เสียงแตก…เลื่อนเปิดเทอม ทางรอดการศึกษาไทย??
เสียงแตก…เลื่อนเปิดเทอม ทางรอดการศึกษาไทย??ต้องยอมรับว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลให้ระบบการศึกษาของประเทศไม่น้อย ทั้งต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ใช้ระบบออนไลน์เกือบ 100% ขณะที่มาตรการป้องกันของทางภาครัฐ ขอความร่วมมือให้ลดการเดินทาง ทำให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศเลื่อนเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน จากเดิมกำหนดเปิดเทอมวันที่ 17 พฤษภาคมเป็นการเลื่อนเปิดเทอมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2 นับจากระลอกแรกเมื่อต้นปี 2563 เป็นความท้าทายที่มาพร้อมๆ กับข้อกังวลของสังคม ว่าการตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมครั้งนี้ มาถูกทางแล้วหรือไม่ ??ศ.สมพงษ์ จิตระดับ อดีตอาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมของ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ครั้งนี้ ดูเหมือนรอบคอบ แต่ไม่ได้มองปัญหาแบบรอบด้าน โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการเปิดเทอมตามกำหนดเดิม เพราะแม้จะเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไป แต่ถ้าไม่มีการจัดระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรองรับ ก็ไม่เกิดประโยชน์ เป็นเพียงการชะลอสถานการณ์ทำให้การศึกษาหยุดชะงัก ส่วนตัวคิดว่า เหตุผลที่ น.ส.ตรีนุชตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมครั้งนี้น่าจะมาจากความห่วงใยของผู้ปกครองในเรื่องความปลอดภัยของบุตรหลาน และมาจากการหารือกับข้าราชการ โดยไม่ได้ฟังเสียงของเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการเลื่อนเปิดเทอม การตัดสินใจในครั้งนี้จึงทำให้เห็นว่า ศธ.ไม่ได้มีการเตรียมมาตรการในการรองรับว่าจะดำเนินการเรียนการสอนอย่างไร ที่จะทำให้เด็กเสียประโยชน์น้อยที่สุด และผลเสียที่ตามมาคือ ทำให้การศึกษาต้องหยุดชะงัก”สิ่งที่ ศธ.ควรทำที่สุดในสถานการณ์นี้ คือการคิดหาวิธีการที่จะทำให้โรงเรียนมีความปลอดภัยมากที่สุด ทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยขอให้มีการฉีดวัคซีนให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาแทนการเลื่อนเปิดเทอม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและปลอดภัยกว่า เพราะการแก้ปัญหาด้วยการหยุดเรียนแบบซ้ำซ้อนและให้เด็กเรียนออนไลน์นั้นจะทำให้การศึกษาถดถอยไปถึง 40-50% และจากการเรียนออนไลน์ครั้งที่ผ่านๆ มานั้น เด็กส่วนมากพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง เรียนไม่ค่อยเข้าใจ การบ้านเยอะ อุปกรณ์ไม่พร้อม อินเตอร์เน็ตไม่เสถียร และส่งผลเสียทำให้สุขภาพจิตของเด็กเสื่อมลง ซึ่ง ศธ.เองก็ไม่ได้มีมาตรการเยียวยา หรือช่วยเหลือเด็กเลย อีกทั้งยังมีงานวิจัยออกมาจำนวนมากว่าการเรียนออนไลน์ที่ผ่านมานั้นเป็นการเรียนรู้ที่ขาดประสิทธิภาพและไม่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก มาในปีนี้ ศธ.ยังคงตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมออกไป และอาจจะให้เด็กเรียนออนไลน์อีกครั้ง โดยไม่มีการเสนอชุดความคิด หรือนโยบายใหม่ที่ดีกว่าเดิมเลย การตัดสินใจครั้งนี้จึงเป็นการตัดสินใจที่คำนึงถึงคุณภาพการเรียนการสอนและคุณภาพของเด็กน้อยเกินไป ถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง”ศ.สมพงษ์กล่าว หากต้องการให้การศึกษาเดินหน้าและเกิดประโยชน์สูงสุด ศธ.ควรรับฟังเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักเรียนเลว หรือว่ากลุ่มนักเรียนอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ต่อไปนี้การศึกษาไทยจะละเลย เพิกเฉยกับการมีส่วนร่วมและการฟังเสียงเด็กไม่ได้แล้ว ตอนนี้น่าจะยังไม่สายเกินไปที่จะรับฟังคำแนะนำของเด็ก ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อที่จะกลับมาเปิดเทอมตามกำหนดการเดิม และรีบนำเรื่องนี้เสนอกับ ศบค.เพื่อฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรการศึกษาทุกคน ซึ่งจะสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรได้อย่างยั่งยืนขณะที่ น.ส.ธญาณี เจริญกูล ตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลว มองว่า ในช่วงวิกฤตนี้การเลื่อนเปิดเทอมอาจช่วยลดปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการศึกษาเท่าที่ควร เหตุเพราะ ศธ.ไม่ได้ออกมาตรการรองรับ เพราะแม้จะเลื่อนเปิดเทอมออกไปแต่ การสอบต่างๆ ยังคงเดิม ขณะที่การเรียนเนื้อหาจะถูกบีบอัดด้วยเวลาที่น้อยลง เด็กต้องเรียนเพิ่มในหยุด หรือวันวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อชดเชยวันที่หายไป ขณะที่การเรียนออนไลน์ในภาพรวมยังขาดประสิทธิภาพ เด็กเครียด ช่องว่างทางการศึกษากว้างขึ้น เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ กระทบไปถึงเรื่องการสอบต่างๆ รวมถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย“ที่ผ่านมา ศธ.น่าจะมีบทเรียนจากปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่นโยบายต่างๆ ที่ออกมาก็ยังไม่มีการพัฒนา การแก้ปัญหาทุกอย่างยังคงเดิม และเป็นการผลักภาระให้กับโรงเรียน คุณครู และนักเรียนเหมือนเดิม มองว่าหากจะเลื่อนเปิดเทอมออกไป ศธ.ควรออกนโยบายมาเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนเปิดเทอมด้วย เช่น ทำข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลื่อนการสอบต่างๆ ออกไป เตรียมพร้อมครูสำหรับการจัดการเรียนการสอน ไม่อัดเนื้อหาแน่นเกินไป และกระจายทรัพยากรและการเข้าถึงการศึกษาให้มากขึ้น รวมถึงสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาให้มากขึ้น เพราะขณะนี้ทุกคนเหมือนเอาตัวรอดโดยการพึ่งพาตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การเลื่อนเปิดเทอมออกไปโดยไม่มีการแก้ปัญหาหรือหามาตรการในการรองรับกับการเรียนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จึงเป็นเหมือนการชะลอปัญหาให้เกิดขึ้นช้าลง ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากทำให้เกิดความวุ่นวาย อยากให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.เปิดรับฟังความเห็นของนักเรียน ครู โรงเรียนและผู้ปกครอง เพราะบุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และที่ผ่านมานักเรียนแทบจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายใดๆ ของ ศธ.เลย” น.ส.ธญาณีกล่าวด้าน นายพีรพล ระเวกโสม ตัวแทนกลุ่มภาคีนักเรียนแห่งประเทศไทย มองว่าการเลื่อนเปิดเทอมนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ศธ.ควรจะออกมาตรการการเรียนและการสอนให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แทนการเลื่อนเปิดเทอมซึ่งไม่ตอบโจทย์ และกระทบกับการเรียนการสอนของนักเรียน เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่านักเรียนต้องเรียนเพิ่มเติมในวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้นักเรียนมีภาระเพิ่มขึ้น การแก้ปัญ
เสียงแตก…เลื่อนเปิดเทอม ทางรอดการศึกษาไทย??
ต้องยอมรับว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลให้ระบบการศึกษาของประเทศไม่น้อย ทั้งต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ใช้ระบบออนไลน์เกือบ 100% ขณะที่มาตรการป้องกันของทางภาครัฐ ขอความร่วมมือให้ลดการเดินทาง ทำให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศเลื่อนเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน จากเดิมกำหนดเปิดเทอมวันที่ 17 พฤษภาคม
เป็นการเลื่อนเปิดเทอมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2 นับจากระลอกแรกเมื่อต้นปี 2563 เป็นความท้าทายที่มาพร้อมๆ กับข้อกังวลของสังคม ว่าการตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมครั้งนี้ มาถูกทางแล้วหรือไม่ ??
ศ.สมพงษ์ จิตระดับ อดีตอาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมของ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ครั้งนี้ ดูเหมือนรอบคอบ แต่ไม่ได้มองปัญหาแบบรอบด้าน โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการเปิดเทอมตามกำหนดเดิม เพราะแม้จะเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไป แต่ถ้าไม่มีการจัดระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรองรับ ก็ไม่เกิดประโยชน์ เป็นเพียงการชะลอสถานการณ์ทำให้การศึกษาหยุดชะงัก ส่วนตัวคิดว่า เหตุผลที่ น.ส.ตรีนุชตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมครั้งนี้น่าจะมาจากความห่วงใยของผู้ปกครองในเรื่องความปลอดภัยของบุตรหลาน และมาจากการหารือกับข้าราชการ โดยไม่ได้ฟังเสียงของเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการเลื่อนเปิดเทอม การตัดสินใจในครั้งนี้จึงทำให้เห็นว่า ศธ.ไม่ได้มีการเตรียมมาตรการในการรองรับว่าจะดำเนินการเรียนการสอนอย่างไร ที่จะทำให้เด็กเสียประโยชน์น้อยที่สุด และผลเสียที่ตามมาคือ ทำให้การศึกษาต้องหยุดชะงัก
”สิ่งที่ ศธ.ควรทำที่สุดในสถานการณ์นี้ คือการคิดหาวิธีการที่จะทำให้โรงเรียนมีความปลอดภัยมากที่สุด ทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยขอให้มีการฉีดวัคซีนให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาแทนการเลื่อนเปิดเทอม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและปลอดภัยกว่า เพราะการแก้ปัญหาด้วยการหยุดเรียนแบบซ้ำซ้อนและให้เด็กเรียนออนไลน์นั้นจะทำให้การศึกษาถดถอยไปถึง 40-50% และจากการเรียนออนไลน์ครั้งที่ผ่านๆ มานั้น เด็กส่วนมากพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง เรียนไม่ค่อยเข้าใจ การบ้านเยอะ อุปกรณ์ไม่พร้อม อินเตอร์เน็ตไม่เสถียร และส่งผลเสียทำให้สุขภาพจิตของเด็กเสื่อมลง ซึ่ง ศธ.เองก็ไม่ได้มีมาตรการเยียวยา หรือช่วยเหลือเด็กเลย อีกทั้งยังมีงานวิจัยออกมาจำนวนมากว่าการเรียนออนไลน์ที่ผ่านมานั้นเป็นการเรียนรู้ที่ขาดประสิทธิภาพและไม่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก มาในปีนี้ ศธ.ยังคงตัดสินใจเลื่อนเปิดเทอมออกไป และอาจจะให้เด็กเรียนออนไลน์อีกครั้ง โดยไม่มีการเสนอชุดความคิด หรือนโยบายใหม่ที่ดีกว่าเดิมเลย การตัดสินใจครั้งนี้จึงเป็นการตัดสินใจที่คำนึงถึงคุณภาพการเรียนการสอนและคุณภาพของเด็กน้อยเกินไป ถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง”ศ.สมพงษ์กล่าว
หากต้องการให้การศึกษาเดินหน้าและเกิดประโยชน์สูงสุด ศธ.ควรรับฟังเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักเรียนเลว หรือว่ากลุ่มนักเรียนอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ต่อไปนี้การศึกษาไทยจะละเลย เพิกเฉยกับการมีส่วนร่วมและการฟังเสียงเด็กไม่ได้แล้ว ตอนนี้น่าจะยังไม่สายเกินไปที่จะรับฟังคำแนะนำของเด็ก ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อที่จะกลับมาเปิดเทอมตามกำหนดการเดิม และรีบนำเรื่องนี้เสนอกับ ศบค.เพื่อฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรการศึกษาทุกคน ซึ่งจะสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรได้อย่างยั่งยืน
ขณะที่ น.ส.ธญาณี เจริญกูล ตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลว มองว่า ในช่วงวิกฤตนี้การเลื่อนเปิดเทอมอาจช่วยลดปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการศึกษาเท่าที่ควร เหตุเพราะ ศธ.ไม่ได้ออกมาตรการรองรับ เพราะแม้จะเลื่อนเปิดเทอมออกไปแต่ การสอบต่างๆ ยังคงเดิม ขณะที่การเรียนเนื้อหาจะถูกบีบอัดด้วยเวลาที่น้อยลง เด็กต้องเรียนเพิ่มในหยุด หรือวันวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อชดเชยวันที่หายไป ขณะที่การเรียนออนไลน์ในภาพรวมยังขาดประสิทธิภาพ เด็กเครียด ช่องว่างทางการศึกษากว้างขึ้น เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ กระทบไปถึงเรื่องการสอบต่างๆ รวมถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
“ที่ผ่านมา ศธ.น่าจะมีบทเรียนจากปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่นโยบายต่างๆ ที่ออกมาก็ยังไม่มีการพัฒนา การแก้ปัญหาทุกอย่างยังคงเดิม และเป็นการผลักภาระให้กับโรงเรียน คุณครู และนักเรียนเหมือนเดิม มองว่าหากจะเลื่อนเปิดเทอมออกไป ศธ.ควรออกนโยบายมาเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนเปิดเทอมด้วย เช่น ทำข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลื่อนการสอบต่างๆ ออกไป เตรียมพร้อมครูสำหรับการจัดการเรียนการสอน ไม่อัดเนื้อหาแน่นเกินไป และกระจายทรัพยากรและการเข้าถึงการศึกษาให้มากขึ้น รวมถึงสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาให้มากขึ้น เพราะขณะนี้ทุกคนเหมือนเอาตัวรอดโดยการพึ่งพาตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การเลื่อนเปิดเทอมออกไปโดยไม่มีการแก้ปัญหาหรือหามาตรการในการรองรับกับการเรียนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จึงเป็นเหมือนการชะลอปัญหาให้เกิดขึ้นช้าลง ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากทำให้เกิดความวุ่นวาย อยากให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.เปิดรับฟังความเห็นของนักเรียน ครู โรงเรียนและผู้ปกครอง เพราะบุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และที่ผ่านมานักเรียนแทบจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายใดๆ ของ ศธ.เลย” น.ส.ธญาณีกล่าว
ด้าน นายพีรพล ระเวกโสม ตัวแทนกลุ่มภาคีนักเรียนแห่งประเทศไทย มองว่าการเลื่อนเปิดเทอมนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ศธ.ควรจะออกมาตรการการเรียนและการสอนให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แทนการเลื่อนเปิดเทอมซึ่งไม่ตอบโจทย์ และกระทบกับการเรียนการสอนของนักเรียน เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่านักเรียนต้องเรียนเพิ่มเติมในวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้นักเรียนมีภาระเพิ่มขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าวจึงเป็นเหมือนการผลักภาระให้กับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาการ
การออกนโยบายต่างๆ ของ ศธ.แทบจะไม่ฟังเสียงของนักเรียนเลย แต่ละครั้งมาจากการหารือร่วมกันกับข้าราชการ ซึ่งไม่ได้มาประสบปัญหาว่าในระบบการศึกษาจริงๆ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ดังนั้น ศธ.ควรจะรับฟังความคิดเห็นของครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา หรือผู้ที่ประสบปัญหาจริงๆ บ้าง เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นาทีนี้คงได้แต่หวังว่า การศึกษาไทยจะ “ต้องรอด” แม้ความหวังเดินไปข้างหน้าจะริบหรี่ก็ตาม…
5972
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?