"ตรีนุช" กางแผนแก้หนี้ครูทั้งระบบสั่งเริ่มทันที ต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่า 30%
วันที่ 25 กันยายน 2564 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดทำแผนแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ซึ่งในระยะแรกจะดำเนินการ 3 แผนงาน ดังนี้ แผนงานที่ 1.โครงการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบเป็นฐาน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบ จำนวน 12 แห่ง 4 ภาค ภาคละ 3 แห่ง ทำงานร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่ง และส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่จังหวัด ภายในเดือนตุลาคมนี้ และขยายผลการดำเนินไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศที่มีความพร้อม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564เป็นต้นไปรูปแบบการดำเนินงานในโครงการดังกล่าว ได้มีการถอดบทเรียนจากสหกรณ์ตัวอย่าง 2 แห่ง คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรปราการ จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกำแพงเพชร จำกัด ซึ่งพบแนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นสำคัญ ดังนี้1.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้ต่ำลงไม่เกิน 3%2.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สหกรณ์และสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ 4.5-5%3.จัดสรรผลกำไรมาเพิ่มเงินเฉลี่ยคืนเงินกู้ให้มากขึ้น ไม่น้อยกว่า 30% ของผลกำไร4.การบริหารความเสี่ยง การลดค่าธรรมเนียมและการค้ำประกันที่ไม่จำเป็น5.ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูยกเลิกการฟ้องคดี รวมหนี้จากทุกสถาบันการเงินมาไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในอัตรา 2.5 % การปรับโครงสร้างหนี้ครูก่อนเกษียณ อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่ครูที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ 0.25-0.50.% ปรับลดการส่งค่าหุ้นรายเดือน6.จัดทำฐานข้อมูลสมาชิกและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับสถาบันการเงิน และต้นสังกัด7.ร่วมกันส่วนราชการต้นสังกัดหัก ณ ที่จ่าย ควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ จะต้องมีเงินเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30%8.ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการสร้างระบบพัฒนาและดูแลสมาชิก ให้ความรู้เสริมสร้างวินัยและ การวางแผนทางด้านการเงิน การสร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เพิ่มการออม และไม่ก่อหนี้เพิ่มรมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า แผนงานที่ 2.คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เจรจากับสถาบันการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาครูรายที่ถูกฟ้อง พร้อมแนวทางการแก้ปัญหาของผู้ค้ำประกัน และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 โดยให้มีการดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกันในระดับพื้นที่จังหวัดในการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ครู สถาบันการเงิน และส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด และแผนงานที่ 3.การจัดอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มอายุราชการ 1-5 ปี ให้มีความรู้ทางด้านการวางแผนและการสร้างวินัยทางการเงินและการออม โดยมีเป้าหมายอบรม 1 แสนคนต่อปี โดยเริ่มอบรมรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2564 ออนไลน์ผ่านศูนย์ Deep กระทรวงศึกษาธิการทั้งนี้ ข้อมูลภาพรวมปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ครูฯทั่วประเทศประมาณ 9 แสนคน หรือ 80% มีหนี้รวมกัน 1.4 ล้านล้านบาท โดยเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 64% รองลงมาคือ ธนาคารออมสิน วงเงิน 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็น 25% ของหนี้สินครูทั้งหมด 6300
วันที่ 25 กันยายน 2564 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดทำแผนแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ซึ่งในระยะแรกจะดำเนินการ 3 แผนงาน ดังนี้ แผนงานที่ 1.โครงการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบเป็นฐาน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบ จำนวน 12 แห่ง 4 ภาค ภาคละ 3 แห่ง ทำงานร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่ง และส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่จังหวัด ภายในเดือนตุลาคมนี้ และขยายผลการดำเนินไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศที่มีความพร้อม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564เป็นต้นไป
รูปแบบการดำเนินงานในโครงการดังกล่าว ได้มีการถอดบทเรียนจากสหกรณ์ตัวอย่าง 2 แห่ง คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรปราการ จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกำแพงเพชร จำกัด ซึ่งพบแนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้ต่ำลงไม่เกิน 3%
2.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สหกรณ์และสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ 4.5-5%
3.จัดสรรผลกำไรมาเพิ่มเงินเฉลี่ยคืนเงินกู้ให้มากขึ้น ไม่น้อยกว่า 30% ของผลกำไร
4.การบริหารความเสี่ยง การลดค่าธรรมเนียมและการค้ำประกันที่ไม่จำเป็น
5.ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูยกเลิกการฟ้องคดี รวมหนี้จากทุกสถาบันการเงินมาไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในอัตรา 2.5 % การปรับโครงสร้างหนี้ครูก่อนเกษียณ อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่ครูที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ 0.25-0.50.% ปรับลดการส่งค่าหุ้นรายเดือน
6.จัดทำฐานข้อมูลสมาชิกและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับสถาบันการเงิน และต้นสังกัด
7.ร่วมกันส่วนราชการต้นสังกัดหัก ณ ที่จ่าย ควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ จะต้องมีเงินเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30%
8.ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการสร้างระบบพัฒนาและดูแลสมาชิก ให้ความรู้เสริมสร้างวินัยและ การวางแผนทางด้านการเงิน การสร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เพิ่มการออม และไม่ก่อหนี้เพิ่ม
รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า แผนงานที่ 2.คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เจรจากับสถาบันการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาครูรายที่ถูกฟ้อง พร้อมแนวทางการแก้ปัญหาของผู้ค้ำประกัน และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 โดยให้มีการดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกันในระดับพื้นที่จังหวัดในการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ครู สถาบันการเงิน และส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด และแผนงานที่ 3.การจัดอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มอายุราชการ 1-5 ปี ให้มีความรู้ทางด้านการวางแผนและการสร้างวินัยทางการเงินและการออม โดยมีเป้าหมายอบรม 1 แสนคนต่อปี โดยเริ่มอบรมรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2564 ออนไลน์ผ่านศูนย์ Deep กระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้ ข้อมูลภาพรวมปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ครูฯทั่วประเทศประมาณ 9 แสนคน หรือ 80% มีหนี้รวมกัน 1.4 ล้านล้านบาท โดยเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 64% รองลงมาคือ ธนาคารออมสิน วงเงิน 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็น 25% ของหนี้สินครูทั้งหมด
6300
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?