รองปลัดยุติธรรมชี้ ครูแพะติดคุกฟรี 1 ปีครึ่ง จนชีวิตพังพินาศ ได้รับชดเชย 1.6 แสนบาท!
จากกรณีที่กระทรวงยุติธรรม ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ครูจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร อดีตครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในจ.สกลนคร ที่ถูกตำรวจจับเป็นแพะในคดีขับรถชนคนตายเมื่อปี 2548 ถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี 2 เดือน ในคดีขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต ถูกจำคุกเมื่อปี 2556 ก่อนได้รับอภัยโทษเมื่อปี 2558 รวมเป็นเวลาติดคุกฟรี 1 ปี 6 เดือน เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมล่าสุด นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระ โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่ากรณีแบะๆ ครูแพะกับกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าจะล้อมวงสุนทรีสนทนาในเชิงวิชาการ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมกรณีคุณครูจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร ที่ตกเป็นแพะต้องรับโทษจำคุก 3 ปี 2 เดือน แต่ถูกปล่อยเมื่อรับโทษจำคุกไปเพียง 1 ปี 6 เดือน อันเนื่องมาจากได้รับพระราชทานอภัยโทษนั้น ได้ส่งผลกระทบกับชีวิตครอบครัวและบุคคลรอบข้าง อันเนื่องมาจากคุณครูเป็นเสาหลัก จึงทำให้ลูกชายไม่ได้เรียนหนังสือไปหนึ่งคน ขณะที่คนรอบข้างที่เคยนับถือในฐานะครูก็น้อยลง แต่ได้ยืนยันจะเผชิญหน้ากับปัญหาทั้งหมด เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับสังคม ทั้งในฐานะครูและผู้ที่ถูกจำคุกโดยไม่ได้กระทำผิดต้องต่อสู้เพื่อความถูกต้อง นั้นขณะพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนก็ได้ตรวจที่เกิดเหตุพบและสอบพยาน 3 ปากที่เห็นเหตุการณ์รถยนต์ชนรถจักรยาน 2 ล้อ เห็นป้ายทะเบียน แต่ไม่เห็นจังหวัด โดยได้สอบปากคำเจ้าของรถยนต์ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นคันที่ก่อเหตุและขอตรวจสอบรถ ซึ่งก็ให้ความร่วมมือ พบว่าที่ป้ายทะเบียนหน้ากับกันชนสีถลอกที่ติดรถจักรยาน 2 ล้อ กับบังโคลนหน้า ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาแจ้งว่าไม่ทราบว่ารอยเกิดได้อย่างไร เพราะรถดังกล่าวได้ไปยืมญาติมาใช้ไปทำธุระ เพราะตนเองได้ขายให้ญาติไปแล้ว แต่ไม่มีรถใช้ จึงยืมไปทำธุระ พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานนครพนมมาตรวจสอบระหว่างจักรยาน 2 ล้อ กับรถยนต์ พบว่า เข้ากันได้ในช่วงสูงต่ำ พร้อมขอป้ายทะเบียนรถยนต์ และจักรยาน 2 ล้อ ส่งพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผลออกมาว่าเป็นสีเดียวกันเข้ากันได้ จึงได้ออกหมายเรียกไปยังผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานสอบสวนพร้อมทนาย โดยในชั้นสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ และขอไปให้การชั้นศาล โดยไม่ขออ้างพยานใดๆ จะไปแถลงข้อเท็จจริงในชั้นศาล จนศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา พิพากษาถึงที่สุดฟังดูก็เหมือนมีการทำการดำเนินการข้อมูลในการรวบรวมหลักฐานถูกต้องครบถ้วน …แต่หลุดที่กระบวนการไหน ซึ่งน่าสุนทรีสนทนาในเชิงวิชาการ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างยิ่งต่อไปอย่างไรก็ตามคดีนี้ กระทรวงยุติธรรมเข้าไปช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 โดยญาติของคุณครูได้มาติดต่อสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครพนม ขณะที่ตัวคุณครูติดอยู่ในเรือนจำ และได้ส่งเรื่องต่อไปยังกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่ดูแลกองทุนยุติธรรมในขณะนั้น และได้พิจารณาข้อมูลและข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว รวมทั้งได้ตัวผู้กระทำความผิดตัวจริงมา โดยคณะกรรรมการอาชญากรรมพิเศษของท่าน พ.ต.อ. ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม จึงเห็นว่าคุณครูน่าจะเป็นแพะ วันที่ 19 มีนาคม 2557 กองทุนยุติธรรมจึงได้อนุมัติเงินช่วยเหลือ ค่าทนายความ 50,000 บาท ค่าธรรมเนียมและใช้จ่ายอื่น อีก 20,000 บาท ในการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ ครั้งแรกศาลจังหวัดนครพนมได้ยกคำร้อง ทนายจึงได้ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ได้มีคำสั่งรับคดี และได้มีการนัดสืบพยานในวันที่ 16 มกราคม 2560 เวลา 13.00 น.ส่วนคดีแพ่งทางทายาทผู้ตายได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 3 แสน และได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งทางผู้ต้องหาตัวจริงได้เข้ามาชำระเงินแทนจำเลยเป็นเงิน 170,000 บาท เรียบร้อยแล้ว โดยที่ผู้ต้องหาตัวจริงก็ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนและได้มีการลงบันทึกประจำวันว่าเป็นผู้กระทำผิดจริง โดยไม่มีการบังคับใดๆปกติเหยื่อหรือแพะจะได้รับเงินตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เท่าไหร่และอย่างไรบ้าง1) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษา พยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 40,000 บาทความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดย ตรงจากการถูดำเนินคดี(ถ้ามี)2) ค่าฟื้นฟูสมรรถ ภาพทางร่างกาย และจิตใจเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 50,000 บาทความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี(ถ้ามี)3) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดีอัตรา “ค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่” นับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบ การงานได้ตามปกติ ซึ่งกรณีของคุณครูถูกจำเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน หรือ 548 วัน โดยประมาณ ค่าแรงขั้นต่ำในจังหวัด วันละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 164,400 บาท โดยประมาณ แต่จะได้รับก็ต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาจากการรื้อฟื้นคดีใหม่แล้วว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด4) ค่าทนายความในการรื้อฟื้นคดีตามอัตราดังนี้ก.โทษประหาร 8,000-100,000 บาทข. โทษสูงกว่า 10 ปี-ไม่ถึงประหารชีวิต 6,000-75,000 บาทค. นอกจาก ก.และ ข. 4,000-50,000 บาท5) ค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากข้างต้นเท่าที่จ่ายจริง ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท 1025
จากกรณีที่กระทรวงยุติธรรม ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ครูจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร อดีตครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในจ.สกลนคร ที่ถูกตำรวจจับเป็นแพะในคดีขับรถชนคนตายเมื่อปี 2548 ถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี 2 เดือน ในคดีขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต ถูกจำคุกเมื่อปี 2556 ก่อนได้รับอภัยโทษเมื่อปี 2558 รวมเป็นเวลาติดคุกฟรี 1 ปี 6 เดือน เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม
ล่าสุด นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระ โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า
กรณีแบะๆ ครูแพะกับกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าจะล้อมวงสุนทรีสนทนาในเชิงวิชาการ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
กรณีคุณครูจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร ที่ตกเป็นแพะต้องรับโทษจำคุก 3 ปี 2 เดือน แต่ถูกปล่อยเมื่อรับโทษจำคุกไปเพียง 1 ปี 6 เดือน อันเนื่องมาจากได้รับพระราชทานอภัยโทษนั้น ได้ส่งผลกระทบกับชีวิตครอบครัวและบุคคลรอบข้าง อันเนื่องมาจากคุณครูเป็นเสาหลัก จึงทำให้ลูกชายไม่ได้เรียนหนังสือไปหนึ่งคน ขณะที่คนรอบข้างที่เคยนับถือในฐานะครูก็น้อยลง แต่ได้ยืนยันจะเผชิญหน้ากับปัญหาทั้งหมด เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับสังคม ทั้งในฐานะครูและผู้ที่ถูกจำคุกโดยไม่ได้กระทำผิดต้องต่อสู้เพื่อความถูกต้อง นั้น
ขณะพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนก็ได้ตรวจที่เกิดเหตุพบและสอบพยาน 3 ปากที่เห็นเหตุการณ์รถยนต์ชนรถจักรยาน 2 ล้อ เห็นป้ายทะเบียน แต่ไม่เห็นจังหวัด โดยได้สอบปากคำเจ้าของรถยนต์ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นคันที่ก่อเหตุและขอตรวจสอบรถ ซึ่งก็ให้ความร่วมมือ พบว่าที่ป้ายทะเบียนหน้ากับกันชนสีถลอกที่ติดรถจักรยาน 2 ล้อ กับบังโคลนหน้า ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาแจ้งว่าไม่ทราบว่ารอยเกิดได้อย่างไร เพราะรถดังกล่าวได้ไปยืมญาติมาใช้ไปทำธุระ เพราะตนเองได้ขายให้ญาติไปแล้ว แต่ไม่มีรถใช้ จึงยืมไปทำธุระ พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานนครพนมมาตรวจสอบระหว่างจักรยาน 2 ล้อ กับรถยนต์ พบว่า เข้ากันได้ในช่วงสูงต่ำ พร้อมขอป้ายทะเบียนรถยนต์ และจักรยาน 2 ล้อ ส่งพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผลออกมาว่าเป็นสีเดียวกันเข้ากันได้ จึงได้ออกหมายเรียกไปยังผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานสอบสวนพร้อมทนาย โดยในชั้นสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ และขอไปให้การชั้นศาล โดยไม่ขออ้างพยานใดๆ จะไปแถลงข้อเท็จจริงในชั้นศาล จนศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา พิพากษาถึงที่สุด
ฟังดูก็เหมือนมีการทำการดำเนินการข้อมูลในการรวบรวมหลักฐานถูกต้องครบถ้วน …แต่หลุดที่กระบวนการไหน ซึ่งน่าสุนทรีสนทนาในเชิงวิชาการ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างยิ่งต่อไป
อย่างไรก็ตามคดีนี้ กระทรวงยุติธรรมเข้าไปช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 โดยญาติของคุณครูได้มาติดต่อสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครพนม ขณะที่ตัวคุณครูติดอยู่ในเรือนจำ และได้ส่งเรื่องต่อไปยังกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่ดูแลกองทุนยุติธรรมในขณะนั้น และได้พิจารณาข้อมูลและข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว รวมทั้งได้ตัวผู้กระทำความผิดตัวจริงมา โดยคณะกรรรมการอาชญากรรมพิเศษของท่าน พ.ต.อ. ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม จึงเห็นว่าคุณครูน่าจะเป็นแพะ วันที่ 19 มีนาคม 2557 กองทุนยุติธรรมจึงได้อนุมัติเงินช่วยเหลือ ค่าทนายความ 50,000 บาท ค่าธรรมเนียมและใช้จ่ายอื่น อีก 20,000 บาท ในการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ ครั้งแรกศาลจังหวัดนครพนมได้ยกคำร้อง ทนายจึงได้ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ได้มีคำสั่งรับคดี และได้มีการนัดสืบพยานในวันที่ 16 มกราคม 2560 เวลา 13.00 น.
ส่วนคดีแพ่งทางทายาทผู้ตายได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 3 แสน และได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งทางผู้ต้องหาตัวจริงได้เข้ามาชำระเงินแทนจำเลยเป็นเงิน 170,000 บาท เรียบร้อยแล้ว โดยที่ผู้ต้องหาตัวจริงก็ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนและได้มีการลงบันทึกประจำวันว่าเป็นผู้กระทำผิดจริง โดยไม่มีการบังคับใดๆ
ปกติเหยื่อหรือแพะจะได้รับเงินตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เท่าไหร่และอย่างไรบ้าง
1) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษา พยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 40,000 บาทความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดย ตรงจากการถูดำเนินคดี(ถ้ามี)
2) ค่าฟื้นฟูสมรรถ ภาพทางร่างกาย และจิตใจเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 50,000 บาทความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี(ถ้ามี)
3) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดีอัตรา “ค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่” นับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบ การงานได้ตามปกติ ซึ่งกรณีของคุณครูถูกจำเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน หรือ 548 วัน โดยประมาณ ค่าแรงขั้นต่ำในจังหวัด วันละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 164,400 บาท โดยประมาณ แต่จะได้รับก็ต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาจากการรื้อฟื้นคดีใหม่แล้วว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด
4) ค่าทนายความในการรื้อฟื้นคดีตามอัตราดังนี้
ก.โทษประหาร 8,000-100,000 บาท
ข. โทษสูงกว่า 10 ปี-ไม่ถึงประหารชีวิต 6,000-75,000 บาท
ค. นอกจาก ก.และ ข. 4,000-50,000 บาท
5) ค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากข้างต้นเท่าที่จ่ายจริง ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท
1025
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?