ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0การที่ประเทศไทยจะก้าวพ้นจากกับดักไปสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” นโยบายด้าน “การศึกษา” ก็ต้องก้าวตามให้ทันด้วย ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาไทย 4.0 นอกจากปรับปรุงตำราเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร และผลักดันให้เด็กสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาผ่านโครงงานต่างๆ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งต้องลงไปถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ยังมีสิ่งสำคัญอีกเรื่องที่ต้องคำนึง คือ การพัฒนา “จิตวิญญาณ” ความเป็นครูให้เพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะต้องยอมรับว่า ปัจจุบันบางคนก็แค่อาศัยอาชีพ “ครู” ทำมาหากินเท่านั้นพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เคยอธิบายถึงลักษณะของ “ครู” ว่า ครูมีหลายแบบ มีทั้งครูอาชีพ ครูมืออาชีพ และอาชีพครู ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกัน “อาชีพครู” คือ ครูที่ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาเป็นเครื่องมือในการเลี้ยงชีพ ไม่ได้เป็นครูด้วยความรักสมัครใจ แค่สอนจบไปวันๆ ศิษย์จะเข้าใจหรือไม่ก็ไม่สนใจ ขอให้มีเงินเดือนตามวิทยฐานะก็พอ ส่วน “ครูมืออาชีพ” ก็คือครูที่สอนเก่ง มีเทคนิคต่างๆ ในการสอนดี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ “ครูอาชีพ” กลุ่มนี้คือผู้ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ โดยยึดตัวลูกศิษย์เป็นศูนย์กลาง ห่วงใย อาทรลูกศิษย์ ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ศิษย์เป็นคนดีเมื่อดูจากการนิยามเช่นนี้แล้ว คงต้องยอมรับว่า “ครู” ส่วนใหญ่ของประเทศไทยคงเป็นแบบ “อาชีพครู” มากกว่า เพราะระบบต่างๆ ในปัจจุบันล้วนทำให้ครูห่างไกลจากความเป็นครูอาชีพมากขึ้น ทั้งภาระงานต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่ได้ใส่ใจนักเรียนมากเหมือนแต่ก่อน หรือการคัดเลือกครูผู้สอนที่เน้นว่าต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญสูงในสาขาวิชานั้นๆ เท่านั้น จะมีความรู้แบบธรรมดาแล้วมาสอนไม่ได้ โดยไม่ได้มองว่าคนนั้นมีความตั้งใจที่จะสอนอย่างครูอาชีพนางนฤมล แก้วสัมฤทธิ์ ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านกรูโบ อ.อุ้มผาง จ.เชียงราย หนึ่งในผู้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล “คุณากร” ปี 2560 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สะท้อนว่า การสั่งสอนลูกศิษย์นั้น หากเป็นครูอาชีพหรือผู้ที่จิตวิญญาณของความเป็นครู จะไม่สอนแค่วิชาที่เรียน แต่ต้องสอนไปถึงทักษะชีวิตต่างๆ การทำให้ลูกศิษย์เป็นคนดีในสังคม หรือสอนความเป็นคนให้ลูกศิษย์ “ครูอาชีพ” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากของระบบการศึกษาไทย ปัญหาคือ ประเทศไทยเรียกร้องต้องการคนดี อย่างรัฐบาลก็มีนโยบายว่า เด็กต้องเก่งและดีด้วย แต่ถามว่ากระบวนการในการสร้างให้เป็นคนดีตอนนี้คือน้อยมาก เพราะเน้นเรื่องของนวัตกรรมคือ สร้างคนเก่งมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่สามารถวัดผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ทั้งที่จริงแล้วจะต้องสร้างไปควบควบคู่กัน ทั้งเก่งและดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ผลักภาระให้แก่คนอื่น ซึ่งผลลัพธ์ทางการสอนเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถวัดได้ และการจะสร้างให้คนเป็นคนดีเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความพยายามและเวลาบทพิสูจน์ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ ตัว “ครูนฤมล” เอง ซึ่งถือเป็นครูเพียงคนเดียวของศูนย์ฯ กรูโบ ที่ยังคงสอนอยู่อย่างทุ่มเทต่อลูกศิษย์ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ยังต้องใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตกว่าสิ่งดีๆ ที่ทำจะสะท้อนให้บุคคลภายนอกได้เห็น ทั้งที่จริงแล้วจะเลิกทนต่อความลำบากก็ได้ แต่นั่นเพราะครูนฤมลมีความอดทนและเสียสละสมกับจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างมาก“แรกๆ ที่มาประจำที่นี่การคมนาคมก็ลำบาก ชาบ้านยากจน ไม่เห็นความสำคัญของการเรียน เพราะมองว่ามีข้าวให้กินก็พอแล้ว ขณะที่การสาธารณสุขก็ไม่มี ซึ่งต้องทำทุกอย่างที่นอกเหนือหน้าที่ของความเป็นครู ทั้งการไปอบรมจากบุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยตรวจหามาลาเรียในโรงเรียน ตรวจให้ชาวบ้าน ต้องมีการเจาะเลือด จ่ายยา พ่นยา ช่วยชาวบ้านหารายได้ ช่วยให้เด็กได้มีเงินในการเรียนต่อระดับสูงๆ ซึ่งการที่เราไปทำหน้าที่ที่ไม่ใช่ครู ทำให้ชาวบ้านเขามองว่า ครู เป็นตัวแทนของในหลวงที่ไปอยู่กับเขา ไปช่วยเหลือเขา ซึ่งคำนี้สูงค่ามากสำหรับตัวเอง เลยคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คุ้มค่าข้าวค่าน้ำของชาวบ้าน อย่างความสำเร็จของตนคือ สามารถส่งให้ลูกศิษย์เรียนจบระดับ ป.ตรีได้ และไปเป็นครูที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อปิดเทอมก็กลับมาช่วยดูแลน้องๆ ในพื้นที่” ครูนฤมล เล่าจะเห็นได้ว่าจิตวิญญาณของความเป็นครูจากครูนฤมล ได้ส่งผ่านไปอีกเจเนอเรชัน ซึ่ง “หมอธี” นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในงานประชุมวิชาการนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ว่า การสร้างครูอาชีพเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นครูนั้นบอกไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่ที่แน่ชัดคือ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน การมานั่งฟังเลคเชอร์ หรือการเรียนรู้ แต่มองว่าส่วนหนึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสและได้รับแรงบันดาลใจจากคนที่เป็น “ครูอาชีพ” จริงๆ ซึ่งแตกต่างจากครูมืออาชีพที่สอนเก่ง ซึ่งเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ตรงนี้สามารถเรียนรู้เอาได้ โดยกรณีของครูนฤมลและลูกศิษย์ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างครูอาชีพรุ่นถัดไป“อย่างการมีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ซึ่งเป็นรางวัลของสุดยอดครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา ซึ่งจะได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีการคัดเลือกประจำทุก 2 ปี ให้แก่ครูจำนวน 11 ประเทศในอาเซียน ประเทศละ 1 คน และมีการจัดงานประชุมดังกล่าวร่วมด้วย ซึ่งมีครูนักวิชาการจากกลุ่มประเทศอาเซียนและติมอร์-เลสเต เข้าร่วมกว่า 500 คน การเข้ามาสัมผัสกับตัวจริงของ “ครูอาชีพ” ที่ได้รับพระราชทานรางวัล จึงเป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับครูคนอื่น ซึ่งผมมองว่า ครูอาชีพนั้นนอกจากการเป็นแรงบันดาลใจให้แก่
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
การที่ประเทศไทยจะก้าวพ้นจากกับดักไปสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” นโยบายด้าน “การศึกษา” ก็ต้องก้าวตามให้ทันด้วย ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาไทย 4.0 นอกจากปรับปรุงตำราเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร และผลักดันให้เด็กสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาผ่านโครงงานต่างๆ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งต้องลงไปถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ยังมีสิ่งสำคัญอีกเรื่องที่ต้องคำนึง คือ การพัฒนา “จิตวิญญาณ” ความเป็นครูให้เพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะต้องยอมรับว่า ปัจจุบันบางคนก็แค่อาศัยอาชีพ “ครู” ทำมาหากินเท่านั้น
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เคยอธิบายถึงลักษณะของ “ครู” ว่า ครูมีหลายแบบ มีทั้งครูอาชีพ ครูมืออาชีพ และอาชีพครู ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกัน “อาชีพครู” คือ ครูที่ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาเป็นเครื่องมือในการเลี้ยงชีพ ไม่ได้เป็นครูด้วยความรักสมัครใจ แค่สอนจบไปวันๆ ศิษย์จะเข้าใจหรือไม่ก็ไม่สนใจ ขอให้มีเงินเดือนตามวิทยฐานะก็พอ ส่วน “ครูมืออาชีพ” ก็คือครูที่สอนเก่ง มีเทคนิคต่างๆ ในการสอนดี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ “ครูอาชีพ” กลุ่มนี้คือผู้ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ โดยยึดตัวลูกศิษย์เป็นศูนย์กลาง ห่วงใย อาทรลูกศิษย์ ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ศิษย์เป็นคนดี
เมื่อดูจากการนิยามเช่นนี้แล้ว คงต้องยอมรับว่า “ครู” ส่วนใหญ่ของประเทศไทยคงเป็นแบบ “อาชีพครู” มากกว่า เพราะระบบต่างๆ ในปัจจุบันล้วนทำให้ครูห่างไกลจากความเป็นครูอาชีพมากขึ้น ทั้งภาระงานต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่ได้ใส่ใจนักเรียนมากเหมือนแต่ก่อน หรือการคัดเลือกครูผู้สอนที่เน้นว่าต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญสูงในสาขาวิชานั้นๆ เท่านั้น จะมีความรู้แบบธรรมดาแล้วมาสอนไม่ได้ โดยไม่ได้มองว่าคนนั้นมีความตั้งใจที่จะสอนอย่างครูอาชีพ
นางนฤมล แก้วสัมฤทธิ์ ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านกรูโบ อ.อุ้มผาง จ.เชียงราย หนึ่งในผู้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล “คุณากร” ปี 2560 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สะท้อนว่า การสั่งสอนลูกศิษย์นั้น หากเป็นครูอาชีพหรือผู้ที่จิตวิญญาณของความเป็นครู จะไม่สอนแค่วิชาที่เรียน แต่ต้องสอนไปถึงทักษะชีวิตต่างๆ การทำให้ลูกศิษย์เป็นคนดีในสังคม หรือสอนความเป็นคนให้ลูกศิษย์ “ครูอาชีพ” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากของระบบการศึกษาไทย ปัญหาคือ ประเทศไทยเรียกร้องต้องการคนดี อย่างรัฐบาลก็มีนโยบายว่า เด็กต้องเก่งและดีด้วย แต่ถามว่ากระบวนการในการสร้างให้เป็นคนดีตอนนี้คือน้อยมาก เพราะเน้นเรื่องของนวัตกรรมคือ สร้างคนเก่งมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่สามารถวัดผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ทั้งที่จริงแล้วจะต้องสร้างไปควบควบคู่กัน ทั้งเก่งและดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ผลักภาระให้แก่คนอื่น ซึ่งผลลัพธ์ทางการสอนเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถวัดได้ และการจะสร้างให้คนเป็นคนดีเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความพยายามและเวลา
บทพิสูจน์ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ ตัว “ครูนฤมล” เอง ซึ่งถือเป็นครูเพียงคนเดียวของศูนย์ฯ กรูโบ ที่ยังคงสอนอยู่อย่างทุ่มเทต่อลูกศิษย์ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ยังต้องใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตกว่าสิ่งดีๆ ที่ทำจะสะท้อนให้บุคคลภายนอกได้เห็น ทั้งที่จริงแล้วจะเลิกทนต่อความลำบากก็ได้ แต่นั่นเพราะครูนฤมลมีความอดทนและเสียสละสมกับจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างมาก
“แรกๆ ที่มาประจำที่นี่การคมนาคมก็ลำบาก ชาบ้านยากจน ไม่เห็นความสำคัญของการเรียน เพราะมองว่ามีข้าวให้กินก็พอแล้ว ขณะที่การสาธารณสุขก็ไม่มี ซึ่งต้องทำทุกอย่างที่นอกเหนือหน้าที่ของความเป็นครู ทั้งการไปอบรมจากบุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยตรวจหามาลาเรียในโรงเรียน ตรวจให้ชาวบ้าน ต้องมีการเจาะเลือด จ่ายยา พ่นยา ช่วยชาวบ้านหารายได้ ช่วยให้เด็กได้มีเงินในการเรียนต่อระดับสูงๆ ซึ่งการที่เราไปทำหน้าที่ที่ไม่ใช่ครู ทำให้ชาวบ้านเขามองว่า ครู เป็นตัวแทนของในหลวงที่ไปอยู่กับเขา ไปช่วยเหลือเขา ซึ่งคำนี้สูงค่ามากสำหรับตัวเอง เลยคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คุ้มค่าข้าวค่าน้ำของชาวบ้าน อย่างความสำเร็จของตนคือ สามารถส่งให้ลูกศิษย์เรียนจบระดับ ป.ตรีได้ และไปเป็นครูที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อปิดเทอมก็กลับมาช่วยดูแลน้องๆ ในพื้นที่” ครูนฤมล เล่า
จะเห็นได้ว่าจิตวิญญาณของความเป็นครูจากครูนฤมล ได้ส่งผ่านไปอีกเจเนอเรชัน ซึ่ง “หมอธี” นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในงานประชุมวิชาการนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ว่า การสร้างครูอาชีพเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นครูนั้นบอกไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่ที่แน่ชัดคือ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน การมานั่งฟังเลคเชอร์ หรือการเรียนรู้ แต่มองว่าส่วนหนึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสและได้รับแรงบันดาลใจจากคนที่เป็น “ครูอาชีพ” จริงๆ ซึ่งแตกต่างจากครูมืออาชีพที่สอนเก่ง ซึ่งเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ตรงนี้สามารถเรียนรู้เอาได้ โดยกรณีของครูนฤมลและลูกศิษย์ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างครูอาชีพรุ่นถัดไป
“อย่างการมีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ซึ่งเป็นรางวัลของสุดยอดครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา ซึ่งจะได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีการคัดเลือกประจำทุก 2 ปี ให้แก่ครูจำนวน 11 ประเทศในอาเซียน ประเทศละ 1 คน และมีการจัดงานประชุมดังกล่าวร่วมด้วย ซึ่งมีครูนักวิชาการจากกลุ่มประเทศอาเซียนและติมอร์-เลสเต เข้าร่วมกว่า 500 คน การเข้ามาสัมผัสกับตัวจริงของ “ครูอาชีพ” ที่ได้รับพระราชทานรางวัล จึงเป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับครูคนอื่น ซึ่งผมมองว่า ครูอาชีพนั้นนอกจากการเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ครูคนอื่นแล้ว ยังต้องแชร์ประสบการณ์ของตัวเองออกไปด้วย” รมว.ศธ. กล่าว
อย่างไรก็ตาม นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง ครูเชี่ยวชาญโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ผู้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทยปี 2560 ให้ความเห็นว่า การจะสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูขึ้นมานั้น ส่วนหนึ่งก็ต้องช่วยลดภาระงานของครูลงด้วย แต่อีกทางหนึ่งก็ต้องทำให้ครูเข้าใจด้วยว่า ภาระงานที่มากขึ้นนั้นก็ถือเป็นอีกหน้าที่ของครู เพราะครูอาชีพก็ไม่ได้ดูแลแคการเรียนการสอนอย่างเดียว แต่ดูแลไปจนถึงชีวิตส่วนตัวของเด็ก ทำอย่างไรให้เขาเป็นคนดีขึ้นมาได้ ที่สำคัญคือต้องใส่ใจเด็กทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่เด็กที่เรียนดีหรือปานกลาง เด็กที่มีปัญหาก็ต้องใส่ใจด้วย ทั้งนี้มองว่า หากมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างครู และได้สัมผัสกับครูอาชีพตัวจริงจะสามารถช่วยสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูขึ้นมาได้ซึ่งเป็นการสอนความเป็นคนให้ลูกศิษย์ ส่วนการสอนความเก่งนั้น แนะนำว่าให้พยายามคิดนวัตกรรมในการเรียนการสอน ซึ่งอาจไม่ต้องเลิศหรู แต่มีความเหมาะสมกับบริบทและสิ่งแวดล้อม เข้าใจนักเรียนก็เพียงพอ
หากประเทศไทยต้องการก้าวไปสู่ยุค 4.0 เยาวชนที่จะโตขึ้นมารับช่วงต่อนั้นต้องทั้งเก่งและดี ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายดังกล่าว ถึงเวลาที่ต้องส่งเสริมและปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูหรือ “ครูอาชีพ” ให้เพิ่มมากขึ้นเสียก่อน ซึ่ง “หมอธี” ย้ำว่า นอกจากครูมืออาชีพต้องเป็นแรงบันดาลใจให้ครูคนอื่นแล้ว จะต้องแชร์เรื่องราวเพื่อให้ครูได้สัมผัสกับความเป็นครูอาชีพมากขึ้นด้วย!!
ขอบคุณที่มาจาก MGR Online วันที่ 27 เมษายน 2560
ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม
1669
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?