ดันสร้างระบบอัจฉริยะข้อมูลนร.-ครู มีข้อดีเป็นสัญญาณเตือนแก้ปัญหาทันท่วงที
ดันสร้างระบบอัจฉริยะข้อมูลนร.-ครูสจล.นำเสนอ"หมอธี"ไฟเขียวชี้ทุกวันนี้เก็บไม่เป็นที่เป็นทาง/มีข้อดีเป็นสัญญาณเตือนแก้ปัญหาทันท่วงทีสจล.เตรียมสร้างระบบอัจฉริยะ "Dess Board" รวมข้อมูลนักเรียน 10 ล้าน ครู 5 แสน วิเคราะห์ พยากรณ์อนาคต เด็กไทยส่อแววเรียนจบหรือไม่จบ เพื่อเป็นสัญญาณเตือนแก้ไขได้ทันท่วงที "สุชัชวีร์" ชี้ระบบการศึกษาไทยมีข้อมูลเยอะ แต่กระจัดกระจาย ไม่เป็นที่เป็นทาง เผยเสนอ "หมอธี" เห็นชอบแล้วหนุนเต็มที่ คาดเห็นระบบต้นแบบภายใน 6 เดือนนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เนื่องจาก สจล.ได้ทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดในโลก โดยที่ผ่านมาก็ได้ร่วมทำงานวิจัยกันมาระยะหนึ่งแล้ว และในครั้งนี้ สจล.ร่วมกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน เพื่อพัฒนาระบบอัจฉริยะในลักษณะปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประสานข้อมูลและพยากรณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่ในการพยากรณ์ ซึ่งระบบอัจฉริยะนี้จะสามารถสร้างแมงมุมอัจฉริยะ เชื่อมโยงข้อมูลในส่วนต่างๆ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้นำระบบดังกล่าวไปเสนอให้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ซึ่งทาง รมว.ศธ.ก็เห็นด้วยว่าประเทศเราจะต้องมีระบบอัจฉริยะนี้ เพราะว่าในประเทศไทยมีเด็กในระบบการศึกษากว่า 10,000,000 คน และครูมีอีกว่า 500,000 คน ถ้าเรามีข้อมูลความเคลื่อนไหวและข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ก็จะสามารถขับเคลื่อนทิศทางนโยบายไปได้อย่างถูกทาง เนื่องจากรู้ว่าปัญหาคืออะไร อยู่ที่ตรงไหน ซึ่ง นพ.ธีระเกียรติได้ให้ชื่อระบบอัจฉริยะนี้ว่า Dess Board อัจฉริยะ อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าระบบต้นแบบจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เนื่องจากระบบนี้มีการศึกษาวิจัยมาแล้วเป็นเวลากว่า 15 ปี"ปัจจุบัน ศธ.มีข้อมูลต่างๆ จำนวนมากและอยู่อย่างกระจัดกระจาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเด็ก ข้อมูลของครู หรือแม้แต่ข้อมูลของโรงเรียน ซึ่งกว่าจะดำเนินการรวบรวมได้ก็ต้องใช้เวลานาน อีกทั้งเรายังไม่มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้วอาจจะไม่สามารถสืบค้นได้อย่างเป็นระบบ ทำให้เวลาเราจะตรวจสอบตำแหน่งของเด็กว่าเรียนอยู่ไหน อย่างไร ก็สามารถทำได้อย่างลำบากและใช้เวลานาน อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นระบบดังกล่าวนี้จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องการรวบรวมข้อมูล พร้อมทั้งยังสามารถพยากรณ์ได้ว่า เด็กคนใดมีแววจะเรียนไม่จบ หรือเด็กในลักษณะใดจัดเป็นเด็กมีปัญหา จำนวนครูจะขาดเท่าไร ต้องเพิ่มครูในด้านใด ซึ่งหากประเทศเรามีข้อมูลเหล่านี้ก็จะทำให้การบริหารจัดการและการแก้ปัญหาต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา" อธิการบดี สจล.กล่าว.ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยโพสต์ วันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม 1774
ดันสร้างระบบอัจฉริยะข้อมูลนร.-ครู
สจล.นำเสนอ"หมอธี"ไฟเขียวชี้ทุกวันนี้เก็บไม่เป็นที่เป็นทาง/มีข้อดีเป็นสัญญาณเตือนแก้ปัญหาทันท่วงที
สจล.เตรียมสร้างระบบอัจฉริยะ "Dess Board" รวมข้อมูลนักเรียน 10 ล้าน ครู 5 แสน วิเคราะห์ พยากรณ์อนาคต เด็กไทยส่อแววเรียนจบหรือไม่จบ เพื่อเป็นสัญญาณเตือนแก้ไขได้ทันท่วงที "สุชัชวีร์" ชี้ระบบการศึกษาไทยมีข้อมูลเยอะ แต่กระจัดกระจาย ไม่เป็นที่เป็นทาง เผยเสนอ "หมอธี" เห็นชอบแล้วหนุนเต็มที่ คาดเห็นระบบต้นแบบภายใน 6 เดือน
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เนื่องจาก สจล.ได้ทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดในโลก โดยที่ผ่านมาก็ได้ร่วมทำงานวิจัยกันมาระยะหนึ่งแล้ว และในครั้งนี้ สจล.ร่วมกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน เพื่อพัฒนาระบบอัจฉริยะในลักษณะปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประสานข้อมูลและพยากรณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่ในการพยากรณ์ ซึ่งระบบอัจฉริยะนี้จะสามารถสร้างแมงมุมอัจฉริยะ เชื่อมโยงข้อมูลในส่วนต่างๆ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้นำระบบดังกล่าวไปเสนอให้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ซึ่งทาง รมว.ศธ.ก็เห็นด้วยว่าประเทศเราจะต้องมีระบบอัจฉริยะนี้ เพราะว่าในประเทศไทยมีเด็กในระบบการศึกษากว่า 10,000,000 คน และครูมีอีกว่า 500,000 คน ถ้าเรามีข้อมูลความเคลื่อนไหวและข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ก็จะสามารถขับเคลื่อนทิศทางนโยบายไปได้อย่างถูกทาง เนื่องจากรู้ว่าปัญหาคืออะไร อยู่ที่ตรงไหน ซึ่ง นพ.ธีระเกียรติได้ให้ชื่อระบบอัจฉริยะนี้ว่า Dess Board อัจฉริยะ อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าระบบต้นแบบจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เนื่องจากระบบนี้มีการศึกษาวิจัยมาแล้วเป็นเวลากว่า 15 ปี
"ปัจจุบัน ศธ.มีข้อมูลต่างๆ จำนวนมากและอยู่อย่างกระจัดกระจาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเด็ก ข้อมูลของครู หรือแม้แต่ข้อมูลของโรงเรียน ซึ่งกว่าจะดำเนินการรวบรวมได้ก็ต้องใช้เวลานาน อีกทั้งเรายังไม่มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้วอาจจะไม่สามารถสืบค้นได้อย่างเป็นระบบ ทำให้เวลาเราจะตรวจสอบตำแหน่งของเด็กว่าเรียนอยู่ไหน อย่างไร ก็สามารถทำได้อย่างลำบากและใช้เวลานาน อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นระบบดังกล่าวนี้จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องการรวบรวมข้อมูล พร้อมทั้งยังสามารถพยากรณ์ได้ว่า เด็กคนใดมีแววจะเรียนไม่จบ หรือเด็กในลักษณะใดจัดเป็นเด็กมีปัญหา จำนวนครูจะขาดเท่าไร ต้องเพิ่มครูในด้านใด ซึ่งหากประเทศเรามีข้อมูลเหล่านี้ก็จะทำให้การบริหารจัดการและการแก้ปัญหาต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา" อธิการบดี สจล.กล่าว.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยโพสต์ วันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม
1774
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?