คลิกอ่านที่นี่! แนวทางการขับเคลื่อนงานตามนโยบายการจัดการเรียนรวม โดย รมว.ศธ.

คลิกอ่านที่นี่! การจัดการเรียนรวม โดย รมว.ศธ.นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษเรื่อง "แนวทางการขับเคลื่อนงานตามนโยบายการจัดการเรียนรวม" แก่ศึกษานิเทศก์กลุ่มนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, บุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษ, บุคลากรโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ ตลอดจนผู้แสดงผลงานนิทรรศการกว่า 400 คน ในการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย  "การบริหารจัดการเรียนรวมให้มีคุณภาพ" ปีงบประมาณ 2560 เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยมีนายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาศึกษานิเทศก์มักถูกละเลยไม่ได้รับการดูแล และถูกใช้ให้ทำงานโครงการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งการอ่านออกเขียนได้ การศึกษาพิเศษ การยกระดับภาษาอังกฤษ โรงเรียนคุณธรรม ลูกเสือ เป็นต้น เรียกได้ว่า "ศึกษานิเทศก์เป็นยาสามัญประจำบ้าน" ทั้งที่ในอดีตศึกษานิเทศก์มีความสำคัญมาก และมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Carier Path) ในแต่ละสาขาที่ชัดเจน เพราะมีการกำหนด Job Description ดังนั้น เพื่อให้ศึกษานิเทศก์ยุคนี้มีงานประจำทำ และไม่ต้องรองรับงานอื่น ๆ เช่นที่ผ่านมา ก็ควรที่จะกำหนดละเอียดงานที่ต้องทำอย่างชัดเจนในด้านการจัดการเรียนรวมนั้น ส่วนตัวไม่ได้คาดหวังให้ศึกษานิเทศก์จำแนกหรือเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวินิจฉัยหรือคัดกรองเด็กพิเศษได้ แต่ขอให้ตรวจติดตามการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education: IE) ในโรงเรียนต่าง ๆ ใน 2 ประเด็นหลัก คือ     1) จำนวนเด็กพิเศษในแต่ละโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนทั่วไปมีอัตราของเด็กพิเศษอยู่ระหว่าง 5 - 10%     2) แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือที่ตนเรียกว่า Individual life Education Plan (IEP) ขอให้มีการสุ่มตรวจว่าโรงเรียนได้วางแผนจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษแต่ละคนหรือไม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูใหญ่ที่จะต้องจัดการเรียนรวมเมื่อพบว่ามีเด็กพิเศษในโรงเรียน ซึ่งอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ได้มีรูปแบบเดียว แต่ขออย่าได้ละเลยเด็กเหล่านี้หากมีข้อมูลดังกล่าว จะทำให้ได้รู้ถึงสถานการณ์ของแต่ละโรงเรียน นำไปสู่การวิเคราะห์และเตรียมวางแผนการจัดการศึกษาของหน่วยงานด้านการศึกษาพิเศษต่อไป เช่น บริบทของโรงเรียนที่มีเด็กพิเศษจำนวนมาก การคัดกรองของครู การวางแผนจัดการศึกษาเรียนรวมรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ไม่เห็นด้วยกับการที่คนส่วนใหญ่มองเรื่องของความบกพร่องในการเรียนรู้ หรือ LD (Learning Disabilities) ว่าเป็นปัญหาทางการแพทย์ ถือเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก ที่ผลักปัญหาด้านการเรียนรู้ให้เป็นปัญหาด้านสมอง ซึ่งจะเป็นข้ออ้างที่จะทำให้เด็กคนนั้นไม่ได้รับการดูแลและพัฒนา เพราะคิดว่าสอนอย่างไรก็คงไม่ได้ ในใจของคนก็จะเกิดการแบ่งแยก และที่สำคัญคือการจัดการเรียนรวมและความรับผิดชอบก็จะหายไปทันที ในทางกลับกัน ต่อให้มีโรค LD จริง ก็คงจะรักษาไม่หายขาดเช่นเดียวกับคนที่อ่านหนังสือไม่ออก ที่เกิดจากสาเหตุพ่อแม่ทอดทิ้งและขาดโอกาส หากได้รับการสอนให้อ่านมากขึ้น ก็จะอ่านออกในระยะหนึ่ง แต่หากสอนไม่สม่ำเสมอหรือทอดทิ้งไม่ดูแล เขาก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ  ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.kruupdate.com/news/newid-2706.html 1441

กรกฎาคม 29, 2023 - 19:00
 0  6
คลิกอ่านที่นี่! แนวทางการขับเคลื่อนงานตามนโยบายการจัดการเรียนรวม โดย รมว.ศธ.

คลิกอ่านที่นี่! การจัดการเรียนรวม โดย รมว.ศธ.

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษเรื่อง "แนวทางการขับเคลื่อนงานตามนโยบายการจัดการเรียนรวม" แก่ศึกษานิเทศก์กลุ่มนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, บุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษ, บุคลากรโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ ตลอดจนผู้แสดงผลงานนิทรรศการกว่า 400 คน ในการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย  "การบริหารจัดการเรียนรวมให้มีคุณภาพ" ปีงบประมาณ 2560 เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยมีนายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาศึกษานิเทศก์มักถูกละเลยไม่ได้รับการดูแล และถูกใช้ให้ทำงานโครงการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งการอ่านออกเขียนได้ การศึกษาพิเศษ การยกระดับภาษาอังกฤษ โรงเรียนคุณธรรม ลูกเสือ เป็นต้น เรียกได้ว่า "ศึกษานิเทศก์เป็นยาสามัญประจำบ้าน" ทั้งที่ในอดีตศึกษานิเทศก์มีความสำคัญมาก และมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Carier Path) ในแต่ละสาขาที่ชัดเจน เพราะมีการกำหนด Job Description ดังนั้น เพื่อให้ศึกษานิเทศก์ยุคนี้มีงานประจำทำ และไม่ต้องรองรับงานอื่น ๆ เช่นที่ผ่านมา ก็ควรที่จะกำหนดละเอียดงานที่ต้องทำอย่างชัดเจน

ในด้านการจัดการเรียนรวมนั้น ส่วนตัวไม่ได้คาดหวังให้ศึกษานิเทศก์จำแนกหรือเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวินิจฉัยหรือคัดกรองเด็กพิเศษได้ แต่ขอให้ตรวจติดตามการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education: IE) ในโรงเรียนต่าง ๆ ใน 2 ประเด็นหลัก คือ

     1) จำนวนเด็กพิเศษในแต่ละโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนทั่วไปมีอัตราของเด็กพิเศษอยู่ระหว่าง 5 - 10%
     2) แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือที่ตนเรียกว่า Individual life Education Plan (IEP) ขอให้มีการสุ่มตรวจว่าโรงเรียนได้วางแผนจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษแต่ละคนหรือไม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูใหญ่ที่จะต้องจัดการเรียนรวมเมื่อพบว่ามีเด็กพิเศษในโรงเรียน ซึ่งอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ได้มีรูปแบบเดียว แต่ขออย่าได้ละเลยเด็กเหล่านี้

หากมีข้อมูลดังกล่าว จะทำให้ได้รู้ถึงสถานการณ์ของแต่ละโรงเรียน นำไปสู่การวิเคราะห์และเตรียมวางแผนการจัดการศึกษาของหน่วยงานด้านการศึกษาพิเศษต่อไป เช่น บริบทของโรงเรียนที่มีเด็กพิเศษจำนวนมาก การคัดกรองของครู การวางแผนจัดการศึกษาเรียนรวมรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ไม่เห็นด้วยกับการที่คนส่วนใหญ่มองเรื่องของความบกพร่องในการเรียนรู้ หรือ LD (Learning Disabilities) ว่าเป็นปัญหาทางการแพทย์ ถือเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก ที่ผลักปัญหาด้านการเรียนรู้ให้เป็นปัญหาด้านสมอง ซึ่งจะเป็นข้ออ้างที่จะทำให้เด็กคนนั้นไม่ได้รับการดูแลและพัฒนา เพราะคิดว่าสอนอย่างไรก็คงไม่ได้ ในใจของคนก็จะเกิดการแบ่งแยก และที่สำคัญคือการจัดการเรียนรวมและความรับผิดชอบก็จะหายไปทันที ในทางกลับกัน ต่อให้มีโรค LD จริง ก็คงจะรักษาไม่หายขาดเช่นเดียวกับคนที่อ่านหนังสือไม่ออก ที่เกิดจากสาเหตุพ่อแม่ทอดทิ้งและขาดโอกาส หากได้รับการสอนให้อ่านมากขึ้น ก็จะอ่านออกในระยะหนึ่ง แต่หากสอนไม่สม่ำเสมอหรือทอดทิ้งไม่ดูแล เขาก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม





ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ  ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.kruupdate.com/news/newid-2706.html
1441

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow