ปรับเกณฑ์ประเมิน ‘ครู-ผอ.’ทั่วประเทศ ก.ค.ศ.ไฟเขียว ‘ครูจิตอาสา’ ใช้ยื่นผลงานได้
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า การประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ได้รับผลกระทบ แม้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลให้ครูต้องปรับรูปแบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ดังนั้น ก.ค.ศ.ได้ปรับหลักเกณฑ์การประเมิน และทำหนังสือแจ้งแนวปฏิบัติไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ยืดหยุ่นหลักเกณฑ์การประเมินต่างๆ โดยครูที่เป็นจิตอาสาในช่วงวิกฤตโควิด-19 สามารถนำมาใช้เป็นผลงานในการประเมินได้ ทั้งนี้ ให้สถานศึกษายืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ส่วนการประเมินผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้ใช้การประเมินในแนวทางเดียวกันรศ.ดร.ประวิตกล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้จัดประชุมคณะทำงานดำเนินการนำร่องการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะ ผ่านระบบออนไลน์ มี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าร่วม โดยรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ห่วงใยเรื่องการเรียนการสอน และจากการรับฟังปัญหาของครูในพื้นที่ อยากให้มีงบประมาณเข้ามาช่วยเด็กในการเรียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่ขาดแคลน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.รับทราบปัญหา คาดว่าจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาเร็วๆ นี้ ทั้งการปรับ และยืดหยุ่นระเบียบการใช้เงินอุดหนุนรายหัว การนับเวลาเรียน การประเมินผลการจัดการเรียน การบริหาร จัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้แก่นักเรียน และผู้ปกครอง“ในส่วนของสำนักงาน ก.ค.ศ.เอง พยายามปรับระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด และเป็นไปตามนโยบาย โดยการประเมินต่างๆ ได้ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตั้งแต่การแพร่ระบาดในช่วงแรก ถือเป็นการปลดล็อก ไม่ให้กระทบภาพรวมการจัดการเรียนการสอน” รศ.ดร.ประวิต กล่าวรศ.ดร.ประวิตกล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้ากรณีข้าราชการครูฯ จำนวน 1,933 ราย ยื่นทบทวนมติคณะกรรมการ ก.ค.ศ.กรณีระบุให้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการยื่นขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว13 เรื่องการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ซึ่งกรณีนี้ยืดเยื้อ และมีการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี 2561 และ ก.ค.ศ.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ อ.ก.ค.ศ.ได้พิจารณาแล้ว และจะประกาศรายชื่อผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนเร็วๆ นี้ แต่ยังไม่ครบทุกคน เนื่องจาก อ.ก.ค.ศ.ไม่สามารถจัดประชุมได้ เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ดังนั้น การทำงานจึงอาจต้องล่าช้าออกไป แต่ ก.ค.ศ.จะเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้เสียสิทธิจากกรณีดังกล่าว ได้รับการพิจารณาจากสำนักงาน ก.ค.ศ.ว่าเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมินเพื่อขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ.0206.3/ว13 เรื่องการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ซึ่งเปิดให้ยื่นตั้งแต่ปี 2559 และได้รับแจ้งผลการประเมินปี 2561 ขณะนั้นผู้ที่ยื่นขอทบทวน 16 ราย ได้เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2561 6204
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า การประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ได้รับผลกระทบ แม้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลให้ครูต้องปรับรูปแบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ดังนั้น ก.ค.ศ.ได้ปรับหลักเกณฑ์การประเมิน และทำหนังสือแจ้งแนวปฏิบัติไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ยืดหยุ่นหลักเกณฑ์การประเมินต่างๆ โดยครูที่เป็นจิตอาสาในช่วงวิกฤตโควิด-19 สามารถนำมาใช้เป็นผลงานในการประเมินได้ ทั้งนี้ ให้สถานศึกษายืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ส่วนการประเมินผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้ใช้การประเมินในแนวทางเดียวกัน
รศ.ดร.ประวิตกล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้จัดประชุมคณะทำงานดำเนินการนำร่องการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะ ผ่านระบบออนไลน์ มี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าร่วม โดยรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ห่วงใยเรื่องการเรียนการสอน และจากการรับฟังปัญหาของครูในพื้นที่ อยากให้มีงบประมาณเข้ามาช่วยเด็กในการเรียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่ขาดแคลน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.รับทราบปัญหา คาดว่าจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาเร็วๆ นี้ ทั้งการปรับ และยืดหยุ่นระเบียบการใช้เงินอุดหนุนรายหัว การนับเวลาเรียน การประเมินผลการจัดการเรียน การบริหาร จัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้แก่นักเรียน และผู้ปกครอง
“ในส่วนของสำนักงาน ก.ค.ศ.เอง พยายามปรับระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด และเป็นไปตามนโยบาย โดยการประเมินต่างๆ ได้ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตั้งแต่การแพร่ระบาดในช่วงแรก ถือเป็นการปลดล็อก ไม่ให้กระทบภาพรวมการจัดการเรียนการสอน” รศ.ดร.ประวิต กล่าว
รศ.ดร.ประวิตกล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้ากรณีข้าราชการครูฯ จำนวน 1,933 ราย ยื่นทบทวนมติคณะกรรมการ ก.ค.ศ.กรณีระบุให้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการยื่นขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว13 เรื่องการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ซึ่งกรณีนี้ยืดเยื้อ และมีการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี 2561 และ ก.ค.ศ.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ อ.ก.ค.ศ.ได้พิจารณาแล้ว และจะประกาศรายชื่อผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนเร็วๆ นี้ แต่ยังไม่ครบทุกคน เนื่องจาก อ.ก.ค.ศ.ไม่สามารถจัดประชุมได้ เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ดังนั้น การทำงานจึงอาจต้องล่าช้าออกไป แต่ ก.ค.ศ.จะเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้เสียสิทธิจากกรณีดังกล่าว ได้รับการพิจารณาจากสำนักงาน ก.ค.ศ.ว่าเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมินเพื่อขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ.0206.3/ว13 เรื่องการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ซึ่งเปิดให้ยื่นตั้งแต่ปี 2559 และได้รับแจ้งผลการประเมินปี 2561 ขณะนั้นผู้ที่ยื่นขอทบทวน 16 ราย ได้เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2561
6204
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?