แนวทางการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างไม่น่าเบื่อ
การนำเข้าสู่บทเรียนนั้น เป็นการเตรียมตัวนักเรียนก่อนที่จะเริ่มทำการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนทราบว่ากำลังเรียนเกี่ยวกับอะไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร้าความสนใจและเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน ให้มาอยู่กับการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน และต้องเป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิม ซึ่งเป็นที่สิ่งที่นักเรียนรู้กันอยู่แล้ว ไปสู่ความรู้ใหม่ที่กำลังจะสอน ซึ่งการนำเข้าสู่บทเรียนนี้ นับว่าเป็นเทคนิคที่ครูผู้สอนทุกคนจะต้องสามารถดำเนินการได้ผ่านการใช้กิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำหรับเทคนิคที่ครูผู้สอนสามารถนำมาใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนนั้น มีด้วยกันอยู่หลากหลายวิธี ซึ่งการเลือกเฟ้นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างเหมาะสมนั้น ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อม บริบทของนักเรียน และรวมถึงเนื้อหาในบทเรียนนั้น ๆ ด้วยว่าเหมาะสมและสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไร ซึ่งสามสิ่งที่สำคัญในการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ครูผู้สอนจะต้องดำเนินการในสามสิ่งดังต่อไปนี้ 1. ครูผู้สอนจะต้องรู้และทราบถึงประสบการณ์เดิมของนักเรียน เพื่อหาวิธีในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมนั้นให้สัมพันธ์กับกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาใหม่2. ครูผู้สอนจะต้องศึกษาบทเรียนและเนื้อหาที่จะสอน เพื่อพิจารณาและเลือกเฟ้นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างเหมาะสม3. ครูผู้สอนจะต้องทดลองและฝึกฝนเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้เกิดความชำนาญและสามารถทำเทคนิคนี้ไปใช้ได้อย่างราบรื่นและเป็นไปตามกำหนดเวลา ซึ่งโดยปกตินั้นครูผู้สอนมันจะใช้เวลาสำหรับกิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นเพียง 5-10 นาที แล้วแต่รูปแบบของเนื้อหาการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนท่านใดที่กำลังคิดว่าจะหาเทคนิคใหม่ ๆ ในการนำเข้าสู่บทเรียน ต่อไปนี้คือเทคนิคบางส่วนที่ช่วยให้การนำเข้าสู่บทเรียนของคุณไม่น่าเบื่อ 1. แสดงบทบาทสมุติครูผู้สอนชวนนักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ โดยสมมุติว่าให้นักเรียนเป็นสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมไปถึงบุคคลที่มีความรู้สึกหรือแสดงกิริยาตามที่คุณครูกำหนด เช่น ให้นักเรียนแสดงเป็นพนักงานดับเพลิงกำลังดับไฟในอาคาร หรือ ให้นักเรียนแสดงเป็นสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น การแสดงบทบาทสมมุติเหล่านี้ ครูผู้สอนอาจให้รายละเอียดต่าง ๆ ของตัวละครในบทบาทสมมุตินั้นเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ ซึ่งการแสดงบทบาทสมุติจะทำให้นักเรียนเข้าใจความเป็นตัวละครสมมุตินั้น และทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่ครูผู้สอนต้องการสื่อได้ดียิ่งขึ้น 2. เปิดคลิปวีดีโอน่าสนใจใช้ประโยชน์จากคลิปวีดีโอที่มีอยู่อย่างมากมายในเว็บไซต์ที่ให้บริการแชร์ภาพวีดีโอหรือเว็บไซต์สตรีมมิ่งต่าง ๆ ในการหาเนื้อหาที่สามารถนำเข้าสู่บทเรียนได้ เช่น คลิปไฮไลท์กีฬาต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้นักเรียนเห็นรูปแบบของการเล่นกีฬานั้น ๆ หรือคลิปข่าวสารที่ช่วยให้ได้หัวข้อในการวิจารณ์วิจารณ์ในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น 3. แสดงละครใบ้ครูผู้สอนแสดงละครใบ้ โดยให้นักเรียนสังเกตท่าทางว่า ครูผู้สอนกำลังแสดงท่าทางเกี่ยวกับอะไร หรือกำลังเลียนแบบท่าทางของใคร เช่น การแสดงท่าทางล้อเลียนบุคคลสำคัญ หรือแสดงท่าทางด้วยสีหน้าและอารมณ์ต่าง ๆ เป็นต้น การแสดงละครใบ้นี้ จะช่วยดึงความสนใจของนักเรียนให้จับจ้องมาที่ตัวครูผู้สอน เมื่อนักเรียนทราบคำตอบหรือครูผู้สอนเฉลยคำตอบให้ ครูผู้สอนก็อาจจะกล่าวสรุปถึงการแสดงสักเล็กน้อย แล้วจึงเข้าเนื้อหาหลัก ซึ่งช่วยให้ครูผู้สอนพานักเรียนเข้าสู่เนื้อหาหลักได้ในทันที 4. ระดมสมองลองตั้งคำถามที่เป็นปลายเปิดเช่น เราเจออะไรบ้างในทะเล ? แล้วลองให้นักเรียนผลัดกันให้คำตอบ ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นผู้เขียนทำตอบทุกอย่างบนกระดาน กิจกรรมนี้จะทำให้ครูผู้สอนและนักเรียนได้ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ซึ่งหลังจากได้คำตอบที่น่าสนใจพอสมควรแล้ว ครูผู้สอนต้องพิจารณาข้อมูลในแต่ละข้อร่วมกับนักเรียน โดยพยายามเลือกข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปสู่บทเรียนที่ครูผู้สอนกำลังจะสอนได้ 5. เล่านิทานทุกคนชอบการฟังนิทาน ซึ่งการที่ครูผู้สอนเล่านิทาน หรือเล่าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่ประสบพบเจอเอง หรือเล่าจากตำนานหรือข่าวสารต่าง ๆ ให้นักเรียนฟังนั้น จะสร้างความสนใจในเนื้อหาเหล่านั้นให้กับนักเรียน ซึ่งครูผู้สอนสามารถใช้โอกาสนี้นำไปสู่บทเรียนที่แท้จริงที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เล่าได้ และทำให้บทเรียนนั้นน่าสนใจมากขึ้น 6. ร้องรำทำเพลงการร้องรำทำเพลง มักเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการนำเขาสู่บทเรียน เพราะช่วยให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานและผ่อนคลาย ซึ่งทำให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การร้องรำทำเพลงนี้ อาจให้นักเรียนแสดงท่าทางโดยอิสระหรืออาจแสดงท่าทางตามเพลงก็ได้ หรือถ้าครูผู้สอนมีความสามารถมากพอ อาจจะแปลเนื้อเพลงให้เข้ากับบทเรียนที่จะสอน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนจดจำบทเรียนและสนใจในบทเรียนนั้นได้มากยิ่งขึ้น 7. รหัสลับครูผู้สอนอาจระบุคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียนไว้สองถึงสามคีย์เวิร์ด โดยให้นักเรียนหาคีย์เวิร์ดเหล่านี้จากคำใบ้ หรือข้อความที่ซ่อนอยู่ภายในห้องเรียน ซึ่งเมื่อนักเรียนหาคีย์เวิร์ดครบแล้วจะต้องพิจารณาร่วมกันว่า คีย์เวิร์ดทั้งหมดนี้น่าจะหมายถึงบทเรียนอะไร ซึ่งนักเรียนอาจจะตอบได้หรือครูผู้สอนอาจเฉลยให้ในภายหลัง ก่อนที่จะนำนักเรียนไปสู่บทเรียน กิจกรรมนี้จะช่วยให้นักเรียนมีความตื่นตัว รู้จักสืบค้น สนุกสนาน และสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ง่าย ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากในการเรียนรู้ 8. โจทย์ปัญหาครูผู้สอนระบุโจทย์ปัญหาหนึ่งไว้บนกระดาน ซึ่งอาจจะเป็นโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ง่ายแต่ต้องคิดซับซ้อน (เช่นการเล่น 24) หรือปัญหาเชาว์ต่าง ๆ แล้วลองให้นักเรียนแข่งกันตอบคำถามเหล่านี้ ซึ่งวิธีนี้เป็นการเตรียมสมองของนักเรียนให้พร้อมกับการเรียนรู้ และสร้างความท้าทายให้นักเรียนสนุกสนานกับกิจกรรมอีกด้วย ทำให้ต่อยอดไปสู่บทเรียนได้ง่ายมากขึ้น ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างบางส่วนของการนำเข้าสู่บทเรียนที่ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งการนำเข้าสู่บทเรีย
การนำเข้าสู่บทเรียนนั้น เป็นการเตรียมตัวนักเรียนก่อนที่จะเริ่มทำการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนทราบว่ากำลังเรียนเกี่ยวกับอะไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร้าความสนใจและเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน ให้มาอยู่กับการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน และต้องเป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิม ซึ่งเป็นที่สิ่งที่นักเรียนรู้กันอยู่แล้ว ไปสู่ความรู้ใหม่ที่กำลังจะสอน ซึ่งการนำเข้าสู่บทเรียนนี้ นับว่าเป็นเทคนิคที่ครูผู้สอนทุกคนจะต้องสามารถดำเนินการได้ผ่านการใช้กิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สำหรับเทคนิคที่ครูผู้สอนสามารถนำมาใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนนั้น มีด้วยกันอยู่หลากหลายวิธี ซึ่งการเลือกเฟ้นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างเหมาะสมนั้น ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อม บริบทของนักเรียน และรวมถึงเนื้อหาในบทเรียนนั้น ๆ ด้วยว่าเหมาะสมและสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไร ซึ่งสามสิ่งที่สำคัญในการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ครูผู้สอนจะต้องดำเนินการในสามสิ่งดังต่อไปนี้
1. ครูผู้สอนจะต้องรู้และทราบถึงประสบการณ์เดิมของนักเรียน เพื่อหาวิธีในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมนั้นให้สัมพันธ์กับกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาใหม่
2. ครูผู้สอนจะต้องศึกษาบทเรียนและเนื้อหาที่จะสอน เพื่อพิจารณาและเลือกเฟ้นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างเหมาะสม
3. ครูผู้สอนจะต้องทดลองและฝึกฝนเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้เกิดความชำนาญและสามารถทำเทคนิคนี้ไปใช้ได้อย่างราบรื่นและเป็นไปตามกำหนดเวลา ซึ่งโดยปกตินั้นครูผู้สอนมันจะใช้เวลาสำหรับกิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นเพียง 5-10 นาที แล้วแต่รูปแบบของเนื้อหาการเรียนรู้
สำหรับครูผู้สอนท่านใดที่กำลังคิดว่าจะหาเทคนิคใหม่ ๆ ในการนำเข้าสู่บทเรียน ต่อไปนี้คือเทคนิคบางส่วนที่ช่วยให้การนำเข้าสู่บทเรียนของคุณไม่น่าเบื่อ
1. แสดงบทบาทสมุติ
ครูผู้สอนชวนนักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ โดยสมมุติว่าให้นักเรียนเป็นสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมไปถึงบุคคลที่มีความรู้สึกหรือแสดงกิริยาตามที่คุณครูกำหนด เช่น ให้นักเรียนแสดงเป็นพนักงานดับเพลิงกำลังดับไฟในอาคาร หรือ ให้นักเรียนแสดงเป็นสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น การแสดงบทบาทสมมุติเหล่านี้ ครูผู้สอนอาจให้รายละเอียดต่าง ๆ ของตัวละครในบทบาทสมมุตินั้นเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ ซึ่งการแสดงบทบาทสมุติจะทำให้นักเรียนเข้าใจความเป็นตัวละครสมมุตินั้น และทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่ครูผู้สอนต้องการสื่อได้ดียิ่งขึ้น
2. เปิดคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ใช้ประโยชน์จากคลิปวีดีโอที่มีอยู่อย่างมากมายในเว็บไซต์ที่ให้บริการแชร์ภาพวีดีโอหรือเว็บไซต์สตรีมมิ่งต่าง ๆ ในการหาเนื้อหาที่สามารถนำเข้าสู่บทเรียนได้ เช่น คลิปไฮไลท์กีฬาต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้นักเรียนเห็นรูปแบบของการเล่นกีฬานั้น ๆ หรือคลิปข่าวสารที่ช่วยให้ได้หัวข้อในการวิจารณ์วิจารณ์ในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
3. แสดงละครใบ้
ครูผู้สอนแสดงละครใบ้ โดยให้นักเรียนสังเกตท่าทางว่า ครูผู้สอนกำลังแสดงท่าทางเกี่ยวกับอะไร หรือกำลังเลียนแบบท่าทางของใคร เช่น การแสดงท่าทางล้อเลียนบุคคลสำคัญ หรือแสดงท่าทางด้วยสีหน้าและอารมณ์ต่าง ๆ เป็นต้น การแสดงละครใบ้นี้ จะช่วยดึงความสนใจของนักเรียนให้จับจ้องมาที่ตัวครูผู้สอน เมื่อนักเรียนทราบคำตอบหรือครูผู้สอนเฉลยคำตอบให้ ครูผู้สอนก็อาจจะกล่าวสรุปถึงการแสดงสักเล็กน้อย แล้วจึงเข้าเนื้อหาหลัก ซึ่งช่วยให้ครูผู้สอนพานักเรียนเข้าสู่เนื้อหาหลักได้ในทันที
4. ระดมสมอง
ลองตั้งคำถามที่เป็นปลายเปิดเช่น เราเจออะไรบ้างในทะเล ? แล้วลองให้นักเรียนผลัดกันให้คำตอบ ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นผู้เขียนทำตอบทุกอย่างบนกระดาน กิจกรรมนี้จะทำให้ครูผู้สอนและนักเรียนได้ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ซึ่งหลังจากได้คำตอบที่น่าสนใจพอสมควรแล้ว ครูผู้สอนต้องพิจารณาข้อมูลในแต่ละข้อร่วมกับนักเรียน โดยพยายามเลือกข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปสู่บทเรียนที่ครูผู้สอนกำลังจะสอนได้
5. เล่านิทาน
ทุกคนชอบการฟังนิทาน ซึ่งการที่ครูผู้สอนเล่านิทาน หรือเล่าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่ประสบพบเจอเอง หรือเล่าจากตำนานหรือข่าวสารต่าง ๆ ให้นักเรียนฟังนั้น จะสร้างความสนใจในเนื้อหาเหล่านั้นให้กับนักเรียน ซึ่งครูผู้สอนสามารถใช้โอกาสนี้นำไปสู่บทเรียนที่แท้จริงที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เล่าได้ และทำให้บทเรียนนั้นน่าสนใจมากขึ้น
6. ร้องรำทำเพลง
การร้องรำทำเพลง มักเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการนำเขาสู่บทเรียน เพราะช่วยให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานและผ่อนคลาย ซึ่งทำให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การร้องรำทำเพลงนี้ อาจให้นักเรียนแสดงท่าทางโดยอิสระหรืออาจแสดงท่าทางตามเพลงก็ได้ หรือถ้าครูผู้สอนมีความสามารถมากพอ อาจจะแปลเนื้อเพลงให้เข้ากับบทเรียนที่จะสอน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนจดจำบทเรียนและสนใจในบทเรียนนั้นได้มากยิ่งขึ้น
7. รหัสลับ
ครูผู้สอนอาจระบุคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียนไว้สองถึงสามคีย์เวิร์ด โดยให้นักเรียนหาคีย์เวิร์ดเหล่านี้จากคำใบ้ หรือข้อความที่ซ่อนอยู่ภายในห้องเรียน ซึ่งเมื่อนักเรียนหาคีย์เวิร์ดครบแล้วจะต้องพิจารณาร่วมกันว่า คีย์เวิร์ดทั้งหมดนี้น่าจะหมายถึงบทเรียนอะไร ซึ่งนักเรียนอาจจะตอบได้หรือครูผู้สอนอาจเฉลยให้ในภายหลัง ก่อนที่จะนำนักเรียนไปสู่บทเรียน กิจกรรมนี้จะช่วยให้นักเรียนมีความตื่นตัว รู้จักสืบค้น สนุกสนาน และสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ง่าย ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากในการเรียนรู้
8. โจทย์ปัญหา
ครูผู้สอนระบุโจทย์ปัญหาหนึ่งไว้บนกระดาน ซึ่งอาจจะเป็นโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ง่ายแต่ต้องคิดซับซ้อน (เช่นการเล่น 24) หรือปัญหาเชาว์ต่าง ๆ แล้วลองให้นักเรียนแข่งกันตอบคำถามเหล่านี้ ซึ่งวิธีนี้เป็นการเตรียมสมองของนักเรียนให้พร้อมกับการเรียนรู้ และสร้างความท้าทายให้นักเรียนสนุกสนานกับกิจกรรมอีกด้วย ทำให้ต่อยอดไปสู่บทเรียนได้ง่ายมากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างบางส่วนของการนำเข้าสู่บทเรียนที่ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งการนำเข้าสู่บทเรียนนั้น นับว่าเป็นขั้นตอนที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อมสำหรับการเรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงบทเรียนใหม่กับประสบการณ์เดิมของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็นสื่อที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนอีกด้วย จึงควรใช้ประโยชน์จากเทคนิคนี้อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของนักเรียน
เรียบเรียงโดย : นรรัชต์ ฝันเชียร
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?