แชร์เลย! รับราชการอ่านด่วน! ระบบบำเหน็จบำนาญของราชการไทย เกษียณอายุราชการแล้วได้รับอะไรบ้าง
แชร์เลย! รับราชการอ่านด่วน! ระบบบำเหน็จบำนาญของราชการไทย เกษียณอายุราชการแล้วได้รับอะไรบ้างระบบบำเหน็จบำนาญของราชการไทย "เงินบำนาญ" เป็นเงินที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการบำนาญหรือผู้รับบำนาญรายเดือนไปเรื่อย ๆ จนตาย และต้องรับราชการนานถึง 25 ปี จึงลาออกเพื่อรับบำนาญได้...นี่เป็นความคิด ท่านว่าทั้งสองประเด็นถูกไหม?.. จำหากท่านได้อ่านในบทความก่อนหน้านั้น คงพอจะเข้าใจเบื้องต้นแล้วว่า บุคคลที่เป็นข้าราชการ หากต้องออกจากราชการด้วยเหตุต่าง ๆ ทางราชการจะให้สิทธิประโยชน์เป็นเงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งเรียกว่า “บำเหน็จบำนาญ” โดยให้สิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หากรับเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเรียกว่า “บำเหน็จ” หากรับเป็นรายเดือน เรียกว่า “บำนาญ” ทั้งนี้ใครจะมีสิทธิ์ หรือไม่มีสิทธิ์ หรือมีสิทธิ์ประเภทไหน และได้จำนวนเท่าไหร่ นั่นย่อมเป็นไปตามกรณีที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 รวมถึงระเบียบหรือหลักเกณฑ์ย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้อง บำเหน็จบำนาญมีกี่ประเภท แต่ละประเภทเป็นอย่างไร? ระบบบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ บำนาญพิเศษ บำเหน็จตกทอด บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จบำนาญปกติ ซึ่งแต่ประเภทมีลักษณะ ดังนี้ 1. “บำนาญพิเศษ” เป็นเงินที่รัฐจ่ายให้ข้าราชการ(กรณีมีชีวิต)หรือ ทายาท(กรณีตาย)เป็นรายเดือน ในกรณีที่ข้าราชการขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่นั้น ได้รับอันตรายจนพิการหรือเจ็บป่วยถึงทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต (เช่น ทหารทำศึกสงคราม ตำรวจจับผู้ร้ายฯ ครูเข้าห้ามปรามนักเรียนตีกัน) หรือ ข้าราชการถูกประทุษร้ายจนได้รับอันตรายจนพิการหรือเจ็บป่วยถึงทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เพราะเหตุกระทำตามหน้าที่ (เช่น ตำรวจผู้ทำคดีถูกผู้ร้ายยิงที่บ้านพักเหตุแค้นที่ไปจับญาติตนเข้าคุก ผู้อำนวยการโรงเรียนถูกครูตีหัวเพราะโกรธที่สั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ) ซึ่งการกระทำดังกล่าวของข้าราชการไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือ ไม่ได้เกิดจากความผิดของตนเอง และการที่จะเข้าข่ายเป็นพิการหรือเจ็บป่วยถึงทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปได้นั้น ต้องได้รับคำยืนยัน(รับรอง)จากแพทย์ เมื่อข้าราชการดังกล่าวยังไม่เสียชีวิตเจ้าตัวจะได้รับเงินบำนาญพิเศษ เรียกว่า “บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ “ หากเป็นผู้มีสิทธิ์รับบำนาญปกติก็จะได้เงินอีกก้อน คือ “บำนาญปกติ” ด้วย แต่หากเสียชีวิตทายาทจะได้รับเงินบำนาญพิเศษเรียกว่า “บำนาญพิเศษกรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย (จ่ายทายาท)” และทายาทยังได้รับ “บำเหน็จตกทอด” อีกด้วย ส่วนการจะได้เงิน ”บำนาญพิเศษ” จำนวนเท่าไรนั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ (ข้าราชการครู หรือข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไปส่วนมากจะอยู่ในข่ายกรณีทำหน้าที่ในยามปกติ หากพิการทุพพลภาพจะได้รับตั้งแต่ 5/50 – 20/50 ส่วน ของเงินเดือน ๆ สุดท้าย ซึ่งส่วนราชการจะเป็นผู้กำหนดตามสมควรแก่เหตุประกอบความพิการและทุพพลภาพ (ตามผลการสอบสวน) หากผู้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพจะใช้สิทธิ์ขอเปลี่ยนเป็นรับ “บำเหน็จพิเศษ” ก้อนเดียวแทน (จำนวนหกสิบเท่าของบำนาญพิเศษ) ก็สามารถทำได้ หากถึงแก่กรรมทายาทเป็นผู้รับบำนาญพิเศษจะได้รับ 1/2 ของเงินเดือน ๆ สุดท้ายของผู้ตาย โดยแบ่งตามหลักเกณฑ์ คือ บุตรให้ได้รับ 2 ส่วน (ถ้ามี 3 คนขึ้นไปรับ 3 ส่วน) โดยรับไปจนถึง 20 ปีบริบูรณ์ หรือ กำลังศึกษารับถึง 25 ปีบริบูรณ์ คู่สมรส รับ 1 ส่วน ได้รับจนตลอดชีวิต เว้นแต่ สมรสใหม่ บิดาและมารดา 1 ส่วน ได้รับจนตลอดชีวิต หากกรณีไม่มีทายาทเลย ให้จ่ายผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามส่วนที่เจ้ากระทรวงกำหนดและหากผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ มีอายุไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์ให้ได้รับอย่างบุตร ตรงนี้เป็นรายละเอียดหากมีกรณีเช่นนี้ ให้ติดตามสอบถามที่ส่วนราชการผู้เบิกเงินเดือนของข้าราชการนั้น ๆ 2. “บำเหน็จตกทอด” เป็นเงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ทายาทผู้มีสิทธิ์ กรณีที่ข้าราชการถึงแก่กรรมระหว่างรับราชการอยู่ หรือผู้ รับบำนาญถึงแก่กรรม โดยทายาทจะได้รับ 30 เท่าของเงินเดือนหรือบำนาญรายเดือน 3. ”บำเหน็จดำรงชีพ” เป็นเงินที่รัฐจ่ายเพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีพแก่ผู้รับบำนาญ จำนวน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนแต่ไม่เกิน 400,000 บาท โดยแบ่งรับเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนอายุ 65 ปี ขอรับได้ไม่เกิน 200,000 บาท และ หลังอายุ 65 ปี ขอรับส่วนที่เหลือได้อีก แต่เมื่อรวมสองครั้งจะได้ไม่เกิน 400,000 บาท เงินจำนวนนี้แบ่งจากบำเหน็จตกทอด หากผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม ทายาทผู้มีสิทธิ์จะได้รับเงินบำเหน็จตกทอดไม่เต็มจำนวนเพราะต้องหักยอดเงินบำเหน็จดำรงชีพนี้ออก สำหรับรายละเอียดของเงิน “บำเหน็จตกทอด” และ “บำเหน็จดำรงชีพ” ได้กล่าวไว้แล้วในข้อเขียน “สิทธิ์ในเงินบำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด และเงินช่วยพิเศษ 3 เดือน” ท่านสามารถ คลิกอ่าน ได้ 4. “บำเหน็จบำนาญปกติ” เป็นเงินที่รัฐจ่ายตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา หากรับเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเรียกว่า ”บำเหน็จ” และหากเลือกที่จะรับเป็นรายเดือนจนกว่าจะถึงแก่กรรม หรือจนหมดสิทธิ เรียกว่า ”บำนาญ “ ผู้จะได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ มี 4 เหตุ ดังนี้ 1) เหตุทดแทน ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการซึ่งออกจากประจำการเพราะเหตุราชการเลิก หรือยุบตำแหน่ง หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือ ออกตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือ ทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด 2) เหตุทุพพลภาพ ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพราะเจ็บป่วยทุพพลภาพซึ่งแพทย์ได้ตรวจและรับรองว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ต่อไปได้ (คนละอย่างกับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ) 3) เหตุสูงอายุ ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือผู้ที่มีอายุครบห้าสิบปี บริบูรณ์แล้วประสงค์จะลาออกจากราชการ 4) เหตุรับราชการนาน ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการซึ่งมีเวลาราชการครบสามสิบปี
แชร์เลย! รับราชการอ่านด่วน! ระบบบำเหน็จบำนาญของราชการไทย เกษียณอายุราชการแล้วได้รับอะไรบ้าง
ระบบบำเหน็จบำนาญของราชการไทย
"เงินบำนาญ" เป็นเงินที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการบำนาญหรือผู้รับบำนาญรายเดือนไปเรื่อย ๆ จนตาย และต้องรับราชการนานถึง 25 ปี จึงลาออกเพื่อรับบำนาญได้...นี่เป็นความคิด ท่านว่าทั้งสองประเด็นถูกไหม?..
จำหากท่านได้อ่านในบทความก่อนหน้านั้น คงพอจะเข้าใจเบื้องต้นแล้วว่า บุคคลที่เป็นข้าราชการ หากต้องออกจากราชการด้วยเหตุต่าง ๆ ทางราชการจะให้สิทธิประโยชน์เป็นเงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งเรียกว่า “บำเหน็จบำนาญ” โดยให้สิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หากรับเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเรียกว่า “บำเหน็จ” หากรับเป็นรายเดือน เรียกว่า “บำนาญ” ทั้งนี้ใครจะมีสิทธิ์ หรือไม่มีสิทธิ์ หรือมีสิทธิ์ประเภทไหน และได้จำนวนเท่าไหร่ นั่นย่อมเป็นไปตามกรณีที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 รวมถึงระเบียบหรือหลักเกณฑ์ย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บำเหน็จบำนาญมีกี่ประเภท แต่ละประเภทเป็นอย่างไร?
ระบบบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ บำนาญพิเศษ บำเหน็จตกทอด บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จบำนาญปกติ ซึ่งแต่ประเภทมีลักษณะ ดังนี้
1. “บำนาญพิเศษ” เป็นเงินที่รัฐจ่ายให้ข้าราชการ(กรณีมีชีวิต)หรือ ทายาท(กรณีตาย)เป็นรายเดือน ในกรณีที่ข้าราชการขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่นั้น ได้รับอันตรายจนพิการหรือเจ็บป่วยถึงทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต (เช่น ทหารทำศึกสงคราม ตำรวจจับผู้ร้ายฯ ครูเข้าห้ามปรามนักเรียนตีกัน) หรือ ข้าราชการถูกประทุษร้ายจนได้รับอันตรายจนพิการหรือเจ็บป่วยถึงทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เพราะเหตุกระทำตามหน้าที่ (เช่น ตำรวจผู้ทำคดีถูกผู้ร้ายยิงที่บ้านพักเหตุแค้นที่ไปจับญาติตนเข้าคุก ผู้อำนวยการโรงเรียนถูกครูตีหัวเพราะโกรธที่สั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ) ซึ่งการกระทำดังกล่าวของข้าราชการไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือ ไม่ได้เกิดจากความผิดของตนเอง และการที่จะเข้าข่ายเป็นพิการหรือเจ็บป่วยถึงทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปได้นั้น ต้องได้รับคำยืนยัน(รับรอง)จากแพทย์ เมื่อข้าราชการดังกล่าวยังไม่เสียชีวิตเจ้าตัวจะได้รับเงินบำนาญพิเศษ เรียกว่า “บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ “ หากเป็นผู้มีสิทธิ์รับบำนาญปกติก็จะได้เงินอีกก้อน คือ “บำนาญปกติ” ด้วย แต่หากเสียชีวิตทายาทจะได้รับเงินบำนาญพิเศษเรียกว่า “บำนาญพิเศษกรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย (จ่ายทายาท)” และทายาทยังได้รับ “บำเหน็จตกทอด” อีกด้วย
ส่วนการจะได้เงิน ”บำนาญพิเศษ” จำนวนเท่าไรนั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ (ข้าราชการครู หรือข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไปส่วนมากจะอยู่ในข่ายกรณีทำหน้าที่ในยามปกติ หากพิการทุพพลภาพจะได้รับตั้งแต่ 5/50 – 20/50 ส่วน ของเงินเดือน ๆ สุดท้าย ซึ่งส่วนราชการจะเป็นผู้กำหนดตามสมควรแก่เหตุประกอบความพิการและทุพพลภาพ (ตามผลการสอบสวน) หากผู้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพจะใช้สิทธิ์ขอเปลี่ยนเป็นรับ “บำเหน็จพิเศษ” ก้อนเดียวแทน (จำนวนหกสิบเท่าของบำนาญพิเศษ) ก็สามารถทำได้
หากถึงแก่กรรมทายาทเป็นผู้รับบำนาญพิเศษจะได้รับ 1/2 ของเงินเดือน ๆ สุดท้ายของผู้ตาย โดยแบ่งตามหลักเกณฑ์ คือ บุตรให้ได้รับ 2 ส่วน (ถ้ามี 3 คนขึ้นไปรับ 3 ส่วน) โดยรับไปจนถึง 20 ปีบริบูรณ์ หรือ กำลังศึกษารับถึง 25 ปีบริบูรณ์ คู่สมรส รับ 1 ส่วน ได้รับจนตลอดชีวิต เว้นแต่ สมรสใหม่ บิดาและมารดา 1 ส่วน ได้รับจนตลอดชีวิต หากกรณีไม่มีทายาทเลย ให้จ่ายผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามส่วนที่เจ้ากระทรวงกำหนดและหากผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ มีอายุไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์ให้ได้รับอย่างบุตร ตรงนี้เป็นรายละเอียดหากมีกรณีเช่นนี้ ให้ติดตามสอบถามที่ส่วนราชการผู้เบิกเงินเดือนของข้าราชการนั้น ๆ
2. “บำเหน็จตกทอด” เป็นเงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ทายาทผู้มีสิทธิ์ กรณีที่ข้าราชการถึงแก่กรรมระหว่างรับราชการอยู่ หรือผู้ รับบำนาญถึงแก่กรรม โดยทายาทจะได้รับ 30 เท่าของเงินเดือนหรือบำนาญรายเดือน
3. ”บำเหน็จดำรงชีพ” เป็นเงินที่รัฐจ่ายเพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีพแก่ผู้รับบำนาญ จำนวน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนแต่ไม่เกิน 400,000 บาท โดยแบ่งรับเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนอายุ 65 ปี ขอรับได้ไม่เกิน 200,000 บาท และ หลังอายุ 65 ปี ขอรับส่วนที่เหลือได้อีก แต่เมื่อรวมสองครั้งจะได้ไม่เกิน 400,000 บาท เงินจำนวนนี้แบ่งจากบำเหน็จตกทอด หากผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม ทายาทผู้มีสิทธิ์จะได้รับเงินบำเหน็จตกทอดไม่เต็มจำนวนเพราะต้องหักยอดเงินบำเหน็จดำรงชีพนี้ออก
สำหรับรายละเอียดของเงิน “บำเหน็จตกทอด” และ “บำเหน็จดำรงชีพ” ได้กล่าวไว้แล้วในข้อเขียน “สิทธิ์ในเงินบำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด และเงินช่วยพิเศษ 3 เดือน” ท่านสามารถ คลิกอ่าน ได้
4. “บำเหน็จบำนาญปกติ” เป็นเงินที่รัฐจ่ายตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา หากรับเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเรียกว่า ”บำเหน็จ” และหากเลือกที่จะรับเป็นรายเดือนจนกว่าจะถึงแก่กรรม หรือจนหมดสิทธิ เรียกว่า ”บำนาญ “ ผู้จะได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ มี 4 เหตุ ดังนี้
1) เหตุทดแทน ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการซึ่งออกจากประจำการเพราะเหตุราชการเลิก หรือยุบตำแหน่ง หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือ ออกตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือ ทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
2) เหตุทุพพลภาพ ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพราะเจ็บป่วยทุพพลภาพซึ่งแพทย์ได้ตรวจและรับรองว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ต่อไปได้ (คนละอย่างกับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ)
3) เหตุสูงอายุ ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือผู้ที่มีอายุครบห้าสิบปี บริบูรณ์แล้วประสงค์จะลาออกจากราชการ
4) เหตุรับราชการนาน ผู้มีสิทธิ์เป็นข้าราชการซึ่งมีเวลาราชการครบสามสิบปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ที่มีเวลาราชการครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้วประสงค์จะลาออกจากราชการ
สำหรับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป จะเป็นผู้รับบำเหน็จบำนาญปกติ เหตุสูงอายุและเหตุรับราชการนานเป็นส่วนมาก
ตารางแสดงความสัมพันธ์อายุตัว อายุราชการ และเหตุที่ออกตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (เศษของครึ่งปีนับเป็น1 ปี เช่น 24 ปี 6 เดือน คือ 25 ปี)
ใครมีสิทธิ์รับบำเหน็จบำนาญปกติบ้าง ?
ผู้มีสิทธิ์รับบำเหน็จบำนาญปกติจำแนกตามคุณลักษณะได้ดังนี้
1. สิทธิที่จะได้รับ “บำเหน็จ” เป็นผู้ที่
1.1) มีเวลาราชการไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ แต่ต้องเป็นกรณีทางราชการสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ ครบเกษียณอายุ หรือ ขอลาออกเมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ หรือ
1.2) ลาออกจากราชการโดยมีเวลาราชการครบ 10 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 25 ปีบริบูรณ์ หรือ
1.3) เป็นผู้มีสิทธิได้รับ”บำนาญ” แต่ขอรับ”บำเหน็จ” แทน
2. สิทธิที่จะได้รับ “บำนาญ” เป็นผู้ที่
2.1) มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ต้องเป็นกรณีทางราชการสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด สั่งให้ออกเพราะครบเกษียณอายุ สั่งให้ออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพ สั่งให้ออกเมื่อมีเวลาราชการครบ 30 ปีบริบูรณ์ หรือ ลาออกจากราชการเมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ หรือ
2.2) ลาออกจากราชการเมื่อมีเวลาราชการครบ 25 ปีบริบูรณ์
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติ เหตุที่ออก และสิทธิ์ในการเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญทั้งไม่เป็นและเป็นสมาชิก กบข.(หากไม่เป็นสมาชิก กบข.การนับปีให้ไปดูตารางข้างบน)
มีสิทธิ์รับบำเหน็จบำนาญปกติจำนวนเท่าใด?
1. กรณีไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ ไม่เป็นสมาชิก กบข. (รับตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ หรือ กลับมารับตาม พรบ. UNDO) ให้ได้รับบำเหน็จบำนาญตามสูตรคำนวณดังนี้
- บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
- บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
50
โดยเวลาราชการรวมเวลาทวีคูณด้วย โดยให้นับจำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็น 1 ปี เช่น 25 ปี 6 เดือน จะคิดเป็น 26 ปี 25 ปี 5 เดือน คิดเป็น 25 ปี (ไม่มีทศนิยม) คลิกอ่านข้อเขียนเวลาทวีคูณประโยชน์ต่อข้าราชการครูแค่ไหนอย่างไร
2. กรณีเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ เป็นสมาชิก กบข. ให้ได้รับบำเหน็จบำนาญตามสูตรคำนวณดังนี้
- บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
- บำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
50
มีเงื่อนไขคือเงินบำนาญได้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และเวลาราชการรวมเวลาทวีคูณด้วย โดยให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วยในการนับเศษของปี ให้นับ 12 เดือนเป็น 1 ปี และ360 วันเป็น 1 ปี เช่น 25 ปี 6 เดือน คิดเป็น 25.5 ปี เวลาราชการที่จะนำไปคำนวณ คือ 25.5 คลิกอ่านข้อเขียนเวลาทวีคูณประโยชน์ต่อข้าราชการครูแค่ไหนอย่างไร
ตารางสรุป แสดงสิทธิ์ในการรับบำเหน็จบำนาญ เมื่ออกจากราชการในกรณีต่าง ๆ(เปรียบเทียบการเป็นสมาชิก กบข.และไม่เป็นสมาชิก กบข.)
โดยสรุปแล้ว “บำเหน็จบำนาญ” เป็นสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งที่ทางราชการจัดให้สำหรับข้าราชการหรือทายาทของข้าราชการนั้น หากว่า “บำเหน็จ” จะสื่อถึงการรับเงินก้อนใหญ่ครั้งเดียวจบเลย ส่วน “บำนาญ” นั้นจะได้รับเป็นรายเดือนไปกว่าจะตายจากกันไป ระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการไทยไม่ว่าจะเป็นบำนาญพิเศษ บำเหน็จตกทอด บำเหน็จดำรงชีพ หรือบำเหน็จบำนาญปกติ ได้ระบุถึงเงื่อนไข เวลา สิทธิ์ของใคร ประเภทไหน รับเท่าไร ไว้อย่างชัดเจนตามข้อกฎหมาย การจะได้รับบำนาญหากเป็นกรณีปกติและขอลาออกต้องมีเวลาราชการครบ 25 ปีถึงจะเกิดสิทธิ์ แต่หากเป็นกรณีเหตุอื่นมีเวลาราชการไม่ถึง 25 ปี ก็สามารถรับเงินบำนาญได้จนกว่าจะตาย
Dr.borworn
ข้อมูลอ้างอิง
- พระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ.2494
- การรับบำเหน็จปกติ
- ระบบบำเหน็จบำนาญโดยสรุป
- แผ่นพับบำเหน็จบำนาญศึกษาเข้าใจง่าย
- ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินบำนาญพิเศษ เหตุทุพพลภาพและบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2551
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: http://www.drborworn.com/
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?