เฮือกสุดท้ายแห่ง…ลมหายใจของ ‘โรงเรียนเอกชน’

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์เชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย ในช่วงปลายปี 2562 เราจะพบข่าวเกี่ยวกับ โรงเรียนเอกชน ประสบปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนสมัครเข้าเรียนน้อยลง โรงเรียนบางแห่งโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ต้องปิดกิจการลง เพราะแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหวโรงเรียนเอกชนต่างร้องขอให้ภาครัฐ โดยเฉพาะ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยื่นมือเข้ามาช่วย เช่น ขอสนับสนุนเงินอุดหนุนรายหัว จากเดิมที่ได้รับ 70% เป็น 100% หรือการขอเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน ที่จากเดิมได้รับอุดหนุนเพียง 28% ขอเพิ่มเป็น 100% เพื่อความเสมอภาค เนื่องจากนักเรียนโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐบาล ต่างเป็นนักเรียนไทย สัญชาติไทยเหมือนกัน ทาง ศธ.โดยเฉพาะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รับฟังปัญหา และหาทางแก้ไขมาโดยตลอดวิกฤตแรก วิกฤตที่ 2 ไม่ทันได้รับการแก้ไข โรงเรียนเอกชนกลับประสบปัญหาวิกฤตอีกระลอก เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบกับโรงเรียนเอกชนอีกมหาศาลในฐานะนายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) ได้ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน โรงเรียนเอกชนไม่สามารถเปิดเรียนแบบ ONSITE ได้เป็นปกติถึง 90% เนื่องจากสถานที่ตั้งของโรงเรียนเอกชนอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม สีแดง และสีส้ม ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนดสิ่งที่โรงเรียนต้องเผชิญคือ เมื่อโรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนแบบ ONSITE ได้ ทำให้จำนวนนักเรียนที่มาสมัครในปีการศึกษา 2564 ลดน้อยลง เพราะไม่มีใครมาสมัครเข้าเรียน และจากการสำรวจข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2564 นักเรียนของโรงเรียนเอกชนลดลง 5%นอกจากนี้ โรงเรียนเอกชนเกือบทุกแห่งประสบปัญหาทางการเงิน เนื่องจากไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น ส่วนที่เก็บได้ประมาณ 30% และยังมีเสียงเรียงร้องจากผู้ปกครอง ให้โรงเรียนเอกชนคืนเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นข้อมูลที่ ส.ปส.กช.ได้รวบรวมข้อมูลเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 พบว่า โรงเรียนเอกชนประเภทที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ในโรงเรียน 2,474 แห่ง จาก 3,002 แห่ง พบข้อมูลดังนี้ ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นที่เรียกเก็บปกติ แบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมการศึกษา 4,295,810,846 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น 16,735,153,196บาท รวม 21,030,964,042 บาทขณะนี้โรงเรียนเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นไปแล้ว เฉลี่ย 36.00% แบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมการศึกษา 1,548,302,622 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น 6,021,278,281 บาท รวม 7,569,580,903 บาทผู้ปกครองค้างค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น เฉลี่ย 48.43 % แบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมการศึกษา 839,155,960 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น 9,345,546,704 บาท รวม 10,184,702,664 บาทการที่ผู้ปกครองค้างจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียน ส่งผลให้โรงเรียนเอกชนขาดสภาพคล่อง เกิดความระส่ำระสาย เพราะไม่รู้ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ขณะนี้มีการเลิกจ้างครู และบุคลากร เพื่อรักษาสภาพคล่อง ไม่ให้ครูไปทำงานแบบปกติ และปรับลดเงินเดือนครู ตั้งแต่ 10-50% เพื่อให้โรงเรียนสามารถอยู่ไปก่อนได้ แม้รัฐจะส่งเงินอุดหนุนรายหัว เพื่อจ่ายค่าจ้างครูตรงเวลา แต่มีครูบางส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ใช้เงินอุดหนุนรัฐจ้าง แต่ใช้เงินจากค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น มาจ่ายค่าจ้างแทน รวมถึง ค่าสาธารณูปโภคในปัจจุบันที่โรงเรียนเปิดเรียนแบบ ONSITE ไม่ได้ จึงไม่มีเงินจ้างครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเหล่านี้โดย ส.ปส.กช.ได้สำรวจ และรวบรวมข้อมูลเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 พบว่า ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโรงเรียนเอกชน ในโรงเรียน 2,468 แห่ง จาก 3,002 แห่ง พบข้อมูลว่ามีการเลิกจ้างงานครู และบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564 เป็นจำนวน 12,253 คนนอกจากนี้ โรงเรียนเอกชนยังประสบปัญหา โดยหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้สถานศึกษาในสังกัด ศธ.ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าบำรุงการศึกษา และค่าบริการต่างๆ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง ทาง สช.และสมาคมการศึกษาเอกชนทุกสมาคม ได้ขอความร่วมมือโรงเรียนเอกชนในการลด/ คืนค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นแล้ว1) รายการที่สถานศึกษาสามารถลด/ คืนให้ผู้ปกครองได้ทันที ได้แก่ ค่าสอนพิเศษ ค่าเข้าค่ายวิชาการ ค่าทัศนศึกษา และมีรายการที่โรงเรียนสามารถลดได้บางส่วน ได้แก่ ค่าอาหารกลางวัน แม้โรงเรียนไม่ได้ทำอาหาร แต่ยังต้องจ้างคนครัว และต้องดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ค่าไฟ ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าเรียนว่ายน้ำ ถึงจะไม่ได้ใช้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอยู่นั่นเอง2) รายการที่ไม่สามารถลด/ คืนได้ คือเงินเดือนครูและบุคลากร ที่เป็นต้นทุนมากกว่า 75% ของโรงเรียน โดยเงินเดือนครูมาจากเงินอุดหนุนจากรัฐ และการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าสมุดหนังสือ แม้จะเรียนออนไลน์ แต่นักเรียนยังได้รับสมุดหนังสือเหมือนเดิม ค่าสื่อการเรียนการสอน ถ้าจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Hand ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับครู และสถานศึกษา เพราะต้องซื้อกระดาษ และซื้ออุปกรณ์ เพื่อจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน ค่าดูแลอาคารสถานที่ ที่โรงเรียนยังต้องจ้างแม่บ้าน และภารโรง เพื่อดูแลรักษาโรงเรียนด้วยส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมาจากเดิมคือ วัสดุอุปกรณ์​สอนออนไลน์​ กล้อง​ ไฟ​ ไมโครโฟน​ คอมพิวเตอร์​ สัญญาณอินเตอร์​เน็ต​ แพลทฟอร์มใช้เรียนออนไลน์ หลายโรงเรียนไม่ได้มีไว้รองรับการสอนออนไลน์พร้อมกันทีละหลายๆ​ คน​ ต้องซื้อต้องเพิ่ม​ ครูบางคนมีข้อจำกัดก็ต้องมาสอนที่โรงเรียนทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2563 ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการโรงเรียนจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันการระบาด​ ฉากกั้นโต๊ะ​ เครื่องฟอกอากาศ​ แอลกอฮอล์​ เครื่องวัดอุณหภูมิ​หน้าประตู​ และอื่นๆ​ มากมาย ที่โรงเรียนจ่ายเพิ่มให้นักเรียนแต่เก็บเงินเพิ่มไม่ได้จากปัญหาดังกล่าว “โรงเรียนเอกชนยังประสบปัญหาการชำระภาษีต่างๆ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย รวมถึง ค่าดูแลรั

กรกฎาคม 29, 2023 - 19:10
 0  5
เฮือกสุดท้ายแห่ง…ลมหายใจของ ‘โรงเรียนเอกชน’

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์เชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย ในช่วงปลายปี 2562 เราจะพบข่าวเกี่ยวกับ โรงเรียนเอกชน ประสบปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนสมัครเข้าเรียนน้อยลง โรงเรียนบางแห่งโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ต้องปิดกิจการลง เพราะแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว

โรงเรียนเอกชนต่างร้องขอให้ภาครัฐ โดยเฉพาะ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยื่นมือเข้ามาช่วย เช่น ขอสนับสนุนเงินอุดหนุนรายหัว จากเดิมที่ได้รับ 70% เป็น 100% หรือการขอเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน ที่จากเดิมได้รับอุดหนุนเพียง 28% ขอเพิ่มเป็น 100% เพื่อความเสมอภาค เนื่องจากนักเรียนโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐบาล ต่างเป็นนักเรียนไทย สัญชาติไทยเหมือนกัน ทาง ศธ.โดยเฉพาะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รับฟังปัญหา และหาทางแก้ไขมาโดยตลอด

วิกฤตแรก วิกฤตที่ 2 ไม่ทันได้รับการแก้ไข โรงเรียนเอกชนกลับประสบปัญหาวิกฤตอีกระลอก เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบกับโรงเรียนเอกชนอีกมหาศาล

ในฐานะนายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) ได้ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน โรงเรียนเอกชนไม่สามารถเปิดเรียนแบบ ONSITE ได้เป็นปกติถึง 90% เนื่องจากสถานที่ตั้งของโรงเรียนเอกชนอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม สีแดง และสีส้ม ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด

สิ่งที่โรงเรียนต้องเผชิญคือ เมื่อโรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนแบบ ONSITE ได้ ทำให้จำนวนนักเรียนที่มาสมัครในปีการศึกษา 2564 ลดน้อยลง เพราะไม่มีใครมาสมัครเข้าเรียน และจากการสำรวจข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2564 นักเรียนของโรงเรียนเอกชนลดลง 5%

นอกจากนี้ โรงเรียนเอกชนเกือบทุกแห่งประสบปัญหาทางการเงิน เนื่องจากไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น ส่วนที่เก็บได้ประมาณ 30% และยังมีเสียงเรียงร้องจากผู้ปกครอง ให้โรงเรียนเอกชนคืนเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น

ข้อมูลที่ ส.ปส.กช.ได้รวบรวมข้อมูลเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 พบว่า โรงเรียนเอกชนประเภทที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ในโรงเรียน 2,474 แห่ง จาก 3,002 แห่ง พบข้อมูลดังนี้ ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นที่เรียกเก็บปกติ แบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมการศึกษา 4,295,810,846 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น 16,735,153,196บาท รวม 21,030,964,042 บาท

ขณะนี้โรงเรียนเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นไปแล้ว เฉลี่ย 36.00% แบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมการศึกษา 1,548,302,622 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น 6,021,278,281 บาท รวม 7,569,580,903 บาท

ผู้ปกครองค้างค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น เฉลี่ย 48.43 % แบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมการศึกษา 839,155,960 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น 9,345,546,704 บาท รวม 10,184,702,664 บาท

การที่ผู้ปกครองค้างจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียน ส่งผลให้โรงเรียนเอกชนขาดสภาพคล่อง เกิดความระส่ำระสาย เพราะไม่รู้ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ขณะนี้มีการเลิกจ้างครู และบุคลากร เพื่อรักษาสภาพคล่อง ไม่ให้ครูไปทำงานแบบปกติ และปรับลดเงินเดือนครู ตั้งแต่ 10-50% เพื่อให้โรงเรียนสามารถอยู่ไปก่อนได้ แม้รัฐจะส่งเงินอุดหนุนรายหัว เพื่อจ่ายค่าจ้างครูตรงเวลา แต่มีครูบางส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ใช้เงินอุดหนุนรัฐจ้าง แต่ใช้เงินจากค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น มาจ่ายค่าจ้างแทน รวมถึง ค่าสาธารณูปโภคในปัจจุบันที่โรงเรียนเปิดเรียนแบบ ONSITE ไม่ได้ จึงไม่มีเงินจ้างครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเหล่านี้

โดย ส.ปส.กช.ได้สำรวจ และรวบรวมข้อมูลเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 พบว่า ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโรงเรียนเอกชน ในโรงเรียน 2,468 แห่ง จาก 3,002 แห่ง พบข้อมูลว่ามีการเลิกจ้างงานครู และบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564 เป็นจำนวน 12,253 คน

นอกจากนี้ โรงเรียนเอกชนยังประสบปัญหา โดยหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้สถานศึกษาในสังกัด ศธ.ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าบำรุงการศึกษา และค่าบริการต่างๆ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง ทาง สช.และสมาคมการศึกษาเอกชนทุกสมาคม ได้ขอความร่วมมือโรงเรียนเอกชนในการลด/ คืนค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นแล้ว

1) รายการที่สถานศึกษาสามารถลด/ คืนให้ผู้ปกครองได้ทันที ได้แก่ ค่าสอนพิเศษ ค่าเข้าค่ายวิชาการ ค่าทัศนศึกษา และมีรายการที่โรงเรียนสามารถลดได้บางส่วน ได้แก่ ค่าอาหารกลางวัน แม้โรงเรียนไม่ได้ทำอาหาร แต่ยังต้องจ้างคนครัว และต้องดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ค่าไฟ ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าเรียนว่ายน้ำ ถึงจะไม่ได้ใช้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอยู่นั่นเอง

2) รายการที่ไม่สามารถลด/ คืนได้ คือเงินเดือนครูและบุคลากร ที่เป็นต้นทุนมากกว่า 75% ของโรงเรียน โดยเงินเดือนครูมาจากเงินอุดหนุนจากรัฐ และการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าสมุดหนังสือ แม้จะเรียนออนไลน์ แต่นักเรียนยังได้รับสมุดหนังสือเหมือนเดิม ค่าสื่อการเรียนการสอน ถ้าจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Hand ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับครู และสถานศึกษา เพราะต้องซื้อกระดาษ และซื้ออุปกรณ์ เพื่อจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน ค่าดูแลอาคารสถานที่ ที่โรงเรียนยังต้องจ้างแม่บ้าน และภารโรง เพื่อดูแลรักษาโรงเรียนด้วย



ส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมาจากเดิมคือ วัสดุอุปกรณ์​สอนออนไลน์​ กล้อง​ ไฟ​ ไมโครโฟน​ คอมพิวเตอร์​ สัญญาณอินเตอร์​เน็ต​ แพลทฟอร์มใช้เรียนออนไลน์ หลายโรงเรียนไม่ได้มีไว้รองรับการสอนออนไลน์พร้อมกันทีละหลายๆ​ คน​ ต้องซื้อต้องเพิ่ม​ ครูบางคนมีข้อจำกัดก็ต้องมาสอนที่โรงเรียน

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2563 ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการโรงเรียนจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันการระบาด​ ฉากกั้นโต๊ะ​ เครื่องฟอกอากาศ​ แอลกอฮอล์​ เครื่องวัดอุณหภูมิ​หน้าประตู​ และอื่นๆ​ มากมาย ที่โรงเรียนจ่ายเพิ่มให้นักเรียนแต่เก็บเงินเพิ่มไม่ได้

จากปัญหาดังกล่าว “โรงเรียนเอกชนยังประสบปัญหาการชำระภาษีต่างๆ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย รวมถึง ค่าดูแลรักษาโรงเรียน รวมทั้ง ค่าน้ำ ค่าไฟ ทำให้โรงเรียนหลายแห่งแบกรับค่าใช้จ่ายที่ถาโถมมาไม่ไหว ซึ่งเป็นผลให้ขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนมากกว่า 30 แห่ง ทำเรื่องขอพักกิจการ/ยุบ เพราะไม่สามารถรับมือกับวิกฤตโควิด-19 ได้       

แม้ทางรัฐบาลจะมีมาตรการ โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของ ศธ.โดยมีวัตถุประสงค์

1) เพื่อช่วยเหลือให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้เรียน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งกลุ่มผู้เรียนที่เรียนในสถานศึกษาทั่วไป กลุ่มด้อยโอกาส ยากจน และกลุ่มเด็กพิการ

2) เพื่อลดช่องว่างการเรียนรู้ (Learning Gaps) และลดผลกระทบด้านความรู้ที่ขาดหายไป (Learning Loss) ในระหว่างที่สถานศึกษาไม่สามารถเปิดเรียนได้

3) เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงาน และเด็กต้องย้ายสถานศึกษา ติดตามผู้ปกครองกลับภูมิลำเนา

4) เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 และช่วยเหลือในระยะยาว โดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 อนุมัติให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 (3 ปี) ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับ ปวช.และ ปวส.รวมนักเรียน จำนวน 10,793,975 คน ในทุกสังกัด โดยได้รับเงินช่วยเหลือ คนละ 2,000 บาท

ยิ่งเป็นเหมือนทุกข์สาหัสของโรงเรียนเอกชน เพราะเงินนี้ต้องส่งให้ผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการโอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือรับเงินสด เพื่อให้ผู้ปกครองให้นำเงินจำนวนนั้นไปใช้จ่าย (นโยบายว่าช่วยเหลือทางด้านการศึกษา) แต่เมื่อโอนเงินไปแล้ว โรงเรียนก็เหมือนทางผ่าน เพราะ ศธ.ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือตามแนวปฏิบัตินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของผู้ปกครอง หรือนักเรียน นักศึกษา

ห้ามสถานศึกษานำเงินไปหักชำระหนี้ค้างจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา หรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือหักเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษา หรือค่าธรรมเนียมอื่นจากผู้ปกครอง หรือนักเรียน นักศึกษา ในภาคเรียนถัดไป ดังนั้น โรงเรียนเอกชนได้แต่หวังรอให้ผู้ปกครองนักเรียนนำเงินส่วนนั้นมาชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ บ้าง ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะทุกคนอยู่ในภาวะวิกฤตนี้เช่นกัน

ถือเป็นการยื้อยุด “ลมหายใจสุดท้าย” ของโรงเรียนเอกชนหลายโรงเรียนได้เริ่มต้นแล้ว (สิงหาคม 2564) ​ของโรงเรียนที่กำลังจะสุดสายป่านแบบไร้หนทาง


การขอให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น​มากๆ ไม่เรียน​แบบมาเรียนที่โรงเรียนปกติ (ON SITE) แล้วก็ยังไม่จ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น​ แต่ให้เด็กเข้าเรียน ONLINE ON HAND ทุกวัน​ โรงเรียนแบกรับภาระได้ไม่นานหรอกครับ​ เคยแจ้งไปแล้วครั้งหนึ่ง ว่าหลายโรงเรียนมีกำลังแค่เดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 แค่นั้นเอง

ตามระเบียบ ศธ.แบบปกติ โรงเรียนจะแจ้งปิดเรียนทันทีทันใดนั้น ทำไม่ได้​ ต้องแจ้งล่วงหน้า​ ประสานส่งต่อเด็กให้โรงเรียนใหม่​ และต้องหมดปีการศึกษา แต่โรงเรียนไม่มีเงินแล้ว จะให้ทำอย่างไร ให้ลด-คืนค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นมากๆ​ ชะลอไม่ยอมจ่าย​ สุดท้ายเมื่อโรงเรียนไปต่อไม่ได้ ก็กลับมาเดือดร้อนที่ตัวเด็ก และผู้ปกครองเอง

การที่จะให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นอะไร สุดท้ายต้องดูว่าอย่างน้อยโรงเรียนต้องมีเงินพอจ่ายเงินเดือนครู และบุคลากร​ เพราะที่จริงแล้วเป็นการถัวจ่าย​  เงินส่วนที่เหลือจากค่าธรรมเนียมอื่นที่ ต้องเอามาใช้ให้พอจ่ายเงินเดือนครู และบุคลากร

การศึกษา​นั้น เป็นบริการสาธารณะ ​ที่เด็กทุกคนต้องได้รับ​ ถ้าเป็นโรงเรียนรัฐบาล​ รัฐต้องยอมขาดทุนเพื่อให้บริการแก่ประชาชนเหมือนบริการพื้นฐานอื่นๆ​ แล้วเอางบประมาณ​มาช่วยเข้าไปให้พอ​ เหมือนที่กำลังจะแก้ไขปัญหา​เรื่องครูอัตราจ้างกันอยู่ตอนนี้

แต่ในกรณี​โรงเรียนเอกชนนั้น ไม่เหมือนกัน​ โรงเรียนเอกชนเป็นทางเลือก ​ซึ่งผู้ปกครองต้องร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น​ ก็ต้องจ่าย​ ไม่อย่างนั้นก็จะถึงทางตัน ตอนนี้โรงเรียนเอกชนหลายแห่งหันหลังชนฝาแล้ว​ มีเงินพอจ่ายเงินเดือนอีกแค่ 1-2​ เดือนเท่านั้น​ จะเลิกจ้างคนที่เกินจำเป็นไปก่อนก็ไม่ได้ ทั้งเห็นใจ และกลายเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม​ โรงเรียนใดต้องส่ง “เงินกู้” ธนาคารยิ่งหนัก​ เก็บเงินก็ไม่ได้ การที่จะให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นไปกว่าเดิมอีก​ จะอยู่ในสภาพที่ปล่อยให้ล้มมาพร้อมๆ​ กัน

หลายโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่​มุ่งเน้นงานวิชาการครับ​ ไม่ค่อยได้ถูกฝึกมาในเชิงธุรกิจ​ โดยเฉพาะการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต ใครจะอยู่จะไปในยามนี้ เป็นเรื่องความสามารถเฉพาะตัวจริงๆ

ถ้า “ไม่มี” ทางออก​ ศธ.ก็คงต้องเตรียมตั้งคณะกรรมการ​เข้าควบคุมกิจการชั่วคราวเป็นแน่​ และหลายโรงเรียนด้วย แต่ก็ยังสงสัยว่าถ้าต้องเป็นอย่างนั้นจริง​ พอเข้าไปควบคุมกิจการแล้ว​ ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น จะเอาเงินที่ไหนมาจ้างครูต่อ หรือ​ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น

จะมีวิธี “ทวง” เงินค่าเทอมที่ค้างจากผู้ปกครอง เพื่อเอามาจ่ายครู? โดยวิธีการใด?

ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนเอกชนไปรอด ในฐานะนายก ส.ปส.กช.ใคร่วิงวอนไปทาง นายกรัฐมนตรี รัฐบาล และ ศธ.ช่วยจัดสรรงบประมาณมาดูแลครู และบุคลากรโรงเรียนเอกชน ในส่วนที่ต้องถูกทางโรงเรียนเลิกจ้างที่มากกว่า 12,253 คนนี้ เป็นระยะเวลา 6-12 เดือน หรือจนกว่าโรงเรียนเอกชนจะสามารถเปิดทำการเรียนการสอนแบบปกติ ONSITE ได้ แล้วโรงเรียนเอกชนจะสามารถมีเงินเข้ามาช่วยในการบริหารงานต่อไป
6256

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow