นโยบายด้านการศึกษาที่ว่างเปล่า

การที่ กระทรวงศึกษาธิการ เน้นย้ำว่า การสอบ O-NET เป็นการสอบตามความสมัครใจ  ไม่ให้นำผลสอบ O-NET ไปร่วมตัดสินผลการเรียน จนกระทั้งมาถึงการเลื่อนชั้นอัตโนมัติ ที่โรงเรียนสามารถกำหนดการวัดและประเมินผลของตัวเองได้ว่าจะจัดแบบไหน เป็นผลกระทบที่วงการศึกษาได้รับจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ที่แย่กว่าคือ เป็นคำถามในคำตอบที่ไม่เคยมีคำตอบที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้มีข้อสรุปถึงการเปิดเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใน 28 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดระลอกใหม่ สพฐ. ยืนยันเปิดตามกำหนดเดิมที่จะเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.พ.นี้ ซึ่งเมื่อเปิดเรียนแล้วขอให้โรงเรียนทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามแนวทางที่ สพฐ. กำหนดเลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ส่วนที่ผู้ปกครองมีความกังวลว่าการเรียนผ่านออนไลน์ทำให้เด็กเรียนได้ไม่เต็มที่ และอาจไม่สามารถทำข้อสอบเพื่อเลื่อนชั้นได้นั้น เรื่องนี้ผู้ปกครองไม่ต้องกังวล เพราะ สพฐ. ให้นโยบายโรงเรียนทุกแห่งแล้วว่า การเลื่อนชั้นอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องสอบปลายภาคเรียนสามารถทำได้ แต่ครูผู้สอนต้องหาวิธีการประเมิน ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบ เช่น แจกใบงานฝึกหัดให้เด็กทำส่งได้ เป็นต้น ซึ่งครูจะต้องประเมินเด็กเป็นรายบุคคลแทน ขณะที่การสอบ โอเน็ตของเด็ก ป.6 และ ม.3 ในปีนี้นั้น สพฐ. ได้แจ้งประกาศแล้วว่า ไม่มีการนำคะแนนโอเน็ตมาเป็นผลต่อการเลื่อนชั้น หรือการสอบเข้าต่างๆ แต่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ยังต้องประกาศจัดสอบโอเน็ตอยู่ แต่เป็นความสมัครใจ โรงเรียนไม่มีสิทธิบังคับนักเรียนอย่างเด็ดขาด เป็นการจบแบบหักมุม หลังจากที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ยึดมั่นกับเวลาเรียนและวัดผล ในการระบาดของเชื้อโควิด-19 รอบแรกว่า นักเรียนจะต้องมีเวลาเรียนครบ 200 วันต่อ 1 ปีการศึกษา เห็นได้ชัดจากการเลื่อนระยะเวลาปิดเรียนเปิดเรียน หรือการไม่ปิดภาคเรียนในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2563 แต่สุดท้ายก็จบแบบไม่คาดหวังอะไร แต่คนที่หนักใจและต้องตัดสินใจแทนผู้บริหารระดับสูง คือ นักเรียน และครูผู้สอน ด้วยคำสวยหรูที่ว่า “ตามความสมัครใจ” ช่างเป็นนโยบายที่ว่างเปล่าจริงๆ   5789

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  4
นโยบายด้านการศึกษาที่ว่างเปล่า

การที่ กระทรวงศึกษาธิการ เน้นย้ำว่า การสอบ O-NET เป็นการสอบตามความสมัครใจ  ไม่ให้นำผลสอบ O-NET ไปร่วมตัดสินผลการเรียน จนกระทั้งมาถึงการเลื่อนชั้นอัตโนมัติ ที่โรงเรียนสามารถกำหนดการวัดและประเมินผลของตัวเองได้ว่าจะจัดแบบไหน เป็นผลกระทบที่วงการศึกษาได้รับจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ที่แย่กว่าคือ เป็นคำถามในคำตอบที่ไม่เคยมีคำตอบที่สิ้นสุด

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้มีข้อสรุปถึงการเปิดเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใน 28 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดระลอกใหม่ สพฐ. ยืนยันเปิดตามกำหนดเดิมที่จะเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.พ.นี้ ซึ่งเมื่อเปิดเรียนแล้วขอให้โรงเรียนทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามแนวทางที่ สพฐ. กำหนด
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ส่วนที่ผู้ปกครองมีความกังวลว่าการเรียนผ่านออนไลน์ทำให้เด็กเรียนได้ไม่เต็มที่ และอาจไม่สามารถทำข้อสอบเพื่อเลื่อนชั้นได้นั้น เรื่องนี้ผู้ปกครองไม่ต้องกังวล เพราะ สพฐ. ให้นโยบายโรงเรียนทุกแห่งแล้วว่า การเลื่อนชั้นอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องสอบปลายภาคเรียนสามารถทำได้ แต่ครูผู้สอนต้องหาวิธีการประเมิน ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบ เช่น แจกใบงานฝึกหัดให้เด็กทำส่งได้ เป็นต้น ซึ่งครูจะต้องประเมินเด็กเป็นรายบุคคลแทน 

ขณะที่การสอบ โอเน็ตของเด็ก ป.6 และ ม.3 ในปีนี้นั้น สพฐ. ได้แจ้งประกาศแล้วว่า ไม่มีการนำคะแนนโอเน็ตมาเป็นผลต่อการเลื่อนชั้น หรือการสอบเข้าต่างๆ แต่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ยังต้องประกาศจัดสอบโอเน็ตอยู่ แต่เป็นความสมัครใจ โรงเรียนไม่มีสิทธิบังคับนักเรียนอย่างเด็ดขาด เป็นการจบแบบหักมุม หลังจากที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ยึดมั่นกับเวลาเรียนและวัดผล ในการระบาดของเชื้อโควิด-19 รอบแรกว่า นักเรียนจะต้องมีเวลาเรียนครบ 200 วันต่อ 1 ปีการศึกษา เห็นได้ชัดจากการเลื่อนระยะเวลาปิดเรียนเปิดเรียน หรือการไม่ปิดภาคเรียนในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2563 แต่สุดท้ายก็จบแบบไม่คาดหวังอะไร แต่คนที่หนักใจและต้องตัดสินใจแทนผู้บริหารระดับสูง คือ นักเรียน และครูผู้สอน ด้วยคำสวยหรูที่ว่า “ตามความสมัครใจ” ช่างเป็นนโยบายที่ว่างเปล่าจริงๆ  

5789

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow