ส.บ.ม.ท.ซัดโครงสร้าง ศธจ. ทำ ร.ร.รับใช้งาน มท.เหมือน 40 ปีก่อน เผย ‘น.ร.-ครู’ต้องเสิร์ฟน้ำให้งานผู้ว่าฯ
ส.บ.ม.ท.ซัดโครงสร้าง ศธจ. ทำ ร.ร.รับใช้งาน มท.เหมือน 40 ปีก่อน เผย ‘น.ร.-ครู’ต้องเสิร์ฟน้ำให้งานผู้ว่าฯจากกรณีความขัดแย้งระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ที่เกิดจากข้อที่ 13 ในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่กำหนดให้อำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด และกรุงเทพมหานครตามมาตรา 53(3) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นของ ศธจ.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) จากเดิมเป็นอำนาจของ ผอ.สพท. ทำให้นายธนชน มุทาพร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ชัยภูมิ เขต 1 ในฐานะประธานชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย (ชร.ผอ.สพท.) และรักษาการเลขาธิการสมาคมนักบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย (ส.บ.พ.ท.) รวบรวม 50,000 รายชื่อ เสนอ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกข้อที่ 13 ของคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19/2560 หากไม่รับข้อเสนอจะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยตัวเอง โดยมีสมาชิก ส.บ.พ.ท.และองค์กรครูทั่วประเทศร่วมสมทบ นั้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จ.ราชบุรี ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่า คำสั่งหัวหน้า คสช.ส่งผลต่อครู นักเรียน และโรงเรียนหลายประการด้วยกันดังนี้ 1.ผอ.สพท.ยังต้องรับผิดชอบคุณภาพการศึกษา แต่กลับไม่มีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษแก่ผู้อำนวยการโรงเรียน แล้วการบังคับบัญชาจะมีประสิทธิภาพได้อย่างไร 2.วัฒนธรรมองค์กรของการเคารพผู้บังคับบัญชา แต่ ศธจ.เปรียบเหมือนต่างกรม ย่อมไม่ได้รับความเคารพ และไม่ได้รับการยอมรับจากโรงเรียน 3.การจัดโครงสร้างใหม่ ห้ามเพิ่มอัตรากำลัง งบประมาณ และบุคลากร ศธจ.และ ศธภ.จึงใช้วิธีตัดโอน/แบ่งอัตรากำลังบุคลากร งบจาก สพท.และโรงเรียนไปหมด โดยเฉพาะอัตราครูเกษียณอายุราชการ 1,400 กว่าอัตรา ที่ควรจะต้องคืนโรงเรียน 100% แต่กลับเอาไปเป็นอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ศธจ.และสำนักงาน ศธภ. 4.เกิดความล่าช้า หลายจังหวัดยังไม่ได้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน กศจ.ไม่ว่าง จึงไม่เรียกประชุมนายรัชชัยย์กล่าวต่อว่า และ 5.ตามหลักการของ นพ.ธีระเกียรติ ให้จังหวัดรับผิดชอบการศึกษา แต่เอาเข้าจริงผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีเวลา และไม่มีความถนัดในเรื่องงานการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน จนถึงบัดนี้ ยังไม่เคยได้ยินจังหวัดใดคิดค้นงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใต้การนำของผู้ว่าฯ หรือ ศธจ.เพราะมัวแต่มาวุ่นวายเรื่องบริหารงานบุคคล ยิ่งกว่านั้น นักเรียน และครูต้องเป็นกองกำลังให้กับผู้ว่าฯ ซึ่งเกิดขึ้นกับโรงเรียนตนมาแล้ว โดย ศธจ.สั่งการให้โรงเรียนตนนำนักเรียนจำนวนนับร้อยคน และครูจำนวนหนึ่ง ไปจัดงานวิ่งการกุศลบนเขา นักเรียน และครูต้องทำหน้าที่เสิร์ฟน้ำให้ผู้ไปร่วมกิจกรรม เราหลุดจากการรับใช้งานของกระทรวงมหาดไทย (มท.) มา 30-40 ปีแล้ว แต่ตอนนี้บรรยากาศกลับไปสู่บรรยากาศเก่าๆ สมัยที่เป็นโรงเรียนประชาบาล ที่ต้องไปรับใช้งานของ มท.อีก นับแต่ตนเป็นครู และผู้อำนวยการโรงเรียนมา 40 ปี ยุคนี้ถือเป็นยุคที่เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการการศึกษามาก จนอาจส่งผลต่อคุณภาพการศึกษานายรัชชัยย์กล่าวว่า ดังนั้น ส.บ.ม.ท.ขอเรียกร้องดังนี้ 1.คืนอำนาจการบังคับบัญชาจาก ศธจ.ไปเป็นอำนาจของ ผอ.สพท.เช่นเดิมโดยเร็ว 2.ให้ ศธภ.และ ศธจ.ทำงานเชิงนโยบายในเรื่องการกำกับติดตามการจัดการศึกษาของจังหวัดต่างๆ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล 3.ให้มีหน่วยงานระดับกรมใน ศธ.มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา โดยแยกจากกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นหน่วยงานเฉพาะที่มีบุคลากรที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ ทั้งด้านการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 4.ให้มีเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาครบทุกจังหวัด 5.กระจายอำนาจสู่สถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลโดยแท้จริง ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการสรรหาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และท้องถิ่น และด้านงบ โดยกำหนดให้มีมาตรการการควบคุมให้เป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ 6.ให้คืนอำนาจการไปราชการต่างจังหวัดของผู้บริหารโรงเรียน และของครู ให้เป็นอำนาจของผู้บริหารโรงเรียน โดยให้รายงานการไปราชการนอกเขตจังหวัดต่อ ผอ.สพท.ทุกเดือน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม“ถ้าข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนอง ผมพร้อมจะทำทุกวิถีทางที่ทำให้ผู้มีอำนาจทุกภาคส่วนของประเทศได้เข้าใจ และรับรู้ถึงปัญหาของการศึกษาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ เพราะผมจะเกษียณในอีกไม่กี่เดือนแล้ว และไม่ได้ทำเพื่อใครนอกจากครู นักเรียน และการศึกษาของประเทศ” นายรัชชัยย์กล่าวขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 4 ธันวาคม 2560 - 13:34 น. 3233
ส.บ.ม.ท.ซัดโครงสร้าง ศธจ. ทำ ร.ร.รับใช้งาน มท.เหมือน 40 ปีก่อน เผย ‘น.ร.-ครู’ต้องเสิร์ฟน้ำให้งานผู้ว่าฯ
จากกรณีความขัดแย้งระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ที่เกิดจากข้อที่ 13 ในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่กำหนดให้อำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด และกรุงเทพมหานครตามมาตรา 53(3) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นของ ศธจ.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) จากเดิมเป็นอำนาจของ ผอ.สพท. ทำให้นายธนชน มุทาพร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ชัยภูมิ เขต 1 ในฐานะประธานชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย (ชร.ผอ.สพท.) และรักษาการเลขาธิการสมาคมนักบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย (ส.บ.พ.ท.) รวบรวม 50,000 รายชื่อ เสนอ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกข้อที่ 13 ของคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19/2560 หากไม่รับข้อเสนอจะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยตัวเอง โดยมีสมาชิก ส.บ.พ.ท.และองค์กรครูทั่วประเทศร่วมสมทบ นั้น
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จ.ราชบุรี ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่า คำสั่งหัวหน้า คสช.ส่งผลต่อครู นักเรียน และโรงเรียนหลายประการด้วยกันดังนี้ 1.ผอ.สพท.ยังต้องรับผิดชอบคุณภาพการศึกษา แต่กลับไม่มีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษแก่ผู้อำนวยการโรงเรียน แล้วการบังคับบัญชาจะมีประสิทธิภาพได้อย่างไร 2.วัฒนธรรมองค์กรของการเคารพผู้บังคับบัญชา แต่ ศธจ.เปรียบเหมือนต่างกรม ย่อมไม่ได้รับความเคารพ และไม่ได้รับการยอมรับจากโรงเรียน 3.การจัดโครงสร้างใหม่ ห้ามเพิ่มอัตรากำลัง งบประมาณ และบุคลากร ศธจ.และ ศธภ.จึงใช้วิธีตัดโอน/แบ่งอัตรากำลังบุคลากร งบจาก สพท.และโรงเรียนไปหมด โดยเฉพาะอัตราครูเกษียณอายุราชการ 1,400 กว่าอัตรา ที่ควรจะต้องคืนโรงเรียน 100% แต่กลับเอาไปเป็นอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ศธจ.และสำนักงาน ศธภ. 4.เกิดความล่าช้า หลายจังหวัดยังไม่ได้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน กศจ.ไม่ว่าง จึงไม่เรียกประชุม
นายรัชชัยย์กล่าวต่อว่า และ 5.ตามหลักการของ นพ.ธีระเกียรติ ให้จังหวัดรับผิดชอบการศึกษา แต่เอาเข้าจริงผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีเวลา และไม่มีความถนัดในเรื่องงานการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน จนถึงบัดนี้ ยังไม่เคยได้ยินจังหวัดใดคิดค้นงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใต้การนำของผู้ว่าฯ หรือ ศธจ.เพราะมัวแต่มาวุ่นวายเรื่องบริหารงานบุคคล ยิ่งกว่านั้น นักเรียน และครูต้องเป็นกองกำลังให้กับผู้ว่าฯ ซึ่งเกิดขึ้นกับโรงเรียนตนมาแล้ว โดย ศธจ.สั่งการให้โรงเรียนตนนำนักเรียนจำนวนนับร้อยคน และครูจำนวนหนึ่ง ไปจัดงานวิ่งการกุศลบนเขา นักเรียน และครูต้องทำหน้าที่เสิร์ฟน้ำให้ผู้ไปร่วมกิจกรรม เราหลุดจากการรับใช้งานของกระทรวงมหาดไทย (มท.) มา 30-40 ปีแล้ว แต่ตอนนี้บรรยากาศกลับไปสู่บรรยากาศเก่าๆ สมัยที่เป็นโรงเรียนประชาบาล ที่ต้องไปรับใช้งานของ มท.อีก นับแต่ตนเป็นครู และผู้อำนวยการโรงเรียนมา 40 ปี ยุคนี้ถือเป็นยุคที่เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการการศึกษามาก จนอาจส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา
นายรัชชัยย์กล่าวว่า ดังนั้น ส.บ.ม.ท.ขอเรียกร้องดังนี้ 1.คืนอำนาจการบังคับบัญชาจาก ศธจ.ไปเป็นอำนาจของ ผอ.สพท.เช่นเดิมโดยเร็ว 2.ให้ ศธภ.และ ศธจ.ทำงานเชิงนโยบายในเรื่องการกำกับติดตามการจัดการศึกษาของจังหวัดต่างๆ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล 3.ให้มีหน่วยงานระดับกรมใน ศธ.มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา โดยแยกจากกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นหน่วยงานเฉพาะที่มีบุคลากรที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ ทั้งด้านการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 4.ให้มีเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาครบทุกจังหวัด 5.กระจายอำนาจสู่สถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลโดยแท้จริง ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการสรรหาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และท้องถิ่น และด้านงบ โดยกำหนดให้มีมาตรการการควบคุมให้เป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ 6.ให้คืนอำนาจการไปราชการต่างจังหวัดของผู้บริหารโรงเรียน และของครู ให้เป็นอำนาจของผู้บริหารโรงเรียน โดยให้รายงานการไปราชการนอกเขตจังหวัดต่อ ผอ.สพท.ทุกเดือน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม
“ถ้าข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนอง ผมพร้อมจะทำทุกวิถีทางที่ทำให้ผู้มีอำนาจทุกภาคส่วนของประเทศได้เข้าใจ และรับรู้ถึงปัญหาของการศึกษาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ เพราะผมจะเกษียณในอีกไม่กี่เดือนแล้ว และไม่ได้ทำเพื่อใครนอกจากครู นักเรียน และการศึกษาของประเทศ” นายรัชชัยย์กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 4 ธันวาคม 2560 - 13:34 น.
3233
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?