"อักษร" ปักธงภาคอีสาน เรียนรู้ STEM ด้วย Active Learning
ถึงแม้สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education) จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับแวดวงการศึกษาของไทย แต่เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายต่อการนำไปปฏิบัติจริง จึงเกิดแรงผลักดันจากหลายหน่วยงานในการเข้ามาส่งเสริม และพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องนี้อย่างแท้จริง เพื่อนำแนวคิดไปสู่การปรับใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรบูรณาการเชิงรุก (Active Learning) เป็นหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้น โดยมี บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นแม่งานหลัก ซึ่งจะดำเนินโครงการนี้กับครูในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เริ่มต้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่นำร่อง"ชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน" กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า ตามปกติแล้วในแต่ละปีทางบริษัทมีการจัดอบรมเพื่อยกระดับศักยภาพครูผู้สอน 7 หมื่นกว่าคน หรือประมาณ 400 ครั้งต่อปี โดยมีประเด็นการอบรมแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ และความต้องการของครู อาทิ เทคโนโลยีใหม่ กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสม การบูรณาการความรู้ การประเมินผล ความเข้าใจและการใช้สื่อ เป็นต้น"จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นว่าในแต่ละจังหวัด หรือแต่ละภาคมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องครู เด็ก หรือทรัพยากร เราจึงอยากหาพันธมิตรในแต่ละพื้นที่ แล้วจับมือร่วมกันทำงานเป็นโครงการระยะยาว เพื่อหาทิศทางในการพัฒนาครูของพื้นที่นั้น ๆ โดยประเด็นที่เราสนใจคือสะเต็มศึกษา เพราะมองว่าเป็นเรื่องยาก และควรเข้าไปเติมเต็มในสิ่งที่ครูยังไม่รู้ ซึ่งประจวบเหมาะกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีการจัดอบรมสะเต็มศึกษามาก่อนหน้านี้ เราเลยร่วมมือกับเขาเป็นแห่งแรก เพื่อหาโมเดลที่เหมาะสม"ม.มหาสารคาม จึงเป็นเหมือนจังหวัดนำร่องของการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งอักษร เอ็ดดูเคชั่น มีแผนงานระยะยาว 3 ปี และจะขยายผลครอบคลุมไปอีก 5 จังหวัด ได้แก่ นครพนม, อุดรธานี, บุรีรัมย์, นครราชสีมา และอุบลราชธานี คาดว่าจะมีครูที่ได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้กว่า 1,200 คน"การอบรมเริ่มต้นด้วยการให้แนวคิด และหลักคิดว่าหากจะทำสะเต็มศึกษาต้องประยุกต์อะไรบ้าง แล้วขยับไปเฟส 2 ในการทำเวิร์กช็อปเชิงลึกเพื่อสร้างครูแม่ไก่ โดยจะเป็นครูที่สนใจจริงและสมัครมาในการทำเวิร์กช็อปเชิงลึก หลังจากนั้น เขาจะประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปสู่การสอนในโรงเรียน แล้วเราจะเข้าไปติดตามผลว่าเขานำไปใช้ต่อไปอย่างไร และสเต็ปต่อไปครูแม่ไก่จะมาแชร์ประสบการณ์การสอนร่วมกัน""ในขั้นตอนของเฟส 2 ถือว่าเป็นการทดลองอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเราได้รับประสบการณ์ของครูหลังจากนำแนวทางไปใช้แล้วจะเป็นฐานข้อมูลสำหรับเราในการนำไปพัฒนาการอบรมกับอีก5จังหวัดทำให้เกิดการพัฒนาหรือมีโมเดลที่ดีขึ้น"นอกจาก ม.มหาสารคาม บริษัทยังหารือร่วมกับ ม.นเรศวร สำหรับเป็นเครือข่ายของพื้นที่ภาคกลาง พร้อมทั้งมีแผนปักหมุดในภาคเหนือ และภาคใต้ ขณะเดียวกันยังมองถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการในประเด็นอื่นเพิ่มเติม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะเริ่มดำเนินการในปีถัดไป"ชัยณรงค์" ขยายความเพิ่มเติมถึงการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาแบบ Active Learning ว่า ต้องทำให้เด็กและครูมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เพราะจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจของสิ่งที่เรียนมากขึ้น โดย Active Learning ต้องประกอบด้วยคอนเทนต์และกระบวนการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กคิดต่อได้ สืบค้นเองเป็น โดยครูต้องเตรียมกิจกรรมให้เด็ก ทั้งการร่วมกันค้นหาข้อมูล แสดงความคิดเห็น การนำเสนอ การให้ฟีดแบ็ก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญในการอินสไปร์ให้ครูสร้างกระบวนการเหล่านี้ด้วยขณะที่ "ผศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร" คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ม.มหาสารคาม กล่าวถึงการร่วมมือครั้งนี้ว่า การทำงานกับอักษร เอ็ดดูเคชั่น เป็นการเติมเต็มภารกิจของคณะในด้านการพัฒนาครูให้เกิดความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์มีองค์ความรู้ ส่วนอักษร เอ็ดดูเคชั่น มีสื่อและทรัพยากรต่าง ๆ อันจะช่วยเสริมกระบวนการอบรมครูให้สมบูรณ์กว่าเดิมสำหรับแนวทางของโครงการคงล้อไปกับสิ่งที่คณะได้ดำเนินการคืออบรมเชิงลึกให้ครูตั้งแต่ชั้นปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาเกิดความรู้ความเชี่ยวชาญและสามารถนำไปปฏิบัติได้หลังจากนั้นจะร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อไปนิเทศก์ตามโรงเรียนซึ่งกระบวนการแบบนี้จะทำให้การพัฒนาครูในระยะยาว ไม่ใช่การอบรมครั้งเดียวแล้วจบไป"ผมมองว่าไม่ต้องทำให้เป็นโครงการที่ใหญ่มาก หรือมีคนเข้าร่วมจำนวนมากก็ได้ เพราะความสำคัญอยู่ที่การสร้างคนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และเกิดผลจริง ๆ ซึ่งการอบรมแต่ละครั้งในแต่ละจังหวัดจะมีครูเข้าร่วมประมาณ 200 คน จำนวนนี้หากได้ครูแม่ไก่มา 50 คน ก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น่าพอใจ เพราะครูเหล่านี้จะไปสร้างเครือข่ายของตัวเอง แล้วเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือเพื่อน ๆ จะทำให้องค์ความรู้ด้านสะเต็มศึกษาขยายวงกว้างขึ้น"ทั้งนี้ "ชัยณรงค์" ให้มุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาของไทยว่า ครูมีความกระตือรือร้นที่อยากจะสอนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจติดภาระงานเยอะ หรือทำงานอย่างอื่นนอกเหนือหน้าที่ ทำให้ครูมีโฟกัสต่อการสอนน้อย และเวลาสำหรับการเตรียมตัวสอนลดลง การสอนจะออกมาไม่ดี ดังนั้นครูต้องอยากสอนก่อน และมีปัจจัยที่ทำให้ครูพร้อมสำหรับการสอนด้วย ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน เนื้อหา และสื่อที่ดี"ในฐานะของคนทำสื่อ ภารกิจของเราอันดับแรกคือทำสื่อที่ดี หนังสือที่ทำต้องได้รับการพัฒนามากขึ้น ขณะเดียวกันก็นำกระบวนการสมัยใหม่มาร่วมด้วย คือนอกจากหนังสือเรียน แบบฝึกหัด จะต้องมีสื่อประกอบอื่น ๆ อย่างคลิปวิดีโอ แอนิเมชั่น สิ่งเหล่านี้เราจะนำมาบูรณาการและทำให้เป็นสื่อสมัยใหม่ที่ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากนั้นจะพยายามอินสไปร์ และให้องค์ความรู้ต่าง ๆ กับครูเพิ่มเติมผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก"ทั้งนั้น เพื่อร่วมกันยกระดับการศึกษาไทยให้มีความแข็งแกร่งขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ม.ค. 2560 1142
ถึงแม้สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education) จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับแวดวงการศึกษาของไทย แต่เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายต่อการนำไปปฏิบัติจริง จึงเกิดแรงผลักดันจากหลายหน่วยงานในการเข้ามาส่งเสริม และพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องนี้อย่างแท้จริง เพื่อนำแนวคิดไปสู่การปรับใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรบูรณาการเชิงรุก (Active Learning) เป็นหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้น โดยมี บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นแม่งานหลัก ซึ่งจะดำเนินโครงการนี้กับครูในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เริ่มต้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่นำร่อง
"ชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน" กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า ตามปกติแล้วในแต่ละปีทางบริษัทมีการจัดอบรมเพื่อยกระดับศักยภาพครูผู้สอน 7 หมื่นกว่าคน หรือประมาณ 400 ครั้งต่อปี โดยมีประเด็นการอบรมแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ และความต้องการของครู อาทิ เทคโนโลยีใหม่ กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสม การบูรณาการความรู้ การประเมินผล ความเข้าใจและการใช้สื่อ เป็นต้น
"จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นว่าในแต่ละจังหวัด หรือแต่ละภาคมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องครู เด็ก หรือทรัพยากร เราจึงอยากหาพันธมิตรในแต่ละพื้นที่ แล้วจับมือร่วมกันทำงานเป็นโครงการระยะยาว เพื่อหาทิศทางในการพัฒนาครูของพื้นที่นั้น ๆ โดยประเด็นที่เราสนใจคือสะเต็มศึกษา เพราะมองว่าเป็นเรื่องยาก และควรเข้าไปเติมเต็มในสิ่งที่ครูยังไม่รู้ ซึ่งประจวบเหมาะกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีการจัดอบรมสะเต็มศึกษามาก่อนหน้านี้ เราเลยร่วมมือกับเขาเป็นแห่งแรก เพื่อหาโมเดลที่เหมาะสม"
ม.มหาสารคาม จึงเป็นเหมือนจังหวัดนำร่องของการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งอักษร เอ็ดดูเคชั่น มีแผนงานระยะยาว 3 ปี และจะขยายผลครอบคลุมไปอีก 5 จังหวัด ได้แก่ นครพนม, อุดรธานี, บุรีรัมย์, นครราชสีมา และอุบลราชธานี คาดว่าจะมีครูที่ได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้กว่า 1,200 คน
"การอบรมเริ่มต้นด้วยการให้แนวคิด และหลักคิดว่าหากจะทำสะเต็มศึกษาต้องประยุกต์อะไรบ้าง แล้วขยับไปเฟส 2 ในการทำเวิร์กช็อปเชิงลึกเพื่อสร้างครูแม่ไก่ โดยจะเป็นครูที่สนใจจริงและสมัครมาในการทำเวิร์กช็อปเชิงลึก หลังจากนั้น เขาจะประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปสู่การสอนในโรงเรียน แล้วเราจะเข้าไปติดตามผลว่าเขานำไปใช้ต่อไปอย่างไร และสเต็ปต่อไปครูแม่ไก่จะมาแชร์ประสบการณ์การสอนร่วมกัน"
"ในขั้นตอนของเฟส 2 ถือว่าเป็นการทดลองอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเราได้รับประสบการณ์ของครูหลังจากนำแนวทางไปใช้แล้วจะเป็นฐานข้อมูลสำหรับเราในการนำไปพัฒนาการอบรมกับอีก5จังหวัดทำให้เกิดการพัฒนาหรือมีโมเดลที่ดีขึ้น"
นอกจาก ม.มหาสารคาม บริษัทยังหารือร่วมกับ ม.นเรศวร สำหรับเป็นเครือข่ายของพื้นที่ภาคกลาง พร้อมทั้งมีแผนปักหมุดในภาคเหนือ และภาคใต้ ขณะเดียวกันยังมองถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการในประเด็นอื่นเพิ่มเติม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะเริ่มดำเนินการในปีถัดไป
"ชัยณรงค์" ขยายความเพิ่มเติมถึงการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาแบบ Active Learning ว่า ต้องทำให้เด็กและครูมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เพราะจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจของสิ่งที่เรียนมากขึ้น โดย Active Learning ต้องประกอบด้วยคอนเทนต์และกระบวนการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กคิดต่อได้ สืบค้นเองเป็น โดยครูต้องเตรียมกิจกรรมให้เด็ก ทั้งการร่วมกันค้นหาข้อมูล แสดงความคิดเห็น การนำเสนอ การให้ฟีดแบ็ก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญในการอินสไปร์ให้ครูสร้างกระบวนการเหล่านี้ด้วย
ขณะที่ "ผศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร" คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ม.มหาสารคาม กล่าวถึงการร่วมมือครั้งนี้ว่า การทำงานกับอักษร เอ็ดดูเคชั่น เป็นการเติมเต็มภารกิจของคณะในด้านการพัฒนาครูให้เกิดความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์มีองค์ความรู้ ส่วนอักษร เอ็ดดูเคชั่น มีสื่อและทรัพยากรต่าง ๆ อันจะช่วยเสริมกระบวนการอบรมครูให้สมบูรณ์กว่าเดิม
สำหรับแนวทางของโครงการคงล้อไปกับสิ่งที่คณะได้ดำเนินการคืออบรมเชิงลึกให้ครูตั้งแต่ชั้นปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาเกิดความรู้ความเชี่ยวชาญและสามารถนำไปปฏิบัติได้หลังจากนั้นจะร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อไปนิเทศก์ตามโรงเรียนซึ่งกระบวนการแบบนี้จะทำให้การพัฒนาครูในระยะยาว ไม่ใช่การอบรมครั้งเดียวแล้วจบไป
"ผมมองว่าไม่ต้องทำให้เป็นโครงการที่ใหญ่มาก หรือมีคนเข้าร่วมจำนวนมากก็ได้ เพราะความสำคัญอยู่ที่การสร้างคนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และเกิดผลจริง ๆ ซึ่งการอบรมแต่ละครั้งในแต่ละจังหวัดจะมีครูเข้าร่วมประมาณ 200 คน จำนวนนี้หากได้ครูแม่ไก่มา 50 คน ก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น่าพอใจ เพราะครูเหล่านี้จะไปสร้างเครือข่ายของตัวเอง แล้วเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือเพื่อน ๆ จะทำให้องค์ความรู้ด้านสะเต็มศึกษาขยายวงกว้างขึ้น"
ทั้งนี้ "ชัยณรงค์" ให้มุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาของไทยว่า ครูมีความกระตือรือร้นที่อยากจะสอนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจติดภาระงานเยอะ หรือทำงานอย่างอื่นนอกเหนือหน้าที่ ทำให้ครูมีโฟกัสต่อการสอนน้อย และเวลาสำหรับการเตรียมตัวสอนลดลง การสอนจะออกมาไม่ดี ดังนั้นครูต้องอยากสอนก่อน และมีปัจจัยที่ทำให้ครูพร้อมสำหรับการสอนด้วย ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน เนื้อหา และสื่อที่ดี
"ในฐานะของคนทำสื่อ ภารกิจของเราอันดับแรกคือทำสื่อที่ดี หนังสือที่ทำต้องได้รับการพัฒนามากขึ้น ขณะเดียวกันก็นำกระบวนการสมัยใหม่มาร่วมด้วย คือนอกจากหนังสือเรียน แบบฝึกหัด จะต้องมีสื่อประกอบอื่น ๆ อย่างคลิปวิดีโอ แอนิเมชั่น สิ่งเหล่านี้เราจะนำมาบูรณาการและทำให้เป็นสื่อสมัยใหม่ที่ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากนั้นจะพยายามอินสไปร์ และให้องค์ความรู้ต่าง ๆ กับครูเพิ่มเติมผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก"
ทั้งนั้น เพื่อร่วมกันยกระดับการศึกษาไทยให้มีความแข็งแกร่ง
ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ม.ค. 2560
1142
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?