ชี้การปฏิรูปการศึกษา "มีชัย"แนะยุบโรงเรียนเล็กแปลงเป็น"อนุบาล"
"มีชัย" แนะยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแล้วจัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาล ชี้การปฏิรูปการศึกษา หากยึดกรอบเดิมก็เป็นแค่การปะผุระบบเก่า ลั่นถ้าไม่คิดนอกกรอบก็ไม่รู้ว่าการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไรนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องทิศทางการปฏิรูปปฐมวัยกับร่างรัฐธรรมนูญ ในงานสัมมนา "การปฏิรูปการจัดการดูแลพัฒนาและการจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีมาตรฐานและเอกภาพ" เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ตอนเขียนบทบัญญัติด้านการศึกษาไว้ในรัฐธรรมนูญ ตนไม่มีความวางใจเลย เพราะรู้ว่าการปฏิรูปประเทศจะไม่มีวันสำเร็จได้ถ้าไม่ปฏิรูปการศึกษา แต่ไม่รู้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะมองออกหรือไม่ว่าการศึกษาที่ผ่านมาไม่ตอบโจทย์ประเทศ ถือเป็นความล้มเหลว เพราะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อยกระดับคนในแวดวงการศึกษา ไม่ใช่การยกระดับเด็ก ทำให้การศึกษาตกต่ำลงเรื่อยๆ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงต้องกำหนดให้จัดการศึกษาตั้งแต่ก่อนปฐมวัย เพื่อปลุกปั้นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตั้งแต่เยาว์วัย เพราะหากปล่อยจนถึงประถมศึกษาก็หมดสภาวะที่จะพัฒนาสมองแล้วสำหรับข้อห่วงใยเรื่องศูนย์เด็กเล็กจะไม่เพียงพอดูแลเด็กปฐมวัย ตนเสนอให้ไปลองถามชาวบ้านว่า หากมีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแล้วจัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาลหรือปฐมวัย เพื่อดูแลเด็กเล็กโดยเฉพาะ จะรับได้หรือไม่ เพราะเด็กเล็กจะต้องอยู่ใกล้บ้าน ในขณะที่เด็กโตสามารถที่จะเดินทางไกลออกไปอีกหน่อยได้ และยังช่วยประหยัดงบในการก่อสร้างอาคารเพิ่มด้วย ซึ่งสิ่งที่กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะทำให้คนจนมีโอกาสทัดเทียมคนรวย เพราะถ้าไม่ทำ ประเทศไทยก็ไม่มีวันปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จ"ทั้งนี้ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา ตราบใดที่ยังยึดกรอบเดิมจะไม่มีวันปฏิรูปได้ แต่เป็นการปะผุของระบบมากกว่า ดังนั้นจะต้องเลิกคิดเรื่องของโครงสร้างหรือการแบ่งหน่วยงาน แต่จะต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กได้รับการปลุกปั้นเตรียมพร้อมที่จะเดินไปข้างหน้าท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรง ถ้าทำไปแล้วเกิดปัญหาหรือติดกรอบของกฎหมาย ก็ต้องทลายไปแล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้า ศธ.ไม่คิดนอกกรอบก็ไม่รู้ว่าการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร อีกทั้งการปฏิรูปการศึกษาจะต้องมีปัญหาและอุปสรรคซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ตอนที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้หวังงบประมาณจากรัฐ เพราะจะมีกองทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งอาจจะไปขอแบ่งครึ่งจากเงินภาษีเหล้า-บุหรี่ หรือถ้าจำเป็นต้องขึ้นภาษีบาปเหล่านี้เพื่อนำเงินมาพัฒนาการศึกษาก็ต้องทำ" ประธาน กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญกล่าว.ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยโพสต์ วันที่ 6 มีนาคม 2560ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม 1394
"มีชัย" แนะยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแล้วจัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาล ชี้การปฏิรูปการศึกษา หากยึดกรอบเดิมก็เป็นแค่การปะผุระบบเก่า ลั่นถ้าไม่คิดนอกกรอบก็ไม่รู้ว่าการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องทิศทางการปฏิรูปปฐมวัยกับร่างรัฐธรรมนูญ ในงานสัมมนา "การปฏิรูปการจัดการดูแลพัฒนาและการจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีมาตรฐานและเอกภาพ" เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ตอนเขียนบทบัญญัติด้านการศึกษาไว้ในรัฐธรรมนูญ ตนไม่มีความวางใจเลย เพราะรู้ว่าการปฏิรูปประเทศจะไม่มีวันสำเร็จได้ถ้าไม่ปฏิรูปการศึกษา แต่ไม่รู้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะมองออกหรือไม่ว่าการศึกษาที่ผ่านมาไม่ตอบโจทย์ประเทศ ถือเป็นความล้มเหลว เพราะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อยกระดับคนในแวดวงการศึกษา ไม่ใช่การยกระดับเด็ก ทำให้การศึกษาตกต่ำลงเรื่อยๆ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงต้องกำหนดให้จัดการศึกษาตั้งแต่ก่อนปฐมวัย เพื่อปลุกปั้นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตั้งแต่เยาว์วัย เพราะหากปล่อยจนถึงประถมศึกษาก็หมดสภาวะที่จะพัฒนาสมองแล้ว
สำหรับข้อห่วงใยเรื่องศูนย์เด็กเล็กจะไม่เพียงพอดูแลเด็กปฐมวัย ตนเสนอให้ไปลองถามชาวบ้านว่า หากมีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแล้วจัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาลหรือปฐมวัย เพื่อดูแลเด็กเล็กโดยเฉพาะ จะรับได้หรือไม่ เพราะเด็กเล็กจะต้องอยู่ใกล้บ้าน ในขณะที่เด็กโตสามารถที่จะเดินทางไกลออกไปอีกหน่อยได้ และยังช่วยประหยัดงบในการก่อสร้างอาคารเพิ่มด้วย ซึ่งสิ่งที่กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะทำให้คนจนมีโอกาสทัดเทียมคนรวย เพราะถ้าไม่ทำ ประเทศไทยก็ไม่มีวันปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จ
"ทั้งนี้ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา ตราบใดที่ยังยึดกรอบเดิมจะไม่มีวันปฏิรูปได้ แต่เป็นการปะผุของระบบมากกว่า ดังนั้นจะต้องเลิกคิดเรื่องของโครงสร้างหรือการแบ่งหน่วยงาน แต่จะต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กได้รับการปลุกปั้นเตรียมพร้อมที่จะเดินไปข้างหน้าท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรง ถ้าทำไปแล้วเกิดปัญหาหรือติดกรอบของกฎหมาย ก็ต้องทลายไปแล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้า ศธ.ไม่คิดนอกกรอบก็ไม่รู้ว่าการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร อีกทั้งการปฏิรูปการศึกษาจะต้องมีปัญหาและอุปสรรคซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ตอนที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้หวังงบประมาณจากรัฐ เพราะจะมีกองทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งอาจจะไปขอแบ่งครึ่งจากเงินภาษีเหล้า-บุหรี่ หรือถ้าจำเป็นต้องขึ้นภาษีบาปเหล่านี้เพื่อนำเงินมาพัฒนาการศึกษาก็ต้องทำ" ประธาน กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญกล่าว.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยโพสต์ วันที่ 6 มีนาคม 2560
ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม
1394
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?