ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) การเรียนการสอนที่สวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) การเรียนการสอนที่สวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน Flipped Classroom เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยให้นักเรียนศึกษาความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตนอกห้องเรียน นอกเวลาเรียน ส่วนในห้องเรียนจะเป็นการจัดกิจกรรม นำการบ้านมาทำในห้องเรียนแทน วิธีนี้เด็กมีเวลาดูการสอนของครูผ่านวีดีโอออนไลน์ ดูกี่ครั้งก็ได้ เมื่อไรก็ได้ สามารถปรึกษาพูดคุยกับเพื่อนหรือครู ด้วยโปรแกรมสนทนาออนไลน์ก็ได้ ในห้องเรียนครูให้นักเรียนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ดูผ่านวีดีโอ เพื่อทำความเข้าใจหลักการความรู้ผ่านกิจกรรม โดยครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กมีคำถาม หรือติดปัญหาที่แก้ไม่ได้ หลักการของ Flipped Classroom ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา บวกกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เนื่องจากเวลาในห้องเรียนมีจำกัด การที่จะให้นักเรียนเข้าใจในหลักการความรู้บางอย่างอาจมีเวลาไม่พอ ดังนั้นการศึกษาความรู้จากการสอนผ่านวีดีโอที่ครูได้บันทึกไว้แล้ว รวมทั้งการอ่านหนังสือเพิ่มเติม ปรึกษาเพื่อนหรือครูออนไลน์ สามารถทำได้ล่วงหน้านอกห้องเรียน ส่วนเวลาในห้องเรียน ครูก็สร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมที่ออบแบบไว้ เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ ครูก็เดินสำรวจไปรอบๆ ห้อง คอยให้คำแนะนำหลักการที่เข้าใจยาก หรือปัญหาที่เด็กพบ วิธีนี้จะทำให้เด็กเข้าใจความรู้ และเชื่อมโยงในหลักการ มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญไม่ง่วงด้วย! ถ้าสอนแบบเดิมตามปกติ ในมุมมองของเด็กนักเรียน อาจตามไม่ทัน ไม่เข้าใจก็ไม่กล้าถาม ครูไม่มีช่องว่างให้ถาม เนื้อหาเยอะอัดแน่นในเวลาที่จำกัด ปรึกษาเพื่อนก็โดนครูดุ เมื่อกลับมาบ้าน ทำการบ้านก็ไม่ได้ เลยต้องลอกเพื่อนตลอด แล้วก็สะสมความไม่เข้าใจตลอดทั้งเทอม ในมุมมองของครู ก็สอนเหมือนปีที่แล้ว อัดอย่างเดียวเวลามีน้อย มองดูเด็กๆ ในห้องเรียน ก็ไม่มีใครสงสัย การบ้านที่ส่งมาก็ทำได้เหมือนกันหมด ตรวจง่ายจัง ใครเก่งไม่เก่ง วัดกันตอนสอบเลย ถ้าสอนแบบ Flipped Classroom ในมุมมองของเด็ก มีเวลามากพอที่จะดูวีดีโอ สามารถปรึกษากับเพื่อนหรือครูออนไลน์ได้ ไม่มีการบ้าน ไม่เครียด ไม่ต้องลอกการบ้านเพื่อนแต่เช้า ทำการบ้าน (กิจกรรม) ในห้องเรียนก็ไม่เครียด มีครู มีเพื่อน ให้คำปรึกษาตลอดเวลา ได้ลงมือปฎิบัติ ได้โต้ตอบกับเพื่อนกับครู เรื่องยากก็ดูจะง่ายขึ้น แต่ในมุมมองของครู ค่อนข้างหนักทีเดียว เนื่องจากต้องเตรียมอัดวีดีโอการสอนล่วงหน้า ถ้ามีวีดีโอเหมือน Khan Academy ฉบับภาษาไทยก็อาจจะสบายหน่อย หรือไม่ ก็ต้องหาหน่วยงานกลางที่ทำวีดีโอแทน เช่น สสวท. ตกดึกก็คอยให้คำปรึกษาออนไลน์กับเด็กๆ ต้องหาเวลาออกแบบและเตรียมจัดกิจกรรม สร้างสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับเนื้อหาใหม่ ในแต่ละกิจกรรมที่ไม่เหมือนเดิม ครูต้องทบทวนความรู้พื้นฐาน ความเข้าใจในหลักการ เนื้อหาทั้งหลักสูตร เตรียมพร้อมสำหรับให้คำแนะนำเด็กๆ ขณะทำกิจกรรม ครูต้องมีความพร้อมช่วยเหลือเด็กตลอดเวลา ต้องคอยกระตุ้นเด็ก ต้องสังเกตความเข้าใจของเด็ก เมื่อเด็กมีปัญหา ต้องวิเคราะห์ปัญหาและความเข้าใจของเด็กต่อปัญหานั้น ซึ่งปกติเด็กแต่ละคนจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน เฮ้อออ … ถ้าจะเบาขึ้นสักอย่าง ก็คงไม่ต้องตรวจการบ้านนี่แหละ ผลลัพธ์จากงานวิจัยในอเมริกายืนยันว่า ผลการเรียนของเด็กดีขึ้น เขาว่าอย่างนั้น ผมไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยัน ครูไทยต้องนำไปทดลองดูนะครับ เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก คลิก
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
การเรียนการสอนที่สวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
Flipped Classroom เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยให้นักเรียนศึกษาความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตนอกห้องเรียน นอกเวลาเรียน ส่วนในห้องเรียนจะเป็นการจัดกิจกรรม นำการบ้านมาทำในห้องเรียนแทน
วิธีนี้เด็กมีเวลาดูการสอนของครูผ่านวีดีโอออนไลน์ ดูกี่ครั้งก็ได้ เมื่อไรก็ได้ สามารถปรึกษาพูดคุยกับเพื่อนหรือครู ด้วยโปรแกรมสนทนาออนไลน์ก็ได้ ในห้องเรียนครูให้นักเรียนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ดูผ่านวีดีโอ เพื่อทำความเข้าใจหลักการความรู้ผ่านกิจกรรม โดยครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กมีคำถาม หรือติดปัญหาที่แก้ไม่ได้
หลักการของ Flipped Classroom ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา บวกกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เนื่องจากเวลาในห้องเรียนมีจำกัด การที่จะให้นักเรียนเข้าใจในหลักการความรู้บางอย่างอาจมีเวลาไม่พอ ดังนั้นการศึกษาความรู้จากการสอนผ่านวีดีโอที่ครูได้บันทึกไว้แล้ว รวมทั้งการอ่านหนังสือเพิ่มเติม ปรึกษาเพื่อนหรือครูออนไลน์ สามารถทำได้ล่วงหน้านอกห้องเรียน ส่วนเวลาในห้องเรียน ครูก็สร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมที่ออบแบบไว้ เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ ครูก็เดินสำรวจไปรอบๆ ห้อง คอยให้คำแนะนำหลักการที่เข้าใจยาก หรือปัญหาที่เด็กพบ วิธีนี้จะทำให้เด็กเข้าใจความรู้ และเชื่อมโยงในหลักการ มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญไม่ง่วงด้วย! ถ้าสอนแบบเดิมตามปกติ ในมุมมองของเด็กนักเรียน อาจตามไม่ทัน ไม่เข้าใจก็ไม่กล้าถาม ครูไม่มีช่องว่างให้ถาม เนื้อหาเยอะอัดแน่นในเวลาที่จำกัด ปรึกษาเพื่อนก็โดนครูดุ เมื่อกลับมาบ้าน ทำการบ้านก็ไม่ได้ เลยต้องลอกเพื่อนตลอด แล้วก็สะสมความไม่เข้าใจตลอดทั้งเทอม
ในมุมมองของครู ก็สอนเหมือนปีที่แล้ว อัดอย่างเดียวเวลามีน้อย มองดูเด็กๆ ในห้องเรียน ก็ไม่มีใครสงสัย การบ้านที่ส่งมาก็ทำได้เหมือนกันหมด ตรวจง่ายจัง ใครเก่งไม่เก่ง วัดกันตอนสอบเลย
ถ้าสอนแบบ Flipped Classroom ในมุมมองของเด็ก มีเวลามากพอที่จะดูวีดีโอ สามารถปรึกษากับเพื่อนหรือครูออนไลน์ได้ ไม่มีการบ้าน ไม่เครียด ไม่ต้องลอกการบ้านเพื่อนแต่เช้า ทำการบ้าน (กิจกรรม) ในห้องเรียนก็ไม่เครียด มีครู มีเพื่อน ให้คำปรึกษาตลอดเวลา ได้ลงมือปฎิบัติ ได้โต้ตอบกับเพื่อนกับครู เรื่องยากก็ดูจะง่ายขึ้น
แต่ในมุมมองของครู ค่อนข้างหนักทีเดียว เนื่องจากต้องเตรียมอัดวีดีโอการสอนล่วงหน้า ถ้ามีวีดีโอเหมือน Khan Academy ฉบับภาษาไทยก็อาจจะสบายหน่อย หรือไม่ ก็ต้องหาหน่วยงานกลางที่ทำวีดีโอแทน เช่น สสวท. ตกดึกก็คอยให้คำปรึกษาออนไลน์กับเด็กๆ ต้องหาเวลาออกแบบและเตรียมจัดกิจกรรม สร้างสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับเนื้อหาใหม่ ในแต่ละกิจกรรมที่ไม่เหมือนเดิม ครูต้องทบทวนความรู้พื้นฐาน ความเข้าใจในหลักการ เนื้อหาทั้งหลักสูตร เตรียมพร้อมสำหรับให้คำแนะนำเด็กๆ
ขณะทำกิจกรรม ครูต้องมีความพร้อมช่วยเหลือเด็กตลอดเวลา ต้องคอยกระตุ้นเด็ก ต้องสังเกตความเข้าใจของเด็ก เมื่อเด็กมีปัญหา ต้องวิเคราะห์ปัญหาและความเข้าใจของเด็กต่อปัญหานั้น ซึ่งปกติเด็กแต่ละคนจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน เฮ้อออ … ถ้าจะเบาขึ้นสักอย่าง ก็คงไม่ต้องตรวจการบ้านนี่แหละ
ผลลัพธ์จากงานวิจัยในอเมริกายืนยันว่า ผลการเรียนของเด็กดีขึ้น เขาว่าอย่างนั้น ผมไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยัน ครูไทยต้องนำไปทดลองดูนะครับ
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
ขอบคุณที่มา : https://www.aksorn.com/flipped-classroom
5208
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?