เพิ่มทางเลือกดูแลสวัสดิการครูเอกชน โยกจากกองทุนสงเคราะห์ ศธ. ไปใช้บัตรทอง
"หมอธี"เตรียมเจรจา สปสช. เพิ่มทางเลือกดูแลสวัสดิการครูเอกชน โยกจากกองทุนสงเคราะห์ ศธ. ไปใช้บัตรทองวันนี้(15ก.พ.)ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ.ได้หารือร่วมกับผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์ ศธ. เกี่ยวกับการบริหารกองทุน ที่ปัจจุบันมีสมาชิกเป็นผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนรวม 116,682 คน โดยเงินที่เข้าสู่กองทุนจะมาจาก 3 ส่วน คือ สมาชิกจ่าย 3% ของเงินเดือน โรงเรียนจ่าย 3%ของเงินเดือนสมาชิก และรัฐบาลสมทบอีก 6%ของเงินเดือนสมาชิก ซึ่งกองทุนสงเคราะห์จะดูแลสวัสดิการสมาชิก 3 ส่วน คือ การรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร และเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ที่ผ่านมาพบว่า สมาชิกบางส่วนต้องการให้เพิ่มสวัสดิการในส่วนของการรักษาพยาบาล ซึ่งกองทุนก็สามารถเพิ่มให้ได้เพียงบางส่วนเนื่องจากมีข้อจำกัดว่าเป็นกองทุนขนาดเล็ก อีกทั้งตั้งแต่ปี 2556 ที่ให้เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ถึงระดับปริญญาตรี ปรากฎว่ากองทุนต้องจ่ายส่วนนี้ปีละ 180 ล้านบาท จากที่เคยจ่ายปีละ 70 ล้านบาท“จากการหารือมีข้อเสนอว่า ควรมีทางเลือกสำหรับสมาชิกกองทุนในการส่งเงินเข้ากองทุนและการเลือกใช้สวัสดิการจากกองทุน โดยให้สมาชิกปัจจุบันมี 2 ทางเลือก คือ 1.จ่ายและใช้สวัสดิการเหมือนเดิม 2.สมาชิกจ่าย 3% โรงเรียนจ่าย 3% แต่ส่วนที่รัฐบาลสมทบ 6% ก็ไปจ่ายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อไปใช้สวัสดิการบัตรทองแทน โดยคนที่เลือกแบบที่ 2 จะเบิกค่าเล่าเรียนบุตรไม่ได้ สำหรับสมาชิกบรรจุใหม่มี 2 ทางเลือก คือ 1.จ่ายและรับสวัสดิการเหมือนเดิม และ 2.สมาชิกจ่าย 3% โรงเรียนจ่าย 3% รัฐบาลสมทบกองทุนสงเคราะห์ 4.5% ส่วนอีก 1.5%ส่งไปที่ สปสช. เพื่อให้ไปใช้บัตรทอง แต่ยังคงเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ อย่างไรก็ตาม รมว.ศธ.จะนำข้อเสนอดังกล่าวไปหารือกับ สปสช.อีกครั้ง ซึ่งถ้าเห็นด้วยก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย”ปลัด ศธ.กล่าวขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม 1255
"หมอธี"เตรียมเจรจา สปสช. เพิ่มทางเลือกดูแลสวัสดิการครูเอกชน โยกจากกองทุนสงเคราะห์ ศธ. ไปใช้บัตรทอง
วันนี้(15ก.พ.)ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ.ได้หารือร่วมกับผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์ ศธ. เกี่ยวกับการบริหารกองทุน ที่ปัจจุบันมีสมาชิกเป็นผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนรวม 116,682 คน โดยเงินที่เข้าสู่กองทุนจะมาจาก 3 ส่วน คือ สมาชิกจ่าย 3% ของเงินเดือน โรงเรียนจ่าย 3%ของเงินเดือนสมาชิก และรัฐบาลสมทบอีก 6%ของเงินเดือนสมาชิก ซึ่งกองทุนสงเคราะห์จะดูแลสวัสดิการสมาชิก 3 ส่วน คือ การรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร และเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ที่ผ่านมาพบว่า สมาชิกบางส่วนต้องการให้เพิ่มสวัสดิการในส่วนของการรักษาพยาบาล ซึ่งกองทุนก็สามารถเพิ่มให้ได้เพียงบางส่วนเนื่องจากมีข้อจำกัดว่าเป็นกองทุนขนาดเล็ก อีกทั้งตั้งแต่ปี 2556 ที่ให้เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ถึงระดับปริญญาตรี ปรากฎว่ากองทุนต้องจ่ายส่วนนี้ปีละ 180 ล้านบาท จากที่เคยจ่ายปีละ 70 ล้านบาท
“จากการหารือมีข้อเสนอว่า ควรมีทางเลือกสำหรับสมาชิกกองทุนในการส่งเงินเข้ากองทุนและการเลือกใช้สวัสดิการจากกองทุน โดยให้สมาชิกปัจจุบันมี 2 ทางเลือก คือ 1.จ่ายและใช้สวัสดิการเหมือนเดิม 2.สมาชิกจ่าย 3% โรงเรียนจ่าย 3% แต่ส่วนที่รัฐบาลสมทบ 6% ก็ไปจ่ายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อไปใช้สวัสดิการบัตรทองแทน โดยคนที่เลือกแบบที่ 2 จะเบิกค่าเล่าเรียนบุตรไม่ได้ สำหรับสมาชิกบรรจุใหม่มี 2 ทางเลือก คือ 1.จ่ายและรับสวัสดิการเหมือนเดิม และ 2.สมาชิกจ่าย 3% โรงเรียนจ่าย 3% รัฐบาลสมทบกองทุนสงเคราะห์ 4.5% ส่วนอีก 1.5%ส่งไปที่ สปสช. เพื่อให้ไปใช้บัตรทอง แต่ยังคงเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ อย่างไรก็ตาม รมว.ศธ.จะนำข้อเสนอดังกล่าวไปหารือกับ สปสช.อีกครั้ง ซึ่งถ้าเห็นด้วยก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย”ปลัด ศธ.กล่าว
ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม
1255
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?