ระบบสารสนเทศที่ดีช่วย "แยกเด็กยากจนจริง-เทียม"…สพฐ.เตรียมขยายผลใช้ทั้งประเทศ

นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวถึงโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อหลักประกันโอกาสทางการเรียนรู้ หรือ“โครงการคัดกรองนักเรียนยากจน”  ซึ่งเป็นความร่วมมือ สพฐ. สสค. ม.ธรรมศาสตร์ และม.นเรศวร   โดยล่าสุดลงพื้นที่เพื่อสำรวจนักเรียนยากจนในแม่ฮ่องสอนพบว่า   “นักเรียนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนยากจนเกือบทั้งหมด หากสพฐ.มีเครื่องมือที่สามารถจำแนกความยากจน และยืนยันข้อมูลได้อย่างชัดเจนว่า เด็กคนใดมีความยากจนจริง กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานระดับพื้นที่ก็จะสามารถช่วยเหลือนักเรียนยากจนได้อย่างตรงจุดและทั่วถึง” นางสาวลิลิน ทรงผาสุก หัวหน้ากลุ่มงบประมาณ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สนผ.สพฐ.) กล่าวว่า “ที่ผ่านมา สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน โดยจัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่มีนักเรียนยากจนและผู้ปกครองมีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 40,000 บาทต่อปี ผ่าน “เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน”ให้แก่นักเรียนประถมศึกษา จำนวน 1,000 บาท/คน/ปี ไม่เกินร้อยละ 40 ของนักเรียนทั้งหมด  และอุดหนุนให้แก่นักเรียน ม.ต้น จำนวน 3,000 บาท/คน/ปี            ไม่เกินร้อยละ 30 ของนักเรียน ม.ต้นทั้งหมด ซึ่งจำนวนนักรียนที่ได้รับไม่ครบทุกคนที่ขอทำให้โรงเรียนจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณลักษณะแบบถัวจ่าย ส่งผลให้งบประมาณสำหรับนักเรียนยากจนไม่ตรงตัวนักเรียนยากจน   ในขณะที่งบประมาณเพื่อการช่วยเหลือนักเรียนยากจนมีประมาณทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท แต่จากแนวทางการจัดสรรที่ผ่านมาทำให้มีนักเรียนยากจนได้รับการช่วยเหลือเพียง 1.6 ล้านคน  เหลืออีกราว 2 ล้านคนที่แจ้งขอรับการอุดหนุน” ด้วยเหตุนี้ สพฐ.จึงต้องใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือและเกณฑ์การคัดกรองที่มีความเที่ยงตรงเพื่อใช้ในการค้นหานักเรียนที่มีความยากจนจริง และให้งบประมาณตรงไปที่นักเรียนได้อย่างตรงจุดมากขึ้น หลังจากนี้ สพฐ. จะเริ่มนำเครื่องมือการคัดกรองนักเรียนยากจนไปใช้กับโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดในปีการศึกษา 1/2560 โดยจะมีการจัดประชุมทางไกล (Teleconference) ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 225 เขต ในเดือน ก.พ.60   เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคัดกรองนักเรียนยากจนด้วยระบบสารสนเทศใหม่นี้และนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันระหว่างเขตพื้นที่และโรงเรียนสังกัดสพฐ.จำนวน 30,717 โรงเรียนทั่วประเทศต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก ทีมสื่อสารสาธารณะ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)  1104

กรกฎาคม 29, 2023 - 19:00
 0  6
ระบบสารสนเทศที่ดีช่วย "แยกเด็กยากจนจริง-เทียม"…สพฐ.เตรียมขยายผลใช้ทั้งประเทศ
นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวถึงโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อหลักประกันโอกาสทางการเรียนรู้ หรือ“โครงการคัดกรองนักเรียนยากจน”  ซึ่งเป็นความร่วมมือ สพฐ. สสค. ม.ธรรมศาสตร์ และม.นเรศวร   โดยล่าสุดลงพื้นที่เพื่อสำรวจนักเรียนยากจนในแม่ฮ่องสอนพบว่า   “นักเรียนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนยากจนเกือบทั้งหมด หากสพฐ.มีเครื่องมือที่สามารถจำแนกความยากจน และยืนยันข้อมูลได้อย่างชัดเจนว่า เด็กคนใดมีความยากจนจริง กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานระดับพื้นที่ก็จะสามารถช่วยเหลือนักเรียนยากจนได้อย่างตรงจุดและทั่วถึง
 
นางสาวลิลิน ทรงผาสุก หัวหน้ากลุ่มงบประมาณ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สนผ.สพฐ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน โดยจัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่มีนักเรียนยากจนและผู้ปกครองมีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 40,000 บาทต่อปี ผ่าน “เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน”ให้แก่นักเรียนประถมศึกษา จำนวน 1,000 บาท/คน/ปี ไม่เกินร้อยละ 40 ของนักเรียนทั้งหมด  และอุดหนุนให้แก่นักเรียน ม.ต้น จำนวน 3,000 บาท/คน/ปี            ไม่เกินร้อยละ 30 ของนักเรียน ม.ต้นทั้งหมด ซึ่งจำนวนนักรียนที่ได้รับไม่ครบทุกคนที่ขอทำให้โรงเรียนจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณลักษณะแบบถัวจ่าย ส่งผลให้งบประมาณสำหรับนักเรียนยากจนไม่ตรงตัวนักเรียนยากจน   ในขณะที่งบประมาณเพื่อการช่วยเหลือนักเรียนยากจนมีประมาณทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท แต่จากแนวทางการจัดสรรที่ผ่านมาทำให้มีนักเรียนยากจนได้รับการช่วยเหลือเพียง 1.6 ล้านคน  เหลืออีกราว 2 ล้านคนที่แจ้งขอรับการอุดหนุน” ด้วยเหตุนี้ สพฐ.จึงต้องใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือและเกณฑ์การคัดกรองที่มีความเที่ยงตรงเพื่อใช้ในการค้นหานักเรียนที่มีความยากจนจริง และให้งบประมาณตรงไปที่นักเรียนได้อย่างตรงจุดมากขึ้น
 
หลังจากนี้ สพฐ. จะเริ่มนำเครื่องมือการคัดกรองนักเรียนยากจนไปใช้กับโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดในปีการศึกษา 1/2560 โดยจะมีการจัดประชุมทางไกล (Teleconference) ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 225 เขต ในเดือน ก.พ.60   เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคัดกรองนักเรียนยากจนด้วยระบบสารสนเทศใหม่นี้และนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันระหว่างเขตพื้นที่และโรงเรียนสังกัดสพฐ.จำนวน 30,717 โรงเรียนทั่วประเทศต่อไป
 
ขอบคุณข้อมูลจาก ทีมสื่อสารสาธารณะ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

 
1104

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow