ส.บ.ม.ท.ย้ำต้องคืนอำนาจ ‘บริหารงานบุคคล’ให้ผอ.สพท. ยันครูหนุนสพท.แต่จะไม่ประท้วงด้วยการหยุดสอน
ส.บ.ม.ท.ย้ำต้องคืนอำนาจ ‘บริหารงานบุคคล’ให้ผอ.สพท. ยันครูหนุนสพท.แต่จะไม่ประท้วงด้วยการหยุดสอนกรณีนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะเสนอนายกรัฐมนตรี แก้ไขข้อที่ 13 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 19/2560 ที่มอบอำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูให้กับศึกษาธิการจังหวัด(ศจธ.) เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ผอ.สพท.)กับศธจ. ท่ามกลางข้อเรียกร้องของผอ.สพท.และผู้อำนวยการโรงเรียนว่าการแก้ไขคำสั่งคสช. ต้องเป็นการยกเลิกข้อที่ 13 เท่านั้น ไม่เช่นนั้นชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย (ชร.ผอ.สพท.) จะใช้อำนาจตามมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญ เสนอร่างแก้ไขของชร.ผอ.สพท.ประกบร่างแก้ไขของศธ.เพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาตัดสินใจ นั้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จ.ราชบุรี ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) กล่าวว่า รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่รัฐมนตรีว่าการศธ.รับฟังเสียงจากผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงในเรื่องการศึกษาคือผู้บริหารเขตฯ /ผู้บริหารโรงเรียนและคุณครู เพราะทุกท่านเป็นตัวจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาเนื่องจากคลุกคลีกับงานด้านนี้มาโดยตลอดนายก ส.บ.ม.ท. กล่าวต่อว่า เรื่องการแก้ไขคำสั่ง คสช ที่ 19/2560 นั้น เห็นว่าโดยความชอบธรรมแล้วอำนาจการบริหารงานบุคคลทุกเรื่องต้องให้เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา จึงจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาได้ เพราะผู้บังคับบัญชาคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการบริหารจัดการองค์กรนั้นๆ และผู้บังคับบัญชาก็ควรเป็นข้าราชการสังกัดกรมเดียวกัน การให้อำนาจการบริหารงานบุคคลไปอยู่ในความดูแลของข้าราชการต่างกรม เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่น่าจะไม่เป็นไปตามประเพณีการบริหารองค์กรและจะทำให้เกิดการไม่ยอมรับกันของบุคคลในองค์กร นอกจากนั้นยังจะเป็นการตัดนิติสัมพันธ์ด้านการบริหารงานบุคคลระหว่าง 1.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กับ เขตพื้นที่ฯ 2. สพฐ กับ โรงเรียน และ 3. เขตพื้นที่ฯ กับโรงเรียนนายก ส.บ.ม.ท. กล่าวต่อว่า สำหรับ ศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)และศึกษาธิการภาค(ศธภ.)นั้น หากมอบหมายให้บริหารจัดการด้านการวางแผนและติดตามในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นในเรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษารวมถึงการบูรณาการด้านการศึกษาในจังหวัด อย่างไรก็ตามหากให้ศธจ. หรือศธภ. มีอำนาจ ประเภท “กำกับดูแล” โดยให้มีอำนาจในการกำกับดูแลเขตพื้นที่และโรงเรียนให้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ไปก้าวล่วงอำนาจดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ก็จะเป็นที่ยอมรับได้ “หากเปรียบไปที่ส่วนกลาง ก็จะเห็นได้ว่า ปลัดศธ. ก็มิได้มีอำนาจหรือใช้อำนาจในทางการบริหารงานบุคคลกับข้าราชการในสังกัด สพฐ หรือข้าราชการในสังกัดแท่งต่างๆ แต่ ปลัดศธ. ก็จะเป็นผู้บูรณาการการบริหารจัดการศึกษา ในส่วนกลางหรืองานระดับนโยบาย เสนอรัฐมนตรีว่าการศธ. การบริหารงานบุคคลจึงควรเป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานนั้นๆ” นายรัชชัยย์ กล่าวและว่า ส.บ.ม.ท. เชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการศธ. หรือ ผู้มีอำนาจในทางการเมืองในปัจจุบัน น่าจะรับฟังความเห็นของผู้บริหารและครูในระดับล่าง หรือให้โอกาสผู้บริหารหรือครูได้มีโอกาสนำเสนอความคิดเห็นในช่องทางที่เป็นทางการ เพราะมิฉะนั้นแล้ว ก็จะต้องอาศัยสื่อต่างๆ ในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถ้าเป็นความเห็นที่แตกต่างอย่างมีเหตุผล ก็จะทำให้เกิดมุมมองว่ามีความขัดแย้งกันในประเทศ ซึ่งจะไม่เกิดผลดีต่อความมั่นคงเลยนายก ส.บ.ม.ท. กล่าวต่อว่า ส.บ.ม.ท. ขอยืนยันว่าการเดินขบวนประท้วงหรือการหยุดการเรียนการสอน และการก่อความวุ่นวายต่างๆ นั้น ไม่อยู่ในแผนการดำเนินการของ ส.บ.ม.ท เพราะพวกเราเป็นครูบาอาจารย์ จะทำแต่เรื่องที่เป็นแบบอย่างที่ดี สิ่งที่เรียกร้องไปก็เป็นเพราะห่วงใยคุณภาพการศึกษาของชาติบ้านเมืองเท่านั้นขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก มติชนออนไลน์ วันที่ 6 ธันวาคม 2560 - 11:32 น. 3242
ส.บ.ม.ท.ย้ำต้องคืนอำนาจ ‘บริหารงานบุคคล’ให้ผอ.สพท. ยันครูหนุนสพท.แต่จะไม่ประท้วงด้วยการหยุดสอน
กรณีนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะเสนอนายกรัฐมนตรี แก้ไขข้อที่ 13 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 19/2560 ที่มอบอำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูให้กับศึกษาธิการจังหวัด(ศจธ.) เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ผอ.สพท.)กับศธจ. ท่ามกลางข้อเรียกร้องของผอ.สพท.และผู้อำนวยการโรงเรียนว่าการแก้ไขคำสั่งคสช. ต้องเป็นการยกเลิกข้อที่ 13 เท่านั้น ไม่เช่นนั้นชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย (ชร.ผอ.สพท.) จะใช้อำนาจตามมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญ เสนอร่างแก้ไขของชร.ผอ.สพท.ประกบร่างแก้ไขของศธ.เพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาตัดสินใจ นั้น
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จ.ราชบุรี ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) กล่าวว่า รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่รัฐมนตรีว่าการศธ.รับฟังเสียงจากผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงในเรื่องการศึกษาคือผู้บริหารเขตฯ /ผู้บริหารโรงเรียนและคุณครู เพราะทุกท่านเป็นตัวจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาเนื่องจากคลุกคลีกับงานด้านนี้มาโดยตลอด
นายก ส.บ.ม.ท. กล่าวต่อว่า เรื่องการแก้ไขคำสั่ง คสช ที่ 19/2560 นั้น เห็นว่าโดยความชอบธรรมแล้วอำนาจการบริหารงานบุคคลทุกเรื่องต้องให้เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา จึงจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาได้ เพราะผู้บังคับบัญชาคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการบริหารจัดการองค์กรนั้นๆ และผู้บังคับบัญชาก็ควรเป็นข้าราชการสังกัดกรมเดียวกัน การให้อำนาจการบริหารงานบุคคลไปอยู่ในความดูแลของข้าราชการต่างกรม เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่น่าจะไม่เป็นไปตามประเพณีการบริหารองค์กรและจะทำให้เกิดการไม่ยอมรับกันของบุคคลในองค์กร นอกจากนั้นยังจะเป็นการตัดนิติสัมพันธ์ด้านการบริหารงานบุคคลระหว่าง 1.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กับ เขตพื้นที่ฯ 2. สพฐ กับ โรงเรียน และ 3. เขตพื้นที่ฯ กับโรงเรียน
นายก ส.บ.ม.ท. กล่าวต่อว่า สำหรับ ศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)และศึกษาธิการภาค(ศธภ.)นั้น หากมอบหมายให้บริหารจัดการด้านการวางแผนและติดตามในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นในเรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษารวมถึงการบูรณาการด้านการศึกษาในจังหวัด อย่างไรก็ตามหากให้ศธจ. หรือศธภ. มีอำนาจ ประเภท “กำกับดูแล” โดยให้มีอำนาจในการกำกับดูแลเขตพื้นที่และโรงเรียนให้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ไปก้าวล่วงอำนาจดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ก็จะเป็นที่ยอมรับได้
“หากเปรียบไปที่ส่วนกลาง ก็จะเห็นได้ว่า ปลัดศธ. ก็มิได้มีอำนาจหรือใช้อำนาจในทางการบริหารงานบุคคลกับข้าราชการในสังกัด สพฐ หรือข้าราชการในสังกัดแท่งต่างๆ แต่ ปลัดศธ. ก็จะเป็นผู้บูรณาการการบริหารจัดการศึกษา ในส่วนกลางหรืองานระดับนโยบาย เสนอรัฐมนตรีว่าการศธ. การบริหารงานบุคคลจึงควรเป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานนั้นๆ” นายรัชชัยย์ กล่าวและว่า ส.บ.ม.ท. เชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการศธ. หรือ ผู้มีอำนาจในทางการเมืองในปัจจุบัน น่าจะรับฟังความเห็นของผู้บริหารและครูในระดับล่าง หรือให้โอกาสผู้บริหารหรือครูได้มีโอกาสนำเสนอความคิดเห็นในช่องทางที่เป็นทางการ เพราะมิฉะนั้นแล้ว ก็จะต้องอาศัยสื่อต่างๆ ในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถ้าเป็นความเห็นที่แตกต่างอย่างมีเหตุผล ก็จะทำให้เกิดมุมมองว่ามีความขัดแย้งกันในประเทศ ซึ่งจะไม่เกิดผลดีต่อความมั่นคงเลย
นายก ส.บ.ม.ท. กล่าวต่อว่า ส.บ.ม.ท. ขอยืนยันว่าการเดินขบวนประท้วงหรือการหยุดการเรียนการสอน และการก่อความวุ่นวายต่างๆ นั้น ไม่อยู่ในแผนการดำเนินการของ ส.บ.ม.ท เพราะพวกเราเป็นครูบาอาจารย์ จะทำแต่เรื่องที่เป็นแบบอย่างที่ดี สิ่งที่เรียกร้องไปก็เป็นเพราะห่วงใยคุณภาพการศึกษาของชาติบ้านเมืองเท่านั้น
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก มติชนออนไลน์ วันที่ 6 ธันวาคม 2560 - 11:32 น.
3242
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?