ด่วน!! รมว.ศธ.เตรียมปรับปรุงเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ สอนเกินภาระงานได้’ความชอบ-ผลงาน’
ด่วน!! รมว.ศธ.เตรียมปรับปรุงเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ ยึดชั่วโมงสอน ครูสอนเกินภาระงานได้’ความชอบ-ผลงาน’เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ว่า นโยบายของ ศธ.ยุคนี้จะสืบสานพระราชปณิธานและพระราชดำริ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 รวมทั้งทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ซึ่งมี 6 ยุทธศาสตร์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเคยมีพระราชหัตถเลขาด้านการศึกษาเรื่องครู ว่าปัญหาหนึ่งคือการขาดครู เพราะจำนวนไม่พอและครูย้ายบ่อย ดังนั้นควรเป็นครูท้องที่เพื่อจะได้มีความผูกพันและคิดที่จะพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดของตน ไม่คิดย้ายไปย้ายมา ซึ่ง ศธ.จะมาคิดระบบว่าทำอย่างไรครูถึงไม่ย้ายออกจากพื้นที่“ส่วนเรื่องความก้าวหน้าของครูนั้น จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ เช่น ลดขั้นตอนการประเมิน ซึ่งปัจจุบันจะเสียเงินจ้างผู้ประเมินจำนวนมากพอๆ กับค่าวิทยฐานะ จะเปลี่ยนมาใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว อาทิ กำหนดจำนวนชั่วโมงขั้นพื้นฐานที่ครูสอน ครูคนไหนขยันสอนเกินชั่วโมงขั้นต่ำ ก็ควรได้รับรางวัล นับเป็นผลงาน ครูที่ไปช่วยครูคนอื่นสอนก็สามารถนำมานับรวมเป็นผลงานได้ ส่วนเรื่องคุณภาพ นอกจากจะดูที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กแล้ว จะดูเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ครูไปอบรมพัฒนาหรือไม่ เป็นต้น สำหรับการประเมินคงสภาพวิทยฐานะ ตามมาตรา 55 ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 จะทำให้สอดคล้องกับการประเมินวิทยฐานะใหม่” นพ.ธีระเกียรติ กล่าวนพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า ในปี 2560 ศธ.จะดำเนินโครงการโรงเรียนไอซียู หรือ โรงเรียนที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการศึกษา เพื่อยกระดับโรงเรียนเหล่านี้ให้มีคุณภาพ และดูแลตัวเองได้ โดยเริ่ม 3,000 โรงเรียนก่อน ดังนั้นขอให้ สพท.ไปคัดเลือกโรงเรียนไอซียูที่อยู่ในพื้นที่ โดยวินิจฉัยว่าโรงเรียนดังกล่าวมีปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกับสถานศึกษาและชุมชน ส่งเข้ามาให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณา หากได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนไอซียู จะมีการจัดงบและอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปสนับสนุนและให้พื้นที่ระดมสรรพกำลังแก้ไขปัญหาภายใน 1 ภาคเรียน หากแก้ไขได้ผู้อำนวยการสถานศึกษานั้นก็จะมีผลงานและได้รับการผลักดันให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น และโรงเรียนนั้นจะหลุดออกจากการเป็นโรงเรียนไอซียูขอบคุณที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 26 ธ.ค. 2559ขอบคุณ http://www.krooupdate.com/news/newid-2392.html 921
ด่วน!! รมว.ศธ.เตรียมปรับปรุงเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ ยึดชั่วโมงสอน ครูสอนเกินภาระงานได้’ความชอบ-ผลงาน’
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ว่า นโยบายของ ศธ.ยุคนี้จะสืบสานพระราชปณิธานและพระราชดำริ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 รวมทั้งทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ซึ่งมี 6 ยุทธศาสตร์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเคยมีพระราชหัตถเลขาด้านการศึกษาเรื่องครู ว่าปัญหาหนึ่งคือการขาดครู เพราะจำนวนไม่พอและครูย้ายบ่อย ดังนั้นควรเป็นครูท้องที่เพื่อจะได้มีความผูกพันและคิดที่จะพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดของตน ไม่คิดย้ายไปย้ายมา ซึ่ง ศธ.จะมาคิดระบบว่าทำอย่างไรครูถึงไม่ย้ายออกจากพื้นที่
“ส่วนเรื่องความก้าวหน้าของครูนั้น จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ เช่น ลดขั้นตอนการประเมิน ซึ่งปัจจุบันจะเสียเงินจ้างผู้ประเมินจำนวนมากพอๆ กับค่าวิทยฐานะ จะเปลี่ยนมาใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว อาทิ กำหนดจำนวนชั่วโมงขั้นพื้นฐานที่ครูสอน ครูคนไหนขยันสอนเกินชั่วโมงขั้นต่ำ ก็ควรได้รับรางวัล นับเป็นผลงาน ครูที่ไปช่วยครูคนอื่นสอนก็สามารถนำมานับรวมเป็นผลงานได้ ส่วนเรื่องคุณภาพ นอกจากจะดูที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กแล้ว จะดูเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ครูไปอบรมพัฒนาหรือไม่ เป็นต้น สำหรับการประเมินคงสภาพวิทยฐานะ ตามมาตรา 55 ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 จะทำให้สอดคล้องกับการประเมินวิทยฐานะใหม่” นพ.ธีระเกียรติ กล่าว
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า ในปี 2560 ศธ.จะดำเนินโครงการโรงเรียนไอซียู หรือ โรงเรียนที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการศึกษา เพื่อยกระดับโรงเรียนเหล่านี้ให้มีคุณภาพ และดูแลตัวเองได้ โดยเริ่ม 3,000 โรงเรียนก่อน ดังนั้นขอให้ สพท.ไปคัดเลือกโรงเรียนไอซียูที่อยู่ในพื้นที่ โดยวินิจฉัยว่าโรงเรียนดังกล่าวมีปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกับสถานศึกษาและชุมชน ส่งเข้ามาให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณา หากได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนไอซียู จะมีการจัดงบและอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปสนับสนุนและให้พื้นที่ระดมสรรพกำลังแก้ไขปัญหาภายใน 1 ภาคเรียน หากแก้ไขได้ผู้อำนวยการสถานศึกษานั้นก็จะมีผลงานและได้รับการผลักดันให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น และโรงเรียนนั้นจะหลุดออกจากการเป็นโรงเรียนไอซียู
ขอบคุณที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 26 ธ.ค. 2559
ขอบคุณ http://www.krooupdate.com/news/newid-2392.html
921
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?