สอบ ก.พ. เปิดแล้ววันแรก ใครอยากสมัคร เช็คความพร้อมได้ที่นี่ !
ก.พ. คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน ภายใต้ระบบคุณธรรมทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การสอบ ก.พ. คือ การสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าไปทำงานให้กับหน่วยงานราชการ และต้องสามารถทำงานตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแล้วจึงจะต้องทำข้อสอบให้ผ่านก่อน โดยต้องสมัครสอบคัดเลือกตามหลักสูตรที่กำหนดสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ หากคิดจะเข้าทำงานสายราชการ ต้องผ่านด่านแรกไปให้ได้ก่อนนั่นก็คือการสอบ ก.พ. หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เป็นระบบกลาง ระหว่างผู้ที่ต้องการเข้าทำงาในระบบราชการ กับ หน่วยงานราชการที่ขาดแคลนบุคคลในการทำงานก็ได้เช่นกัน การสอบ ก.พ. แบ่งออกเป็น 3 ภาค และต้องสอบให้ผ่านทุกภาค 1) ภาค ก คือ การสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไปเป็นการทำแบบทดสอบที่วัดระดับเชาว์ปัญญา ทุกคนที่จะสอบบรรจุข้าราชการต้องสอบภาค ก (เมื่อสอบผ่านแล้วสามารถใช้ได้ตลอดชีพ ไม่ต้องสอบใหม่อีก)การสอบ ภาค ก. จะแบ่งเป็น 3 วิชา คือ– ทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป : ด้านการคิดคำนวณ และด้านการให้เหตุผล คะแนนเต็ม 100 คะแนน ( ป.ตรี ป.โท ต้องทำให้ 36 ข้อขึ้นไปถึงผ่าน)– ทดสอบวิชาภาษาไทย : ด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งจะทดสอบโดยการการอ่านและการทำความเข้าใจบทความ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษา จำนวน 40 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน– ทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ : ทดสอบความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน คะแนนเต็ม 50 คะแนน ข้อสอบแยกเป็นระดับวุฒิการศึกษา 2) ภาค ข คือ การสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่งเป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ, นิติกร, เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยข้อสอบจะเป็นการสอบแบบข้อเขียน (และผู้สอบต้องนำหนังสือรับรองมายืนยันว่าได้สอบผ่าน ภาค ก. แล้วจึงจะสมัครได้) 3) ภาค ค คือ การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ เพื่อดูถึงความเหมาะสมกับตำแหน่ง อาจมีการทดสอบอย่างอื่นเพิ่มก็ได้ เช่น ทดสอบร่างกาย หรือ ทดสอบจิตวิทยา เป็นต้นสำนักงาน ก.พ. ได้ประกาศรับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งปีนี้มีการรับสมัครทั้ง 2 แบบ คือ แบบ PAPER & PENCIL (แบบกระดาษ) และแบบ E-EXAM แบบอิเล็กทรอนิค การสมัครแบบ PAPER & PENCIL (แบบกระดาษ) และแบบ E-EXAM แบบอิเล็กทรอนิค ต่างกันอย่างไร ? หากใครที่กำลังสงสัยว่าการรับสมัครทั้ง 2 แบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร 1) แบบ PAPER & PENCIL (แบบกระดาษ) มีที่นั่งจำนวน 50,000 ที่นั่ง การสอบโดยใช้กระดาษ ซึ่งมีจำนวน 15 ศูนย์สอบ และเปิดรับสมัคร 500,000 ที่นั่งสอบ โดยทำการเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 6 - 27 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งผู้สมัครสอบจะต้องมีวุฒิในการสมัครคือ 4 ระดับวุฒิการศึกษา ดังนี้ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช)ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.)
ก.พ. คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน ภายใต้ระบบคุณธรรมทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
การสอบ ก.พ. คือ การสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าไปทำงานให้กับหน่วยงานราชการ และต้องสามารถทำงานตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแล้วจึงจะต้องทำข้อสอบให้ผ่านก่อน โดยต้องสมัครสอบคัดเลือกตามหลักสูตรที่กำหนด
สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ หากคิดจะเข้าทำงานสายราชการ ต้องผ่านด่านแรกไปให้ได้ก่อนนั่นก็คือการสอบ ก.พ. หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เป็นระบบกลาง ระหว่างผู้ที่ต้องการเข้าทำงาในระบบราชการ กับ หน่วยงานราชการที่ขาดแคลนบุคคลในการทำงานก็ได้เช่นกัน
- การสอบ ก.พ. แบ่งออกเป็น 3 ภาค และต้องสอบให้ผ่านทุกภาค
1) ภาค ก คือ การสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป
เป็นการทำแบบทดสอบที่วัดระดับเชาว์ปัญญา ทุกคนที่จะสอบบรรจุข้าราชการต้องสอบภาค ก (เมื่อสอบผ่านแล้วสามารถใช้ได้ตลอดชีพ ไม่ต้องสอบใหม่อีก)
การสอบ ภาค ก. จะแบ่งเป็น 3 วิชา คือ
– ทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป : ด้านการคิดคำนวณ และด้านการให้เหตุผล คะแนนเต็ม 100 คะแนน ( ป.ตรี ป.โท ต้องทำให้ 36 ข้อขึ้นไปถึงผ่าน)
– ทดสอบวิชาภาษาไทย : ด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งจะทดสอบโดยการการอ่านและการทำความเข้าใจบทความ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษา จำนวน 40 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน
– ทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ : ทดสอบความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน คะแนนเต็ม 50 คะแนน ข้อสอบแยกเป็นระดับวุฒิการศึกษา
2) ภาค ข คือ การสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
เป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ, นิติกร, เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยข้อสอบจะเป็นการสอบแบบข้อเขียน (และผู้สอบต้องนำหนังสือรับรองมายืนยันว่าได้สอบผ่าน ภาค ก. แล้วจึงจะสมัครได้)
3) ภาค ค คือ การสอบสัมภาษณ์
เป็นการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ เพื่อดูถึงความเหมาะสมกับตำแหน่ง อาจมีการทดสอบอย่างอื่นเพิ่มก็ได้ เช่น ทดสอบร่างกาย หรือ ทดสอบจิตวิทยา เป็นต้น
สำนักงาน ก.พ. ได้ประกาศรับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งปีนี้มีการรับสมัครทั้ง 2 แบบ คือ แบบ PAPER & PENCIL (แบบกระดาษ) และแบบ E-EXAM แบบอิเล็กทรอนิค
- การสมัครแบบ PAPER & PENCIL (แบบกระดาษ) และแบบ E-EXAM แบบอิเล็กทรอนิค ต่างกันอย่างไร ?
หากใครที่กำลังสงสัยว่าการรับสมัครทั้ง 2 แบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร
1) แบบ PAPER & PENCIL (แบบกระดาษ) มีที่นั่งจำนวน 50,000 ที่นั่ง
การสอบโดยใช้กระดาษ ซึ่งมีจำนวน 15 ศูนย์สอบ และเปิดรับสมัคร 500,000 ที่นั่งสอบ โดยทำการเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 6 - 27 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งผู้สมัครสอบจะต้องมีวุฒิในการสมัครคือ 4 ระดับวุฒิการศึกษา ดังนี้
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช)
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.)
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?