ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ...มีวาระซ่อนเร้น โดย รัชชัยย์ ศรสุวรรณ
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ...มีวาระซ่อนเร้นโดย รัชชัยย์ ศรสุวรรณ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาและ สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ที่มีบุคคลเข้าชื่อกันเสนอมากกว่าหนึ่งหมื่นคน เสนอในนามกฎหมายภาคประชาชน เข้าสู่กระบวนการพิจารณา และร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ...ทั้งสองฉบับได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน โดยได้มีการหลอมรวมร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติทั้งสองฉบับเป็นฉบับเดียวเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ฉบับที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติฯที่มีต้นร่างมาจากร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ร่างโดย คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ( กอปศ ) เป็นร่างกฎหมายที่องค์กรครูทั้งประเทศไม่ยอมรับและเคยตกไปแล้ว แต่ สคคท ก็ยอมรับร่างกฎหมายดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าให้ไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ นั้น ผมขอเรียนข้อสังเกต ดังนี้ ๑ ร่างกฎหมายฉบับที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ในประเด็นที่สำคัญคือ ๑.๑ เปลี่ยนแปลงคำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา”เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา”๑.๒ เปลี่ยนแปลงคำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” ๑.๓ ยกเลิกความสำคัญว่า “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง” ๒. ปัจจุบันข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับเงินวิทยฐานะและเงินค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนดังนี้ - วิทยฐานะชำนาญการพิเศษได้รับเงินวิทยฐานะ ๕,๖๐๐ บาท ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ๕,๖๐๐ บาท รวม ๑๑,๒๐๐ บาท- วิทยฐานะเชี่ยวชาญได้รับเงินวิทยฐานะ ๙๙,๐๐ บาท ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ๙,๙๐๐ บาท รวม ๑๙,๘๐๐ บาท ๓. การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลทำให้ข้าราชการครูจะถูกตัดเงินวิทยฐานะเพราะ ๓.๑ พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ มีสาระสำคัญว่า “อัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาท้ายพระราชบัญญัตินี้” ๓.๒ บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ บัญญัติให้ - ครูชำนาญการพิเศษที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงินวิทยฐานะ ๕,๖๐๐ บาท- ครูเชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงินวิทยฐานะ ๙,๙๐๐ บาท- ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงิน วิทยฐานะ ๕,๖๐๐ บาท- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงินวิทยฐานะ ๙,๙๐๐ บาท ๓.๓ ข้าราชการครูที่จะได้รับเงินวิทยฐานะตามข้อ ๓.๒ จะต้อง - มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครู- เป็นครู/เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา/เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา- การมี “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” การเป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” ไม่สามารถรับเงินวิทยฐานะได้เพราะเป็นเงื่อนไขที่ไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗- ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯฉบับดังกล่าว ไม่มีการบัญญัติถึงเขตพื้นที่การศึกษา ดังนั้นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะไม่มีอีกต่อไป ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงมีโอกาสที่จะถูกตัดเงินวิทยฐานะ ๓.๔ แม้มาตรา ๓๙ ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับดังกล่าวบัญญัติไว้ว่า “ให้หัวหน้าสถานศึกษา ผู้ช่วยหัวหน้าสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาของรัฐได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และค่าตอบแทนอื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น” เมื่อพิจารณาจากมาตรานี้จะเห็นได้หากกฎหมายนี้ใช้บังคับไม่พบว่ามีหลักประกันอะไรที่ข้าราชการครูจะได้รับค่าวิทยฐานะเท่าเดิม ค่าตอบแทนเท่าเดิม หรือไม่อย่างไรและกฎหมายนี้จะออกมาเมื่อไรก็ไม่มีหลักประกันเรื่องเงื่อนเวลา ๓.๕ แม้มาตรา ๑๐๑ ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับดังกล่าว บัญญัติว่า “ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็นหัวหน้าสถานศึกษาและผู้ช่วยหัวหน้าสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณีและมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามอัตราเดียวกับที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” จากบทบัญญัติข้อนี้เห็นได้ว่าการรับประโยชน์ในอัตราเดียวกับที่เคยได้รับนั้นไปรับโดยอาศัยกฎหมายใด ที่สำคัญคือมาตรานี้คุ้มครองเฉพาะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเท่านั้น แต่ไม่คุ้มครองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและยังไม่คุ้มครองครูที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และครูที่ได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือวิทยฐานะเชี่ยวชาญหลังกฎหมายนี้ใช้บังคับ และยังรวมถึงผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษาในอนาคตก็จะไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ เพราะไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และชื่อตำแหน่งก็ไม่ใช่รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษา ๔. ข้อบ่งชี้ว่าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับนี้มีเจตนาแอบแฝงในสิ่งที่น่าเชื่อว่ามีเจตนาลดค่าใช้จ่ายของรัฐด้วยการตัดเงินค่าวิทยฐานะของครูซึ่งเป็นข้าราชการกลุ่มใหญ่ของประเทศคือ ๔.๑ การเปลี่ยนแปลงชื่อต่างๆ นั้นไม่มีเหตุผลที่เพียงพอจนสมควรที
โดย รัชชัยย์ ศรสุวรรณ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาและ สมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท) ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ที่มีบุคคลเข้าชื่อกันเสนอมากกว่าหนึ่งหมื่นคน เสนอในนามกฎหมายภาคประชาชน เข้าสู่กระบวนการพิจารณา และร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ...ทั้งสองฉบับได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน โดยได้มีการหลอมรวมร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติทั้งสองฉบับเป็นฉบับเดียวเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ฉบับที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติฯที่มีต้นร่างมาจากร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ร่างโดย คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ( กอปศ ) เป็นร่างกฎหมายที่องค์กรครูทั้งประเทศไม่ยอมรับและเคยตกไปแล้ว แต่ สคคท ก็ยอมรับร่างกฎหมายดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าให้ไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ นั้น ผมขอเรียนข้อสังเกต ดังนี้
๑ ร่างกฎหมายฉบับที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ในประเด็นที่สำคัญคือ
๑.๑ เปลี่ยนแปลงคำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา”เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา”
๑.๒ เปลี่ยนแปลงคำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู”
๑.๓ ยกเลิกความสำคัญว่า “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง”
๒. ปัจจุบันข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับเงินวิทยฐานะและเงินค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนดังนี้
- วิทยฐานะชำนาญการพิเศษได้รับเงินวิทยฐานะ ๕,๖๐๐ บาท ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ๕,๖๐๐ บาท รวม ๑๑,๒๐๐ บาท
- วิทยฐานะเชี่ยวชาญได้รับเงินวิทยฐานะ ๙๙,๐๐ บาท ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ๙,๙๐๐ บาท รวม ๑๙,๘๐๐ บาท
๓. การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลทำให้ข้าราชการครูจะถูกตัดเงินวิทยฐานะเพราะ
๓.๑ พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ มีสาระสำคัญว่า “อัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาท้ายพระราชบัญญัตินี้”
๓.๒ บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ บัญญัติให้
- ครูชำนาญการพิเศษที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงินวิทยฐานะ ๕,๖๐๐ บาท
- ครูเชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงินวิทยฐานะ ๙,๙๐๐ บาท
- ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงิน วิทยฐานะ ๕,๖๐๐ บาท
- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้รับเงินวิทยฐานะ ๙,๙๐๐ บาท
๓.๓ ข้าราชการครูที่จะได้รับเงินวิทยฐานะตามข้อ ๓.๒ จะต้อง
- มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครู
- เป็นครู/เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา/เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- การมี “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” การเป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” ไม่สามารถรับเงินวิทยฐานะได้เพราะเป็นเงื่อนไขที่ไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗
- ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯฉบับดังกล่าว ไม่มีการบัญญัติถึงเขตพื้นที่การศึกษา ดังนั้นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะไม่มีอีกต่อไป ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงมีโอกาสที่จะถูกตัดเงินวิทยฐานะ
๓.๔ แม้มาตรา ๓๙ ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับดังกล่าวบัญญัติไว้ว่า “ให้หัวหน้าสถานศึกษา ผู้ช่วยหัวหน้าสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาของรัฐได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และค่าตอบแทนอื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น” เมื่อพิจารณาจากมาตรานี้จะเห็นได้หากกฎหมายนี้ใช้บังคับไม่พบว่ามีหลักประกันอะไรที่ข้าราชการครูจะได้รับค่าวิทยฐานะเท่าเดิม ค่าตอบแทนเท่าเดิม หรือไม่อย่างไรและกฎหมายนี้จะออกมาเมื่อไรก็ไม่มีหลักประกันเรื่องเงื่อนเวลา
๓.๕ แม้มาตรา ๑๐๑ ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับดังกล่าว บัญญัติว่า “ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็นหัวหน้าสถานศึกษาและผู้ช่วยหัวหน้าสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณีและมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามอัตราเดียวกับที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” จากบทบัญญัติข้อนี้เห็นได้ว่าการรับประโยชน์ในอัตราเดียวกับที่เคยได้รับนั้นไปรับโดยอาศัยกฎหมายใด ที่สำคัญคือมาตรานี้คุ้มครองเฉพาะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเท่านั้น แต่ไม่คุ้มครองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและยังไม่คุ้มครองครูที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และครูที่ได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือวิทยฐานะเชี่ยวชาญหลังกฎหมายนี้ใช้บังคับ และยังรวมถึงผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษาในอนาคตก็จะไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ เพราะไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และชื่อตำแหน่งก็ไม่ใช่รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษา
๔. ข้อบ่งชี้ว่าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับนี้มีเจตนาแอบแฝงในสิ่งที่น่าเชื่อว่ามีเจตนาลดค่าใช้จ่ายของรัฐด้วยการตัดเงินค่าวิทยฐานะของครูซึ่งเป็นข้าราชการกลุ่มใหญ่ของประเทศคือ
๔.๑ การเปลี่ยนแปลงชื่อต่างๆ นั้นไม่มีเหตุผลที่เพียงพอจนสมควรที่จะต้องเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงมิได้เป็นการแก้ปัญหาการศึกษาหรือทำให้การศึกษาดีขึ้นอย่างไร
๔.๒ ในการร่างพระราชบัญญัติ นั้นโดยหลักแล้วจะมี บันทึกหลักการเหตุผลเพื่อเป็นการแสดงขอบเขตและเจตนารมณ์ของกฎหมาย/ชื่อร่าง พ.ร.บ.เพื่อให้ทราบว่ามีเนื้อหาสาระที่จะใช้บังคับแก่เรื่องใด/ คำปรารภเพื่อทราบขอบเขตของพระราชบัญญัติ/ บทจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้กว้างๆไม่เจาะลึกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับที่เป็นปัญหานี้ นั้น เขียนเหตุผลว่า “เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย จำเป็นต้องกำหนดให้ครูมีใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู.....” ในขณะที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ บัญญัติว่า “พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล.....”
การที่ร่างพระราชบัญญัติฯฉบับดังกล่าวบัญญัติเรื่องใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู ไว้ในเหตุผลของการร่างกฎหมายนั้น น่าเชื่อว่ามีเจตนาหมกเม็ดให้มีคำสำคัญนี้ในเหตุผลการร่างกฎหมาย ซึ่งถ้ามีการรับหลักการแล้วก็ไม่สามารถไปแก้ไขในตัวบทได้เพราะจะเป็นการขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายดังที่ได้บัญญัติไว้ในข้อ ๑๒๕ วรรคท้าย ของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๒ บัญญัติว่า “...การแปรญัตติเพิ่มมาตราขึ้นใหม่หรือตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิมต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น”
๕. ร่าง พ.ร.บ.นี้ยังมีปัญหาที่สำคัญอีกหลายประการเช่นการไม่มีบัญญัติถึง สพฐ. /ไม่มีบัญญัติถึงเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งย่อมหมายถึงว่าน่าจะมีการยุบหน่วยงานทั้งสองหน่วยงานนี้ โดยที่มิได้ให้โอกาสครูได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นว่าควรยุบหรือไม่/ มีการบัญญัติให้เอกชนสามารถใช้ทรัพยากรของรัฐในการจัดการศึกษาได้ กรณีนี้อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีอำนาจพิจารณากระทำการทุจริตและจะทำให้เกิดกระบวนการให้มีการยุบโรงเรียนของรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเข้าใช้สถานที่ของรัฐในการประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชน อาจเรียกได้ว่าเป็นร่างกฎหมายที่ส่อไปในทางทุจริตเชิงนโยบาย
จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็น “ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับมีวาระซ่อนเร้น”
6011
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?