นักวิชาการจุฬาฯ ห่วงเกิดสงครามแย่งเด็กอนุบาล แนะ ศธ.ปล่อย ‘อปท.-เอกชน’ จัดเหตุทำดีแล้ว

สงครามแย่งเด็ก!! นักวิชาการจุฬาฯ ห่วงเกิดสงครามแย่งเด็กอนุบาล แนะ ศธ.ปล่อย ‘อปท.-เอกชน’ จัดเหตุทำดีแล้วนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า กรณีที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมปรับเพิ่มการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลในสถานศึกษาของรัฐ จากที่จัดอนุบาล 2 ปี เพิ่มเป็น 3 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่กำลังจะประกาศใช้ โดยกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยได้เตรียมหารือกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) ว่า ศธ.จะรับผิดชอบเรื่องการจัดการศึกษาระดับอนุบาล รองรับเด็กจากศูนย์เด็กเล็กเข้าเรียน ซึ่งทำให้ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนออกมาคัดค้าน เพราะเห็นว่าโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมมากกว่าโรงเรียนรัฐนั้น การที่รัฐจะลงไปจัดการศึกษาระดับอนุบาลเพิ่มจาก 2 ปี เป็น 3 ปี เป็นเรื่องที่ดี ถือเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กทั้งเรื่องสมอง และพัฒนาการ ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว แต่ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดูแลเด็กเล็กอยู่แล้วถึง 50% ที่เหลือเป็นภาคเอกชน ดังนั้น การที่ ศธ.จะลงมาจัดการศึกษาระดับอนุบาลเพิ่มเป็น 3 ปี ขยายลงมาข้างล่างอีก 1 ปี คิดว่าจะทำให้เกิดปัญหา กลายเป็นสงครามแย่งเด็ก เพราะเด็กที่เรียนประถมศึกษาน้อยลง แต่เด็กที่เรียนอนุบาลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้จะไปกระจุกตัวอยู่ในโรงเรียนสังกัดท้องถิ่น“เมื่อรัฐจะมาจัดการศึกษาระดับอนุบาลเพิ่มขึ้นเป็น 3 ปี ทำให้เริ่มเกิดความขัดแย้ง กึ่งแย่งเด็ก กลายเป็นข้อถกเถียง จนมองข้ามหลักการสำคัญ คือคุณภาพการศึกษา แต่ไปมองเรื่องงบประมาณรายหัว มองเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างเสี่ยง ดังนั้น หลังรัฐธรรมนูญ มีผลบังคับใช้ และเกิด พ.ร.บ.เด็กปฐมวัย ซึ่งอยู่ระหว่างการยกร่าง และใน พ.ร.บ.กำหนดให้มีคณะกรรมการเด็กปฐมวัยแห่งชาติ จะทำหน้าที่ดูแลการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ต้องมากำหนดให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยจะต้องมีตัวชี้วัดด้านประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยส่วนตัวผมมองว่าควรต้องให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพราะมีความใกล้ชิดกับเด็ก ชุมชน ครอบครัวมากกว่า อีกกระทรวงที่ควรต้องเข้ามามีส่วนร่วมคือกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ต้องให้ความรู้ และดูแลปัญหาสุขภาพอนามัยของเด็กซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ส่วน ศธ.ควรทำในเรื่องของการพัฒนาอบรมบุคลากร จัดการศึกษาที่เข้มแข็งเพื่อเป็นตัวอย่างบางส่วน ไม่ควรมาแย่งหน่วยงานที่ทำได้ดีอยู่แล้วทำ เพราะหากแย่งกันจัด จะทำให้เกิดความวุ่นวาย ขาดความไว้ใจซึ่งกันและกัน” นายสมพงษ์กล่าวนายสมพงษ์กล่าวอีกว่า ส่วนคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างไรบ้างนั้น ส่วนตัวยังมองไม่เห็น เพราะ ในช่วงที่ผ่านมา การทำงานของ กศจ.มุ่งทำแต่เรื่องการบริหารงานบุคคล โยกย้ายครู และผู้บริหารสถานศึกษาถึง 90% ยังไม่ทำเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง ทำให้ยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ 18 ม.ค. 60 1050

กรกฎาคม 29, 2023 - 19:00
 0  6
นักวิชาการจุฬาฯ ห่วงเกิดสงครามแย่งเด็กอนุบาล แนะ ศธ.ปล่อย ‘อปท.-เอกชน’ จัดเหตุทำดีแล้ว

สงครามแย่งเด็ก!! นักวิชาการจุฬาฯ ห่วงเกิดสงครามแย่งเด็กอนุบาล แนะ ศธ.ปล่อย ‘อปท.-เอกชน’ จัดเหตุทำดีแล้ว

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า กรณีที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมปรับเพิ่มการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลในสถานศึกษาของรัฐ จากที่จัดอนุบาล 2 ปี เพิ่มเป็น 3 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่กำลังจะประกาศใช้ โดยกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยได้เตรียมหารือกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) ว่า ศธ.จะรับผิดชอบเรื่องการจัดการศึกษาระดับอนุบาล รองรับเด็กจากศูนย์เด็กเล็กเข้าเรียน ซึ่งทำให้ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนออกมาคัดค้าน เพราะเห็นว่าโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมมากกว่าโรงเรียนรัฐนั้น การที่รัฐจะลงไปจัดการศึกษาระดับอนุบาลเพิ่มจาก 2 ปี เป็น 3 ปี เป็นเรื่องที่ดี ถือเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กทั้งเรื่องสมอง และพัฒนาการ ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว แต่ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดูแลเด็กเล็กอยู่แล้วถึง 50% ที่เหลือเป็นภาคเอกชน ดังนั้น การที่ ศธ.จะลงมาจัดการศึกษาระดับอนุบาลเพิ่มเป็น 3 ปี ขยายลงมาข้างล่างอีก 1 ปี คิดว่าจะทำให้เกิดปัญหา กลายเป็นสงครามแย่งเด็ก เพราะเด็กที่เรียนประถมศึกษาน้อยลง แต่เด็กที่เรียนอนุบาลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้จะไปกระจุกตัวอยู่ในโรงเรียนสังกัดท้องถิ่น

“เมื่อรัฐจะมาจัดการศึกษาระดับอนุบาลเพิ่มขึ้นเป็น 3 ปี ทำให้เริ่มเกิดความขัดแย้ง กึ่งแย่งเด็ก กลายเป็นข้อถกเถียง จนมองข้ามหลักการสำคัญ คือคุณภาพการศึกษา แต่ไปมองเรื่องงบประมาณรายหัว มองเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างเสี่ยง ดังนั้น หลังรัฐธรรมนูญ มีผลบังคับใช้ และเกิด พ.ร.บ.เด็กปฐมวัย ซึ่งอยู่ระหว่างการยกร่าง และใน พ.ร.บ.กำหนดให้มีคณะกรรมการเด็กปฐมวัยแห่งชาติ จะทำหน้าที่ดูแลการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ต้องมากำหนดให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยจะต้องมีตัวชี้วัดด้านประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยส่วนตัวผมมองว่าควรต้องให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพราะมีความใกล้ชิดกับเด็ก ชุมชน ครอบครัวมากกว่า อีกกระทรวงที่ควรต้องเข้ามามีส่วนร่วมคือกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ต้องให้ความรู้ และดูแลปัญหาสุขภาพอนามัยของเด็กซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ส่วน ศธ.ควรทำในเรื่องของการพัฒนาอบรมบุคลากร จัดการศึกษาที่เข้มแข็งเพื่อเป็นตัวอย่างบางส่วน ไม่ควรมาแย่งหน่วยงานที่ทำได้ดีอยู่แล้วทำ เพราะหากแย่งกันจัด จะทำให้เกิดความวุ่นวาย ขาดความไว้ใจซึ่งกันและกัน” นายสมพงษ์กล่าว

นายสมพงษ์กล่าวอีกว่า ส่วนคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างไรบ้างนั้น ส่วนตัวยังมองไม่เห็น เพราะ ในช่วงที่ผ่านมา การทำงานของ กศจ.มุ่งทำแต่เรื่องการบริหารงานบุคคล โยกย้ายครู และผู้บริหารสถานศึกษาถึง 90% ยังไม่ทำเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง ทำให้ยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น


ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ 18 ม.ค. 60
1050

ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow