สกสค.เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้สินครู ยกร่างระเบียบแก้ไขแบบครบวงจร
สกสค.ร่างระเบียบแก้หนี้ครูขั้นวิกฤตสกสค.เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้สินครู ยกร่างระเบียบแก้ไขแบบครบวงจร ประเดิมรุ่นแรก 700 คน ตั้งเงื่อนไขห้ามก่อหนี้ใหม่ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย และผู้บังคับบัญชาต้องมีส่วนรับผิดชอบวันนี้(20ธ.ค.)ดร.พิษณุ ตุลสุข รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้สินครู ว่า ขณะนี้ สกสค.กำลังยกร่างระเบียบการจัดสวัสดิการเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบครบวงจร โดยได้มอบให้ผู้อำนวยการ สกสค.จังหวัด ไปสำรวจครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีหนี้สินขั้นวิกฤติในจังหวัดของตนเอง และเรียงลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วนแล้ว ซึ่งรุ่นแรกจะให้นำร่องจังหวัดละประมาณ 10 คนก่อน หรือ 700 กว่าคนทั่วประเทศ และในเร็ว ๆ นี้ ตนจะขอเข้าพบ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ.เพื่อขอนโยบายการแก้ปัญหาหนี้สินครูอีกครั้ง พร้อมทั้งจะขอให้ออกมาตรการให้ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อการกู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามลำดับขั้น คือ ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษามีอำนาจในการพิจารณาวงเงินที่ครูจะขอกู้ แต่หากครูต้องการกู้เกินอำนาจของผู้อำนวยการสถานศึกษา ก็ต้องให้เป็นอำนาจพิจารณาของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) เป็นต้น“เท่าที่ประมาณการครูที่มีหนี้ขั้นวิกฤตน่าจะอยู่ที่คนละ1 ล้านบาทขึ้นไป อย่างไรก็ตามสกสค.จะกำหนดนิยามและเป้าหมาย ความจำเป็นเร่งด่วนให้แต่ละจังหวัดใช้ในการคัดเลือกครูที่จะเข้าโครงการ ซึ่งต้องมีหลักฐานประกอบด้วย เช่น หลักฐานการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่าง ๆ หรือ เอกสารการถูกยื่นโนติส เป็นต้น เพื่อให้การจัดลำดับมีความเหมาะสม เป็นธรรม และแก้ปัญหาให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนและมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริง เมื่อได้รายชื่อและจำนวนผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการแล้ว ประมาณกลางเดือนมกราคม 2560 สกสค.จะจัดให้มีการชี้แจงเงื่อนไขที่จะระบุไว้ในสัญญาการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3ข้อคือ 1. ครูจะต้องไม่ก่อหนี้เพิ่ม โดย สกสค. จะเจรจากับสถาบันการเงิน ไม่ให้ปล่อยกู้ให้แก่ครูเหล่านี้อีก 2.ต้องมีวินัยทางการเงิน โดยจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และ 3.ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีส่วนรับผิดชอบดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น”ดร.พิษณุ กล่าวขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์ วันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2559ที่มา : http://www.kroobannok.com/80781 868
สกสค.ร่างระเบียบแก้หนี้ครูขั้นวิกฤต
สกสค.เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้สินครู ยกร่างระเบียบแก้ไขแบบครบวงจร ประเดิมรุ่นแรก 700 คน ตั้งเงื่อนไขห้ามก่อหนี้ใหม่ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย และผู้บังคับบัญชาต้องมีส่วนรับผิดชอบ
วันนี้(20ธ.ค.)ดร.พิษณุ ตุลสุข รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้สินครู ว่า ขณะนี้ สกสค.กำลังยกร่างระเบียบการจัดสวัสดิการเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบครบวงจร โดยได้มอบให้ผู้อำนวยการ สกสค.จังหวัด ไปสำรวจครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีหนี้สินขั้นวิกฤติในจังหวัดของตนเอง และเรียงลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วนแล้ว ซึ่งรุ่นแรกจะให้นำร่องจังหวัดละประมาณ 10 คนก่อน หรือ 700 กว่าคนทั่วประเทศ และในเร็ว ๆ นี้ ตนจะขอเข้าพบ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ.เพื่อขอนโยบายการแก้ปัญหาหนี้สินครูอีกครั้ง พร้อมทั้งจะขอให้ออกมาตรการให้ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อการกู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามลำดับขั้น คือ ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษามีอำนาจในการพิจารณาวงเงินที่ครูจะขอกู้ แต่หากครูต้องการกู้เกินอำนาจของผู้อำนวยการสถานศึกษา ก็ต้องให้เป็นอำนาจพิจารณาของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) เป็นต้น
“เท่าที่ประมาณการครูที่มีหนี้ขั้นวิกฤตน่าจะอยู่ที่คนละ1 ล้านบาทขึ้นไป อย่างไรก็ตามสกสค.จะกำหนดนิยามและเป้าหมาย ความจำเป็นเร่งด่วนให้แต่ละจังหวัดใช้ในการคัดเลือกครูที่จะเข้าโครงการ ซึ่งต้องมีหลักฐานประกอบด้วย เช่น หลักฐานการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่าง ๆ หรือ เอกสารการถูกยื่นโนติส เป็นต้น เพื่อให้การจัดลำดับมีความเหมาะสม เป็นธรรม และแก้ปัญหาให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนและมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริง เมื่อได้รายชื่อและจำนวนผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการแล้ว ประมาณกลางเดือนมกราคม 2560 สกสค.จะจัดให้มีการชี้แจงเงื่อนไขที่จะระบุไว้ในสัญญาการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3ข้อคือ 1. ครูจะต้องไม่ก่อหนี้เพิ่ม โดย สกสค. จะเจรจากับสถาบันการเงิน ไม่ให้ปล่อยกู้ให้แก่ครูเหล่านี้อีก 2.ต้องมีวินัยทางการเงิน โดยจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และ 3.ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีส่วนรับผิดชอบดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น”ดร.พิษณุ กล่าว
ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์ วันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2559
ที่มา : http://www.kroobannok.com/80781
868
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?