หนุน 850 โรงเรียนปรับรูปแบบการสอนในวิกฤติโควิด-19
กสศ.-สพฐ.และเครือข่ายด้านการศึกษา เตรียมหนุน 850 โรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเองนำร่องช่วยครูปรับรูปแบบการสอนให้เด็กเรียนรู้ได้เต็มที่ มุ่งลดเหลื่อมล้ำแม้ในวิกฤติโควิด-19ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถานศึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผสฃยว่า ผลการวิเคราะห์ PISA 2018 ที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทต่างกันถึง 2 ปีการศึกษา อันเนื่องมาจากคุณภาพของโรงเรียนที่ไม่เท่ากัน มีความแตกต่างทั้งในด้านงบประมาณและทรัพยากร เมื่อมาเจอโควิด-19 โรงเรียนชนบทห่างไกลย่อมได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนทั้งนี้ กสศ.ตึงร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ 5 เครือข่ายด้านการศึกษา ได้แก่ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ม.ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์ เดินหน้าโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program : TSQP) เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนาคุณภาพได้ด้วยตนเอง ดร.อุดม กล่าวว่า ถือเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยสนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนให้มีความพร้อมและเอื้อต่อการเรียนรู้และสนับสนุนให้มีเครื่องมือการจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นเรียนที่หลากหลาย เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนตามความถนัดและศักยภาพของผู้เรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับคุณภาพชั้นเรียนให้เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถพัฒนาให้เกิดทักษะการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยปีการศึกษา 2562 มีโรงเรียนขนาดกลางร่วมโครงการจำนวน 290 แห่ง ใน 35 จังหวัด และกำลังขยายรุ่นที่ 2 อีก 560 โรงเรียนในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 850 โรง ทั่วประเทศ“กสศ. และเครือข่ายวิชาการไม่น้อยกว่า 8 เครือข่ายได้ปรับแนวทางการสนับสนุนเพื่อช่วยเตรียม ความพร้อมให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 850 โรง หรือประมาณร้อยละ 10 ของโรงเรียนขนาดกลาง ให้สามารถจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ จะคำนึงถึงบริบทของแต่ละโรงเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย เช่น สามารถปรับวิธีการเรียนรู้เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการช่วยเหลือครูและนักเรียนได้เหมาะสมกับสภาพปัญหาในขณะนี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและครูเสนอแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่เพื่อให้นักเรียนไม่หยุดการเรียนรู้แม้ในสภาวะที่ไม่สามารถมาโรงเรียนได้ ” ดร.อุดม กล่าว รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ หนึ่งในเครือข่ายร่วมพัฒนาโรงเรียน TSQP กสศ. และ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ม.ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด การจัดการศึกษาทางไกลถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ แต่ในมิติของการจัดการเรียนรู้ที่ “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ใน virtual classroom ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงมากนัก ส่วนใหญ่มุ่งประเด็นไปที่เครื่องไม้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ยังมิใช่หัวใจสำคัญของการศึกษาการจัดการเรียนออนไลน์แบบ Active Learning ให้เป็น High Functioning Classroom หรือห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งกระบวนการและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้นั้น องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้คุณครูทำงานง่ายขึ้น ควรเริ่มจาก การศึกษาธรรมชาติผู้เรียน สภาพแวดล้อม และบริบทต่างๆ ที่พวกเขาโตมา และสถานการณ์ของโลกที่เด็กต้องเจอ จะช่วยให้คุณครูสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ง่ายและตรงโจทย์ความต้องการมากขึ้น“วิชาที่สอนอาจไม่ใช่วิชาสามัญแต่เป็น “Life Project” ที่มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง ให้เด็กๆลงมือทำเกิดการเรียนรู้เองได้จริง เป็นการควบรวมรายวิชาในลักษณะของการบูรณาการให้น้ำหนักไปกับวิชาสัมมนา วิชาค้นคว้าอิสระ วิชาวิทยาการวิจัย และวิชาการสร้างสรรค์นวัตกรรม เช่น ให้เด็กแต่ละคนไปศึกษาในหัวข้อ “My family’s happiness” ในช่วง COVID-19 แล้วมาแชร์เป็นไอเดีย ต่อยอดไปด้วยกัน” รศ.ดร.ธันยวิช กล่าวสำหรับ กระบวนการเรียนรู้และมอบหมายงานต่อผู้เรียน 1 หน่วย จะไม่ได้มีนักเรียนแค่ 1 คนอีกต่อไป แต่จะนับรวมคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองด้วย นั่นหมายความว่าครอบครัวของนักเรียนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะเป็นตัวกลางระหว่างคุณครูและนักเรียน รับรู้ว่าบุตร หลานกำลังเรียนอะไร ทำอะไรอยู่ ในบางครั้งก็เป็นเหมือนผู้ขับเคลื่อน (Facilitator) หรือเป็นโค้ชที่คอยดูแลระหว่างที่กำลังลงมือเรียนรู้ด้วยตนเองส่วนการสร้างความ Active Learning บนโลกออนไลน์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1.เปิดเวทีให้เด็กแต่ละคน แชร์เรื่องราวตัวเอง 2.เรียนในออนไลน์ แล้วไปต่อในชีวิตจริง 3.ติดตามผลงานไปพร้อมกัน และ 4 รีวิวบทเรียนที่ผ่านมา และวางขั้นต่อไป ซึ่งวิธีทั้งหมดนี้คุณครูจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยให้ห้องเรียนออนไลน์เกิดความ Active Learning ได้อย่างต่อเนื่องและเกิดเป็นห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ“มากกว่า 50% ของนักเรียนในประเทศไทย มีภาวะยากลำบากในการเรียนรู้ออนไลน์ ขาดแคลนอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการเรียนรู้ทางไกล (Distance Learning) ในยุค Analog เช่น รายการโทรทัศน์ทางการเรียนรู้ที่เป็น Multimedia จริงๆ ไม่ใช่แค่การบรรยาย หรือถ้าเป็นกรณีที่ห่างไกลไม่มีสัญญาณโทรทัศน์หรือไฟฟ้า ก็ต้องใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Learning Package) ที่เป็น Paper-based ตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบ Self-Directed Learning ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ผ่านชุดเครื่องมือดังกล่าวสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำอยู่ห่างๆ ผ่านทางไปรษณีย์ หรือผ่านศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่เป็นตัวประสาน” รศ.ดร.ธันยวิช กล่าว 5139
กสศ.-สพฐ.และเครือข่ายด้านการศึกษา เตรียมหนุน 850 โรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเองนำร่องช่วยครูปรับรูปแบบการสอนให้เด็กเรียนรู้ได้เต็มที่ มุ่งลดเหลื่อมล้ำแม้ในวิกฤติโควิด-19
ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถานศึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผสฃยว่า ผลการวิเคราะห์ PISA 2018 ที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทต่างกันถึง 2 ปีการศึกษา อันเนื่องมาจากคุณภาพของโรงเรียนที่ไม่เท่ากัน มีความแตกต่างทั้งในด้านงบประมาณและทรัพยากร เมื่อมาเจอโควิด-19 โรงเรียนชนบทห่างไกลย่อมได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ กสศ.ตึงร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ 5 เครือข่ายด้านการศึกษา ได้แก่ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ม.ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์ เดินหน้าโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program : TSQP) เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนาคุณภาพได้ด้วยตนเอง
ดร.อุดม กล่าวว่า ถือเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยสนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนให้มีความพร้อมและเอื้อต่อการเรียนรู้และสนับสนุนให้มีเครื่องมือการจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นเรียนที่หลากหลาย เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนตามความถนัดและศักยภาพของผู้เรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับคุณภาพชั้นเรียนให้เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถพัฒนาให้เกิดทักษะการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยปีการศึกษา 2562 มีโรงเรียนขนาดกลางร่วมโครงการจำนวน 290 แห่ง ใน 35 จังหวัด และกำลังขยายรุ่นที่ 2 อีก 560 โรงเรียนในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 850 โรง ทั่วประเทศ
“กสศ. และเครือข่ายวิชาการไม่น้อยกว่า 8 เครือข่ายได้ปรับแนวทางการสนับสนุนเพื่อช่วยเตรียม ความพร้อมให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 850 โรง หรือประมาณร้อยละ 10 ของโรงเรียนขนาดกลาง ให้สามารถจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ จะคำนึงถึงบริบทของแต่ละโรงเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย เช่น สามารถปรับวิธีการเรียนรู้เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการช่วยเหลือครูและนักเรียนได้เหมาะสมกับสภาพปัญหาในขณะนี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและครูเสนอแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่เพื่อให้นักเรียนไม่หยุดการเรียนรู้แม้ในสภาวะที่ไม่สามารถมาโรงเรียนได้ ” ดร.อุดม กล่าว
รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ หนึ่งในเครือข่ายร่วมพัฒนาโรงเรียน TSQP กสศ. และ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ม.ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด การจัดการศึกษาทางไกลถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ แต่ในมิติของการจัดการเรียนรู้ที่ “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ใน virtual classroom ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงมากนัก ส่วนใหญ่มุ่งประเด็นไปที่เครื่องไม้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ยังมิใช่หัวใจสำคัญของการศึกษาการจัดการเรียนออนไลน์แบบ Active Learning ให้เป็น High Functioning Classroom หรือห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งกระบวนการและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้นั้น องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้คุณครูทำงานง่ายขึ้น ควรเริ่มจาก การศึกษาธรรมชาติผู้เรียน สภาพแวดล้อม และบริบทต่างๆ ที่พวกเขาโตมา และสถานการณ์ของโลกที่เด็กต้องเจอ จะช่วยให้คุณครูสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ง่ายและตรงโจทย์ความต้องการมากขึ้น
“วิชาที่สอนอาจไม่ใช่วิชาสามัญแต่เป็น “Life Project” ที่มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง ให้เด็กๆลงมือทำเกิดการเรียนรู้เองได้จริง เป็นการควบรวมรายวิชาในลักษณะของการบูรณาการให้น้ำหนักไปกับวิชาสัมมนา วิชาค้นคว้าอิสระ วิชาวิทยาการวิจัย และวิชาการสร้างสรรค์นวัตกรรม เช่น ให้เด็กแต่ละคนไปศึกษาในหัวข้อ “My family’s happiness” ในช่วง COVID-19 แล้วมาแชร์เป็นไอเดีย ต่อยอดไปด้วยกัน” รศ.ดร.ธันยวิช กล่าว
สำหรับ กระบวนการเรียนรู้และมอบหมายงานต่อผู้เรียน 1 หน่วย จะไม่ได้มีนักเรียนแค่ 1 คนอีกต่อไป แต่จะนับรวมคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองด้วย นั่นหมายความว่าครอบครัวของนักเรียนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะเป็นตัวกลางระหว่างคุณครูและนักเรียน รับรู้ว่าบุตร หลานกำลังเรียนอะไร ทำอะไรอยู่ ในบางครั้งก็เป็นเหมือนผู้ขับเคลื่อน (Facilitator) หรือเป็นโค้ชที่คอยดูแลระหว่างที่กำลังลงมือเรียนรู้ด้วยตนเองส่วนการสร้างความ Active Learning บนโลกออนไลน์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1.เปิดเวทีให้เด็กแต่ละคน แชร์เรื่องราวตัวเอง 2.เรียนในออนไลน์ แล้วไปต่อในชีวิตจริง 3.ติดตามผลงานไปพร้อมกัน และ 4 รีวิวบทเรียนที่ผ่านมา และวางขั้นต่อไป ซึ่งวิธีทั้งหมดนี้คุณครูจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยให้ห้องเรียนออนไลน์เกิดความ Active Learning ได้อย่างต่อเนื่องและเกิดเป็นห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ
“มากกว่า 50% ของนักเรียนในประเทศไทย มีภาวะยากลำบากในการเรียนรู้ออนไลน์ ขาดแคลนอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการเรียนรู้ทางไกล (Distance Learning) ในยุค Analog เช่น รายการโทรทัศน์ทางการเรียนรู้ที่เป็น Multimedia จริงๆ ไม่ใช่แค่การบรรยาย หรือถ้าเป็นกรณีที่ห่างไกลไม่มีสัญญาณโทรทัศน์หรือไฟฟ้า ก็ต้องใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Learning Package) ที่เป็น Paper-based ตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบ Self-Directed Learning ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ผ่านชุดเครื่องมือดังกล่าวสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำอยู่ห่างๆ ผ่านทางไปรษณีย์ หรือผ่านศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่เป็นตัวประสาน” รศ.ดร.ธันยวิช กล่าว
5139
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?