กสศ. เชิญร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษา

กสศ. เชิญร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษาเวทีแรกที่รวมนักปฏิรูปกว่า 60 คนจาก 14 ประเทศทั่วโลกร่วมแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหลังวิกฤตโควิด-19 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับองค์การยูเนสโก องค์การยูนิเซฟ องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เเละภาคีเครือข่าย กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษา (all for education) เพื่อเร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำหลังวิกฤตโควิด-19 หลังคาดการณ์จะมีเด็กหลายล้านคนเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาโดยงานจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30-16:00 น. และ ในวันเสาร์ 11 กรกฎาคม 2563 เวลา 09:00-15:00 น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในเวทีระดับสากล ภายในงาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด และ ทรงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สี่ทศวรรษ การทรงงานด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก และเยาวชนด้อยโอกาส” ร่วมฟังการประชุมจากนักวิชาการชื่อดังระดับจากทั่วโลก อาทิอมาตย เซน (Amartya Sen) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ อลิส ออร์ไบร์ท ประธานบริหารกองทุนการศึกษาโลก Global Partnership for Education (GPE) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนเเปลงด้านการศึกษาโดยเฉพาะอลิส อัลไบร์ท (Alice Albright) ผู้จัดการกองทุนการศึกษาโลก หรือ Global Partnership for Education (GPE)องค์กรที่มุ่งสนับสนุนการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนามาแล้วกว่า 68 ประเทศ   อันเดรียส ชไลเคอร์ (Andreas Schleicher) ผู้ริเริ่มและอยู่เบื้องหลังการประเมินทักษะนักเรียนนานาชาติหรือ PISA      ดร.มีชัย วีระไวทยะ นักสาธารณสุขและผู้บุกเบิกด้านการศึกษาทางเลือก เจ้าของรางวัลเหรียญทอง จากองค์การสหประชาชาติ และได้รับการขนานนามจากนิตยสาร TIME ว่าเป็น Asian Heroesดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เเละ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนอกจากนั้นยังมีนักวิชาการและผู้ร่วมประชุมชื่อดังจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกเข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจมากมายผู้ที่สนใจร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษา สามารถติดตามรายละเอียดการประชุม กำหนดการ และลงทะเบียนร่วมฟังการประชุมในแบบ Online-conference  ได้ที่ https://bit.ly/การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ http://afe2020.eef.or.th/ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ :  คลิก 5289

กรกฎาคม 29, 2023 - 18:42
 0  9
กสศ. เชิญร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษา

กสศ. เชิญร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาปวงชนเพื่อการศึกษา

เวทีแรกที่รวมนักปฏิรูปกว่า 60 คนจาก 14 ประเทศทั่วโลก

ร่วมแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหลังวิกฤตโควิด-19

 

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับองค์การยูเนสโก องค์การยูนิเซฟ องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เเละภาคีเครือข่าย กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษา (all for education) เพื่อเร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำหลังวิกฤตโควิด-19 หลังคาดการณ์จะมีเด็กหลายล้านคนเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา

โดยงานจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30-16:00 น. และ ในวันเสาร์ 11 กรกฎาคม 2563 เวลา 09:00-15:00 น. ดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในเวทีระดับสากล ภายในงาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด และ ทรงปาฐกถาพิเศษเรื่อง สี่ทศวรรษ การทรงงานด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก และเยาวชนด้อยโอกาส ร่วมฟังการประชุมจากนักวิชาการชื่อดังระดับจากทั่วโลก อาทิ

  • อมาตย เซน (Amartya Sen) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ อลิส ออร์ไบร์ท ประธานบริหารกองทุนการศึกษาโลก Global Partnership for Education (GPE) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนเเปลงด้านการศึกษาโดยเฉพาะ
  • อลิส อัลไบร์ท (Alice Albright) ผู้จัดการกองทุนการศึกษาโลก หรือ Global Partnership for Education (GPE)องค์กรที่มุ่งสนับสนุนการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนามาแล้วกว่า 68 ประเทศ   
  • อันเดรียส ชไลเคอร์ (Andreas Schleicher) ผู้ริเริ่มและอยู่เบื้องหลังการประเมินทักษะนักเรียนนานาชาติหรือ PISA      
  • ดร.มีชัย วีระไวทยะ นักสาธารณสุขและผู้บุกเบิกด้านการศึกษาทางเลือก เจ้าของรางวัลเหรียญทอง จากองค์การสหประชาชาติ และได้รับการขนานนามจากนิตยสาร TIME ว่าเป็น Asian Heroes
  • ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เเละ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการและผู้ร่วมประชุมชื่อดังจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกเข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจมากมาย


ผู้ที่สนใจร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาปวงชนเพื่อการศึกษา สามารถติดตามรายละเอียดการประชุม กำหนดการ และลงทะเบียนร่วมฟังการประชุมในแบบ Online-conference 

 


ได้ที่ https://bit.ly/การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ http://afe2020.eef.or.th/
ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ :  คลิก


5289

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow