก th.wikipedia.org นั้น กล่าวว่า “เกม เป็นลักษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เพื่อฝึกทักษะ และเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น และในบางครั้งอาจใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้“
ประโยชน์จากการเล่นเกมมีอะไรบ้าง ?
“เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สอบถามและเก็บเกี่ยวมาจากคนที่เล่นเกมและจากตัวเองที่เคยเป็นเด็กติดเกมคนหนึ่งเช่นกัน”
1. ฝึกภาษา
เกมออนไลน์เกมแรกๆ ที่เล่น ก็คือ Ragnarok เป็นเกมที่มีภาษาอังกฤษเยอะมาก ไม่ว่าจะ items (สิ่งของ) ต่างๆ ในเกม รวมถึงสิ่งที่ NPC (non player charecter = ตัวละครในเกมที่ไม่ใช้คนเล่น ถูกเซ็ตขึ้นมาในเกมอยู่แล้ว) พูด หรือการทำ quest (ภารกิจ) ต่างๆ ในเกม ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษ การเล่นเกมออนไลน์เลยทำให้เราต้องขวนขวายและเปิดดิก เพื่อพยายามจะเข้าใจสิ่งต่างๆ นี่เลยถือเป็นก้าวแรกที่ทำให้เราอยากรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น อื่นๆแนะนำเข้าเว็บ คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี
2. ฝึกพิมพ์ไว
อีกเกมที่ต้องใช้ทักษะการกดแป้นพิมพ์มากที่สุดก็คือ เกม Audition เพราะเป็นเกมที่ต้องกดเครื่องหมายลูกศรให้ทันเพื่อจะได้คะแนน แถมบางเพลงที่ยากๆ ก็ต้องกดไวมาก ทำให้การเล่นเกมนี้ฝึกให้เราสามารถพิมพ์แบบไม่ต้องมองแป้นพิมพ์ได้เลย (เรียกว่าหลับตากดก็ยังได้)
3. ฝึกการทำอะไรเป็นทีม
เกมบางเกมสามารถเล่นได้มากกว่าหนึ่งคน รวมถึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ด้วย นี่จึงเป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม และฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ มีแนวทางที่ชัดเจน ถือเป็นการฝึกทีมเวิร์ค (Teamwork) ที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับวัยเด็กเลย แล้วรู้หรือไม่? ว่าในประเทศไทยเองก็มีแฟนเพจเจ้าหนึ่งที่มารวมตัวกันได้เพราะการเล่นเกม จนตอนนี้โด่งดังมียอดไลค์เป็นหลักล้านแล้ว
4. สร้างรายได้และอาชีพ
ใครจะไปคิดว่าการเล่นเกมก็สามารถสร้างรายได้จนทำเป็นอาชีพได้ ตอนเด็กๆ เราเห็นพี่ชายขายเงินในเกมก็รู้สึกแปลกใจว่าเอ๊ะ เจ๋งจัง แค่เล่นเกมก็ยังทำเงินได้ แต่ในสมัยนี้เมื่อเห็นพวกคนที่แคสเกม (game casting = การเล่นเกมให้คนดู) ก็สามารถสร้างรายได้จนทำเป็นอาชีพที่มั่นคงได้เลย ตัวอย่างนักแคสเกมในไทยที่ดังๆ ก็เช่น HEARTROCKER และ คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี เป็นต้น
5. พัฒนาสมอง ฝึกไหวพริบ
นอกจากเกมออนไลน์ต่างๆ ที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีเกมอีกมากมายที่เป็นการฝึกไหวพริบ พัฒนาสมอง ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เกมซูโดะกุ (sudoku = เกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน) ถือเป็นเกมฝึกไหวพริบที่ถึงกับมีการแข่งขันอย่างจริงจัง อย่างตัวเราเองก็เคยร่วมแข่งซูโดกุระดับโรงเรียนเช่นกัน และรู้สึกว่าเกมนี้ฝึกให้เรามีสมาธิ รวมถึงฝึกสมองให้คิดวิธีการแก้ปัญหาได้หลายแนวทางดี
6. เป็นเหมือนคลังความรู้ที่อาจเทียบได้กับการอ่านหนังสือ
หลายครั้งที่ได้ความรู้จากการเล่นเกม ยกตัวอย่างเช่น เกมปังย่า (Pangya = เกมตีกอล์ฟ) หรือฟีฟ่า (Fifa = เกมฟุตบอล) เมื่อเล่นเกมเหล่านี้ก็ทำให้เราเรียนรู้วิธีการเล่นกีฬาพวกนี้ในชีวิตจริงไปด้วย เราเข้าใจการนับคะแนน เทคนิคการเล่น รวมถึงทำให้เราดูกีฬาในชีวิตจริงเป็น เวลาคุยกับผู้ชายเรื่องฟุตบอลก็คุยรู้เรื่อง (เห้ย! อันนี้ไม่เกี่ยว #แต่ก็ถือเป็นประโยชน์ได้เหมือนกันแฮะ)
7. สร้างมิตรภาพ
การสร้างมิตรภาพกับคนในเกมเป็นเรื่องที่ต้องระวังและผู้ปกครองควรช่วยดูแลสอดส่อง แต่สำหรับมิตรภาพกับคนที่รู้จักกันอยู่แล้วนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายมากๆ จากการเล่นเกม มีงานวิจัยกล่าวว่าหากพ่อแม่เล่นเกมกับลูกๆ จะช่วยสร้างมิตรภาพในครอบครัวในแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และลูกๆ เองก็จะรู้สึกดีที่พ่อแม่สนใจในสิ่งเดียวกับที่เขาสนใจ และจะเป็นหนทางที่ดีที่ลูกๆ จะยอมเปิดใจคุยเรื่องอื่นๆ กับพ่อแม่ด้วย “It’s cool to see my parents interested in things I’m interested in also,”
8. เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
อีกเกมที่ทุกคนน่าจะรู้จักและเคยเล่นกัน ก็คือ The Sims (เกมสร้างบ้านและสมมติตัวละครจริงขึ้นมาในเกม) ในเกมนี้เราทุกคนจะต้องสร้างตัวละครของตัวเอง ต้องจัดแต่งทรงผม สีผิว เสื้อผ้าที่จะใส่ รวมถึงอุปนิสัยใจคอของตัวละคร และสิ่งที่เรารักที่สุดตอนเล่นซิมส์ก็คือ การสร้างบ้าน!! ตอนนี้แหละที่เราจะใช้เงินที่กดสูตรโกงมาอย่างไม่อั้น สร้างบ้านให้สวยที่สุดเสมือนกับว่าตัวเองเป็นสถาปนิคชื่อดัง มันเป็นการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดในตอนเด็กเลย บางครั้งเราก็ถึงขั้นต้องหาตัวอย่างบ้านจริงๆ เพื่อมาสร้างบ้านในเกมด้วยซ้ำ
9. ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
ข้อนี้หลายคนอาจจะคิดว่า ‘หืมมม จริงหรือ?’ เราเองก็จะไม่เถียงว่าเป็นหนึ่งคนที่เคยติดเกมอย่างบ้าคลั่ง เรียกว่าแบ่งเวลาไม่ถูกเลย แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงนั้นมาได้ก็รู้สึกว่าการเล่นเกมก็เป็นการใช้เวลาได้อย่างมีประโยชน์เช่นกัน เราอาจจะเล่นเกมซูโดะกุ (sudoku) ในเวลาว่างระหว่างขึ้นรถไฟฟ้า หรือถ้าจะเล่นเกมที่ฝึกสมอง ก็มีเกม Peak เป็นตัวอย่างให้ได้ลองเล่นกัน เป็นเกมที่จะช่วยพัฒนาทักษะทั้ง EQ และ IQ (ไม่ได้ค่าโฆษณานะจ๊ะไม่ต้องสงสัยกัน)
แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเกมก็เป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อเสียของมันก็นับเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่งได้เลย และยังไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างแท้จริงในประเทศไทยด้วย เคยมีรายการ Let me grow ที่ได้จัดค่ายแก้ปัญหาเด็กติดเกม โดยได้เลือกเด็กติดเกมมาจำนวน 61 คน จากพันกว่าคน เป็นเด็กติดเกมขึ้นรุนแรงมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กติดเกมได้มีโอกาสทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน
โดย รศ.นพ. ชาญวิทย์ พรนภดล (หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ได้กล่าวไว้ว่า “จะแก้ปัญหาได้ก็ต้องทำความเข้าใจก่อน เพราะต้นเหตุของการติดเกมไม่เหมือนกัน ปัญหาการติดเกมเป็นเหมือนยอดของภูเขาน้ำแข็ง สิ่งที่เราเห็นคือเด็กที่นั่งเล่นเกมไม่ควบคุมเวลา แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่คือต้นตอของปัญหาทั้งหมด พอมีปัญหาเด็กเลยแสวงหาที่ที่เขารู้สึกปลอดภัย นั่นก็คือเกม เขาจริงใช้เกมเป็นทางออก ซึ่งในการแก้ปัญหา พ่อแม่ควรจะรู้ให้ได้ก่อนว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เขามีปัญหาอะไรถึงต้องใช้เกมเป็นทางออก”
อ้างอิงข้อมูลจาก : รายการ Let me grow , www.wsj.com
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?