“ม.44”ไร้มาตรฐาน อลหม่าน!! เปิดเทอม!! อุดมศึกษาถึงเวลาผลัดใบ…โดย ผศ.ดร.รัฐกรณ์
“ม.44”ไร้มาตรฐาน อลหม่าน!! เปิดเทอม!! อุดมศึกษาถึงเวลาผลัดใบ…โดย ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธาน ทปสท. นับตั้งแต่ปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี 2542 แล้วยุบ”ทบวงมหาวิทยาลัย” ไปรวมเป็นหนึ่งในห้าแท่งขึ้นอยู่กับ”กระทรวงศึกษาธิการ” เมื่อปี 2546 “อุดมศึกษาไทย” กลับตกต่ำ อย่างน่าใจหาย!! เห็นได้จากรายงานผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยนิตยสารTimes Higher Education 2016-2017 มีมหาวิทยาลัยไทยเพียงไม่กี่แห่งติดอันดับโลก แถมยังอยู่ในอันดับท้าย ๆ คือ อันดับที่ 500-600 : มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 600-800 : ม.เชียงใหม่,จุฬาฯ, พระจอมเกล้าธนบุรี , ม.เทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 801 + : ม.เกษตรศาสตร์,ม.ขอนแกน, พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ม.สงขลานครินทร์ด้านคุณภาพบัณฑิต นั้น ผลการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ในภาค ก.ในระดับปริญญาตรี ที่มีผู้สอบผ่านเพียงร้อยละ 4 และระดับปริญญาโทร้อยละ 16 เท่านั้น “ขณะที่ มีข่าวปรากฎว่าอธิการบดี เงินเดือน 2-3 แสนบาท มีรายได้หลักล้านต่อเดือน แต่สถาบันอุดมศึกษากลับมีสารพัดปัญหาธรรมาภิบาล การทุจริตคอรัปชั่น การใช้อำนาจโดยมิชอบ การสืบทอดอำนาจ ปัญหาความขัดแย้งในการสรรหาและแต่งตั้งอธิการบดี การปลดอาจารย์ที่ออกมาร้องเรียนเรื่องทุจริตฯลฯ” จนในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศใช้คำสั่ง คสช.ที่ 39/2559 ตามมาตรา 44 เข้าไปควบคุมมหาวิทยาลัยของรัฐ 4 แห่ง หวังแก้ไขปัญหา แต่ผ่านไป..เกือบครบปี แทบไม่มีอะไรคืบ! แต่กลับมีเสียงร้องเรียนเรื่องการดำเนินงานของคณะกรรมการที่เข้าไปควบคุมแก้ไขปัญหา ที่ส่อเค้าจะไปสร้างปัญหาเพิ่ม ทั้งการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยเสียเอง การดำเนินงานที่ล่าช้า(บางแห่งคาดว่าจะอยู่ยาว ทั้งที่เคยประกาศว่าจะอยู่ไม่เกิน 6 เดือน) การแต่งตั้งพวกพ้องเข้าไปดำรงตำแหน่งบริหารแล้ว ตั้งเงินเดือนหลักแสน ทั้งที่มีทั้งเงินเดือนค่าตอบแทนจากที่เดิมอยู่แล้ว กลายเป็นการรับเงินซ้ำซ้อนสองทางล่าสุด นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกมาขู่จะใช้ม.44 กับมหาวิทยาลัยที่กำลังมีปัญหาความขัดแย้ง ระหว่าง”นายกสภากับอธิการบดี” ถึงขั้นอธิการบดีประกาศลาออก!! อีก แสดงให้เห็นชัดว่าแม้จะมีม.44 ออกมาใช้ก็ไม่สามารถช่วยให้ปัญหาธรรมาภิบาลอุดมศึกษาไทยดีขึ้นในส่วนของมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ“อธิการบดี”ต่างก็ต้องการสืบทอดอำนาจ!! อยู่ในตำแหน่งต่อ แม้ว่าจะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่ามกลางข้อสงสัยและเสียงคัดค้านว่าเป็นการดำรงตำแหน่งที่ขัดต่อกฎหมาย จนกระทั่งมีคนนำเรื่องไปฟ้องศาลปกครอง เมื่อศาลมีคำสั่งให้ชะลอการเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กลับมีคนนำเรื่องไปเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ใช้คำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 ให้สามารถแต่งตั้งคนเกษียณเป็นอธิการบดีได้ ส่วนในด้านคุณภาพการศึกษานั้น แม้ว่าคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ) จะมีอำนาจหน้าที่ ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐาน และยังมีอำนาจตามคำสั่ง คสช.ที่ 39/2559 ให้สามารถยับยั้งการรับนักศึกษา ปิดหลักสูตร ยุติการจัดการศึกษา รวมถึงการดำเนินการเอาผิดทางวินัย อาญา และละเมิดกับสภาและสถาบันที่จัดการศึกษาและหลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน แต่ที่ผ่านมาแทบไม่มีการดำเนินการใด ๆ จาก กกอ. ท่ามกลางเสียงครหา เรื่องระบบอุปถัมภ์ สภาเกาหลัง ผลประโยชน์ทับซ้อนจากการที่มีกรรมการ กกอ. ซึ่งเป็นกลุ่มคนไม่กี่คนแต่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ไปนั่งอยู่หลายที่ทั้งในตำแหน่งอธิการบดี กกอ. กพอ.สนช.สปท.คสช.ไม่เว้นแม้แต่ในครม. หลายคนยังไปนั่งเป็นนายกและกรรมการสภาในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง เมื่อมหาวิทยาลัยที่ตัวเองไปนั่งเป็นนายกสภา เมื่อ”กรรมการสภา”ถูกร้องเรียนก็ไม่สามารถดำเนินใดๆได้ขณะที่ประธานกกอ.ก็เพียงแค่ออกมาให้ข่าวเป็นระยะๆ ว่ามีมหาวิทยาลัยที่เข้าข่ายจะถูกดำเนินการตาม ม.44 จำนวน 22 แห่ง ต่อมาลดเหลือ 12 แห่ง จนล่าสุดเลขาฯ กกอ.ออกมาเปิดชื่อมหาวิทยาลัยเอกชนเพียง 10 แห่งซึ่งเปิดหลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน 78 หลักสูตร ถัดจากนั้นไม่นาน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ก็ออกมาเปิดเผยว่าได้ทำการตรวจสอบพบว่ามีมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน 150 แห่ง จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งหมด 154 แห่ง ที่ส่งข้อมูลให้ สตง. ตรวจสอบ และพบว่ามีถึง”2030 หลักสูตร” ที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงได้ทำหนังสือไปถึงกกอ. ขอให้รีบดำเนินการแก้ไข และขอให้เปิดเผยรายชื่อ “มหาวิทยาลัย” และ “หลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน”ต่อสาธารณะ รวมทั้งให้ดำเนินการเอาผิดทางอาญา ละเมิดและวินัยกับกรรมการสภามหาวิทยาลัย พร้อมทั้งขอให้แจ้งผลการดำเนินการให้สตง.ทราบด้วยล่าสุดเลขาฯ กกอ.ได้ออกมาแถลงข่าวอีกครั้งว่าจากการตรวจสอบของ กกอ. พบว่ามีเพียง 1790 หลักสูตรเท่านั้น ที่ไม่ได้มาตรฐาน และได้สั่งปิด 56 หลักสูตร รวมทั้งได้สั่งให้มหาวิทยาลัยเอกชน 10 แห่ง งดรับนักศึกษาจำนวน 22 หลักสูตร คำถามที่ตามมาคือ มหาวิทยาลัยจำนวน 150 แห่ง ที่เปิดหลักสูตรไม่ได้มาตรฐานผ่านการตรวจประเมิน และตรวจประกันคุณภาพได้อย่างไร ก่อนหน้านั้นกกอ.ทำอะไรอยู่ ทำไมไม่จัดการ และสุดท้ายจากข้อมูลที่ไม่ตรงกันสังคมควรจะเชื่อข้อมูลของใครระหว่างสตง.หรือ กกอ. นี่คือความสับสนที่เกิดขึ้นในสังคมนอกจากนี้ ในส่วนของการรับนักศึกษานั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ได้ออกมาแถลงข่าวถึงระบบการรับนักศึกษาใหม่ที่จะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 ว่าจะมีถึง 5 รูปแบบ ซึ่งก็ทำให้เกิดความมึนงง สงสัยทั้งของนักเรียน และผู้ปกครอง ทั้งต่อวิธีการ ขั้นตอน ขึ้นมาทันที ถึงขนาด ทปอ.ประกาศว่าจะต้องเดินสายชี้แจงทั่วประเทศนี่ไม่รวมถึงปัญหาการเปิดภาคเรียนตามอาเฃียน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับการจัดการเรียนการสอน และวิถีชีวิตจนหลายมหาวิทยาลัยต้องหันกลับมาเปิดแบบเดิม ทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีกำหนดการเปิดภาคเรียนไม่ตรงกัน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา และความสับสนอลหม่าน ที่เกิดขึ้นกับอุดมศ
“ม.44”ไร้มาตรฐาน อลหม่าน!! เปิดเทอม!! อุดมศึกษาถึงเวลาผลัดใบ…โดย ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธาน ทปสท.
นับตั้งแต่ปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี 2542 แล้วยุบ”ทบวงมหาวิทยาลัย” ไปรวมเป็นหนึ่งในห้าแท่งขึ้นอยู่กับ”กระทรวงศึกษาธิการ” เมื่อปี 2546 “อุดมศึกษาไทย” กลับตกต่ำ อย่างน่าใจหาย!!
เห็นได้จากรายงานผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยนิตยสารTimes Higher Education 2016-2017 มีมหาวิทยาลัยไทยเพียงไม่กี่แห่งติดอันดับโลก แถมยังอยู่ในอันดับท้าย ๆ คือ อันดับที่ 500-600 : มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 600-800 : ม.เชียงใหม่,จุฬาฯ, พระจอมเกล้าธนบุรี , ม.เทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 801 + : ม.เกษตรศาสตร์,ม.ขอนแกน, พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ม.สงขลานครินทร์
ด้านคุณภาพบัณฑิต นั้น ผลการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ในภาค ก.ในระดับปริญญาตรี ที่มีผู้สอบผ่านเพียงร้อยละ 4 และระดับปริญญาโทร้อยละ 16 เท่านั้น
“ขณะที่ มีข่าวปรากฎว่าอธิการบดี เงินเดือน 2-3 แสนบาท มีรายได้หลักล้านต่อเดือน แต่สถาบันอุดมศึกษากลับมีสารพัดปัญหาธรรมาภิบาล การทุจริตคอรัปชั่น การใช้อำนาจโดยมิชอบ การสืบทอดอำนาจ ปัญหาความขัดแย้งในการสรรหาและแต่งตั้งอธิการบดี การปลดอาจารย์ที่ออกมาร้องเรียนเรื่องทุจริตฯลฯ”
จนในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศใช้คำสั่ง คสช.ที่ 39/2559 ตามมาตรา 44 เข้าไปควบคุมมหาวิทยาลัยของรัฐ 4 แห่ง หวังแก้ไขปัญหา
แต่ผ่านไป..เกือบครบปี แทบไม่มีอะไรคืบ! แต่กลับมีเสียงร้องเรียนเรื่องการดำเนินงานของคณะกรรมการที่เข้าไปควบคุมแก้ไขปัญหา ที่ส่อเค้าจะไปสร้างปัญหาเพิ่ม ทั้งการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยเสียเอง การดำเนินงานที่ล่าช้า(บางแห่งคาดว่าจะอยู่ยาว ทั้งที่เคยประกาศว่าจะอยู่ไม่เกิน 6 เดือน) การแต่งตั้งพวกพ้องเข้าไปดำรงตำแหน่งบริหารแล้ว ตั้งเงินเดือนหลักแสน ทั้งที่มีทั้งเงินเดือนค่าตอบแทนจากที่เดิมอยู่แล้ว กลายเป็นการรับเงินซ้ำซ้อนสองทาง
ล่าสุด นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกมาขู่จะใช้ม.44 กับมหาวิทยาลัยที่กำลังมีปัญหาความขัดแย้ง ระหว่าง”นายกสภากับอธิการบดี” ถึงขั้นอธิการบดีประกาศลาออก!! อีก แสดงให้เห็นชัดว่าแม้จะมีม.44 ออกมาใช้ก็ไม่สามารถช่วยให้ปัญหาธรรมาภิบาลอุดมศึกษาไทยดีขึ้น
ในส่วนของมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ“อธิการบดี”ต่างก็ต้องการสืบทอดอำนาจ!! อยู่ในตำแหน่งต่อ แม้ว่าจะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่ามกลางข้อสงสัยและเสียงคัดค้านว่าเป็นการดำรงตำแหน่งที่ขัดต่อกฎหมาย จนกระทั่งมีคนนำเรื่องไปฟ้องศาลปกครอง เมื่อศาลมีคำสั่งให้ชะลอการเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กลับมีคนนำเรื่องไปเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ใช้คำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 ให้สามารถแต่งตั้งคนเกษียณเป็นอธิการบดีได้
ส่วนในด้านคุณภาพการศึกษานั้น แม้ว่าคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ) จะมีอำนาจหน้าที่ ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐาน และยังมีอำนาจตามคำสั่ง คสช.ที่ 39/2559 ให้สามารถยับยั้งการรับนักศึกษา ปิดหลักสูตร ยุติการจัดการศึกษา รวมถึงการดำเนินการเอาผิดทางวินัย อาญา และละเมิดกับสภาและสถาบันที่จัดการศึกษาและหลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน แต่ที่ผ่านมาแทบไม่มีการดำเนินการใด ๆ จาก กกอ. ท่ามกลางเสียงครหา เรื่องระบบอุปถัมภ์ สภาเกาหลัง ผลประโยชน์ทับซ้อน
จากการที่มีกรรมการ กกอ. ซึ่งเป็นกลุ่มคนไม่กี่คนแต่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ไปนั่งอยู่หลายที่ทั้งในตำแหน่งอธิการบดี กกอ. กพอ.สนช.สปท.คสช.ไม่เว้นแม้แต่ในครม. หลายคนยังไปนั่งเป็นนายกและกรรมการสภาในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง เมื่อมหาวิทยาลัยที่ตัวเองไปนั่งเป็นนายกสภา เมื่อ”กรรมการสภา”ถูกร้องเรียนก็ไม่สามารถดำเนินใดๆได้
ขณะที่ประธานกกอ.ก็เพียงแค่ออกมาให้ข่าวเป็นระยะๆ ว่ามีมหาวิทยาลัยที่เข้าข่ายจะถูกดำเนินการตาม ม.44 จำนวน 22 แห่ง ต่อมาลดเหลือ 12 แห่ง จนล่าสุดเลขาฯ กกอ.ออกมาเปิดชื่อมหาวิทยาลัยเอกชนเพียง 10 แห่งซึ่งเปิดหลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน 78 หลักสูตร
ถัดจากนั้นไม่นาน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ก็ออกมาเปิดเผยว่าได้ทำการตรวจสอบพบว่ามีมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน 150 แห่ง จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งหมด 154 แห่ง ที่ส่งข้อมูลให้ สตง. ตรวจสอบ และพบว่ามีถึง”2030 หลักสูตร” ที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงได้ทำหนังสือไปถึงกกอ. ขอให้รีบดำเนินการแก้ไข และขอให้เปิดเผยรายชื่อ “มหาวิทยาลัย” และ “หลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน”ต่อสาธารณะ รวมทั้งให้ดำเนินการเอาผิดทางอาญา ละเมิดและวินัยกับกรรมการสภามหาวิทยาลัย พร้อมทั้งขอให้แจ้งผลการดำเนินการให้สตง.ทราบด้วย
ล่าสุดเลขาฯ กกอ.ได้ออกมาแถลงข่าวอีกครั้งว่าจากการตรวจสอบของ กกอ. พบว่ามีเพียง 1790 หลักสูตรเท่านั้น ที่ไม่ได้มาตรฐาน และได้สั่งปิด 56 หลักสูตร รวมทั้งได้สั่งให้มหาวิทยาลัยเอกชน 10 แห่ง งดรับนักศึกษาจำนวน 22 หลักสูตร
คำถามที่ตามมาคือ มหาวิทยาลัยจำนวน 150 แห่ง ที่เปิดหลักสูตรไม่ได้มาตรฐานผ่านการตรวจประเมิน และตรวจประกันคุณภาพได้อย่างไร ก่อนหน้านั้นกกอ.ทำอะไรอยู่ ทำไมไม่จัดการ และสุดท้ายจากข้อมูลที่ไม่ตรงกันสังคมควรจะเชื่อข้อมูลของใครระหว่างสตง.หรือ กกอ. นี่คือความสับสนที่เกิดขึ้นในสังคม
นอกจากนี้ ในส่วนของการรับนักศึกษานั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ได้ออกมาแถลงข่าวถึงระบบการรับนักศึกษาใหม่ที่จะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 ว่าจะมีถึง 5 รูปแบบ ซึ่งก็ทำให้เกิดความมึนงง สงสัยทั้งของนักเรียน และผู้ปกครอง ทั้งต่อวิธีการ ขั้นตอน ขึ้นมาทันที ถึงขนาด ทปอ.ประกาศว่าจะต้องเดินสายชี้แจงทั่วประเทศ
นี่ไม่รวมถึงปัญหาการเปิดภาคเรียนตามอาเฃียน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับการจัดการเรียนการสอน และวิถีชีวิตจนหลายมหาวิทยาลัยต้องหันกลับมาเปิดแบบเดิม ทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีกำหนดการเปิดภาคเรียนไม่ตรงกัน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา และความสับสนอลหม่าน ที่เกิดขึ้นกับอุดมศึกษาไทย
ปัญหาเหล่านี้นอกจากส่งผลกระทบโดยตรงกับคุณภาพการศึกษาแล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึงนักเรียน ผู้ปกครอง ก่อนที่จะตัดสินใจเรียนที่ไหน สาขาอะไร ต้องมานั่งเช็คอีกว่าหลักสูตรนั้นได้มาตรฐานหรือไม่ และมหาวิทยาลัยนั้นจะเปิดเทอมเมื่อไร ซ้ำยังต้องวุ่นวายกับการสอบหลากหลายรูปแบบอีก
นี่ยังไม่รวมความอลหม่าน!! ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในการจะจัดตั้ง”กระทรวงอุดมศึกษา” ที่คณะทำงานฯหลังจากเดินสายรับฟังความคิดเห็นจากชาวอุดมศึกษายังไม่ครบทั้งสี่ภาค ก็ออกมาเสนอให้ยุบรวม กพอ.(คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา) เข้ากับกกอ. โดยอ้างเหตุในอนาคตมหาวิทยาลัยไม่มีข้าราชการ
ยิ่งชี้ชัดว่าท่านไม่เข้าใจทั้งระบบ และ ปัญหาอุดมศึกษา เพราะ “กพอ.”เป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งจากพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ส่วน “กกอ.” เป็นคณะคณะกรรมการที่แต่งตั้งจากพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
“กกอ.”ทำหน้าที่หลักในการกำกับดูแลด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา แต่ยังทำได้ไม่ดี มีปัญหาหลักสูตรไร้มาตรฐานดังที่ปรากฎเป็นข่าวอยู่ ส่วน “กพอ.”นั้น นอกจากจะทำหน้าที่หลักด้านการบริหารงานบุคคลของข้าราชการแล้ว ยังต้องรับผิดชอบ”เรื่องการแต่งตั้งตำแหน่งวิชาการ”ของอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั้งหมดทุกสถาบัน และประเด็นสำคัญกว่าข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันจะเกษียณอายุราชการทั้งหมด ก็นับไปอีกเกือบ 20 ปี แล้วเราจะปล่อยเขาไว้ โดยไม่เหลียวแลเลยหรือ
“อนิจจาอุดมศึกษาไทย เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?” ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งระบบ โครงสร้าง และสำคัญที่สุด“คน” ที่จะเข้ามารับผิดชอบอุดมศึกษา ทั้งระดับนโยบาย ไปจนถึงระดับสถาบัน ในเมื่อกลุ่มคนทีมีบทบาทในอุดมศึกษาปัจจุบัน ทั้งผลงาน และปัญหาปรากฎชัด ควรเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจในอุดมศึกษา ได้มีโอกาสเข้ามาแสดงฝีมือบ้าง
งานนี้ “คนเดียว” ที่จะทำได้คงหนีไม่พ้น “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีกแล้วครับท่าน!!!
ที่มา http://www.komchadluek.net/news/edu-health/274377
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?