"ตรีนุช" ทำความเข้าใจกับครูทั่วประเทศ 11พ.ค.ประเด็นเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเทอม 1มิ.ย.
6พ.ค.64-นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารองค์กรหลักศธ.ถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 ในวันที่ 1 มิถุนายนว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศเลื่อนการเปิดภาคเรียนจากกำหนดการเดิมในวันที่ 17 พฤษภาคมเป็นวันที่ 1 มิถุนายนนั้น ซึ่งทำให้นักเรียนมีช่วงระยะเวลาว่าง 11 วันก่อนการเปิดภาคเรียน ดังนั้นตนจึงคิดว่าจะมีวิธีการใดบ้างที่อยากจะเติมเต็มการเรียนรู้ของนักเรียนแม้โรงเรียนหยุดแต่การเรียนของเด็กต้องไม่หยุดการเรียน ดังนั้นที่ประชุมจึงมีข้อสรุปว่าจะแบ่งการเตรียมความพร้อมช่วงเวลา 11 วันของนักเรียน แยกเป็นการเรียนรู้ในช่วงวันดังกล่าว 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกิจกรรมแบบออนไลน์ โดยเป็นการเรียนรู้ของกลุ่มเด็กที่มีความพร้อมในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ และ กลุ่มกิจกรรมแบบออฟไลน์ สำหรับกลุ่มนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน ศธ.ได้ร่วมจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ในส่วนกิจกรรมออไลน์จะมีคลังสื่อการเรียนรู้ต่างๆแขวนไว้บนเว็บไซต์ของศธ. โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสื่อการเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ขณะที่กลุ่มกิจกรรมออฟไลน์ มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทำหน้าที่ออกแบบกิจกรรมร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับจังหวัด เพื่อออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การฝึกทักษะอาชีพ หรือการเรียนรู้เรื่องการออมเงินของเด็กแต่ละคน เป็นต้น อย่างไรก็ตามกิจกรรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ไม่ได้เป็นการบังคับว่าโรงเรียนจะต้องทำทุกแห่ง เพราะเรายังต้องคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพของนักเรียนด้วย อย่างไรก็ตาม ตนจะมีการแถลงข่าวเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนอย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะทำภาระกิจให้เชื่อมโยงกับนโยบายของรมว.ศธ. คือ ช่วงแรกการเตรียมความพร้อมของครูเรื่องอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน เพื่อให้การเปิดภาคเรียนไปแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะไม่เกิดความเครียด เนื่องจากเรามีบทเรียนมาแล้ว 1 ปีพบว่าการจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์เด็กยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การเรียนที่ดีพอ แต่ปีนี้เราจะสำรวจความพร้อมของเด็กแต่ละคนว่ามีความพร้อมสำหรับการเรียนในรูปแบบไหนได้บ้าง โดยเบื้องต้นจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 50 เด็กต้องการมาเรียนที่โรงเรียน และเป็นพื้นที่สีขาว ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้นครูผู้สอนจะเป็นผู้จัดการเรียนการสอนให้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพเด็ก นอกจากนี้จะลดกระแสความกังวลของผู้ปกครองที่ไม่เข้าใจว่าสาเหตุใดถึงต้องมาเปิดเรียนในวันที่ 1 มิถุนายน โดยสพฐ.ได้เตรียมกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพเป็นหน่วยการเรียนอย่างหลากหลายให้แก่นักเรียนในช่วง 11 วันก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักเรียน พร้อมประกาศให้เขตพื้นที่เป็นศูนย์การรับนักเรียนสำหรับเด็กที่พลาดจากการสอบเข้าโรงเรียนดังและยังไม่มีที่เรียน โดยเขตพื้นที่จะจัดลำดับโรงเรียนที่ว่างไว้ให้ ซึ่งยืนยันว่าเด็กมีที่เรียนทุกคนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ในวันที่ 11 พฤษภาคมรมว.ศธ.จะชี้แจงทำความใจให้แก่ครูทั่วประเทศได้รับทราบนโยบายการเปิดภาคเรียนด้วย 5984
6พ.ค.64-นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารองค์กรหลักศธ.ถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 ในวันที่ 1 มิถุนายนว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศเลื่อนการเปิดภาคเรียนจากกำหนดการเดิมในวันที่ 17 พฤษภาคมเป็นวันที่ 1 มิถุนายนนั้น ซึ่งทำให้นักเรียนมีช่วงระยะเวลาว่าง 11 วันก่อนการเปิดภาคเรียน ดังนั้นตนจึงคิดว่าจะมีวิธีการใดบ้างที่อยากจะเติมเต็มการเรียนรู้ของนักเรียนแม้โรงเรียนหยุดแต่การเรียนของเด็กต้องไม่หยุดการเรียน ดังนั้นที่ประชุมจึงมีข้อสรุปว่าจะแบ่งการเตรียมความพร้อมช่วงเวลา 11 วันของนักเรียน แยกเป็นการเรียนรู้ในช่วงวันดังกล่าว 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกิจกรรมแบบออนไลน์ โดยเป็นการเรียนรู้ของกลุ่มเด็กที่มีความพร้อมในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ และ กลุ่มกิจกรรมแบบออฟไลน์ สำหรับกลุ่มนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน ศธ.ได้ร่วมจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย
รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ในส่วนกิจกรรมออไลน์จะมีคลังสื่อการเรียนรู้ต่างๆแขวนไว้บนเว็บไซต์ของศธ. โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสื่อการเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ขณะที่กลุ่มกิจกรรมออฟไลน์ มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทำหน้าที่ออกแบบกิจกรรมร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับจังหวัด เพื่อออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การฝึกทักษะอาชีพ หรือการเรียนรู้เรื่องการออมเงินของเด็กแต่ละคน เป็นต้น อย่างไรก็ตามกิจกรรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ไม่ได้เป็นการบังคับว่าโรงเรียนจะต้องทำทุกแห่ง เพราะเรายังต้องคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพของนักเรียนด้วย อย่างไรก็ตาม ตนจะมีการแถลงข่าวเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนอย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้
ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะทำภาระกิจให้เชื่อมโยงกับนโยบายของรมว.ศธ. คือ ช่วงแรกการเตรียมความพร้อมของครูเรื่องอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน เพื่อให้การเปิดภาคเรียนไปแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะไม่เกิดความเครียด เนื่องจากเรามีบทเรียนมาแล้ว 1 ปีพบว่าการจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์เด็กยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การเรียนที่ดีพอ แต่ปีนี้เราจะสำรวจความพร้อมของเด็กแต่ละคนว่ามีความพร้อมสำหรับการเรียนในรูปแบบไหนได้บ้าง โดยเบื้องต้นจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 50 เด็กต้องการมาเรียนที่โรงเรียน และเป็นพื้นที่สีขาว ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้นครูผู้สอนจะเป็นผู้จัดการเรียนการสอนให้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพเด็ก นอกจากนี้จะลดกระแสความกังวลของผู้ปกครองที่ไม่เข้าใจว่าสาเหตุใดถึงต้องมาเปิดเรียนในวันที่ 1 มิถุนายน โดยสพฐ.ได้เตรียมกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพเป็นหน่วยการเรียนอย่างหลากหลายให้แก่นักเรียนในช่วง 11 วันก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักเรียน พร้อมประกาศให้เขตพื้นที่เป็นศูนย์การรับนักเรียนสำหรับเด็กที่พลาดจากการสอบเข้าโรงเรียนดังและยังไม่มีที่เรียน โดยเขตพื้นที่จะจัดลำดับโรงเรียนที่ว่างไว้ให้ ซึ่งยืนยันว่าเด็กมีที่เรียนทุกคนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ในวันที่ 11 พฤษภาคมรมว.ศธ.จะชี้แจงทำความใจให้แก่ครูทั่วประเทศได้รับทราบนโยบายการเปิดภาคเรียนด้วย
5984
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?