ศธ.หารือความร่วมมือกับฟินแลนด์ เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาคณาจารย์และหลักสูตรในสถาบัน..
ศธ.หารือความร่วมมือกับฟินแลนด์ เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาคณาจารย์และหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ ได้เผยแพร่ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ข่าวที่ 595/2560 เรื่อง ศธ.หารือความร่วมมือกับฟินแลนด์ เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาคณาจารย์และหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู โดยมีเนื้อหาข่าว ดังนี้"ฟินแลนด์" เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการผลิตครูที่มีคุณภาพสูงระดับโลก ศธ.ได้หารือร่วมกันเพื่อเตรียมวางแผนผลิตคณาจารย์และหลักสูตรผลิตครูทั้งระบบ ตรงตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด พร้อมเตรียมเวิร์คช็อปกับคณบดีครุศาสตร์ มรภ.ทั่วประเทศ 11-15 ธ.ค.นี้ กระทรวงศึกษาธิการ - เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องประชุมอาคารราชวัลลภ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับและหารือกับนางซูซันนา เอลต์วิค (Mrs Susanna Eltvik) ที่ปรึกษาด้านการศึกษา (Education Advisor of Finland) รวมทั้งผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย เกี่ยวกับความร่วมมือการผลิตและพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรในการผลิตครู โดยมี รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา ในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี, ผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันคลังสมอง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมประชุมหารือม.ล.ปริยดา ดิศกุล กล่าวว่า ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีคุณภาพทางด้านการศึกษาสูงมาก และให้ความสำคัญกับการผลิตครูที่มีคุณภาพสูง โดยนำนักเรียนที่เก่งในด้านต่าง ๆ เข้ามาเป็นครู มุ่งเน้นการผลิตครูในเรื่องของการคิด (Thinking Curriculum) ซึ่งทำให้ครูสามารถสร้างนวัตกรรมและหลักสูตรของตัวเองได้ อีกทั้งยังได้สร้างโรงเรียนตัวอย่างหรือโรงเรียนสาธิต เพื่อให้ครูได้ทดลองฝึกนวัตกรรมและหลักสูตรต่าง ๆ ประการสำคัญคือฟินแลนด์ยังได้จัดระบบที่กระตุ้นให้ครูเป็นผู้นำทางด้านการศึกษา สามารถจัดการและออกแบบการศึกษาได้เองตามศักยภาพการหารือร่วมกันในครั้งนี้ ได้หารือเกี่ยวกับการพัฒนาครูในประเทศไทย มุ่งเน้นไปที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพราะถือเป็นศูนย์กลางของสถาบันศึกษาที่มีการผลิตบัณฑิตครูเข้าสู่ระบบ จึงต้องการเน้นการผลิตและพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง จนถึงกระบวนการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายความร่วมมือไปยังสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาครู สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาได้ทั้งระบบ คือ พัฒนาเด็ก พัฒนาครู และต่อยอดสู่นโยบายเดียวกันทั้งนี้ ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศเคยร่วมมือในการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันฝ่ายผลิตครูร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา 9 แห่ง คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 4 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2 แห่ง และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง แต่ปัจจุบันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในสถาบันอุดมศึกษาเพียง 3 แห่งเท่านั้น คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จากข้อสรุปการหารือในครั้งนี้ ฟินแลนด์จะส่งผู้เชี่ยวชาญลงไปสำรวจข้อมูลและหลักสูตรในมหาวิทยาลัยของไทยที่ร่วมดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการศึกษาในสถาบันฝ่ายผลิตครู พร้อมทั้งวิเคราะห์จัดทำรายงานในแต่ละมหาวิทยาลัย จากนั้นจะสรุปรายงานในภาพรวม เพื่อให้คำแนะนำต่อการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันฝ่ายผลิตครู ตลอดจนหลักสูตรการผลิตครูที่เหมาะสมต่อไป โดยมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการจะร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจำเป็นต้องจัดหลักสูตรการผลิตครูให้ตรงตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด เพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา ดังนั้น ในการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครู จึงต้องขอความร่วมมือจากคุรุสภาในการปรับหลักเกณฑ์การได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้สอดคล้องกันที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม 2560 โดยเชิญผู้แทนจากคุรุสภา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณบดีคณะครุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งเข้าร่วมประชุม โดยเรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ร่วมในพิธีเปิด ซึ่งจะมีการร่วมเสวนาเล่าประสบการณ์ในการดำเนินงานร่วมกับประเทศฟินแลนด์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์อีกด้วย จงจิตร ฟองละแอ: สรุปบัลลังก์ โรหิตเสถียร: เรียบเรียงกิตติกร แซ่หมู่: ถ่ายภาพกลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.: รายงาน17/11/2560ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก กระทรวงศึกษาธิการ 17 พฤศจิกายน 2560 3129
ศธ.หารือความร่วมมือกับฟินแลนด์ เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาคณาจารย์และหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ ได้เผยแพร่ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ข่าวที่ 595/2560 เรื่อง ศธ.หารือความร่วมมือกับฟินแลนด์ เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาคณาจารย์และหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู โดยมีเนื้อหาข่าว ดังนี้
"ฟินแลนด์" เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการผลิตครูที่มีคุณภาพสูงระดับโลก ศธ.ได้หารือร่วมกันเพื่อเตรียมวางแผนผลิตคณาจารย์และหลักสูตรผลิตครูทั้งระบบ ตรงตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด พร้อมเตรียมเวิร์คช็อปกับคณบดีครุศาสตร์ มรภ.ทั่วประเทศ 11-15 ธ.ค.นี้
กระทรวงศึกษาธิการ - เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องประชุมอาคารราชวัลลภ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับและหารือกับนางซูซันนา เอลต์วิค (Mrs Susanna Eltvik) ที่ปรึกษาด้านการศึกษา (Education Advisor of Finland) รวมทั้งผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย เกี่ยวกับความร่วมมือการผลิตและพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรในการผลิตครู โดยมี รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา ในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี, ผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันคลังสมอง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมประชุมหารือ
ม.ล.ปริยดา ดิศกุล กล่าวว่า ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีคุณภาพทางด้านการศึกษาสูงมาก และให้ความสำคัญกับการผลิตครูที่มีคุณภาพสูง โดยนำนักเรียนที่เก่งในด้านต่าง ๆ เข้ามาเป็นครู มุ่งเน้นการผลิตครูในเรื่องของการคิด (Thinking Curriculum) ซึ่งทำให้ครูสามารถสร้างนวัตกรรมและหลักสูตรของตัวเองได้ อีกทั้งยังได้สร้างโรงเรียนตัวอย่างหรือโรงเรียนสาธิต เพื่อให้ครูได้ทดลองฝึกนวัตกรรมและหลักสูตรต่าง ๆ ประการสำคัญคือฟินแลนด์ยังได้จัดระบบที่กระตุ้นให้ครูเป็นผู้นำทางด้านการศึกษา สามารถจัดการและออกแบบการศึกษาได้เองตามศักยภาพ
การหารือร่วมกันในครั้งนี้ ได้หารือเกี่ยวกับการพัฒนาครูในประเทศไทย มุ่งเน้นไปที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพราะถือเป็นศูนย์กลางของสถาบันศึกษาที่มีการผลิตบัณฑิตครูเข้าสู่ระบบ จึงต้องการเน้นการผลิตและพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง จนถึงกระบวนการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายความร่วมมือไปยังสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาครู สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาได้ทั้งระบบ คือ พัฒนาเด็ก พัฒนาครู และต่อยอดสู่นโยบายเดียวกัน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศเคยร่วมมือในการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันฝ่ายผลิตครูร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา 9 แห่ง คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 4 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2 แห่ง และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง แต่ปัจจุบันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในสถาบันอุดมศึกษาเพียง 3 แห่งเท่านั้น คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
จากข้อสรุปการหารือในครั้งนี้ ฟินแลนด์จะส่งผู้เชี่ยวชาญลงไปสำรวจข้อมูลและหลักสูตรในมหาวิทยาลัยของไทยที่ร่วมดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการศึกษาในสถาบันฝ่ายผลิตครู พร้อมทั้งวิเคราะห์จัดทำรายงานในแต่ละมหาวิทยาลัย จากนั้นจะสรุปรายงานในภาพรวม เพื่อให้คำแนะนำต่อการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันฝ่ายผลิตครู ตลอดจนหลักสูตรการผลิตครูที่เหมาะสมต่อไป โดยมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการจะร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจำเป็นต้องจัดหลักสูตรการผลิตครูให้ตรงตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด เพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา ดังนั้น ในการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครู จึงต้องขอความร่วมมือจากคุรุสภาในการปรับหลักเกณฑ์การได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้สอดคล้องกัน
ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม 2560 โดยเชิญผู้แทนจากคุรุสภา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณบดีคณะครุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งเข้าร่วมประชุม โดยเรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ร่วมในพิธีเปิด ซึ่งจะมีการร่วมเสวนาเล่าประสบการณ์ในการดำเนินงานร่วมกับประเทศฟินแลนด์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์อีกด้วย
จงจิตร ฟองละแอ: สรุป
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: เรียบเรียง
กิตติกร แซ่หมู่: ถ่ายภาพ
กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.: รายงาน
17/11/2560
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก กระทรวงศึกษาธิการ 17 พฤศจิกายน 2560
3129
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?