คุณครูรู้ยัง! ไม่มีคำว่าขั้นเงินเดือน แล้วนะครับในกฎหมาย
คุณครูรู้ยัง! ไม่มีคำว่าขั้นเงินเดือน แล้วนะครับหลังจากที่มีการเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๖๐ เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกมาแล้วนั้น ปรากฎว่าในข้อที่ 7 ของคำสั่งระบุว่า "ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “ขั้นเงินเดือน” ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นคำว่า “เงินเดือน” ทุกแห่ง" นั้นก็หมายความว่าหลังจากนี้จะไม่มีขั้นเงินที่เราเคยใช้กันมาในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของคุณครูครับ..แต่ต้องรอ ก.ค.ศ.ชุดใหม่เป็นคณะที่จะออกแบบวิธีการเลื่อนเงินเดือนแบบใหม่นะครับ...สามารถอ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ด้านล่างนะครับเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๖๐ เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้กรรมการใน ก.ค.ศ. พ้นจากตำแหน่ง และกำหนดองค์ประกอบ ก.ค.ศ.ใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไปคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๖/๒๕๖๐เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยที่ในการจัดระบบการศึกษาของชาติให้มีมาตรฐานทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและในด้านบุคลากรให้เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น จำเป็นต้องมีองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพซึ่งสามารถผลักดันและพัฒนาระบบการศึกษาของชาติไปสู่การปฏิรูประบบการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ผ่านประชามติ ได้กำหนดเป้าหมายและแนวทางไว้ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่จะสนับสนุนการบริหารงานด้านบุคคลให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการเตรียมการและรองรับการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการปฏิรูปประเทศที่จะมีการดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในระยะเวลาอันใกล้นี้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ข้อ ๑ ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ. ตามมาตรา ๗ (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ.ข้อ ๒ ให้ ก.ค.ศ. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคุรุสภา (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษา และด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน ให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ กรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้เป็นกรรมการตาม (๓) ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษข้อ ๓ ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาจมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการตามข้อ ๒ ได้ตามความเหมาะสมข้อ ๔ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ซึ่ง ก.ค.ศ. แต่งตั้งตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่งข้อ ๕ ให้ ก.ค.ศ. มีอำนาจแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.ค.ศ. ดังต่อไปนี้ (๑) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ (๒) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ (๓) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นอกจาก อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามวรรคหนึ่ง ก.ค.ศ. อาจแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญอื่น เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.ค.ศ. หรือทำหน้าที่เช่นเดียวกับคณะอนุกรรมการอื่นที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ได้ข้อ ๖ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ แต่ละคณะ มีจำนวนไม่เกินสิบห้าคน ประกอบด้วย (๑) ประธานอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ. เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็น อาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่เป็นกรรมการใน ก.ค.ศ. เป็นประธานอนุกรรมการก็ได้ (๒) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสิบเอ็ดคน ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญคณะนั้น (๓) อนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนสองคน ให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ กรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้เป็นอนุกรรมการตาม (๒) ผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือประเภทบริหารระดับต้น ประเภทอำนวยการระดับสูง ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือระดับเชี่ยวชาญ หรือมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าเชี่ยวชาญ หรืออาจแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. หรือผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ได้ คุณสมบัติ
คุณครูรู้ยัง! ไม่มีคำว่าขั้นเงินเดือน แล้วนะครับ
หลังจากที่มีการเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๖๐ เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกมาแล้วนั้น ปรากฎว่าในข้อที่ 7 ของคำสั่งระบุว่า
"ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “ขั้นเงินเดือน” ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นคำว่า “เงินเดือน” ทุกแห่ง" นั้นก็หมายความว่าหลังจากนี้จะไม่มีขั้นเงินที่เราเคยใช้กันมาในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของคุณครูครับ..แต่ต้องรอ ก.ค.ศ.ชุดใหม่เป็นคณะที่จะออกแบบวิธีการเลื่อนเงินเดือนแบบใหม่นะครับ...สามารถอ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ด้านล่างนะครับ
"ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “ขั้นเงินเดือน” ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นคำว่า “เงินเดือน” ทุกแห่ง" นั้นก็หมายความว่าหลังจากนี้จะไม่มีขั้นเงินที่เราเคยใช้กันมาในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของคุณครูครับ..แต่ต้องรอ ก.ค.ศ.ชุดใหม่เป็นคณะที่จะออกแบบวิธีการเลื่อนเงินเดือนแบบใหม่นะครับ...สามารถอ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ด้านล่างนะครับ
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ เผยแพร่คำสั่ง
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๖/๒๕๖๐
เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
โดยที่ในการจัดระบบการศึกษาของชาติให้มีมาตรฐานทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและในด้านบุคลากรให้เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น จำเป็นต้องมีองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพซึ่งสามารถผลักดันและพัฒนาระบบการศึกษาของชาติไปสู่การปฏิรูประบบการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ผ่านประชามติ ได้กำหนดเป้าหมายและแนวทางไว้ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่จะสนับสนุนการบริหารงานด้านบุคคลให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการเตรียมการและรองรับการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการปฏิรูปประเทศที่จะมีการดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในระยะเวลาอันใกล้นี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ. ตามมาตรา ๗ (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ.
ข้อ ๒ ให้ ก.ค.ศ. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคุรุสภา
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษา และด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
ให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้เป็นกรรมการตาม (๓) ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
ข้อ ๓ ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาจมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการตามข้อ ๒ ได้ตามความเหมาะสม
ข้อ ๔ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ซึ่ง ก.ค.ศ. แต่งตั้งตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง
ข้อ ๕ ให้ ก.ค.ศ. มีอำนาจแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.ค.ศ. ดังต่อไปนี้
(๑) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์
(๒) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ
(๓) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
นอกจาก อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามวรรคหนึ่ง ก.ค.ศ. อาจแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญอื่น เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.ค.ศ. หรือทำหน้าที่เช่นเดียวกับคณะอนุกรรมการอื่นที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ได้
ข้อ ๖ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ แต่ละคณะ มีจำนวนไม่เกินสิบห้าคน ประกอบด้วย
(๑) ประธานอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ. เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็น อาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่เป็นกรรมการใน ก.ค.ศ. เป็นประธานอนุกรรมการก็ได้
(๒) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสิบเอ็ดคน ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญคณะนั้น
(๓) อนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนสองคน
ให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้เป็นอนุกรรมการตาม (๒) ผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือประเภทบริหารระดับต้น ประเภทอำนวยการระดับสูง ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือระดับเชี่ยวชาญ หรือมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าเชี่ยวชาญ หรืออาจแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. หรือผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ได้
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา และการพ้นจากตำแหน่งของประธานอนุกรรมการกรณีที่มิได้แต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ. และของอนุกรรมการตาม (๒) และ (๓) ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับกับ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ โดยอนุโลม
การแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามข้อ ๕ (๑) และ (๒) ให้แต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ. อย่างน้อยสองคน
ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “ขั้นเงินเดือน” ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นคำว่า “เงินเดือน” ทุกแห่ง
ข้อ ๘ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับ
ให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในกรณีที่ ก.ค.ศ. เห็นสมควร จะมอบหมายให้ กศจ. อ.ก.ค.ศ. ซึ่ง ก.ค.ศ. ตั้งตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่วนราชการ หรือหน่วยงานการศึกษา เป็นผู้ดำเนินการตามวรรคสองก็ได้
หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน วิธีดำเนินการที่เกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น การยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ข้อ ๙ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับกับกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นอกจากการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว ก.ค.ศ. อาจกำหนดตำแหน่งหรือเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภทตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาบางตำแหน่งเป็นประเภทตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ได้
ข้อ ๑๑ ในวาระเริ่มแรกให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามข้อ ๕ ประกอบด้วยอนุกรรมการตามข้อ ๖ (๑) และ (๒) จนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการตามข้อ ๖ (๓) ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๒ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจซึ่ง ก.ค.ศ. แต่งตั้งตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ อยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญอื่นตามคำสั่งนี้เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทน แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.ค.ศ.
ข้อ ๑๔ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้
ข้อ ๑๕ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
อ้างจาก : ราชกิจจานุเบกษา และ กระทรวงศึกษาธิการ
1495
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?