สพฐ. เผยข้อมูล 4.5 พันโรงเรียนขอเข้าไอซียู เร่งคัดกรอง ก่อนชง “หมอธี” สรุปผลก่อนเริ่มโครงการฯ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ได้มอบหมายให้โรงเรียนที่ไม่เป็นโรงเรียนประชารัฐประเมินสถานภาพปัจจุบันของโรงเรียน ว่า มีสภาพที่ต้องได้รับความช่วยเหลือและพัฒนาอย่างเร่งด่วนหรือไม่ พร้อมเหตุผลและข้อมูลประกอบ เพื่อพิจารณาเข้าร่วมโครงการยกระดับโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน หรือไอซียูนั้น ขณะนี้มีโรงเรียนเสนอชื่อเข้าร่วมโครงการไอซียูแล้ว 4,518 โรงเรียน จากโรงเรียนสังกัดสพฐ. ทั้งหมด 30,717 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 4,206 โรงเรียน คิดเป็น 93.06% สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 312 โรงเรียน คิดเป็น 6.91% ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ชายขอบ 610 โรงเรียน โรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 368 โรงเรียน ที่เหลือเป็นโรงเรียนในพื้นที่ทั่วไป 3,540 โรงเรียนเลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า ขั้นตอนจากนี้คณะทำงานคัดกรองโรงเรียนประสบปัญหาวิกฤตหรือไอซียู จะวิเคราะห์ข้อมูลของโรงเรียนแต่ละแห่ง ว่าเป็นโรงเรียนไอซียู ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการแก้ไข จากนั้นจะเสนอข้อมูลให้นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาโรงเรียนที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการศึกษา พิจารณารายเอียด ก่อนสรุปเสนอนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการศธ. ให้ความเห็นชอบต่อไป“สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ 12 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม จะถูกนำมาพิจารณาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเท่าที่ดูตามสภาพปัญหาเบื้องต้น บางแห่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้การบริหารจัดการ ส่วนที่ใดต้องใช้งบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม สพฐ.ก็พร้อม และมีงบประมาณรองรับไว้แล้ว”นายการุณกล่าวขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 23 ม.ค. 60 1096
เมื่อวันที่ 23 มกราคม นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ได้มอบหมายให้โรงเรียนที่ไม่เป็นโรงเรียนประชารัฐประเมินสถานภาพปัจจุบันของโรงเรียน ว่า มีสภาพที่ต้องได้รับความช่วยเหลือและพัฒนาอย่างเร่งด่วนหรือไม่ พร้อมเหตุผลและข้อมูลประกอบ เพื่อพิจารณาเข้าร่วมโครงการยกระดับโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน หรือไอซียูนั้น ขณะนี้มีโรงเรียนเสนอชื่อเข้าร่วมโครงการไอซียูแล้ว 4,518 โรงเรียน จากโรงเรียนสังกัดสพฐ. ทั้งหมด 30,717 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 4,206 โรงเรียน คิดเป็น 93.06% สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 312 โรงเรียน คิดเป็น 6.91% ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ชายขอบ 610 โรงเรียน โรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 368 โรงเรียน ที่เหลือเป็นโรงเรียนในพื้นที่ทั่วไป 3,540 โรงเรียน
เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า ขั้นตอนจากนี้คณะทำงานคัดกรองโรงเรียนประสบปัญหาวิกฤตหรือไอซียู จะวิเคราะห์ข้อมูลของโรงเรียนแต่ละแห่ง ว่าเป็นโรงเรียนไอซียู ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการแก้ไข จากนั้นจะเสนอข้อมูลให้นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาโรงเรียนที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการศึกษา พิจารณารายเอียด ก่อนสรุปเสนอนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการศธ. ให้ความเห็นชอบต่อไป
“สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ 12 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม จะถูกนำมาพิจารณาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเท่าที่ดูตามสภาพปัญหาเบื้องต้น บางแห่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้การบริหารจัดการ ส่วนที่ใดต้องใช้งบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม สพฐ.ก็พร้อม และมีงบประมาณรองรับไว้แล้ว”นายการุณกล่าว
ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 23 ม.ค. 60
1096
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?