สพฐ.หนุนฝันก.ค.ศ.ใครได้ตั๋วครูถือว่าผ่านภาค ข

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2563 ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)จะมีการปรับเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยในส่วนของการสอบภาค ก ความรู้ทั่วไป เป็นการที่ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันการสอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ส่วนภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ก็เทียบเคียงกับมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา และการสอบภาค ค จากเดิมที่เป็นการสัมภาษณ์อย่างเดียว ก็ได้มีการกำหนด ความเหมาะสมกับตำแหน่งวิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา โดยมีองค์ประกอบการประเมิน 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล จากการสัมภาษณ์ 25 คะแนน การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน 25 คะแนน และส่วนที่สาม ความสามารถด้านการสอน 50 คะแนน ประเมินจากการสาธิตการสอนในห้องเรียน นั้น เป็นแนวทางที่จะทำให้ได้ครูที่เก่งและดีตรงความต้องการจริง ๆ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ในฐานะผู้ใช้ต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ได้ครูมาสอนได้ไวที่สุดและเต็มอัตราที่ต้องการเลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพบว่าคนที่สอบผ่านภาค ก จะมีประมาณ6% ซึ่งถ้ามองในภาพรวมจะเห็นว่าคนที่สอบผ่านภาค ก ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเกินกว่าจำนวนที่ต้องการ ขณะที่สาขาอื่นสอบผ่านไม่เพียงพอ ทำให้สพฐ.ต้องมีการจัดสอบอีกครั้งเพื่อรับเพิ่มเติม โดยศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)จะเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ.กำหนด ซึ่งคิดว่าสอบรอบเพิ่มนี้น่าจะต้องใช้หลักเกณฑ์เดิมที่ก.ค.ศ.กำหนดไปก่อนเพื่อให้ได้ครูทันก่อนเปิดภาคเรียนเดือนพ.ค.นี้ แต่ถ้าก.ค.ศ.ทำหลักเกณฑ์ใหม่ได้ทัน สพฐ.ก็พร้อมที่นำหลักเกณฑ์ที่ปรับใหม่มาใช้ทันที “การสอบถ้าภาค ก ที่ไม่ได้คนครบตามจำนวนที่ต้องกาเมื่อมีการวิเคราะห์ข้อสอบ พบว่า ข้อสอบนั้นถึงแม้จะเป็นความรู้ทั่วไป แต่ก็เน้นหนักไปที่ 3 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งคนที่เรียนสายวิทย์-คณิตมาจะมีโอกาสทำข้อสอบได้มากกว่าสายศิลป์ ซึ่งต่างจากในอดีตที่ข้อสอบภาค ก จะเน้นวิชาทั่วไป กระบวนการคิด ทักษะ ด้านตัวเลข สังคม ซึ่งมีความหลากหลายมิติมากกว่า ดังนั้น สพฐ. ซึ่งเป็นผู้จัดการข้อสอบจะต้องมาหารือกับผู้ออกข้อสอบว่าจะทำอย่างไรให้ข้อสอบออกมากลาง ๆ ไม่ยาก หรือง่ายเกินไป ให้ผู้เข้าสอบสามารถทำได้ทั้งผู้เรียนสายวิทย์ และสายศิลป์ ซึ่งทราบว่าทางสำนักงานก.ค.ศ.ก็ได้มีการทำวิจัยเรื่องข้อสอบนี้แล้วเช่นกัน”เลขาธิการ กพฐ.ดร.อัมพร กล่าวอีกว่า สำหรับการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกครูผู้ช่วยที่จะให้ไปสอบภาค ก กับทาง ก.พ. เนื่องจากเมื่อมีการวิเคราะห์ในเนื้อหาข้อสอบภาค ก ทั้งของสพฐ.และก.พ.พบว่า เป็นเนื้อหาเดียวกันจึงกำหนดให้เป็นแนวทางว่าให้คนที่จะมาสอบเป็นครูไปสอบ ภาค ก กับก.พ.ไว้ ส่วน ภาค ข มาตรฐานความรู้ทางวิชาชีพ ในเมื่อคุรุสภากำหนดว่าครูจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งต่อไปคนที่จะมาเป็นครูจะต้องไปสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับคุรุสภา ซึ่งเมื่อพิจารณาก็เทียบเคียงกับการสอบภาค ข เช่นกัน เพราะฉะนั้นในอนาคต เมื่อสอบผ่านภาค ก กับ ก.พ.มาแล้ว และสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้แล้ว ก็เท่ากับถือตั๋ว 2 ใบ ไม่จำเป็นต้องมาสอบซ้ำใหม่อีก ส่วนผู้ใช้ก็มีหน้าที่เปิดรับโดยให้มีการมาสอบภาค ค เท่านั้น คือ สอบสัมภาษณ์และสอบสาธิตการสอนในโรงเรียนที่ประกาศรับสมัคร จะทำให้ได้ครูที่ตรงกับความต้องการจริง ๆ ซึ่งวิธีการนี้ถ้าทำสำเร็จได้จะดีมาก แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างการวางระบบก็อาจจะขลุกขลักบ้างขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563ติดตามข่าวเพิ่มเติมได้ที่ www.focusnews.in.th 5667

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  3
สพฐ.หนุนฝันก.ค.ศ.ใครได้ตั๋วครูถือว่าผ่านภาค ข

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2563 ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)จะมีการปรับเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยในส่วนของการสอบภาค ก ความรู้ทั่วไป เป็นการที่ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันการสอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ส่วนภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ก็เทียบเคียงกับมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา และการสอบภาค ค จากเดิมที่เป็นการสัมภาษณ์อย่างเดียว ก็ได้มีการกำหนด ความเหมาะสมกับตำแหน่งวิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา โดยมีองค์ประกอบการประเมิน 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล จากการสัมภาษณ์ 25 คะแนน การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน 25 คะแนน และส่วนที่สาม ความสามารถด้านการสอน 50 คะแนน ประเมินจากการสาธิตการสอนในห้องเรียน นั้น เป็นแนวทางที่จะทำให้ได้ครูที่เก่งและดีตรงความต้องการจริง ๆ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ในฐานะผู้ใช้ต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ได้ครูมาสอนได้ไวที่สุดและเต็มอัตราที่ต้องการ

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพบว่าคนที่สอบผ่านภาค ก จะมีประมาณ6% ซึ่งถ้ามองในภาพรวมจะเห็นว่าคนที่สอบผ่านภาค ก ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเกินกว่าจำนวนที่ต้องการ ขณะที่สาขาอื่นสอบผ่านไม่เพียงพอ ทำให้สพฐ.ต้องมีการจัดสอบอีกครั้งเพื่อรับเพิ่มเติม โดยศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)จะเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ.กำหนด ซึ่งคิดว่าสอบรอบเพิ่มนี้น่าจะต้องใช้หลักเกณฑ์เดิมที่ก.ค.ศ.กำหนดไปก่อนเพื่อให้ได้ครูทันก่อนเปิดภาคเรียนเดือนพ.ค.นี้ แต่ถ้าก.ค.ศ.ทำหลักเกณฑ์ใหม่ได้ทัน สพฐ.ก็พร้อมที่นำหลักเกณฑ์ที่ปรับใหม่มาใช้ทันที



 

“การสอบถ้าภาค ก ที่ไม่ได้คนครบตามจำนวนที่ต้องกาเมื่อมีการวิเคราะห์ข้อสอบ พบว่า ข้อสอบนั้นถึงแม้จะเป็นความรู้ทั่วไป แต่ก็เน้นหนักไปที่ 3 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งคนที่เรียนสายวิทย์-คณิตมาจะมีโอกาสทำข้อสอบได้มากกว่าสายศิลป์ ซึ่งต่างจากในอดีตที่ข้อสอบภาค ก จะเน้นวิชาทั่วไป กระบวนการคิด ทักษะ ด้านตัวเลข สังคม ซึ่งมีความหลากหลายมิติมากกว่า ดังนั้น สพฐ. ซึ่งเป็นผู้จัดการข้อสอบจะต้องมาหารือกับผู้ออกข้อสอบว่าจะทำอย่างไรให้ข้อสอบออกมากลาง ๆ ไม่ยาก หรือง่ายเกินไป ให้ผู้เข้าสอบสามารถทำได้ทั้งผู้เรียนสายวิทย์ และสายศิลป์ ซึ่งทราบว่าทางสำนักงานก.ค.ศ.ก็ได้มีการทำวิจัยเรื่องข้อสอบนี้แล้วเช่นกัน”เลขาธิการ กพฐ.


ดร.อัมพร กล่าวอีกว่า สำหรับการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกครูผู้ช่วยที่จะให้ไปสอบภาค ก กับทาง ก.พ. เนื่องจากเมื่อมีการวิเคราะห์ในเนื้อหาข้อสอบภาค ก ทั้งของสพฐ.และก.พ.พบว่า เป็นเนื้อหาเดียวกันจึงกำหนดให้เป็นแนวทางว่าให้คนที่จะมาสอบเป็นครูไปสอบ ภาค ก กับก.พ.ไว้ ส่วน ภาค ข มาตรฐานความรู้ทางวิชาชีพ ในเมื่อคุรุสภากำหนดว่าครูจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งต่อไปคนที่จะมาเป็นครูจะต้องไปสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับคุรุสภา ซึ่งเมื่อพิจารณาก็เทียบเคียงกับการสอบภาค ข เช่นกัน เพราะฉะนั้นในอนาคต เมื่อสอบผ่านภาค ก กับ ก.พ.มาแล้ว และสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้แล้ว ก็เท่ากับถือตั๋ว 2 ใบ ไม่จำเป็นต้องมาสอบซ้ำใหม่อีก ส่วนผู้ใช้ก็มีหน้าที่เปิดรับโดยให้มีการมาสอบภาค ค เท่านั้น คือ สอบสัมภาษณ์และสอบสาธิตการสอนในโรงเรียนที่ประกาศรับสมัคร จะทำให้ได้ครูที่ตรงกับความต้องการจริง ๆ ซึ่งวิธีการนี้ถ้าทำสำเร็จได้จะดีมาก แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างการวางระบบก็อาจจะขลุกขลักบ้าง



ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563

ติดตามข่าวเพิ่มเติมได้ที่ www.focusnews.in.th
5667

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow