ชู Digital Education พลิกโฉมหน้าการศึกษาไทยใน ศ.21

ชู Digital Education พลิกโฉมหน้าการศึกษาไทยใน ศ.21นายสมเกียรติ สรรคพงษ์ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน กล่าวในหัวข้อการพลิกโฉมหน้าการศึกษาของไทยสู่ Digital Education ในงานเสวนาวิชาการ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยระบบดิจิทัล : สร้างคน สร้างชาติ เพื่อศักยภาพไทยสู่สากล” จัดโดย บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เริ่มรวบรวมสื่อการเรียนการสอนต่างๆ และเปลี่ยนสู่การเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้ว โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนเพิ่มมากขึ้น เช่น การศึกษาในระบบ DLIT ซึ่งเป็นคลังสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีการจัดระบบ และหมวดหมู่ที่ให้ครูนำไปใช้งานได้ทันที มีทั้งสื่อที่เป็นภาพนิ่ง วิดีทัศน์ เกม และแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยครูสามารถใช้สื่อจาก DLIT Resources นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด ใช้สื่อตั้งคำถาม ใช้สื่อเป็นคำตอบ เป็นต้น รวมถึง ใช้ในการพัฒนาครู ขณะเดียวกันในส่วนของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนนั้น สพฐ.ให้อิสระกับโรงเรียน และครูเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ โดย สพฐ.ทำหน้าที่พิจารณารับรองคุณภาพ และควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานเท่านั้นนายสุรพล พลอยสุข รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า สิ่งที่ตลาดแรงงานมองเป็นหลักคือ เมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว ต้องทำงานได้ ซึ่งตลาดแรงงานต้องการคนที่มีความสามารถในการทำงานมากกว่า ดังนั้น การจัดการศึกษาในระบบ Digital Education ในส่วนของแรงงานนั้น จึงเป็นเรื่องของการเทรนนิ่ง เป็นการเติมเต็มความรู้ และทักษะในการทำงาน โดยจะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ และการฝึกทักษะที่หลากหลายให้กับประชาชน หรือแรงงาน ซึ่งการพัฒนาสื่อสำหรับแรงงานนั้น ต้องคิดโดยเอางานเป็นตัวตั้ง โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้วางเป้าหมายการพัฒนาระบบเทรนนิ่งออนไลน์ไว้แล้ว ซึ่งแรงงานสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ และฝึกทักษะได้ง่ายผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นคอร์สระยะสั้นที่หลากหลาย และครูผู้สอนสามารถดูแลผู้เรียนได้มากนับหมื่นคนในเวลาเดียวกันมร.นิค ฮัตตั้น Regional Director, Asia จาก D2L Asia Pte. Ltd. กล่าวว่า ปัจจุบันร้อยละ 65 ของจำนวนผู้เรียนที่มีอยู่ในขณะนี้ เมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต สาขาวิชาที่เรียนมาอาจไม่มีอยู่แล้ว เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลง หลายสาขาวิชามีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบริหารจัดการ ทำให้ลดจำนวนแรงงานลง สิ่งที่วงการการศึกษาในประเทศพัฒนาทั่วโลกกำลังปรับตัวขณะนี้ คือการทบทวนทักษะ หรือ re-skill ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนสำคัญ คือ ตัวผู้เรียน ซึ่งในคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนที่ 2 ผู้บริหารจัดการ ที่จะต้องทำความเข้าใจ และรู้จักเทคโนโลยีทางการศึกษามากขึ้นว่ามีอะไร ต้องใช้อย่างไร และส่วนที่ 3 ที่สำคัญที่สุด คือ ครูผู้สอน ที่จะเป็นผู้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียนมากที่สุด ดร.มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ Thailand Partner and Country Director บริษัท เดเทคอน เอเชีย-แปซิฟิค จำกัด ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันหลายประเทศพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาไปไกลมาก โดยหลายประเทศก้าวไปสู่ระดับของการเรียนรู้แล้ว โดยใช้การจัดระบบการศึกษาเฉพาะตัว หรือเฉพาะทางให้กับเด็กตามความถนัด และความเหมาะสม ในขณะที่ไทยยังพัฒนาอยู่แค่ในระดับนโยบาย ยังไม่สามารถปฏิบัติในระดับการเรียนรู้ได้ผลจริง แม้จะตั้งเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษา โดยคาดหวังให้ติดอันดับท็อป 20 ของ PISA ภายในระยะเวลา 20 ปี และมี 5 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับท็อป 100 รวมถึง อย่างน้อย 1 ผลงานวิจัยที่ได้รางวัลโนเบล ก็ดูจะเป็นไปได้ยาก เพราะงบประมาณด้านการวิจัยของประเทศยังต่ำมาก สิ่งที่ดูจะเป็นไปได้มากที่สุดคือเป้าหมายในการปรับปรุงทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย เพราะเมื่อเทียบกับหลายประเทศในอาเซียน จะเห็นว่าไทยมีโปรแกรมเมอร์จำนวนมาก เพียงแต่ทักษะเหล่านี้ถูกพัฒนาจากภายนอก ไม่ได้ถูกพัฒนามาจากการศึกษา หากประเทศสามารถเกลี่ยงบด้านการศึกษาให้เหมาะสมกับเทรนด์ คือกระจายสู่การพัฒนาด้านดิจิทัลมากขึ้น จะทำให้เกิด Digital Education ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ผศ.ชวลิต สูงใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ฝ่ายมัธยมศึกษา กล่าวว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญ แต่ต้องจัดให้เหมาะสมกับช่วงวัย ซึ่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสอนให้เด็กรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ถูกต้อง เหมาะสม โดยเฉพาะชั้นมัธยมต้น ส่วนมัธยมปลายควรใช้ Digital Education เน้นการศึกษาพื้นฐานที่ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ว่าตัวเองมีความถนัดในด้านใด เพื่อให้เด็กรู้จักความสามารถของตัวเองอย่างแท้จริง ต่อยอด และวางตำแหน่งของตนเองในสังคมได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การเรียนออนไลน์มีข้อดี คือเด็กมีโอกาสเข้าถึงความรู้ได้มาก แต่ข้อด้อยคือไม่สามารถสอนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ผ่านการเรียนออนไลน์ได้ ดังนั้น โรงเรียนจึงยังคงมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝัง และสอนให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว หลักสูตรการศึกษาดิจิทัลที่จะจัดทำขึ้นจึงต้องรู้เป้าหมายที่ชัดเจนก่อน และจัดให้เหมาะสม โดยมีครูในโรงเรียนเป็นผู้ควบคุมระบบทั้งหมด โรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกลก็ใช้อินเตอร์เน็ตมาจัดการเรียนรู้ได้ โดยต้องทำให้เป็นโรงเรียนดิจิทัล ห้องสมุดดิจิทัล ที่น่าสนใจ และดึงดูดให้เด็ก หรือสังคมเข้ามาเรียนรู้ มาใช้บริการ ต้องเปิดกว้างเหมือนการทำร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือร้านกาแฟอย่างในปัจจุบันขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 11 เมษายน 2561 3882

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  23
ชู Digital Education พลิกโฉมหน้าการศึกษาไทยใน ศ.21

ชู Digital Education พลิกโฉมหน้าการศึกษาไทยใน ศ.21

นายสมเกียรติ สรรคพงษ์ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน กล่าวในหัวข้อการพลิกโฉมหน้าการศึกษาของไทยสู่ Digital Education ในงานเสวนาวิชาการ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยระบบดิจิทัล : สร้างคน สร้างชาติ เพื่อศักยภาพไทยสู่สากล” จัดโดย บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เริ่มรวบรวมสื่อการเรียนการสอนต่างๆ และเปลี่ยนสู่การเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้ว โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนเพิ่มมากขึ้น เช่น การศึกษาในระบบ DLIT ซึ่งเป็นคลังสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีการจัดระบบ และหมวดหมู่ที่ให้ครูนำไปใช้งานได้ทันที มีทั้งสื่อที่เป็นภาพนิ่ง วิดีทัศน์ เกม และแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยครูสามารถใช้สื่อจาก DLIT Resources นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด ใช้สื่อตั้งคำถาม ใช้สื่อเป็นคำตอบ เป็นต้น รวมถึง ใช้ในการพัฒนาครู ขณะเดียวกันในส่วนของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนนั้น สพฐ.ให้อิสระกับโรงเรียน และครูเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ โดย สพฐ.ทำหน้าที่พิจารณารับรองคุณภาพ และควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานเท่านั้น

นายสุรพล พลอยสุข รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า สิ่งที่ตลาดแรงงานมองเป็นหลักคือ เมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว ต้องทำงานได้ ซึ่งตลาดแรงงานต้องการคนที่มีความสามารถในการทำงานมากกว่า ดังนั้น การจัดการศึกษาในระบบ Digital Education ในส่วนของแรงงานนั้น จึงเป็นเรื่องของการเทรนนิ่ง เป็นการเติมเต็มความรู้ และทักษะในการทำงาน โดยจะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ และการฝึกทักษะที่หลากหลายให้กับประชาชน หรือแรงงาน ซึ่งการพัฒนาสื่อสำหรับแรงงานนั้น ต้องคิดโดยเอางานเป็นตัวตั้ง โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้วางเป้าหมายการพัฒนาระบบเทรนนิ่งออนไลน์ไว้แล้ว ซึ่งแรงงานสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ และฝึกทักษะได้ง่ายผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นคอร์สระยะสั้นที่หลากหลาย และครูผู้สอนสามารถดูแลผู้เรียนได้มากนับหมื่นคนในเวลาเดียวกัน

มร.นิค ฮัตตั้น Regional Director, Asia จาก D2L Asia Pte. Ltd. กล่าวว่า ปัจจุบันร้อยละ 65 ของจำนวนผู้เรียนที่มีอยู่ในขณะนี้ เมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต สาขาวิชาที่เรียนมาอาจไม่มีอยู่แล้ว เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลง หลายสาขาวิชามีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบริหารจัดการ ทำให้ลดจำนวนแรงงานลง สิ่งที่วงการการศึกษาในประเทศพัฒนาทั่วโลกกำลังปรับตัวขณะนี้ คือการทบทวนทักษะ หรือ re-skill ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนสำคัญ คือ ตัวผู้เรียน ซึ่งในคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนที่ 2 ผู้บริหารจัดการ ที่จะต้องทำความเข้าใจ และรู้จักเทคโนโลยีทางการศึกษามากขึ้นว่ามีอะไร ต้องใช้อย่างไร และส่วนที่ 3 ที่สำคัญที่สุด คือ ครูผู้สอน ที่จะเป็นผู้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียนมากที่สุด

 

ดร.มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ Thailand Partner and Country Director บริษัท เดเทคอน เอเชีย-แปซิฟิค จำกัด ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันหลายประเทศพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาไปไกลมาก โดยหลายประเทศก้าวไปสู่ระดับของการเรียนรู้แล้ว โดยใช้การจัดระบบการศึกษาเฉพาะตัว หรือเฉพาะทางให้กับเด็กตามความถนัด และความเหมาะสม ในขณะที่ไทยยังพัฒนาอยู่แค่ในระดับนโยบาย ยังไม่สามารถปฏิบัติในระดับการเรียนรู้ได้ผลจริง แม้จะตั้งเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษา โดยคาดหวังให้ติดอันดับท็อป 20 ของ PISA ภายในระยะเวลา 20 ปี และมี 5 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับท็อป 100 รวมถึง อย่างน้อย 1 ผลงานวิจัยที่ได้รางวัลโนเบล ก็ดูจะเป็นไปได้ยาก เพราะงบประมาณด้านการวิจัยของประเทศยังต่ำมาก สิ่งที่ดูจะเป็นไปได้มากที่สุดคือเป้าหมายในการปรับปรุงทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย เพราะเมื่อเทียบกับหลายประเทศในอาเซียน จะเห็นว่าไทยมีโปรแกรมเมอร์จำนวนมาก เพียงแต่ทักษะเหล่านี้ถูกพัฒนาจากภายนอก ไม่ได้ถูกพัฒนามาจากการศึกษา หากประเทศสามารถเกลี่ยงบด้านการศึกษาให้เหมาะสมกับเทรนด์ คือกระจายสู่การพัฒนาด้านดิจิทัลมากขึ้น จะทำให้เกิด Digital Education ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

ผศ.ชวลิต สูงใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ฝ่ายมัธยมศึกษา กล่าวว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญ แต่ต้องจัดให้เหมาะสมกับช่วงวัย ซึ่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสอนให้เด็กรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ถูกต้อง เหมาะสม โดยเฉพาะชั้นมัธยมต้น ส่วนมัธยมปลายควรใช้ Digital Education เน้นการศึกษาพื้นฐานที่ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ว่าตัวเองมีความถนัดในด้านใด เพื่อให้เด็กรู้จักความสามารถของตัวเองอย่างแท้จริง ต่อยอด และวางตำแหน่งของตนเองในสังคมได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การเรียนออนไลน์มีข้อดี คือเด็กมีโอกาสเข้าถึงความรู้ได้มาก แต่ข้อด้อยคือไม่สามารถสอนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ผ่านการเรียนออนไลน์ได้ ดังนั้น โรงเรียนจึงยังคงมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝัง และสอนให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว หลักสูตรการศึกษาดิจิทัลที่จะจัดทำขึ้นจึงต้องรู้เป้าหมายที่ชัดเจนก่อน และจัดให้เหมาะสม โดยมีครูในโรงเรียนเป็นผู้ควบคุมระบบทั้งหมด โรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกลก็ใช้อินเตอร์เน็ตมาจัดการเรียนรู้ได้ โดยต้องทำให้เป็นโรงเรียนดิจิทัล ห้องสมุดดิจิทัล ที่น่าสนใจ และดึงดูดให้เด็ก หรือสังคมเข้ามาเรียนรู้ มาใช้บริการ ต้องเปิดกว้างเหมือนการทำร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือร้านกาแฟอย่างในปัจจุบัน



ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 11 เมษายน 2561
3882

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow