ประธานคณะอนุกรรมาธิการแก้ไขหนี้ครูฯ รุกถกเครือข่ายครู 4 ภูมิภาคแก้หนี้แม่พิมพ์ แนะสางปัญหาด่วนกลุ่มหนี้เข้าขั้นวิกฤติก่อน ลดดอกเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 4
ประธานคณะอนุกรรมาธิการแก้ไขหนี้ครูฯ รุกถกเครือข่ายครู 4 ภูมิภาคแก้หนี้แม่พิมพ์ แนะสางปัญหาด่วนกลุ่มหนี้เข้าขั้นวิกฤติก่อน ลดดอกเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 4เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ดร.ปรีดา บุญเพลิง ประธานคณะอนุกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ในคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาและแนวทางบริหารจัดการปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบสภาผู้แทนราษฎรเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการสรุปสาเหตุการเกิดปัญหาหนี้สินครูและวิเคราะห์สาหตุของการเป็นหนี้ พบว่าหนี้สินครูโดยรวมอยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์และจากสถาบันการเงินอื่น ๆ แบ่งครูที่เป็นหนี้ 3 กลุ่ม คือ1.กลุ่มหนี้ปกติ คือ ครูที่เป็นหนี้สามารถส่งคืนหนี้ได้ปกติทุกเดือน และมีเงินเดือนเหลือพอใช้จ่ายเพียงพอในแต่ละเดือนได้ปกติ มีจำนวนปานกลางจากจำนวนครูที่เป็นหนี้ทั้งหมด 2.กลุ่มหนี้ที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ คือ ครูที่เป็นหนี้สามารถส่งคืนได้ปกติทุกเดือน แต่ไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะใช้จ่ายแต่ละเดือน ต้องวิ่งหากู้ยืมเงินนอกระบบมาใช้จ่ายให้เพียงพอ ซึ่งในกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและ 3.กลุ่มหนี้เข้าขั้นวิกฤติ คือ ครูที่เป็นหนี้ไม่สามารถส่งคืนเงินกู้ได้ปกติ เงินใช้แต่ละเดือนไม่เพียงพอส่วนใหญ่ตกเป็นภาระผู้ค้ำประกันหนี้ ต้องรับภาระชำระหนี้แทน กลุ่มนี้แม้จะมีน้อย แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า จากสาเหตุ และสภาพหนี้ปัจจุบันของการเป็นหนี้ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ขาดการยอมรับนับถือในสังคมการแก้ปัญหาหนี้จึงจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบและการจะทำให้เกิดประสิทธิผลได้นั้น คงไม่สามารถดำเนินการกับกลุ่มครูที่เป็นหนี้ทั้งหมดในคราวเดียวกันได้ เพราะครูที่เป็นหนี้มีเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องเริ่มต้นที่กลุ่มครูที่เป็นหนี้วิกฤติก่อนแล้วจึงขยายผลไปยังกลุ่มอื่นโดยระยะเร่งด่วนให้ดำเนินการกับกลุ่มหนี้เข้าขั้นวิกฤติ ซึ่งถูกฟ้องร้องบังคับคดียืดทรัพย์ หรืออาจนำไปสู่การเป็นบุคคลล้มละลาย ควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ตามมาตรการ ดังนี้ 1.การประนอมหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้แก่ครูที่เป็นหนี้ขั้นวิกฤติและกำลังเข้าขั้นวิกฤติ มีการกำหนดแผนการชำระหนี้และเจรจาประนอมหนี้ 2.รัฐต้องพักชำระหนี้ให้แก่ครู อย่างน้อย 2 ปี หรือยืดระยะเวลาการชำระหนี้ตามความเหมาะสม 3.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 4 บาทต่อปีดร.ปรีดา กล่าวต่อไปว่า สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว 1.เสนอให้มีการเพิ่มรายวิชาในหลักสูตรการเรียนครู คือวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน การลงทุน การดำเนินชีวิตด้วยวิถีเศรษฐกิจแบบพอเพียง ปลูกฝังจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ และสังคม ให้กับนักศึกษาครู 2.กระบวนการผลิตครู รัฐต้องกำหนดให้มีสถาบันการผลิตครูโดยตรง กระจายอยู่ภูมิภาคต่าง ๆ จบแล้วสามารถบรรจุรับราชการครูในท้องถิ่นของตนเองได้ทันที ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการบรรจุห่างไกลภูมิลำเนา 3.ให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดหลักสูตรและสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคคลก่อนบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย เพื่อหล่อหลอมและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้ผู้ที่จะบรรจุครูผู้ช่วย 4.การจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพครู รัฐต้องจัดโดยเท่าเทียมกับอัยการ ทหาร ตำรวจ มีสวัสดิการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ เช่น ค่าสอนล่วงเวลา ค่าสอนเกินชั่วโมงที่กำหนด ค่าเบี้ยเลี้ยงพาหนะในการไปราชการ เป็นต้น 5.รัฐต้องปรับปรุงอัตราเงินเดือนครู โดยให้ฐานเงินเดือนครูเริ่มต้นควรเพียงพอต่อการดำรงชีวิตประจำวัน 6.รัฐควรลดภาระงานครูให้เหลือแต่หน้าที่สอนอย่างเดียว 7.ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติมในท้องถิ่นอำเภอ หรือ เขต ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตัวเองได้ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2563 5693
ประธานคณะอนุกรรมาธิการแก้ไขหนี้ครูฯ รุกถกเครือข่ายครู 4 ภูมิภาคแก้หนี้แม่พิมพ์ แนะสางปัญหาด่วนกลุ่มหนี้เข้าขั้นวิกฤติก่อน ลดดอกเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 4
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ดร.ปรีดา บุญเพลิง ประธานคณะอนุกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ในคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาและแนวทางบริหารจัดการปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบสภาผู้แทนราษฎรเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการสรุปสาเหตุการเกิดปัญหาหนี้สินครูและวิเคราะห์สาหตุของการเป็นหนี้ พบว่าหนี้สินครูโดยรวมอยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์และจากสถาบันการเงินอื่น ๆ แบ่งครูที่เป็นหนี้ 3 กลุ่ม คือ1.กลุ่มหนี้ปกติ คือ ครูที่เป็นหนี้สามารถส่งคืนหนี้ได้ปกติทุกเดือน และมีเงินเดือนเหลือพอใช้จ่ายเพียงพอในแต่ละเดือนได้ปกติ มีจำนวนปานกลางจากจำนวนครูที่เป็นหนี้ทั้งหมด 2.กลุ่มหนี้ที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ คือ ครูที่เป็นหนี้สามารถส่งคืนได้ปกติทุกเดือน แต่ไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะใช้จ่ายแต่ละเดือน ต้องวิ่งหากู้ยืมเงินนอกระบบมาใช้จ่ายให้เพียงพอ ซึ่งในกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและ 3.กลุ่มหนี้เข้าขั้นวิกฤติ คือ ครูที่เป็นหนี้ไม่สามารถส่งคืนเงินกู้ได้ปกติ เงินใช้แต่ละเดือนไม่เพียงพอส่วนใหญ่ตกเป็นภาระผู้ค้ำประกันหนี้ ต้องรับภาระชำระหนี้แทน กลุ่มนี้แม้จะมีน้อย แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า จากสาเหตุ และสภาพหนี้ปัจจุบันของการเป็นหนี้ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ขาดการยอมรับนับถือในสังคมการแก้ปัญหาหนี้จึงจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบและการจะทำให้เกิดประสิทธิผลได้นั้น คงไม่สามารถดำเนินการกับกลุ่มครูที่เป็นหนี้ทั้งหมดในคราวเดียวกันได้ เพราะครูที่เป็นหนี้มีเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องเริ่มต้นที่กลุ่มครูที่เป็นหนี้วิกฤติก่อนแล้วจึงขยายผลไปยังกลุ่มอื่นโดยระยะเร่งด่วนให้ดำเนินการกับกลุ่มหนี้เข้าขั้นวิกฤติ ซึ่งถูกฟ้องร้องบังคับคดียืดทรัพย์ หรืออาจนำไปสู่การเป็นบุคคลล้มละลาย ควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ตามมาตรการ ดังนี้ 1.การประนอมหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้แก่ครูที่เป็นหนี้ขั้นวิกฤติและกำลังเข้าขั้นวิกฤติ มีการกำหนดแผนการชำระหนี้และเจรจาประนอมหนี้ 2.รัฐต้องพักชำระหนี้ให้แก่ครู อย่างน้อย 2 ปี หรือยืดระยะเวลาการชำระหนี้ตามความเหมาะสม 3.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 4 บาทต่อปี
ดร.ปรีดา กล่าวต่อไปว่า สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว 1.เสนอให้มีการเพิ่มรายวิชาในหลักสูตรการเรียนครู คือวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน การลงทุน การดำเนินชีวิตด้วยวิถีเศรษฐกิจแบบพอเพียง ปลูกฝังจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ และสังคม ให้กับนักศึกษาครู 2.กระบวนการผลิตครู รัฐต้องกำหนดให้มีสถาบันการผลิตครูโดยตรง กระจายอยู่ภูมิภาคต่าง ๆ จบแล้วสามารถบรรจุรับราชการครูในท้องถิ่นของตนเองได้ทันที ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการบรรจุห่างไกลภูมิลำเนา 3.ให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดหลักสูตรและสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคคลก่อนบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย เพื่อหล่อหลอมและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้ผู้ที่จะบรรจุครูผู้ช่วย 4.การจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพครู รัฐต้องจัดโดยเท่าเทียมกับอัยการ ทหาร ตำรวจ มีสวัสดิการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ เช่น ค่าสอนล่วงเวลา ค่าสอนเกินชั่วโมงที่กำหนด ค่าเบี้ยเลี้ยงพาหนะในการไปราชการ เป็นต้น 5.รัฐต้องปรับปรุงอัตราเงินเดือนครู โดยให้ฐานเงินเดือนครูเริ่มต้นควรเพียงพอต่อการดำรงชีวิตประจำวัน 6.รัฐควรลดภาระงานครูให้เหลือแต่หน้าที่สอนอย่างเดียว 7.ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติมในท้องถิ่นอำเภอ หรือ เขต ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตัวเองได้
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2563
5693
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?