“เสมา1” ให้คำมั่นลุยแก้ปัญหาเต็มสูบ ยกครูบุคลากรทรงคุณค่า-นัดหน้าสัญจรเหนือ
“เสมา 1” เดินสายสัญจรรับฟังเสียงครูทั่วประเทศ ให้คำมั่น พร้อมเดินหน้าแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ยกให้ครูเป็นบุคลากรทรงคุณค่า เปิดช่องทางนัดพบครูภาคเหนือ-ใต้ เพื่อแก้การศึกษาไทยทั้งระบบ หลังจากที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปิดโครงการ “เรื่องนี้ถึงหูครูตั้นแน่สัญจร” เพื่อเปิดรับสมัครตัวแทนครูภูมิภาคละ 50 ท่าน เพื่อร่วมพูดคุยถึงปัญหาของคุณครูในปัจจุบัน และได้ทดลองสัญจรครั้งแรกพบตัวแทนครูในภาคกลาง วันที่ 9 ตุลาคม ที่ จังหวัดชัยนาท ณ โรงเรียนคุรุประขาสรรค์ และพบตัวแทนครูในภาคอีสานเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ โรงเรียนหนองขอนวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายหลังการพูดคุยกับตัวแทนครู นายณัฏฐพล เปิดเผยว่า ปัญหาที่ได้รับฟังจากตัวแทนคุณครูทั้งในภาคกลางและภาคอีสานส่วนใหญ่นั้น มีความสอดคล้อง และตรงกับข้อมูลที่ได้มีโอกาสรับรู้จากการเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งหลายเรื่องได้วางแผนหาแนวทางการแก้ปัญหาไว้อยู่แล้ว ซึ่งตนเองมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่ต้องการจะรับฟังเสียงสะท้อนอย่างแท้จริง รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ให้ได้ โดยเฉพาะการวางรากฐานทางการศึกษา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบายต่างๆ ให้มีความต่อเนื่อง และดูแลครูซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา “ผมต้องขอบคุณคุณครูทุกท่านเป็นอย่างมาก ที่ได้แสดงข้อคิดเห็นอย่างหลากหลาย หลายเรื่องที่เราฟังวันนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นใด ยกเว้นแต่จะต้องรีบผลักดันแก้ไขให้ได้อย่างจริงจังในช่วงเวลาที่ผมมีอยู่อย่างจำกัด และต้องทำให้ได้เพราะไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการปล่อยปัญหาไว้เหมือนเดิม” นายณัฏฐพล ย้ำว่า เพราะสิ่งที่เราพูดถึงปัญหามากมายกันนี้ สุดท้ายแล้วมันเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพชีวิต คุณภาพครอบครัว คุณภาพของคนไทย ซึ่งจะแก้ไขได้ก็ด้วยการศึกษาเท่านั้น อาจมีแตกต่างที่ผมรับรู้มาบ้าง 2-3 ข้อ ซึ่งก็ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่มันรุมเร้า “แต่ผมพร้อมที่จะปลดล็อกหลายๆ อย่าง ซึ่งผมและทีม ได้วางแนวทางการแก้ปัญหาไว้อยู่บ้างแล้ว แต่คุณครูก็ต้องพร้อมที่จะเดินไปข้างหน้า ต้องปรับแนวคิดในการทำงาน เพื่อให้เป็นบุคลากรทรงคุณค่า” นายณัฏฐพล กล่าว ทั้งนี้ นายณัฏฐพล ยังได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ เรื่องการเพิ่มสมรรถนะของครู ซึ่งได้มีการเปิดทั้งแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (DEEP-Digital Education Excellence Platform) เพื่อบรรจุหลักสูตรอบรมพัฒนาครูแบบออนไลน์ ให้คุณครูได้ใช้เวลาว่างของตนเองในการพัฒนาสมรรถนะ โดยเป้าหมายแรกเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) เพื่อคุณครูได้หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ HCEC (Human Capital Excellence Center) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทดแทนการอบรมต่างๆ ของครูโดย HCEC จะกระจายตัวอยู่ 185 ศูนย์ทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2564 ใช้ในการเวิร์คช็อปและอำนวยความสะดวกให้กับคุณครูทดแทนการอบรมสัมมนาต่างๆ ให้คุณครูได้มีเวลาทำการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ รวมไปถึงการจัดอบรมต่างๆ ที่จะต้องนำข้อมูลหรือ Big Data ที่มีอยู่เอามาใช้ในการจัดสรรหลักสูตรให้เพียงพอต่อความต้องการของครู หรือการจัดระบบ Waiting List ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ซึ่งตัวแทนครูได้สะท้อนปัญหาให้รับทราบ นายณัฏฐพล ได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขว่า จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพโดยการควบรวมโรงเรียนที่มีอยู่ให้มีจำนวนที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ตัวอย่างเช่น การจัดการสวัสดิการบ้านพักครู หากสามารถบริหารโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 30,000 โรงเรียน ลดลงให้เหลือเพียง 15,000 โรงเรียน ก็สร้างบ้านพักครูแค่ 15,000 แห่งแล้วสร้างให้ดี เหมือนกันกับเรื่องครูไม่พอ เรื่องของครูไม่พอก็เป็นเรื่องที่เราต้องมานั่งคุยกัน สัดส่วนครูต่อนักเรียนของประเทศไทยอยู่ที่ 16.5 ต่อ 1 ซึ่งดีที่สุดในโลก แล้วทำไมโรงเรียนใหญ่ๆ ถึงได้มีนักเรียนอยู่ 40 – 50 คนต่อห้อง ดังนั้นจะต้องการจัดการบริหารข้อมูลครูให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม” นายณัฏฐพลกล่าวเสริม ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรมของ “เรื่องนี้ถึงหูครูตั้นแน่สัญจร” นั้น เป็นกิจกรรมการพูดคุยถึงปัญหาระหว่างตัวแทนครูในแต่ละภูมิภาคจำนวน 50 คนโดยตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และให้ตัวแทนคุณครูได้มีโอกาสเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อีกด้วยโดยกิจกรรม “เรื่องนี้ถึงหูครูตั้นแน่สัญจร” ยังจะดำเนินการกิจกรรมให้ครบทุกภาคทั่วประเทศ โดยมีกำหนดการสัญจรครั้งต่อไปในภาคเหนือและภาคใต้ตามลำดับ โดยคุณครูที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว และเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการหรือ www.moe.go.th 5631
หลังจากที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปิดโครงการ “เรื่องนี้ถึงหูครูตั้นแน่สัญจร” เพื่อเปิดรับสมัครตัวแทนครูภูมิภาคละ 50 ท่าน เพื่อร่วมพูดคุยถึงปัญหาของคุณครูในปัจจุบัน และได้ทดลองสัญจรครั้งแรกพบตัวแทนครูในภาคกลาง วันที่ 9 ตุลาคม ที่ จังหวัดชัยนาท ณ โรงเรียนคุรุประขาสรรค์ และพบตัวแทนครูในภาคอีสานเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ โรงเรียนหนองขอนวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภายหลังการพูดคุยกับตัวแทนครู นายณัฏฐพล เปิดเผยว่า ปัญหาที่ได้รับฟังจากตัวแทนคุณครูทั้งในภาคกลางและภาคอีสานส่วนใหญ่นั้น มีความสอดคล้อง และตรงกับข้อมูลที่ได้มีโอกาสรับรู้จากการเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งหลายเรื่องได้วางแผนหาแนวทางการแก้ปัญหาไว้อยู่แล้ว ซึ่งตนเองมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่ต้องการจะรับฟังเสียงสะท้อนอย่างแท้จริง
รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ให้ได้ โดยเฉพาะการวางรากฐานทางการศึกษา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบายต่างๆ ให้มีความต่อเนื่อง และดูแลครูซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา
“ผมต้องขอบคุณคุณครูทุกท่านเป็นอย่างมาก ที่ได้แสดงข้อคิดเห็นอย่างหลากหลาย หลายเรื่องที่เราฟังวันนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นใด ยกเว้นแต่จะต้องรีบผลักดันแก้ไขให้ได้อย่างจริงจังในช่วงเวลาที่ผมมีอยู่อย่างจำกัด และต้องทำให้ได้เพราะไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการปล่อยปัญหาไว้เหมือนเดิม”
นายณัฏฐพล ย้ำว่า เพราะสิ่งที่เราพูดถึงปัญหามากมายกันนี้ สุดท้ายแล้วมันเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพชีวิต คุณภาพครอบครัว คุณภาพของคนไทย ซึ่งจะแก้ไขได้ก็ด้วยการศึกษาเท่านั้น อาจมีแตกต่างที่ผมรับรู้มาบ้าง 2-3 ข้อ ซึ่งก็ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่มันรุมเร้า
“แต่ผมพร้อมที่จะปลดล็อกหลายๆ อย่าง ซึ่งผมและทีม ได้วางแนวทางการแก้ปัญหาไว้อยู่บ้างแล้ว แต่คุณครูก็ต้องพร้อมที่จะเดินไปข้างหน้า ต้องปรับแนวคิดในการทำงาน เพื่อให้เป็นบุคลากรทรงคุณค่า” นายณัฏฐพล กล่าว
ทั้งนี้ นายณัฏฐพล ยังได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ เรื่องการเพิ่มสมรรถนะของครู ซึ่งได้มีการเปิดทั้งแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (DEEP-Digital Education Excellence Platform) เพื่อบรรจุหลักสูตรอบรมพัฒนาครูแบบออนไลน์ ให้คุณครูได้ใช้เวลาว่างของตนเองในการพัฒนาสมรรถนะ โดยเป้าหมายแรกเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) เพื่อคุณครูได้หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนได้
และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ HCEC (Human Capital Excellence Center) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทดแทนการอบรมต่างๆ ของครูโดย HCEC จะกระจายตัวอยู่ 185 ศูนย์ทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2564 ใช้ในการเวิร์คช็อปและอำนวยความสะดวกให้กับคุณครูทดแทนการอบรมสัมมนาต่างๆ ให้คุณครูได้มีเวลาทำการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่
รวมไปถึงการจัดอบรมต่างๆ ที่จะต้องนำข้อมูลหรือ Big Data ที่มีอยู่เอามาใช้ในการจัดสรรหลักสูตรให้เพียงพอต่อความต้องการของครู หรือการจัดระบบ Waiting List ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ซึ่งตัวแทนครูได้สะท้อนปัญหาให้รับทราบ นายณัฏฐพล ได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขว่า จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพโดยการควบรวมโรงเรียนที่มีอยู่ให้มีจำนวนที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ตัวอย่างเช่น การจัดการสวัสดิการบ้านพักครู หากสามารถบริหารโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 30,000 โรงเรียน ลดลงให้เหลือเพียง 15,000 โรงเรียน ก็สร้างบ้านพักครูแค่ 15,000 แห่งแล้วสร้างให้ดี เหมือนกันกับเรื่องครูไม่พอ เรื่องของครูไม่พอก็เป็นเรื่องที่เราต้องมานั่งคุยกัน สัดส่วนครูต่อนักเรียนของประเทศไทยอยู่ที่ 16.5 ต่อ 1 ซึ่งดีที่สุดในโลก แล้วทำไมโรงเรียนใหญ่ๆ ถึงได้มีนักเรียนอยู่ 40 – 50 คนต่อห้อง ดังนั้นจะต้องการจัดการบริหารข้อมูลครูให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม” นายณัฏฐพลกล่าวเสริม
ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรมของ “เรื่องนี้ถึงหูครูตั้นแน่สัญจร” นั้น เป็นกิจกรรมการพูดคุยถึงปัญหาระหว่างตัวแทนครูในแต่ละภูมิภาคจำนวน 50 คนโดยตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และให้ตัวแทนคุณครูได้มีโอกาสเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อีกด้วยโดยกิจกรรม “เรื่องนี้ถึงหูครูตั้นแน่สัญจร” ยังจะดำเนินการกิจกรรมให้ครบทุกภาคทั่วประเทศ โดยมีกำหนดการสัญจรครั้งต่อไปในภาคเหนือและภาคใต้ตามลำดับ โดยคุณครูที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว และเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการหรือ www.moe.go.th
5631
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?