ผู้บริหารกับกลยุทธ์ Child Centered
ผู้บริหารทุกท่าน คงทราบดีว่า การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้มุ่งพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นสำคัญ และยึดหลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังกำหนดแนวการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การประยุกต์ความรู้มาใช้จัดกิจกรรมเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุลรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตร นอกจากนี้การกำหนดมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ ยังเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มาตรฐานวิชาชีพครูก็ยังเน้นให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียนแนวคิดเกี่ยวกับ Child Centered คือ การจัดประสบการณ์ โดยมีกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การคิดค้น สร้างและสรุปข้อความรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ บุคคลที่ใกล้ชิดและมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ก็คือครู โดยต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของการเป็น ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก กระตุ้น จุดประกายและบอกแหล่งความรู้ที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าได้อย่างหลากหลาย เกิดการเรียนรู้มากที่สุดตามศักยภาพ ของแต่ละบุคคล ดังนั้น ครูต้องจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ให้เด็กมีส่วนร่วม เปลี่ยนวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น แสดงออกตามความสามารถและวัยที่เหมาะสม เป็นการให้อิสระทางความคิดไม่ใช่สอนให้จำอย่างเดียว เพราะการจำจะไม่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้ ถ้าเด็กได้พัฒนากระบวนการคิด ความรู้ก็จะติดอยู่กับเด็กตลอดไปผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งกระตุ้นส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้นเรียน และใช้กระบวนการวิจัยในกรระบวนการเรียนรู้ จัดประชุมสัมมนาหรือส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้บริหารควรแสวงหาและประสานความร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และแหล่งวิทยาการในชุมชน เพื่อระดมทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากแหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพและตามความสนใจของผู้เรียนสิ่งที่ผู้บริหารจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ Child Centered ก็คือ ต้องสร้างบรรยากาศการบริหารแบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มุ่งผลลัพธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก ใช้แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ จัดให้มีระบบการประเมินผู้เรียนที่เน้นการประเมินจากสภาพจริง ทั้งการพัฒนาการด้านต่างๆ การสังเกตพฤติกรรม ความประพฤติ การร่วมกิจกรรม การทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของระดับและรูปแบบการศึกษา ทั้งนี้ ผู้บริหารจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมาย และประกาศนโยบายคุณภาพที่มุ่งส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานของครูที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่และนำไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการประเมินมาตรฐานวิชาชีพครูในโอกาสต่อไปในยุคของการปฏิรูปการศึกษา การบริหารยุคใหม่จะเน้นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการไปยังหน่วยปฏิบัติ และเป็นการกระจายอำนาจไปยังองค์คณะบุคคล ในระดับสถานศึกษาก็จะเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ส่วนผู้บริหารจะเป็นผู้ปฏิบัติตามกรอบการตัดสินใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งมีความรับผิดชอบในลักษณะของการเป็นผู้จัดการ (manager) มากกว่าการเป็นผู้บริหาร (administrator) ดังนั้น ผู้บริหารต้องแสดงบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เสนอแนวทางการปฏิบัติที่สอดรับกับการปฏิรูปการเรียนรู้ ให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้พิจารณาเห็นชอบ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นในองค์กร ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นคุณภาพ (Quality Culture) และเน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Result Oriented) กิจกรรมที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Child Centered มีดังนี้1. ประกาศนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Child Centered2. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม3. จัดอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาครูให้เข้าใจและมีทักษะในการจัดการเรียนการสอนและจัดทำแผนการสอนที่ยึดแนวทาง Child Centered4. เปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสถานศึกษา5. จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับกระบวนการเรียนรู้แบบ Child Centered ในสถานศึกษา6. กำหนดมาตรฐานการทำงานของครู และการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ยึดหลักการประเมินจากสภาพจริง7. ระดมทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรอื่นๆ8. ส่งเสริมกิจกรรมของคณะกรรมการนักเรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาวิชาการและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ9. ประชาสัมพันธ์และรายงานให้ผู้
ผู้บริหารทุกท่าน คงทราบดีว่า การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้มุ่งพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นสำคัญ และยึดหลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังกำหนดแนวการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การประยุกต์ความรู้มาใช้จัดกิจกรรมเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุลรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตร นอกจากนี้การกำหนดมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ ยังเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มาตรฐานวิชาชีพครูก็ยังเน้นให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
แนวคิดเกี่ยวกับ Child Centered คือ การจัดประสบการณ์ โดยมีกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การคิดค้น สร้างและสรุปข้อความรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ บุคคลที่ใกล้ชิดและมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ก็คือครู โดยต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของการเป็น ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก กระตุ้น จุดประกายและบอกแหล่งความรู้ที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าได้อย่างหลากหลาย เกิดการเรียนรู้มากที่สุดตามศักยภาพ ของแต่ละบุคคล ดังนั้น ครูต้องจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ให้เด็กมีส่วนร่วม เปลี่ยนวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น แสดงออกตามความสามารถและวัยที่เหมาะสม เป็นการให้อิสระทางความคิดไม่ใช่สอนให้จำอย่างเดียว เพราะการจำจะไม่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้ ถ้าเด็กได้พัฒนากระบวนการคิด ความรู้ก็จะติดอยู่กับเด็กตลอดไป
ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งกระตุ้นส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้นเรียน และใช้กระบวนการวิจัยในกรระบวนการเรียนรู้ จัดประชุมสัมมนาหรือส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้บริหารควรแสวงหาและประสานความร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และแหล่งวิทยาการในชุมชน เพื่อระดมทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากแหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพและตามความสนใจของผู้เรียน
สิ่งที่ผู้บริหารจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ Child Centered ก็คือ ต้องสร้างบรรยากาศการบริหารแบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มุ่งผลลัพธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก ใช้แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ จัดให้มีระบบการประเมินผู้เรียนที่เน้นการประเมินจากสภาพจริง ทั้งการพัฒนาการด้านต่างๆ การสังเกตพฤติกรรม ความประพฤติ การร่วมกิจกรรม การทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของระดับและรูปแบบการศึกษา ทั้งนี้ ผู้บริหารจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมาย และประกาศนโยบายคุณภาพที่มุ่งส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานของครูที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่และนำไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการประเมินมาตรฐานวิชาชีพครูในโอกาสต่อไป
ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา การบริหารยุคใหม่จะเน้นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการไปยังหน่วยปฏิบัติ และเป็นการกระจายอำนาจไปยังองค์คณะบุคคล ในระดับสถานศึกษาก็จะเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ส่วนผู้บริหารจะเป็นผู้ปฏิบัติตามกรอบการตัดสินใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งมีความรับผิดชอบในลักษณะของการเป็นผู้จัดการ (manager) มากกว่าการเป็นผู้บริหาร (administrator) ดังนั้น ผู้บริหารต้องแสดงบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เสนอแนวทางการปฏิบัติที่สอดรับกับการปฏิรูปการเรียนรู้ ให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้พิจารณาเห็นชอบ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นในองค์กร ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นคุณภาพ (Quality Culture) และเน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Result Oriented) กิจกรรมที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Child Centered มีดังนี้
1. ประกาศนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Child Centered
2. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
3. จัดอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาครูให้เข้าใจและมีทักษะในการจัดการเรียนการสอนและจัดทำแผนการสอนที่ยึดแนวทาง Child Centered
4. เปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสถานศึกษา
5. จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับกระบวนการเรียนรู้แบบ Child Centered ในสถานศึกษา
6. กำหนดมาตรฐานการทำงานของครู และการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ยึดหลักการประเมินจากสภาพจริง
7. ระดมทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรอื่นๆ
8. ส่งเสริมกิจกรรมของคณะกรรมการนักเรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาวิชาการและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ
9. ประชาสัมพันธ์และรายงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของสถานศึกษา เพื่อสร้างความศรัทธาและความร่วมมือในทุกๆ ด้าน
10. จัดให้รางวัลหรือความชอบสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานได้ผลโดยเน้นความโปร่งใส เป็นธรรม และสร้างความสามัคคีในองค์กร
การบริหารสถานศึกษาในอนาคต ผู้บริหารต้องตระหนักว่าทุกกระบวนการ ทุกกิจกรรมการบริหารจัดการต้องเน้นให้เกิดคุณภาพเป็นที่พึงพอใจ และการบริหารสถานศึกษา ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจก็ต่อเมื่อการบริหารจัดการมุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Child Centered ซึ่งต้องระดมทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถตามศักยภาพและตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ถาวรและผู้เรียนมีพัฒนาการตามที่ต้องการ
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?