ความเหลื่อมล้ำการเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบเปอร์เซ็นต์ “ครูบ้านนอกบางคน จะเลื่อนขั้นให้ 2% เงินยังไม่พอให้เลื่อนเลยยยย”

“ครูบ้านนอกบางคน จะเลื่อนขั้นให้ 2% เงินยังไม่พอให้เลื่อนเลยยยย”ตัวผมเองเรียกร้องมาตลอดว่า...โรงเรียนที่ครูใหม่เยอะๆ มักอยู่ห่างไกล บนเขา ในป่า ในดอย แต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนใช้ระบบเปอร์เซ็นต์ จะกระทบกับครูที่ปฏิบัติงานที่ถิ่นทุรกันดารอย่างแน่นอน เพราะเม็ดเงินเลื่อนขั้นคิดตามเปอร์เซ็นต์เงินเดือน เมื่อเงินเดือนน้อย เม็ดเงินเลื่อนขั้นก็น้อยตามไปด้วย เงินเดือนก็ขึ้นช้า ต่างจากครูที่อยู่ในเมือง ส่วนใหญ่มีอายุเยอะ เม็ดเงินเลื่อนขั้นก็จะสูงตามไปด้วย มันจะส่งผลกระทบต่อมาคือ ครูย้ายหนีดอยเข้าเมืองซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่มันจะผลกระทบที่ตามมาอันยิ่งใหญ่ก็คือ โรงเรียนบนดอยขาดครู ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นครูทำไมไม่มีจิตวิญญาณความเป็นครู? แต่ผมว่าเราควรมองแยกกัน จิตวิญญาณเอาไปซื้อกะปิ น้ำปลา จ่ายค่านมลูกไม่ได้หรอกครับ เมื่อเขาเสียสละไปอยู่ตรงจุดนั้น รัฐควรดูแลพวกเขามากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ปล่อยให้ตกระกำลำบาก ปล่อยไปตามยถากรรม ขนาดในระบบรัฐยังลดความเลื่อมล้ำไม่ได้ อย่าไปคิดถึงเรื่องลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาเลยครับลองดูการเปรียบเทียบนะครับ ผมจะเอาเงินเดือนผมเป็นตัวตั้ง แล้วเปรียบเทียบกับ ถ้าผมเสียสละความสุขส่วนตัวไปอยู่บนดอย ได้ 2% ทุกครั้ง เพราะเงินมีแค่นั้น กับผมอยู่ในเมือง ได้ 3% ทุกครั้ง เงินเดือนผมจะเป็นอย่างไร ลองดูว่า ถ้าผมอายุ 50 ปี เงินจะต่างกันเท่าไหร่ ขอบคุณที่มา เพจ.ศน.ติ๊ก นพดล โป่งอ้าย 5886

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  6
ความเหลื่อมล้ำการเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบเปอร์เซ็นต์ “ครูบ้านนอกบางคน จะเลื่อนขั้นให้ 2% เงินยังไม่พอให้เลื่อนเลยยยย”

“ครูบ้านนอกบางคน จะเลื่อนขั้นให้ 2% เงินยังไม่พอให้เลื่อนเลยยยย”
ตัวผมเองเรียกร้องมาตลอดว่า...


โรงเรียนที่ครูใหม่เยอะๆ มักอยู่ห่างไกล บนเขา ในป่า ในดอย แต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนใช้ระบบเปอร์เซ็นต์ จะกระทบกับครูที่ปฏิบัติงานที่ถิ่นทุรกันดารอย่างแน่นอน เพราะเม็ดเงินเลื่อนขั้นคิดตามเปอร์เซ็นต์เงินเดือน เมื่อเงินเดือนน้อย เม็ดเงินเลื่อนขั้นก็น้อยตามไปด้วย เงินเดือนก็ขึ้นช้า ต่างจากครูที่อยู่ในเมือง ส่วนใหญ่มีอายุเยอะ เม็ดเงินเลื่อนขั้นก็จะสูงตามไปด้วย มันจะส่งผลกระทบต่อมาคือ ครูย้ายหนีดอยเข้าเมืองซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่มันจะผลกระทบที่ตามมาอันยิ่งใหญ่ก็คือ โรงเรียนบนดอยขาดครู ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นครูทำไมไม่มีจิตวิญญาณความเป็นครู? แต่ผมว่าเราควรมองแยกกัน จิตวิญญาณเอาไปซื้อกะปิ น้ำปลา จ่ายค่านมลูกไม่ได้หรอกครับ เมื่อเขาเสียสละไปอยู่ตรงจุดนั้น รัฐควรดูแลพวกเขามากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ปล่อยให้ตกระกำลำบาก ปล่อยไปตามยถากรรม ขนาดในระบบรัฐยังลดความเลื่อมล้ำไม่ได้ อย่าไปคิดถึงเรื่องลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาเลยครับ


ลองดูการเปรียบเทียบนะครับ ผมจะเอาเงินเดือนผมเป็นตัวตั้ง แล้วเปรียบเทียบกับ ถ้าผมเสียสละความสุขส่วนตัวไปอยู่บนดอย ได้ 2% ทุกครั้ง เพราะเงินมีแค่นั้น กับผมอยู่ในเมือง ได้ 3% ทุกครั้ง เงินเดือนผมจะเป็นอย่างไร ลองดูว่า ถ้าผมอายุ 50 ปี เงินจะต่างกันเท่าไหร่ 




ขอบคุณที่มา เพจ.ศน.ติ๊ก นพดล โป่งอ้าย


5886

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow