ใช้ 673 โรงเรียนเป็น โรงพยาบาลสนาม-กักตัว “อัมพร” มอบเขตพื้นที่ฯสนับสนุน
เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวในโอกาสเป็นประธานการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมอบนโยบายและชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า ได้สื่อสารกับ ผอ.เขตทั่วประเทศเรื่องการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการดำเนินการตามมติ ครม.ในโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวมถึงการวัดประเมินผลนักเรียน การจัดการเรียนการสอนของครู และการดูแลสุขภาพของครูและนักเรียนเลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ตนยังได้เสนอกรอบความคิดการบริหารใน 6 ข้อ ได้แก่ 1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน ทำการตรวจสุขภาพหน่วยงาน 2.จัดทำแผนแก้ปัญหาและพัฒนา 3.นำแผนสู่การปฏิบัติ 4.นิเทศ กำกับ ติดตาม 5.ตรวจและประเมินสุขภาพหน่วยงาน และ 6.สรุปและรายงานผล เพื่อให้ ผอ.เขต และบุคลากรนำไปปรับใช้กับหน่วยงานในพื้นที่ของตัวเอง โดยดูว่าเรามีความสำเร็จ มีปัญหาอุปสรรค หรือมีอะไรบ้างที่ทำแล้ว หรือยังไม่ได้ทำ และเราต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ด้านการสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนและสังคม จากการรายงานข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 ก.ค. พบว่าขณะนี้มีการอนุญาตใช้อาคารสถานที่ในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. เป็นโรงพยาบาลสนามและสถานที่กักตัวหรือสถานที่พักคอย รวมถึงหน่วยบริการด้านสาธารณสุข รวมทั้งสิ้น 673 โรงเรียน ซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยได้ถึง 15,619 เตียง“ผมได้กำชับกับ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาว่าช่วงนี้ที่มีประชาชนจากพื้นที่สีแดงเข้มเดินทางไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด ทำให้เกิดภาวะโรงพยาบาลเต็มและผู้ป่วยไม่มีสถานที่กักตัว หน่วยงานต่างๆ จึงมาขอใช้โรงเรียนเป็นสถานที่พักคอยหรือโรงพยาบาลสนาม หากเราไม่ช่วยกันสกัดคนเจ็บคนป่วยให้ลดน้อยลง ก็จะเป็นการผลักภาระให้กับหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ เราไม่ต้องการเห็นคนเฒ่าคนแก่ผู้สูงอายุเจ็บป่วยเสียชีวิต วันนี้หากไม่มีเด็ก ไม่มีชุมชน โรงเรียนก็คงอยู่ไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนในประเทศไทยต้องจับมือกัน ไม่ผลักภาระให้ใครคนใดคนหนึ่ง เราจึงจะเอาชนะวิกฤติโรคภัยไข้เจ็บโควิด-19 ในครั้งนี้ไปได้” ดร.อัมพรกล่าว. 6214
เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวในโอกาสเป็นประธานการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมอบนโยบายและชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า ได้สื่อสารกับ ผอ.เขตทั่วประเทศเรื่องการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการดำเนินการตามมติ ครม.ในโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวมถึงการวัดประเมินผลนักเรียน การจัดการเรียนการสอนของครู และการดูแลสุขภาพของครูและนักเรียน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ตนยังได้เสนอกรอบความคิดการบริหารใน 6 ข้อ ได้แก่ 1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน ทำการตรวจสุขภาพหน่วยงาน 2.จัดทำแผนแก้ปัญหาและพัฒนา 3.นำแผนสู่การปฏิบัติ 4.นิเทศ กำกับ ติดตาม 5.ตรวจและประเมินสุขภาพหน่วยงาน และ 6.สรุปและรายงานผล เพื่อให้ ผอ.เขต และบุคลากรนำไปปรับใช้กับหน่วยงานในพื้นที่ของตัวเอง โดยดูว่าเรามีความสำเร็จ มีปัญหาอุปสรรค หรือมีอะไรบ้างที่ทำแล้ว หรือยังไม่ได้ทำ และเราต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ด้านการสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนและสังคม จากการรายงานข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 ก.ค. พบว่าขณะนี้มีการอนุญาตใช้อาคารสถานที่ในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. เป็นโรงพยาบาลสนามและสถานที่กักตัวหรือสถานที่พักคอย รวมถึงหน่วยบริการด้านสาธารณสุข รวมทั้งสิ้น 673 โรงเรียน ซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยได้ถึง 15,619 เตียง
“ผมได้กำชับกับ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาว่าช่วงนี้ที่มีประชาชนจากพื้นที่สีแดงเข้มเดินทางไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด ทำให้เกิดภาวะโรงพยาบาลเต็มและผู้ป่วยไม่มีสถานที่กักตัว หน่วยงานต่างๆ จึงมาขอใช้โรงเรียนเป็นสถานที่พักคอยหรือโรงพยาบาลสนาม หากเราไม่ช่วยกันสกัดคนเจ็บคนป่วยให้ลดน้อยลง ก็จะเป็นการผลักภาระให้กับหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ เราไม่ต้องการเห็นคนเฒ่าคนแก่ผู้สูงอายุเจ็บป่วยเสียชีวิต วันนี้หากไม่มีเด็ก ไม่มีชุมชน โรงเรียนก็คงอยู่ไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนในประเทศไทยต้องจับมือกัน ไม่ผลักภาระให้ใครคนใดคนหนึ่ง เราจึงจะเอาชนะวิกฤติโรคภัยไข้เจ็บโควิด-19 ในครั้งนี้ไปได้” ดร.อัมพรกล่าว.
6214
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?