แค่หนังตัวอย่าง’สพป.โคราช7ต้าน’ศธจ.’!! นักวิชาการจี้คสช.ลดอำนาจต้นสังกัด ให้ร.ร.เป็นนิติบุคคล

แค่หนังตัวอย่าง’สพป.โคราช7ต้าน’ศธจ.’!! นักวิชาการจี้คสช.ลดอำนาจต้นสังกัด ให้ร.ร.เป็นนิติบุคคลรูปภาพจาก https://www.matichon.co.th/news/743117เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน นายอดิศร เนาวนนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)นครราชสีมา ในฐานะอดีตประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)นครราชสีมา เขต 7 ตอบกลับหนังสือของนายสุวิทย์ ศรีฉาย รองศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.) รักษาการศธจ.นครราชสีมา กรณีเชิญร่วมเป็นเกียรติประดับเครื่องหมายอินทรธนูแก่ข้าราชการครูบรรจุใหม่ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ว่า “ทราบ, ไม่ไป, ข้าราชการที่บรรจุใหม่ ล้วนเป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ทั้งสิ้น ควรให้ผู้บังคับบัญชาโดยชอบเป็นผู้ดำเนินการ” นั้น ว่า เรื่องนี้เป็นเพียงปลายเหตุหรือเป็นปรากฏการณ์ยอดภูเขาน้ำแข็ง ที่เป็นผลมาจากคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการอดีตประธานอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กล่าวต่อว่า ความไม่พึงพอใจต่อคำสั่ง คสช.ดังกล่าว ที่ทำให้ครูมีผู้บังคับบัญชาเพิ่มขึ้นทั้ง ศธจ. ศึกษาธิการภาค(ศธภ.) และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) และความขัดแย้งกัน ระหว่าง ผอ.สพป.และผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)กับ ศธจ.โดยเฉพาะประเด็นอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครู ตอนนี้ขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศ มีการแสดงออกหลายช่องทางทั้งทางลับและทางแจ้ง“กรณี ผอ.สพป.นครราชสีมาเขต7 เป็นเพียงหนังตัวอย่าง และเป็นลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลของ ผอ.เขตพื้นที่ฯ ท่านนี้ ซึ่งจริงๆ ก็เคยเกิดเหตุลักษณะเช่นนี้มาแล้วเป็นที่รับทราบกันดีในวงการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เช่น การไม่ปฏิบัติตามมติ กศจ.กรณีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการครูในเขตพื้นที่ฯ การทำภาพโปสเตอร์ต่อต้านไม่เอากศจ. เป็นต้น ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้รับข้อมูล ฝ่ายสนับสนุนก็เห็นด้วย ฝ่ายไม่สนับสนุนก็บอกว่าไม่เหมาะสม” นายอดิศร กล่าวนายอดิศร กล่าวต่อว่า ส่วนตัวจึงคิดว่าจะดูเพียงปลายเหตุไม่ได้ รัฐบาลโดย คสช.จำเป็นที่จะต้องทบทวนคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ก่อนที่ คสช.จะหมดอำนาจ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำได้ยาก และจะก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาอีกโดยการแก้ไขคำสั่ง คสช.ที่19/2560 ให้อยู่บนหลักการ ทำให้หน่วยงานเหนือโรงเรียนทั้งหลายมีจำนวนและมีอำนาจน้อยที่สุด ให้โรงเรียนหรือกลุ่มโรงเรียนที่เป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ โดยออกแบบให้มีการกำกับดูแลจากภาคประชาชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น“อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาต้องอยู่ที่สนามรบคือโรงเรียน จึงจะแก้ปัญหา และตอบโจทย์ประเทศได้” นายอดิศรกล่าวขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 - 17:34 น. 3167

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  14
แค่หนังตัวอย่าง’สพป.โคราช7ต้าน’ศธจ.’!! นักวิชาการจี้คสช.ลดอำนาจต้นสังกัด ให้ร.ร.เป็นนิติบุคคล

แค่หนังตัวอย่าง’สพป.โคราช7ต้าน’ศธจ.’!! นักวิชาการจี้คสช.ลดอำนาจต้นสังกัด ให้ร.ร.เป็นนิติบุคคล


รูปภาพจาก https://www.matichon.co.th/news/743117

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน นายอดิศร เนาวนนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)นครราชสีมา ในฐานะอดีตประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)นครราชสีมา เขต 7 ตอบกลับหนังสือของนายสุวิทย์ ศรีฉาย รองศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.) รักษาการศธจ.นครราชสีมา กรณีเชิญร่วมเป็นเกียรติประดับเครื่องหมายอินทรธนูแก่ข้าราชการครูบรรจุใหม่ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ว่า “ทราบ, ไม่ไป, ข้าราชการที่บรรจุใหม่ ล้วนเป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ทั้งสิ้น ควรให้ผู้บังคับบัญชาโดยชอบเป็นผู้ดำเนินการ” นั้น ว่า เรื่องนี้เป็นเพียงปลายเหตุหรือเป็นปรากฏการณ์ยอดภูเขาน้ำแข็ง ที่เป็นผลมาจากคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ

อดีตประธานอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กล่าวต่อว่า ความไม่พึงพอใจต่อคำสั่ง คสช.ดังกล่าว ที่ทำให้ครูมีผู้บังคับบัญชาเพิ่มขึ้นทั้ง ศธจ. ศึกษาธิการภาค(ศธภ.) และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) และความขัดแย้งกัน ระหว่าง ผอ.สพป.และผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)กับ ศธจ.โดยเฉพาะประเด็นอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครู ตอนนี้ขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศ มีการแสดงออกหลายช่องทางทั้งทางลับและทางแจ้ง

“กรณี ผอ.สพป.นครราชสีมาเขต7 เป็นเพียงหนังตัวอย่าง และเป็นลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลของ ผอ.เขตพื้นที่ฯ ท่านนี้ ซึ่งจริงๆ ก็เคยเกิดเหตุลักษณะเช่นนี้มาแล้วเป็นที่รับทราบกันดีในวงการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เช่น การไม่ปฏิบัติตามมติ กศจ.กรณีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการครูในเขตพื้นที่ฯ การทำภาพโปสเตอร์ต่อต้านไม่เอากศจ. เป็นต้น ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้รับข้อมูล ฝ่ายสนับสนุนก็เห็นด้วย ฝ่ายไม่สนับสนุนก็บอกว่าไม่เหมาะสม” นายอดิศร กล่าว

นายอดิศร กล่าวต่อว่า ส่วนตัวจึงคิดว่าจะดูเพียงปลายเหตุไม่ได้ รัฐบาลโดย คสช.จำเป็นที่จะต้องทบทวนคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ก่อนที่ คสช.จะหมดอำนาจ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำได้ยาก และจะก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาอีกโดยการแก้ไขคำสั่ง คสช.ที่19/2560 ให้อยู่บนหลักการ ทำให้หน่วยงานเหนือโรงเรียนทั้งหลายมีจำนวนและมีอำนาจน้อยที่สุด ให้โรงเรียนหรือกลุ่มโรงเรียนที่เป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ โดยออกแบบให้มีการกำกับดูแลจากภาคประชาชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น

“อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาต้องอยู่ที่สนามรบคือโรงเรียน จึงจะแก้ปัญหา และตอบโจทย์ประเทศได้” นายอดิศรกล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 - 17:34 น.
3167

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow