ปัญหาสำคัญของการศึกษาปฐมวัย ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ปัญหาสำคัญของการศึกษาปฐมวัยปัญหาสำคัญของการศึกษาปฐมวัย1. การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการที่สำคัญตามช่วงวัยของเด็กจึงมีความคาดหวังที่ต้องการให้เด็กอ่านออกเขียนได้จึงส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีระบบการสอนแบบ “เร่งเรียนเขียนอ่าน”นอกจากนี้การใช้สื่อเทคโนโลยีในการเลี้ยงดูเด็ก เช่น ไอแพต โทรศัพท์มือถือหรือโทรทัศน์ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น 2.การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการศึกษาปฐมวัยของครูผู้บริหารและสถานศึกษา การขาดแคลนความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย จึงทำให้ครูเน้นให้เด็กอ่านเขียนมากกว่าวัยและเน้นการสอนที่มีลักษณะให้เด็กท่องจำมากกว่าทักษะด้านการคิด การตัดสินใจในขณะที่ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วนบริหารงานเพื่อชื่อเสียงของโรงเรียนจึงเตรียมความพร้อมของเด็ก เพื่อการสอบแข่งขันมากกว่าการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กรวมถึงปัญหาสถานศึกษาไม่สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง จึงทำให้เกิดการเรียนเพื่อสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ระดับอนุบาล 3. ระบบการผลิตครูปฐมวัยจากค่านิยมของการเข้ารับราชการที่มีสวัสดิการที่ดีและมีความมั่นคงในชีวิตจึงเกิดความต้องการเพิ่มคุณวุฒิด้านการศึกษาของครูให้สูงขึ้นแต่ระบบการผลิตครูในปัจจุบันยังขาดกลไกในการติดตามและประเมินคุณภาพ เช่นการเปิดรับครูปฐมวัยจำนวนมาก ทำให้อัตราส่วนระหว่างอาจารย์กับจำนวนนักศึกษาไม่สอดคล้องกันส่งผลต่อประสิทธิภาพในด้านการเรียนการสอนเนื่องจากกระบวนการพัฒนาครูปฐมวัย ไม่สามารถทำได้ด้วยการบรรยายเท่านั้นแต่จำเป็นต้องมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัยมาดูแลอย่างใกล้ชิด4. การให้ความสำคัญด้านเนื้อหาและการวัดผลมากกว่าการประเมินผลเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการวัดผลระดับประถมศึกษาต้อนต้นมุ่งเน้นให้เด็กท่องจำ ความรู้จำนวนมากไม่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับหลักสูตรของการศึกษาปฐมวัยที่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยคำนึงถึงการพัฒนาการในทุกด้านอย่างสมดุลได้แก่ ด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ นอกจากนี้ครูในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่ เน้นการวัดผลด้านความจำ โดยขาดการประเมินตามสภาพความเป็นจริงรวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านการศึกษาของรัฐ ใช้หลักเกณฑ์ตัดสินมากกว่าการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนทำให้ขาดแนวทางในการปรับปรุงผู้เรียนให้ดีขึ้น แนวทางการแก้ไขปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญ คือ เด็ก -ขยายโอกาสทางการศึกษาปฐมวัยให้ทั่วถึง ครอบคลุมแก่เด็กทุกคนเพื่อให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างเท่าเทียมตามศักยภาพของเด็ก -จัดการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับธรรมชาติตามวัย โดยมุ่งเน้นการเล่นและเรียนรู้ตามธรรมชาติที่อยู่รอบตัวจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ -เพิ่มงบประมาณในด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยครอบคลุมเด็กทุกวัยทุกคนและเพิ่มเติมให้กับกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ด้อยโอกาส เช่น เด็กยากจน เด็กพิการเด็กออทิสติก เป็นต้น ครอบครัว -เผยแพร่ความรู้ให้สาธารณชนและสังคมมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กไทยได้รับการพัฒนาและเติบโตอย่างมีคุณภาพ -ให้การศึกษากับพ่อแม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการมีบุตรและดูแลส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย -การให้ความช่วยเหลือสนับสนุน ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักแก่เด็กปฐมวัยในชนบทให้ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมเช่น การให้ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก การสนับสนุนค่าเลี้ยงดู เป็นต้น ระบบการศึกษา -รัฐต้องกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และหลักสูตรให้ชัดเจน สำหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมและต่อเนื่องทั้งในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา -จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และทัดเทียมกันทั้งในสถานศึกษาของรัฐ และเอกชน -พัฒนาเชื่อมโยงรอยต่อของแต่ละช่วงวัย ที่เริ่มต้นจากบ้าน ศูนย์ดูแลเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาล จนถึงชั้นประถมศึกษา -สร้างเครือข่ายบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแบ่งปันข้อมูลในการดูแลและพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึงสุริยา ฆ้องเสนาะวิทยากรชำนาญการกลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิชาการที่มา : www.parliament.go.th/อ่านต่อได้ที่ : http://www.kruupdate.com/news/newid-3413.html
ปัญหาสำคัญของการศึกษาปฐมวัย
ปัญหาสำคัญของการศึกษาปฐมวัย
1. การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเนื่องจากผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการที่สำคัญตามช่วงวัยของเด็กจึงมีความคาดหวังที่ต้องการให้เด็กอ่านออกเขียนได้จึงส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีระบบการสอนแบบ “เร่งเรียนเขียนอ่าน”นอกจากนี้การใช้สื่อเทคโนโลยีในการเลี้ยงดูเด็ก เช่น ไอแพต โทรศัพท์มือถือหรือโทรทัศน์ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
2.การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการศึกษาปฐมวัยของครูผู้บริหารและสถานศึกษา การขาดแคลนความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย จึงทำให้ครูเน้นให้เด็กอ่านเขียนมากกว่าวัยและเน้นการสอนที่มีลักษณะให้เด็กท่องจำมากกว่าทักษะด้านการคิด การตัดสินใจในขณะที่ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วนบริหารงานเพื่อชื่อเสียงของโรงเรียนจึงเตรียมความพร้อมของเด็ก เพื่อการสอบแข่งขันมากกว่าการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กรวมถึงปัญหาสถานศึกษาไม่สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง จึงทำให้เกิดการเรียนเพื่อสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ระดับอนุบาล
3. ระบบการผลิตครูปฐมวัยจากค่านิยมของการเข้ารับราชการที่มีสวัสดิการที่ดีและมีความมั่นคงในชีวิตจึงเกิดความต้องการเพิ่มคุณวุฒิด้านการศึกษาของครูให้สูงขึ้นแต่ระบบการผลิตครูในปัจจุบันยังขาดกลไกในการติดตามและประเมินคุณภาพ เช่นการเปิดรับครูปฐมวัยจำนวนมาก ทำให้อัตราส่วนระหว่างอาจารย์กับจำนวนนักศึกษาไม่สอดคล้องกันส่งผลต่อประสิทธิภาพในด้านการเรียนการสอนเนื่องจากกระบวนการพัฒนาครูปฐมวัย ไม่สามารถทำได้ด้วยการบรรยายเท่านั้นแต่จำเป็นต้องมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัยมาดูแลอย่างใกล้ชิด
4. การให้ความสำคัญด้านเนื้อหาและการวัดผลมากกว่าการประเมินผลเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการวัดผลระดับประถมศึกษาต้อนต้นมุ่งเน้นให้เด็กท่องจำ ความรู้จำนวนมากไม่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับหลักสูตรของการศึกษาปฐมวัยที่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยคำนึงถึงการพัฒนาการในทุกด้านอย่างสมดุลได้แก่ ด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ นอกจากนี้ครูในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่ เน้นการวัดผลด้านความจำ โดยขาดการประเมินตามสภาพความเป็นจริงรวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านการศึกษาของรัฐ ใช้หลักเกณฑ์ตัดสินมากกว่าการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนทำให้ขาดแนวทางในการปรับปรุงผู้เรียนให้ดีขึ้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญ คือ
เด็ก
-ขยายโอกาสทางการศึกษาปฐมวัยให้ทั่วถึง ครอบคลุมแก่เด็กทุกคนเพื่อให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างเท่าเทียมตามศักยภาพของเด็ก
-จัดการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับธรรมชาติตามวัย โดยมุ่งเน้นการเล่นและเรียนรู้ตามธรรมชาติที่อยู่รอบตัวจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-เพิ่มงบประมาณในด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยครอบคลุมเด็กทุกวัยทุกคนและเพิ่มเติมให้กับกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ด้อยโอกาส เช่น เด็กยากจน เด็กพิการเด็กออทิสติก เป็นต้น
ครอบครัว
-เผยแพร่ความรู้ให้สาธารณชนและสังคมมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กไทยได้รับการพัฒนาและเติบโตอย่างมีคุณภาพ
-ให้การศึกษากับพ่อแม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการมีบุตรและดูแลส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
-การให้ความช่วยเหลือสนับสนุน ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักแก่เด็กปฐมวัยในชนบทให้ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมเช่น การให้ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก การสนับสนุนค่าเลี้ยงดู เป็นต้น
ระบบการศึกษา
-รัฐต้องกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และหลักสูตรให้ชัดเจน สำหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมและต่อเนื่องทั้งในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
-จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และทัดเทียมกันทั้งในสถานศึกษาของรัฐ และเอกชน
-พัฒนาเชื่อมโยงรอยต่อของแต่ละช่วงวัย ที่เริ่มต้นจากบ้าน ศูนย์ดูแลเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาล จนถึงชั้นประถมศึกษา
-สร้างเครือข่ายบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแบ่งปันข้อมูลในการดูแลและพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง
สุริยา ฆ้องเสนาะ
วิทยากรชำนาญการ
กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิชาการ
ที่มา : www.parliament.go.th/
อ่านต่อได้ที่ : http://www.kruupdate.com/news/newid-3413.html
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?