สถานี ก.ค.ศ. การปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการแล้ว
สถานี ก.ค.ศ.การปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการแล้วสวัสดีครับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้สนใจทุกท่าน เรื่องที่จะนำมาบอกกล่าวให้ได้ทราบกันในครั้งนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่พ้นจากราชการไปแล้วนั้นจะกระทำมิได้เว้นแต่ข้าราชการดังกล่าวจะมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงไว้ก่อนพ้นจากราชการ ยกเว้นตาย หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งไม่ใช่กรณีความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษไว้ก่อนพ้นจากราชการ แม้จะออกจากราชการไปแล้วก็ยังถูกดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงต่อไปได้ ตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินการทางวินัยไว้ว่าจะต้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด ในขณะที่ข้าราชการประเภทอื่น เช่น ข้าราชการพลเรือนมีกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากราชการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากราชการ ข้าราชการรัฐสภาต้องดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากราชการ และ ข้าราชการตำรวจต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีระยะเวลาการดำเนินการแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หากมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ก่อนออกจากราชการแล้วก็จะถูกดำเนินการต่อไปนานเพียงใดก็ได้เพราะไม่มีข้อกำหนดไว้ว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด นอกจากนั้นการดำเนินการทางวินัยในกรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้กำหนดไว้ว่าจะต้องได้มีการที่กล่าวหาไว้แล้วก่อนออกจากราชการจึงจะดำเนินการทางวินัยต่อไปได้จึงทำให้การชี้มูลความผิดโดยองค์กรตรวจสอบ เช่น ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. ที่แจ้งผลมาหลังจากผู้นั้นออกจากราชการไปแล้ว หรือหากผู้บังคับบัญชาได้ทราบพฤติการณ์การกระทำผิดแล้วแต่เพิกเฉยไม่มีดำเนินการทางวินัยไว้ก่อนที่ผู้นั้นจะออกจากราชการ ก็จะทำให้ไม่อาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 อนุมัติหลักการให้มีการแก้ไขร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้พ้นจากราชการขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลในข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เป็นแนวเดียวกันและ ได้ส่งร่างกฎหมายไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่าง โดยได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคล ป.ป.ช. ป.ป.ท. และผู้แทนจากสำนักงานศาลปกครองเรียบร้อยแล้วร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขใหม่ ได้กำหนดให้การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนผู้พ้นจากราชการอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน คือ หากมีกรณีถูกกล่าวหาอยู่ก่อนพ้นจากราชการ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยจะต้องดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ หากมีกรณีถูกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่พ้นจากราชการแล้วจะต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ สำหรับกรณีที่ศาลปกครอง มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือโดยองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ หรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษเพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีอำนาจจะต้องดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. ชี้มูลความผิดข้าราชการซึ่งพ้นจากราชการไปแล้วนั้น การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณีการแก้ไขมาตรฐานการดำเนินการทางวินัยในกรณีนี้เป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบโดยตรงต่อข้าราชการในฝ่ายพลเรือนซึ่งรวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้จัดทำรายละเอียดการแก้ไข และมีหนังสือสอบถามความคิดเห็นจากส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ค.ศ. www.otpec.go.th ในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อจะส่งความเห็นไปประกอบการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและท่านผู้สนใจได้ร่วมแสดงความคิดในเรื่องดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมเป็นธรรมยิ่งขึ้นต่อไปนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์เลขาธิการ ก.ค.ศ.หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560ดาวน์โหลดไฟล์เผยแพร่ทางคอลัมน์ “สถานี ก.ค.ศ.”หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 3195
สถานี ก.ค.ศ.
การปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการแล้ว
สวัสดีครับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้สนใจทุกท่าน เรื่องที่จะนำมาบอกกล่าวให้ได้ทราบกันในครั้งนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่พ้นจากราชการไปแล้วนั้นจะกระทำมิได้เว้นแต่ข้าราชการดังกล่าวจะมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงไว้ก่อนพ้นจากราชการ ยกเว้นตาย หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งไม่ใช่กรณีความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษไว้ก่อนพ้นจากราชการ แม้จะออกจากราชการไปแล้วก็ยังถูกดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงต่อไปได้ ตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินการทางวินัยไว้ว่าจะต้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด ในขณะที่ข้าราชการประเภทอื่น เช่น ข้าราชการพลเรือนมีกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากราชการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากราชการ ข้าราชการรัฐสภาต้องดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากราชการ และ ข้าราชการตำรวจต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีระยะเวลาการดำเนินการแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หากมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ก่อนออกจากราชการแล้วก็จะถูกดำเนินการต่อไปนานเพียงใดก็ได้เพราะไม่มีข้อกำหนดไว้ว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด นอกจากนั้นการดำเนินการทางวินัยในกรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้กำหนดไว้ว่าจะต้องได้มีการที่กล่าวหาไว้แล้วก่อนออกจากราชการจึงจะดำเนินการทางวินัยต่อไปได้จึงทำให้การชี้มูลความผิดโดยองค์กรตรวจสอบ เช่น ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. ที่แจ้งผลมาหลังจากผู้นั้นออกจากราชการไปแล้ว หรือหากผู้บังคับบัญชาได้ทราบพฤติการณ์การกระทำผิดแล้วแต่เพิกเฉยไม่มีดำเนินการทางวินัยไว้ก่อนที่ผู้นั้นจะออกจากราชการ ก็จะทำให้ไม่อาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 อนุมัติหลักการให้มีการแก้ไขร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้พ้นจากราชการขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลในข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เป็นแนวเดียวกันและ ได้ส่งร่างกฎหมายไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่าง โดยได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคล ป.ป.ช. ป.ป.ท. และผู้แทนจากสำนักงานศาลปกครองเรียบร้อยแล้ว
ร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขใหม่ ได้กำหนดให้การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนผู้พ้นจากราชการอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน คือ หากมีกรณีถูกกล่าวหาอยู่ก่อนพ้นจากราชการ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยจะต้องดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ หากมีกรณีถูกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่พ้นจากราชการแล้วจะต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ สำหรับกรณีที่ศาลปกครอง มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือโดยองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ หรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษเพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีอำนาจจะต้องดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. ชี้มูลความผิดข้าราชการซึ่งพ้นจากราชการไปแล้วนั้น การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี
การแก้ไขมาตรฐานการดำเนินการทางวินัยในกรณีนี้เป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบโดยตรงต่อข้าราชการในฝ่ายพลเรือนซึ่งรวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้จัดทำรายละเอียดการแก้ไข และมีหนังสือสอบถามความคิดเห็นจากส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ค.ศ. www.otpec.go.th ในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อจะส่งความเห็นไปประกอบการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและท่านผู้สนใจได้ร่วมแสดงความคิดในเรื่องดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมเป็นธรรมยิ่งขึ้นต่อไป
นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560
เผยแพร่ทางคอลัมน์ “สถานี ก.ค.ศ.”
หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560
ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560
3195
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?