คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน? คำสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าแก้ปัญหา
กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจตลอดทั้งปีที่ผ่านมา จากกรณีพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาตินับพันคน ถูกธนาคารออมสินฟ้องล้มละลาย เพราะไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาที่ระบุไว้ จน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าแก้ปัญหาทว่าการคลี่คลายปัญหาหนี้ครูที่สะสมยาวนานเป็นสิบปีไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ที่ผ่านมาจะมีโครงการช่วยเหลือจาก ศธ. และธนาคารออมสินอย่างต่อเนื่องครูไทยเป็นหนี้จากการกู้สูงถึง 1.2 ล้านล้านบาทข้อมูลล่าสุด เดือน ธ.ค. 2558 จากธนาคารออมสิน ระบุว่า จำนวนครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่เป็นหนี้กับธนาคารออมสินมีทั้งหมดประมาณ 500,000 คน คิดเป็นวงเงิน 500,000 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 1 ล้านบาท โดยเป็นยอดจากเงินในโครงการสวัสดิการเงินกู้ฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ธนาคารออมสินดูแลอยู่ถึง 4.7 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีผู้กู้ราว 4.7 แสนคนขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการพบว่า ยอดหนี้เงินกู้รวมทั้งหมดของครูและบุคคลากรทางการศึกษาสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จากการกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ 700,000 ล้านบาท กู้จากธนาคารออมสิน 4.7 แสนล้านบาท และอื่นๆ อีก 50,000 ล้านบาทเมื่อเทียบกับจำนวนครูและบุคคลากรทางการศึกษาทั้งประเทศในปัจจุบันที่มีอยู่ราว 900,000 คน ในจำนวนนี้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณแล้วประมาณ 2-3 แสนคน พบว่าทั้งหมดกว่าร้อยละ 80-90 ล้วนเป็นหนี้จากการกู้ทั้งสิ้น โดยลักษณะการขอกู้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกอยู่ภาคใดภาคหนึ่ง"ฐานะทางสังคม" ต้นเหตุอันดับ 1 ทำ "ครู" เป็นหนี้"สาเหตุสำคัญที่ทำให้ครูเป็นหนี้มากที่สุด คือการกู้เพื่อซื้อสะสมทรัพย์สิน สร้างฐานะทางสังคม เนื่องจากค่านิยมในสังคมไทยมองว่าครูเป็นผู้มีหน้ามีตา ต้องมีบ้าน มีรถ เสียหน้าไม่ได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายทางสังคมอื่นๆ ครูจำนวนไม่น้อยจึงต้องกู้หนี้ยืมสินจากหลายช่องทาง และโปะหนี้ไปมาจนอยู่ในภาวะหนี้สินเรื้อรังซ้ำซ้อน นอกนั้นเป็นการกู้ทั่วไปเพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น บุพการีป่วย หรือกู้เพื่อลงทุนทำอาชีพเสริมสร้างรายได้" รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุนอกเหนือจากเหตุผลฐานะทางสังคมแล้ว เพดานการปล่อยกู้ของธนาคารออมสินที่ขยายเพิ่มจาก 5 แสนบาท เป็น 3 ล้านบาท ตามอัตราเงินเดือน อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษาเป็นหนี้มากขึ้นส่งผลให้ปี 2558 ธนาคารออมสินยื่นคำเตือนครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่ขาดผ่อนชำระหนี้เกินเกณฑ์ 3 เดือนขึ้นไป ให้มาชำระตามเงื่อนไข 13,000 คน ในจำนวนนี้กลับมาติดต่อชำระหนี้กับทางธนาคาร 7,000 คน โดยมี 1,100 คน