จูบปาก!! สป.ศธ.จับมือ สพฐ.คลอด 5 แนวทางปฏิบัติงาน ดึง ‘เขตพื้นที่ฯ-ศธจ.’ ปรองดอง

จูบปาก!! สป.ศธ.จับมือ สพฐ.คลอด 5 แนวทางปฏิบัติงาน ดึง ‘เขตพื้นที่ฯ-ศธจ.’ ปรองดองวันที่ 1 ธันวาคม 2560 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากที่มีการนำเสนอข่าวความขัดแย้งในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ซึ่งเกิดจากคำสั่งการมอบอำนาจการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรทางการศึกษานั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยตนและปลัด ศธ.ได้รับนโยบายจาก นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ให้เร่งรัดปรับปรุงระบบการทำงานร่วมกันของ สพท.และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) โดยได้ประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้แทนของ ศธจ.และผู้อำนวยการ สพท. ได้แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานร่วมกัน 5 ประเด็น คือ1.การกำหนดกรอบอัตรากำลังของ ศธจ. และ สพท.ให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน ขณะนี้มีข้อสรุปในกรอบความคิดนี้แล้ว รอดำเนินการให้มีผลบังคับใช้ตามขั้นตอนต่อไป2.การใช้อำนาจตามมาตรา 53 (3) และ (4) มีข้อสรุปในการแบ่งอำนาจในการใช้ตามมาตรานี้เป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วว่าถ้าดำเนินการเช่นนี้จะช่วยให้การปฏิบัติงานร่วมกันของ ศธจ.และ สพท.มีประสิทธิภาพต่อการบริหารงานบุคคลในจังหวัด ซึ่งขณะนี้ สป.ศธ.กำลังเร่งรัดดำเนินการอยู่นายบุญรักษ์กล่าวต่อว่า3.การจัดทำแผนบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่จะต้องทำให้เกิดการบูรณาการงาน บุคคล และงบประมาณ ทั้งในมิติของบทบาทหน้าที่หลักและบริบทของพื้นที่ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการตั้งหน่วยงานศึกษาธิการจังหวัดขึ้นมา4.การจัดระบบการนิเทศการศึกษา ส่วนนี้นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การบูรณาการเป็นรูปธรรม ส่งผลให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย และ5.การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานร่วมกันของ สพท.และ ศธจ. ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ การทำให้การประสานงานเกิดความราบรื่นมีประสิทธิภาพ ต้องทำให้ทั้ง 2 องค์กรมองภาพการทำงานในภาพเดียวกันก่อน จากนั้น จึงร่วมมือกันและสนับสนุนกันและกัน มุ่งถึงความสำเร็จของภารกิจของ ศธ.และของประเทศชาติเป็นสำคัญ คือการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนให้ได้ดีที่สุด เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กรจะต้องมองประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ“จากการประชุมหารือระหว่างปลัด ศธ.และผม สรุปว่า เมื่อดำเนินการใน 5 ประเด็นนี้เรียบร้อยแล้ว จะจัดประชุมสัมมนาร่วมกันของผู้อำนวยการ สพท.และ ศธจ.โดยเร็ว เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเป็นเอกภาพ และความสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป” นายบุญรักษ์กล่าวขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 1 ธันวาคม 2560 - 15:53 น. 3222

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  4
จูบปาก!! สป.ศธ.จับมือ สพฐ.คลอด 5 แนวทางปฏิบัติงาน ดึง ‘เขตพื้นที่ฯ-ศธจ.’ ปรองดอง

จูบปาก!! สป.ศธ.จับมือ สพฐ.คลอด 5 แนวทางปฏิบัติงาน ดึง ‘เขตพื้นที่ฯ-ศธจ.’ ปรองดอง


วันที่ 1 ธันวาคม 2560 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากที่มีการนำเสนอข่าวความขัดแย้งในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ซึ่งเกิดจากคำสั่งการมอบอำนาจการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรทางการศึกษานั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยตนและปลัด ศธ.ได้รับนโยบายจาก นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ให้เร่งรัดปรับปรุงระบบการทำงานร่วมกันของ สพท.และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) โดยได้ประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้แทนของ ศธจ.และผู้อำนวยการ สพท. ได้แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานร่วมกัน 5 ประเด็น คือ

1.การกำหนดกรอบอัตรากำลังของ ศธจ. และ สพท.ให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน ขณะนี้มีข้อสรุปในกรอบความคิดนี้แล้ว รอดำเนินการให้มีผลบังคับใช้ตามขั้นตอนต่อไป

2.การใช้อำนาจตามมาตรา 53 (3) และ (4) มีข้อสรุปในการแบ่งอำนาจในการใช้ตามมาตรานี้เป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วว่าถ้าดำเนินการเช่นนี้จะช่วยให้การปฏิบัติงานร่วมกันของ ศธจ.และ สพท.มีประสิทธิภาพต่อการบริหารงานบุคคลในจังหวัด ซึ่งขณะนี้ สป.ศธ.กำลังเร่งรัดดำเนินการอยู่

นายบุญรักษ์กล่าวต่อว่า

3.การจัดทำแผนบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่จะต้องทำให้เกิดการบูรณาการงาน บุคคล และงบประมาณ ทั้งในมิติของบทบาทหน้าที่หลักและบริบทของพื้นที่ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการตั้งหน่วยงานศึกษาธิการจังหวัดขึ้นมา

4.การจัดระบบการนิเทศการศึกษา ส่วนนี้นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การบูรณาการเป็นรูปธรรม ส่งผลให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย และ

5.การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานร่วมกันของ สพท.และ ศธจ. ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ การทำให้การประสานงานเกิดความราบรื่นมีประสิทธิภาพ ต้องทำให้ทั้ง 2 องค์กรมองภาพการทำงานในภาพเดียวกันก่อน จากนั้น จึงร่วมมือกันและสนับสนุนกันและกัน มุ่งถึงความสำเร็จของภารกิจของ ศธ.และของประเทศชาติเป็นสำคัญ คือการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนให้ได้ดีที่สุด เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กรจะต้องมองประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

“จากการประชุมหารือระหว่างปลัด ศธ.และผม สรุปว่า เมื่อดำเนินการใน 5 ประเด็นนี้เรียบร้อยแล้ว จะจัดประชุมสัมมนาร่วมกันของผู้อำนวยการ สพท.และ ศธจ.โดยเร็ว เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเป็นเอกภาพ และความสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป” นายบุญรักษ์กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 1 ธันวาคม 2560 - 15:53 น.
3222

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow