ศธ.เล็งเพิ่มงาน-มอบอำนาจ-ให้เงินกศจ.2 ชุดดูพัฒนาการศึกษาและบริหาราชการ
ปลัด ศธ.ชี้ตั้งกศจ.10 เดือน งานยังสะดุด เล็งตั้งอกศจ.เพิ่ม 2 ชุดดูพัฒนาการศึกษาและบริหาราชการ พร้อมมอบอำนาจ มอบงาน มอบเงิน จากส่วนกลางให้ศธภ.และ ศธจ.ชัดเจนวันนี้ (6 ก.พ.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหาราชการของ ศธ. โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ผู้ตรวจราชการ ศธ.ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค (ศธภ.) เข้าร่วม ว่า จากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีการตั้ง กศจ.เพื่อแก้ไขปัญหาการศึกษา 4 เรื่อง คือ 1.การขาดการบูรณาการงานการศึกษาในพื้นที่ 2.แก้ไขปัญหาช่วงสายการบังคับบัญชาที่กว้าง 3.สร้างเอกภาพในการบริหารจัดการ และ4.ทำให้มีความคล่องตัวบริหารงานบุคคล ซึ่งขณะนี้ได้ตั้ง กศจ.มา 10 เดือนแล้วนับตั้งแต่เดือนมีนาคม2559 พบว่าบางเรื่องทำได้ดี โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคล ที่ช่วยให้ครูสามารถย้ายไปโรงเรียนใดก็ได้ในจังหวัดเดียวกัน และย้ายข้ามเขตพื้นที่การศึกษาได้ มีการทำงานอย่างมีธรรมาภิบาล จนได้เสียงชื่นชมจากครูมาก แต่พบว่าบางเรื่องที่เราอยากได้ คือ การบริหารโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน ที่จะต้องบูรณาการงานของทุกองค์กรหลักใน ศธ.ในพื้นที่ ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทุกคนยังติดภาพของการทำงานที่ขึ้นกับต้นสังกัด การจัดสรรงาน การจัดสรรงบประมาณ และคนที่จะไปช่วย กศจ.ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนักดร.ชัยพฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า ศธ.ได้มีการหารือเพื่อให้งานเดินไปได้ โดยจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (อกศจ.) เพิ่มอีก 2 คณะ คือ 1. อกศจ.พัฒนาการศึกษาในทุกมิติ และ 2.อกศจ.บริหารราชการ ที่ทำหน้าที่กำกับติดตาม นอกเหนือจาก อกศจ.ด้านการบริหารงานบุคคล ที่ทุกจังหวัดมีอยู่แล้ว นอกจากนี้จะทำความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ของส่วนกลาง ภาค จังหวัด และส่วนราชการของส่วนกลางที่ไปอยู่จังหวัดต่างๆให้สอดรับกันชัดเจน โดยจะการแบ่งงานกันให้ชัดว่า งานไหนส่วนกลางทำ งานไหนให้ภาคทำ งานไหนให้จังหวัดทำ หลังจากแบ่งงานแล้วจะต้องจัดสรรงบประมาณลงไปด้วยเลย เพื่อให้งานเกิดขึ้นได้จริง นอกจากนี้จะมีการมอบอำนาจในการกำกับและการบังคับบัญชาให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่ง ศธภ.ต้องเป็นคนดูแล ศธจ. โดย ศธจ.ต้องเป็นตัวหลักในการเชื่อมโยงทุกส่วนราชการของ ศธ.ในพื้นที่ มีอำนาจบังคับบัญชาบางส่วน แต่ไม่ใช่เข้าไปควบคุม และในเดือนมีนาคมนี้จะมีการตั้งศูนย์ขับเคลื่อนการบริหารการศึกษาในภูมิภาคขึ้นที่ ศธ.เพื่อสนับสนุนติดตามการทำงานของ ศธภ.และศธจ.ด้วย"หลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ประกาศใช้ จะต้องมีการปรับโครงสร้าง ศธ.แน่นอน ซึ่งชัดเจนแล้วว่าจะมีการกระจายอำนาจโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน ที่จะต้องมีการบูรณาการงานของทุกองค์กรหลัก อีกทั้งขณะนี้รัฐบาลได้ปรับเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน ดูทั้งเรื่องการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และความสามัคคีปรองดอง ดังนั้น ศธ.จะถือโอกาสนี้ปรับปรุงทั้งในเชิงเนื้องานที่จะทำ และวิธีการทำงาน อะไรที่มอบอำนาจให้ ศธจ.ได้ก็จะมอบ เช่น ในส่วนของสำนักงานปลัด ศธ. มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ก็อาจะมอบ ศธจ.เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ผอ.กศน.จังหวัด เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการ กศจ.ใหม่" ปลัด ศธ.กล่าว.ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 14.17 น. 1201
ปลัด ศธ.ชี้ตั้งกศจ.10 เดือน งานยังสะดุด เล็งตั้งอกศจ.เพิ่ม 2 ชุดดูพัฒนาการศึกษาและบริหาราชการ พร้อมมอบอำนาจ มอบงาน มอบเงิน จากส่วนกลางให้ศธภ.และ ศธจ.ชัดเจน
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหาราชการของ ศธ. โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ผู้ตรวจราชการ ศธ.ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค (ศธภ.) เข้าร่วม ว่า จากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีการตั้ง กศจ.เพื่อแก้ไขปัญหาการศึกษา 4 เรื่อง คือ 1.การขาดการบูรณาการงานการศึกษาในพื้นที่ 2.แก้ไขปัญหาช่วงสายการบังคับบัญชาที่กว้าง 3.สร้างเอกภาพในการบริหารจัดการ และ4.ทำให้มีความคล่องตัวบริหารงานบุคคล ซึ่งขณะนี้ได้ตั้ง กศจ.มา 10 เดือนแล้วนับตั้งแต่เดือนมีนาคม2559 พบว่าบางเรื่องทำได้ดี โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคล ที่ช่วยให้ครูสามารถย้ายไปโรงเรียนใดก็ได้ในจังหวัดเดียวกัน และย้ายข้ามเขตพื้นที่การศึกษาได้ มีการทำงานอย่างมีธรรมาภิบาล จนได้เสียงชื่นชมจากครูมาก แต่พบว่าบางเรื่องที่เราอยากได้ คือ การบริหารโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน ที่จะต้องบูรณาการงานของทุกองค์กรหลักใน ศธ.ในพื้นที่ ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทุกคนยังติดภาพของการทำงานที่ขึ้นกับต้นสังกัด การจัดสรรงาน การจัดสรรงบประมาณ และคนที่จะไปช่วย กศจ.ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก
ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า ศธ.ได้มีการหารือเพื่อให้งานเดินไปได้ โดยจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (อกศจ.) เพิ่มอีก 2 คณะ คือ 1. อกศจ.พัฒนาการศึกษาในทุกมิติ และ 2.อกศจ.บริหารราชการ ที่ทำหน้าที่กำกับติดตาม นอกเหนือจาก อกศจ.ด้านการบริหารงานบุคคล ที่ทุกจังหวัดมีอยู่แล้ว นอกจากนี้จะทำความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ของส่วนกลาง ภาค จังหวัด และส่วนราชการของส่วนกลางที่ไปอยู่จังหวัดต่างๆให้สอดรับกันชัดเจน โดยจะการแบ่งงานกันให้ชัดว่า งานไหนส่วนกลางทำ งานไหนให้ภาคทำ งานไหนให้จังหวัดทำ หลังจากแบ่งงานแล้วจะต้องจัดสรรงบประมาณลงไปด้วยเลย เพื่อให้งานเกิดขึ้นได้จริง นอกจากนี้จะมีการมอบอำนาจในการกำกับและการบังคับบัญชาให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่ง ศธภ.ต้องเป็นคนดูแล ศธจ. โดย ศธจ.ต้องเป็นตัวหลักในการเชื่อมโยงทุกส่วนราชการของ ศธ.ในพื้นที่ มีอำนาจบังคับบัญชาบางส่วน แต่ไม่ใช่เข้าไปควบคุม และในเดือนมีนาคมนี้จะมีการตั้งศูนย์ขับเคลื่อนการบริหารการศึกษาในภูมิภาคขึ้นที่ ศธ.เพื่อสนับสนุนติดตามการทำงานของ ศธภ.และศธจ.ด้วย
"หลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ประกาศใช้ จะต้องมีการปรับโครงสร้าง ศธ.แน่นอน ซึ่งชัดเจนแล้วว่าจะมีการกระจายอำนาจโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน ที่จะต้องมีการบูรณาการงานของทุกองค์กรหลัก อีกทั้งขณะนี้รัฐบาลได้ปรับเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน ดูทั้งเรื่องการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และความสามัคคีปรองดอง ดังนั้น ศธ.จะถือโอกาสนี้ปรับปรุงทั้งในเชิงเนื้องานที่จะทำ และวิธีการทำงาน อะไรที่มอบอำนาจให้ ศธจ.ได้ก็จะมอบ เช่น ในส่วนของสำนักงานปลัด ศธ. มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ก็อาจะมอบ ศธจ.เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ผอ.กศน.จังหวัด เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการ กศจ.ใหม่" ปลัด ศธ.กล่าว.
ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 14.17 น.
1201
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?