เลื่อนสถานะกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติหลังจากเข้าโครงการขอปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนกลุ่มที่ผิดนัดชำระหนี้จนต้องส่งฟ้องคดีล้มละลายเพื่อยึดทรัพย์มีประมาณหลักพันคนเท่านั้นออมสินเชื่อไตรมาสแรกปี 59 แก้หนี้ครูเห็นผลเป็นรูปธรรมปัญหาหนี้ครูที่เข้าขั้นร้ายแรงกับเม็ดเงินกู้จำนวน 1.2 ล้านล้านบาท แต่ในมุมของ ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลับระบุว่า หนี้ครูไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่จนแก้ไขไม่ได้ซึ่งหลังจากธนาคารออมสินออกมาตรการแก้ไขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการปรับโครงสร้างหนี้ครูใน 4 มาตรการ ช่วงกลางปี 2558 ที่ผ่านมา เช่น 1.ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือบังคับคดีไม่เกิน 3 ปี โดยต้องมีระยะเวลาฟ้องคดีเหลือไม่น้อยกว่า 2 ปี สำหรับกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นลูกหนี้วิกฤต 2.พักชำระดอกเบี้ยไม่เกิน 3 ปี แต่ให้ชำระเงินต้น สำหรับกลุ่มลูกหนี้ใกล้วิกฤต ให้พักชำระดอกเบี้ยไม่เกินครึ่งหนึ่งเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี และ 3.ให้พักชำระเงินต้นไม่เกิน 2 ปี แต่ให้ชำระดอกเบี้ย สำหรับกลุ่มครูที่เป็นลูกหนี้ปกติ พบว่า มีครู 51,000 คน เข้าร่วมโครงการ ในวงเงิน 70,000 ล้านบาท"หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลจากหนี้ครู ปัจจุบันอยู่ร้อยละ 0.3 จาก หรือ 2,000 ล้านบาท จากจำนวนกู้ 4.7 แสนล้านบาท ขณะที่เอ็นพีแอลทั่วประเทศอยู่ที่ร้อยละ 3 ถือหนี้เสียจากหนี้ครูไม่เยอะและไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง และผมเชื่อมั่นว่าภายในไตรมาสแรกของปี 59 การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาจะเห็นผลเป็นรูปธรรม" ผอ.ธนาคารออมสิน กล่าวส่วนมาตรการช่วยเหลือนับจากนี้ ชาติชายเปิดเผยว่า เตรียมโครงการขยายเวลาชำระหนี้ให้นานขึ้น ซึ่งช่วยให้ครูจ่ายหนี้ต่อเดือนน้อยลง ขณะเดียวกันจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และอาจตั้งวงเงินเอนกประสงค์ไว้อีกส่วนหนึ่ง ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่จากธนาคารให้มอบครูอีก 4.5 แสนคน ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการปรับสร้างหนี้โยงจ่ายหนี้เชื่อมวิทยฐานะ กฎเหล็กจาก ศธ. หวังสร้างวินัยการเงินให้พ่อพิมพ์-แม่พิมพ์ชาติขณะที่ รศ.นพ.กำจรกล่าวว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้ครูมีศักยภาพและเห็นผลมากขึ้น เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการพบว่า มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนหนึ่ง "ตั้งใจไม่ชำระหนี้" จึงนำเอาการให้หรือเลื่อนระดับวิทยาฐานะ มาผูกโยงการวินัยจ่ายชำระหนี้ของครู โดยใช้เป็นมาตรการขั้นสุดท้ายหากครูหรือบุคลากรทางการศึกษาไม่ให้ความร่วมมือที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่า ได้แก้ไขปัญหาหนี้ครู ด้วยการมุ่งเน้นให้คำปรึกษา และให้การช่วยเหลือกลุ่มวิกฤตที่ค้างชำระกับทางธนาคาร 3 เดือนขึ้นไป แต่บางคนพบว่าค้างชำระมากถึง 1 ปี พร้อมกันนั้นยังหาผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำการบริหารเงินและการชำระหนี้ แต่ได้ผลน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ จึงเป็นที่มาของการนำเอาเรื่องวิทยฐานะมาเป็นตัวสร้างวินัยทางการเงินของครูไทยอย่างยั่งยืน เพราะ แน่ชัดแล้วว่า ศธ.จะไม่นำเงินงบประมาณ มาช่วยชำระหนี้ให้ครูเด็ดขาด"จริง ๆ ศธ.ไม่อยากใช้วิธีการลงโทษหนัก เพราะครูเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ เป็นผู้สร้างอนาคตให้กับเยาวชน แต่หากเบี้ยวนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตั้งใจ ซึ่งถือว่าไม่มีจรรยาบรรณ สังคมก็ต้องช่วยพิจารณาว่าสมควรเป็นครูหรือไม่" ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทิ้งปมให้คิดด้าน ผอ.ธนาคารออมสิน เห็นด้วยกับมาตรการ
กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจตลอดทั้งปีที่ผ่านมา จากกรณีพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาตินับพันคน ถูกธนาคารออมสินฟ้องล้มละลาย เพราะไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาที่ระบุไว้ จน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าแก้ปัญหา
ทว่าการคลี่คลายปัญหาหนี้ครูที่สะสมยาวนานเป็นสิบปีไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ที่ผ่านมาจะมีโครงการช่วยเหลือจาก ศธ. และธนาคารออมสินอย่างต่อเนื่อง
ครูไทยเป็นหนี้จากการกู้สูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท
ข้อมูลล่าสุด เดือน ธ.ค. 2558 จากธนาคารออมสิน ระบุว่า จำนวนครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่เป็นหนี้กับธนาคารออมสินมีทั้งหมดประมาณ 500,000 คน คิดเป็นวงเงิน 500,000 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 1 ล้านบาท โดยเป็นยอดจากเงินในโครงการสวัสดิการเงินกู้ฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ธนาคารออมสินดูแลอยู่ถึง 4.7 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีผู้กู้ราว 4.7 แสนคน
ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการพบว่า ยอดหนี้เงินกู้รวมทั้งหมดของครูและบุคคลากรทางการศึกษาสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จากการกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ 700,000 ล้านบาท กู้จากธนาคารออมสิน 4.7 แสนล้านบาท และอื่นๆ อีก 50,000 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับจำนวนครูและบุคคลากรทางการศึกษาทั้งประเทศในปัจจุบันที่มีอยู่ราว 900,000 คน ในจำนวนนี้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณแล้วประมาณ 2-3 แสนคน พบว่าทั้งหมดกว่าร้อยละ 80-90 ล้วนเป็นหนี้จากการกู้ทั้งสิ้น โดยลักษณะการขอกู้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกอยู่ภาคใดภาคหนึ่ง
"ฐานะทางสังคม" ต้นเหตุอันดับ 1 ทำ "ครู" เป็นหนี้
"สาเหตุสำคัญที่ทำให้ครูเป็นหนี้มากที่สุด คือการกู้เพื่อซื้อสะสมทรัพย์สิน สร้างฐานะทางสังคม เนื่องจากค่านิยมในสังคมไทยมองว่าครูเป็นผู้มีหน้ามีตา ต้องมีบ้าน มีรถ เสียหน้าไม่ได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายทางสังคมอื่นๆ ครูจำนวนไม่น้อยจึงต้องกู้หนี้ยืมสินจากหลายช่องทาง และโปะหนี้ไปมาจนอยู่ในภาวะหนี้สินเรื้อรังซ้ำซ้อน นอกนั้นเป็นการกู้ทั่วไปเพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น บุพการีป่วย หรือกู้เพื่อลงทุนทำอาชีพเสริมสร้างรายได้" รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ
นอกเหนือจากเหตุผลฐานะทางสังคมแล้ว เพดานการปล่อยกู้ของธนาคารออมสินที่ขยายเพิ่มจาก 5 แสนบาท เป็น 3 ล้านบาท ตามอัตราเงินเดือน อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษาเป็นหนี้มากขึ้น
ส่งผลให้ปี 2558 ธนาคารออมสินยื่นคำเตือนครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่ขาดผ่อนชำระหนี้เกินเกณฑ์ 3 เดือนขึ้นไป ให้มาชำระตามเงื่อนไข 13,000 คน ในจำนวนนี้กลับมาติดต่อชำระหนี้กับทางธนาคาร 7,000 คน โดยมี 1,100 คน เลื่อนสถานะกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติหลังจากเข้าโครงการขอปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนกลุ่มที่ผิดนัดชำระหนี้จนต้องส่งฟ้องคดีล้มละลายเพื่อยึดทรัพย์มีประมาณหลักพันคนเท่านั้น
ออมสินเชื่อไตรมาสแรกปี 59 แก้หนี้ครูเห็นผลเป็นรูปธรรม
ปัญหาหนี้ครูที่เข้าขั้นร้ายแรงกับเม็ดเงินกู้จำนวน 1.2 ล้านล้านบาท แต่ในมุมของ ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลับระบุว่า หนี้ครูไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่จนแก้ไขไม่ได้
ซึ่งหลังจากธนาคารออมสินออกมาตรการแก้ไขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการปรับโครงสร้างหนี้ครูใน 4 มาตรการ ช่วงกลางปี 2558 ที่ผ่านมา เช่น 1.ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือบังคับคดีไม่เกิน 3 ปี โดยต้องมีระยะเวลาฟ้องคดีเหลือไม่น้อยกว่า 2 ปี สำหรับกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นลูกหนี้วิกฤต 2.พักชำระดอกเบี้ยไม่เกิน 3 ปี แต่ให้ชำระเงินต้น สำหรับกลุ่มลูกหนี้ใกล้วิกฤต ให้พักชำระดอกเบี้ยไม่เกินครึ่งหนึ่งเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี และ 3.ให้พักชำระเงินต้นไม่เกิน 2 ปี แต่ให้ชำระดอกเบี้ย สำหรับกลุ่มครูที่เป็นลูกหนี้ปกติ พบว่า มีครู 51,000 คน เข้าร่วมโครงการ ในวงเงิน 70,000 ล้านบาท
"หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลจากหนี้ครู ปัจจุบันอยู่ร้อยละ 0.3 จาก หรือ 2,000 ล้านบาท จากจำนวนกู้ 4.7 แสนล้านบาท ขณะที่เอ็นพีแอลทั่วประเทศอยู่ที่ร้อยละ 3 ถือหนี้เสียจากหนี้ครูไม่เยอะและไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง และผมเชื่อมั่นว่าภายในไตรมาสแรกของปี 59 การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาจะเห็นผลเป็นรูปธรรม" ผอ.ธนาคารออมสิน กล่าว
ส่วนมาตรการช่วยเหลือนับจากนี้ ชาติชายเปิดเผยว่า เตรียมโครงการขยายเวลาชำระหนี้ให้นานขึ้น ซึ่งช่วยให้ครูจ่ายหนี้ต่อเดือนน้อยลง ขณะเดียวกันจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และอาจตั้งวงเงินเอนกประสงค์ไว้อีกส่วนหนึ่ง ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่จากธนาคารให้มอบครูอีก 4.5 แสนคน ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการปรับสร้างหนี้
โยงจ่ายหนี้เชื่อมวิทยฐานะ กฎเหล็กจาก ศธ. หวังสร้างวินัยการเงินให้พ่อพิมพ์-แม่พิมพ์ชาติ
ขณะที่ รศ.นพ.กำจรกล่าวว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้ครูมีศักยภาพและเห็นผลมากขึ้น เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการพบว่า มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนหนึ่ง "ตั้งใจไม่ชำระหนี้" จึงนำเอาการให้หรือเลื่อนระดับวิทยาฐานะ มาผูกโยงการวินัยจ่ายชำระหนี้ของครู โดยใช้เป็นมาตรการขั้นสุดท้ายหากครูหรือบุคลากรทางการศึกษาไม่ให้ความร่วมมือ
ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่า ได้แก้ไขปัญหาหนี้ครู ด้วยการมุ่งเน้นให้คำปรึกษา และให้การช่วยเหลือกลุ่มวิกฤตที่ค้างชำระกับทางธนาคาร 3 เดือนขึ้นไป แต่บางคนพบว่าค้างชำระมากถึง 1 ปี พร้อมกันนั้นยังหาผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำการบริหารเงินและการชำระหนี้ แต่ได้ผลน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ จึงเป็นที่มาของการนำเอาเรื่องวิทยฐานะมาเป็นตัวสร้างวินัยทางการเงินของครูไทยอย่างยั่งยืน เพราะ แน่ชัดแล้วว่า ศธ.จะไม่นำเงินงบประมาณ มาช่วยชำระหนี้ให้ครูเด็ดขาด
"จริง ๆ ศธ.ไม่อยากใช้วิธีการลงโทษหนัก เพราะครูเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ เป็นผู้สร้างอนาคตให้กับเยาวชน แต่หากเบี้ยวนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตั้งใจ ซึ่งถือว่าไม่มีจรรยาบรรณ สังคมก็ต้องช่วยพิจารณาว่าสมควรเป็นครูหรือไม่" ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทิ้งปมให้คิด
ด้าน ผอ.ธนาคารออมสิน เห็นด้วยกับมาตรการนี้ โดยให้ความเห็นว่า มาตรการดังกล่าวจะทำให้ภาพพจน์ของครูดูดีขึ้น เมื่อครูชำระหนี้ตรงเวลาไม่กลายเป็นหนี้เสีย ทางสถานบันการเงินก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างสบายใจ
ออมสินชวนรู้ ครูควรเป็นหนี้เท่าใดจึงปลอดภัยต่อการบริหารเงิน
"อัตราส่วนการเป็นหนี้ที่เหมาะสมที่สุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้คือ 60 ต่อ 40 หมายถึงเป็นหนี้แค่ร้อยละ 40 และเหลือรายได้อีกร้อยละ 60 ไว้ใช้จ่ายต่อเดือน แต่ในส่วนของออมสินเปิดกว้างให้ผู้กู้หรือกลุ่มครูเป็นหนี้ได้ถึงร้อยละ 70 ต่อเดือน หากระดับเงินเดือนสูงมากพอที่จะจ่ายชำระหนี้ โดยไม่เดือดร้อนการดำรงชีวิตประจำวัน" ชาติชาย ระบุ
ผอ.ธนาคารออมสินกล่าวต่อว่า ส่วนยอดเงินกู้ต่อคนนั้น หากคิดตามฐานเงินเดือนของครูและบุคลากรทางการศึกษาในอัตราเฉลี่ยที่ 24,000 บาท ครู 1 คน ไม่ควรกู้เงิน 1.5 ล้านบาท เพื่อให้ภาระการผ่อนเงินในระยะ 20-30 ปี ไม่บีบรัดจนเกินไป ทั้งนี้ ทางธนาคารได้คำนวณอัตราการปล่อยกู้และผ่อนจ่ายให้แล้วว่า หลังเกษียณครูและบุคลากรต้องมีหนี้ไม่เกิน 6 แสนบาท เพื่อให้รายได้จากเงินเกษียณเพียงพอกับการจ่ายหนี้ในแต่ละเดือน โดยที่ทางธนาคารขยายอายุการชำระหนี้ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้ที่ 75 ปี
หลายฝ่ายออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อสะสาง แก้ไข ปมปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีมายาวนาน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาดังกล่าวกระทบต่อการเรียนการสอนที่มีต่อนักเรียนไม่น้อย ที่เหลือจึงขึ้นอยู่ว่า "ครู" จะร่วมมือ มีวินัย และบริหารจัดการระบบการเงินของตัวเอง เพื่อให้พ้นจากโซ่ตรวนแห่งการเป็นหนี้ได้มากน้อยเพียงใด
สิรินภา อิ่มศิริ
ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?