ยูนิเซฟ เผยสถานการณ์เด็กข้ามชาติ ยิ่งไร้การศึกษายิ่งเกิดปัญหา เข้าไม่ถึงโอกาสสังคม

ยูนิเซฟ เผยสถานการณ์เด็กข้ามชาติ ยิ่งไร้การศึกษายิ่งเกิดปัญหา เข้าไม่ถึงโอกาสสังคมผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีใน 14 จังหวัดชายแดนไทยทั่วประเทศครั้งล่าสุดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่า เด็กที่ครอบครัวไม่พูดภาษาไทยและเด็กยากจน มักมีแนวโน้มเข้าไม่ถึงการศึกษาและไม่ได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ทั้งด้านสาธารณสุข โภชนาการ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต แม้ว่าทั้งหมดจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พวกเขาเติบโตอย่างเต็มศักยภาพนายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “เด็กก็คือเด็ก ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครหรือมาจากไหน ไม่ว่าจะเป็นเด็กข้ามชาติ เด็กผู้ลี้ภัย เด็กไร้สัญชาติ หรือเด็กพิการ พวกเขาควรได้ไปหาหมอเมื่อเขาเจ็บป่วย ได้ไปโรงเรียนและสำเร็จการศึกษาเหมือนเด็กคนอื่นๆ เด็กทุกคนต้องการความรัก ความเอาใจใส่ การปกป้อง และโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเติมเต็มความฝันของตัวเองเพื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อย่างที่ตนใฝ่ฝันจะเป็น”เมื่อเร็วๆ นี้ ยูนิเซฟเปิดตัวแคมเปญ #โอกาสที่เท่าเทียม หรือ #FightUnfair พรัอมจัดทำวิดีโอรณรงค์เรื่อง #เด็กก็คือเด็ก หรือ #AChildIsAChild http://bit.ly/AChildIsAChildTHFull ซึ่งสื่อให้เห็นถึงเด็กบางกลุ่มที่สังคมอาจหลงลืมไป เช่น เด็กข้ามชาติ เด็กยากจน เด็กผู้อพยพ หรือเด็กพิการ เด็กเหล่านี้มักไม่ได้รับโอกาสเท่าเทียมกับเด็กคนอื่น ทั้งๆ ที่พวกเขาต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น โภชนาการที่ดี, การเลี้ยงดูที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพ และการยอมรับและการสนับสนุน เมื่อเราดูวิดีโอชุดนี้จบ อาจทำให้เราฉุกคิดได้ว่า เราไม่ควรปล่อยให้เด็กคนไหนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และหันมาช่วยกันรณรงค์ให้เด็กทุกคนในสังคมมีโอกาสเท่าเทียมกันปะกาวโทชอบเรียนวาดรูป เด็กหญิงสนุกและมีความสุขทุกครั้งที่ได้จับดินสอสีมาขีดเขียนบนกระดาษอาร์ตวาดรูปตามแต่จินตนาการจะพาไป ภาพวาดสีสดใสขนาดใหญ่รูปหญิงช่างตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นผลงานดีเด่นล่าสุดที่นำมาจัดแสดงในงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในหัวข้อแรงงานต่างด้าวสะท้อนจากชีวิตของแม่ซึ่งทำอาชีพนี้หาเลี้ยงครอบครัวรวมทั้งตัวเธอเองอย่างชัดเจน ในฐานะนักเรียนเรียนดีและนักวาดรูปมือรางวัลประจำโรงเรียนวัดศรีสุทธาราม ปะกาวโทมีฝัน เธออยากเรียนต่อจนจบปริญญาด้านศิลปะและเป็นครู แต่ในความเป็นจริง เด็กหญิงวัย 13 ปี ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหากจบประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วจะได้เรียนต่อระดับมัธยมศึกษาหรือไม่ เพราะที่บ้านอยากให้เธอทำงานและช่วยดูแลน้องชายกับยาย “หากมีโอกาสหนูก็คงได้เรียนต่อ แม้ว่าจะเป็นกศน. ก็ยังดีกว่าไม่ได้เรียน” เธอกล่าวปะกาวโทมาเมืองไทยเมื่อเธออายุได้ 4 ปี พร้อมกับแม่ ยาย และน้องชายซึ่งพิการ กิจกรรมประจำวันนอกจากจะเรียนหนังสือแล้ว เด็กหญิงยังช่วยดูแลน้อง ๆ ที่เกิดจากพ่อใหม่อีกสองคนด้วย หากมีเวลาวันหยุดเธอจะไปเยี่ยมพ่อที่มหาชัย และทำงานที่ไซต์งานก่อสร้างเป็นครั้งคราวเพื่อหารายได้พิเศษเรื่องราวของปะกาวโทเป็นเหมือนตัวแทนของลูกหลานแรงงานข้ามชาติกนับแสนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่ต้องเลือกทางเดินชีวิตระหว่างโอกาสทางการศึกษาและหารายได้จุนเจือตัวเองและครอบครัวกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยสถิติล่าสุดถึงปี 2559 ว่ามีคนต่างด้าวชาวเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 1,067,410 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ติดตามอายุน้อยกว่า 18 ปี จำนวน 22,807 คน ซึ่งมีความเสี่ยงและมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแรงงานเด็กในกิจการต่าง ๆนายสมพงศ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) นักสิทธิแรงงานข้ามชาติ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ลูกหลานของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ราชบุรี ระยอง และตราดได้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนไทยแล้วกว่า 6,000 คน ตั้งแต่ รัฐบาลไทยจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548“การศึกษาเป็นเหมือนเกราะคุ้มครองให้เด็ก ได้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งลูกหลานของแรงงานต่างด้าว เพราะการศึกษาเป็นสิทธิพื้นฐานของเด็กทุกคน”สมพงษ์ สระแก้ว ผอ.มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) กล่าวเวลาบ่ายสอง วันอังคารเป็นวิชาภาษาไทยของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ห้องเรียนเล็ก ๆ ของโรงเรียนริมอำเภอชายแดนไทย-พม่า จัดเป็น “ห้องเรียนนานาชาติ” ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษาและศาสนา เด็กไทย พม่า และชนกลุ่มน้อยในพื้นที่เรียนร่วมกันในชั้นเรียน อายุก็ของนักเรียนในชั้นก็ต่างกันมากเช่นกัน เด็กอายุมากสุดในชั้นเรียนคือ 18 ปี ในขณะที่อายุเฉลี่ยของเด็กชั้น ป.5 คือ 10 ­ปี“ช่องว่างของอายุ ไม่ใช่ปัญหาของเรียนรู้ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เชื้อชาติ ศาสนาใด ถ้าเด็กอยากเรียน ต้องได้เรียน” ประกาศิต คำสุข ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหัวฝายกล่าวผอ.ประกาศิตกล่าวว่า แม้เด็ก ๆ ข้ามชาติจะไม่มีสัญชาติไทยแต่ถือเป็นหน้าที่ของรัฐไทยที่จะต้องดูแล โดยพวกเขาจะได้รับสิทธิทางการศึกษาเหมือนกับเด็กไทยทุกประการ ทั้งการยกเว้นค่าเล่าเรียน การได้รับอาหารที่ดีมีโภชนาการที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตตามวัย รวมไปถึงเสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียนและรัฐจะต้องจัดค่าใช้จ่ายทางการศึกษารายหัวสำหรับพวกเขาด้วย จากนโยบายที่เปิดกว้างทางการศึกษาของไทยแม้ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับเด็ก ๆ ที่เพิ่งเข้าสู่ระบบการศึกษาของโรงเรียนในระยะแรกเริ่ม เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลง แต่แนวทางของโรงเรียนที่ให้เด็กได้ปรับตัวและพื้นฐานการเรียนรู้ ให้เด็กรู้จักที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมเล็ก ๆ แห่งนี้ ปัจจุบันโรงเรียนบ้านหัวฝายมีนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมด 426 คนและเป็นหนึ่งตัวอย่างในระบบการศึกษาของไทยที่มองเห็นถึงความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กลายเป็นแหล่งสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ มีทักษะชีวิต สามารถปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคมได้ และยั

กรกฎาคม 30, 2023 - 18:17
 0  5
ยูนิเซฟ เผยสถานการณ์เด็กข้ามชาติ ยิ่งไร้การศึกษายิ่งเกิดปัญหา เข้าไม่ถึงโอกาสสังคม

ยูนิเซฟ เผยสถานการณ์เด็กข้ามชาติ ยิ่งไร้การศึกษายิ่งเกิดปัญหา เข้าไม่ถึงโอกาสสังคม

ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีใน 14 จังหวัดชายแดนไทยทั่วประเทศครั้งล่าสุดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่า เด็กที่ครอบครัวไม่พูดภาษาไทยและเด็กยากจน มักมีแนวโน้มเข้าไม่ถึงการศึกษาและไม่ได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ทั้งด้านสาธารณสุข โภชนาการ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต แม้ว่าทั้งหมดจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พวกเขาเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ

นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “เด็กก็คือเด็ก ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครหรือมาจากไหน ไม่ว่าจะเป็นเด็กข้ามชาติ เด็กผู้ลี้ภัย เด็กไร้สัญชาติ หรือเด็กพิการ พวกเขาควรได้ไปหาหมอเมื่อเขาเจ็บป่วย ได้ไปโรงเรียนและสำเร็จการศึกษาเหมือนเด็กคนอื่นๆ เด็กทุกคนต้องการความรัก ความเอาใจใส่ การปกป้อง และโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเติมเต็มความฝันของตัวเองเพื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อย่างที่ตนใฝ่ฝันจะเป็น”

เมื่อเร็วๆ นี้ ยูนิเซฟเปิดตัวแคมเปญ #โอกาสที่เท่าเทียม หรือ #FightUnfair พรัอมจัดทำวิดีโอรณรงค์เรื่อง #เด็กก็คือเด็ก หรือ #AChildIsAChild http://bit.ly/AChildIsAChildTHFull ซึ่งสื่อให้เห็นถึงเด็กบางกลุ่มที่สังคมอาจหลงลืมไป เช่น เด็กข้ามชาติ เด็กยากจน เด็กผู้อพยพ หรือเด็กพิการ เด็กเหล่านี้มักไม่ได้รับโอกาสเท่าเทียมกับเด็กคนอื่น ทั้งๆ ที่พวกเขาต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น โภชนาการที่ดี, การเลี้ยงดูที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพ และการยอมรับและการสนับสนุน เมื่อเราดูวิดีโอชุดนี้จบ อาจทำให้เราฉุกคิดได้ว่า เราไม่ควรปล่อยให้เด็กคนไหนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และหันมาช่วยกันรณรงค์ให้เด็กทุกคนในสังคมมีโอกาสเท่าเทียมกัน

ปะกาวโทชอบเรียนวาดรูป เด็กหญิงสนุกและมีความสุขทุกครั้งที่ได้จับดินสอสีมาขีดเขียนบนกระดาษอาร์ตวาดรูปตามแต่จินตนาการจะพาไป ภาพวาดสีสดใสขนาดใหญ่รูปหญิงช่างตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นผลงานดีเด่นล่าสุดที่นำมาจัดแสดงในงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในหัวข้อแรงงานต่างด้าวสะท้อนจากชีวิตของแม่ซึ่งทำอาชีพนี้หาเลี้ยงครอบครัวรวมทั้งตัวเธอเองอย่างชัดเจน

ในฐานะนักเรียนเรียนดีและนักวาดรูปมือรางวัลประจำโรงเรียนวัดศรีสุทธาราม ปะกาวโทมีฝัน เธออยากเรียนต่อจนจบปริญญาด้านศิลปะและเป็นครู แต่ในความเป็นจริง เด็กหญิงวัย 13 ปี ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหากจบประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วจะได้เรียนต่อระดับมัธยมศึกษาหรือไม่ เพราะที่บ้านอยากให้เธอทำงานและช่วยดูแลน้องชายกับยาย “หากมีโอกาสหนูก็คงได้เรียนต่อ แม้ว่าจะเป็นกศน. ก็ยังดีกว่าไม่ได้เรียน” เธอกล่าว

ปะกาวโทมาเมืองไทยเมื่อเธออายุได้ 4 ปี พร้อมกับแม่ ยาย และน้องชายซึ่งพิการ กิจกรรมประจำวันนอกจากจะเรียนหนังสือแล้ว เด็กหญิงยังช่วยดูแลน้อง ๆ ที่เกิดจากพ่อใหม่อีกสองคนด้วย หากมีเวลาวันหยุดเธอจะไปเยี่ยมพ่อที่มหาชัย และทำงานที่ไซต์งานก่อสร้างเป็นครั้งคราวเพื่อหารายได้พิเศษ


เรื่องราวของปะกาวโทเป็นเหมือนตัวแทนของลูกหลานแรงงานข้ามชาติกนับแสนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่ต้องเลือกทางเดินชีวิตระหว่างโอกาสทางการศึกษาและหารายได้จุนเจือตัวเองและครอบครัว

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยสถิติล่าสุดถึงปี 2559 ว่ามีคนต่างด้าวชาวเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 1,067,410 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ติดตามอายุน้อยกว่า 18 ปี จำนวน 22,807 คน ซึ่งมีความเสี่ยงและมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแรงงานเด็กในกิจการต่าง ๆ

นายสมพงศ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) นักสิทธิแรงงานข้ามชาติ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ลูกหลานของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ราชบุรี ระยอง และตราดได้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนไทยแล้วกว่า 6,000 คน ตั้งแต่ รัฐบาลไทยจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548

“การศึกษาเป็นเหมือนเกราะคุ้มครองให้เด็ก ได้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งลูกหลานของแรงงานต่างด้าว เพราะการศึกษาเป็นสิทธิพื้นฐานของเด็กทุกคน”สมพงษ์ สระแก้ว ผอ.มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) กล่าว

เวลาบ่ายสอง วันอังคารเป็นวิชาภาษาไทยของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ห้องเรียนเล็ก ๆ ของโรงเรียนริมอำเภอชายแดนไทย-พม่า จัดเป็น “ห้องเรียนนานาชาติ” ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษาและศาสนา เด็กไทย พม่า และชนกลุ่มน้อยในพื้นที่เรียนร่วมกันในชั้นเรียน อายุก็ของนักเรียนในชั้นก็ต่างกันมากเช่นกัน เด็กอายุมากสุดในชั้นเรียนคือ 18 ปี ในขณะที่อายุเฉลี่ยของเด็กชั้น ป.5 คือ 10 ­ปี

“ช่องว่างของอายุ ไม่ใช่ปัญหาของเรียนรู้ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เชื้อชาติ ศาสนาใด ถ้าเด็กอยากเรียน ต้องได้เรียน” ประกาศิต คำสุข ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหัวฝายกล่าว

ผอ.ประกาศิตกล่าวว่า แม้เด็ก ๆ ข้ามชาติจะไม่มีสัญชาติไทยแต่ถือเป็นหน้าที่ของรัฐไทยที่จะต้องดูแล โดยพวกเขาจะได้รับสิทธิทางการศึกษาเหมือนกับเด็กไทยทุกประการ ทั้งการยกเว้นค่าเล่าเรียน การได้รับอาหารที่ดีมีโภชนาการที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตตามวัย รวมไปถึงเสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียนและรัฐจะต้องจัดค่าใช้จ่ายทางการศึกษารายหัวสำหรับพวกเขาด้วย จากนโยบายที่เปิดกว้างทางการศึกษาของไทย

แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับเด็ก ๆ ที่เพิ่งเข้าสู่ระบบการศึกษาของโรงเรียนในระยะแรกเริ่ม เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลง แต่แนวทางของโรงเรียนที่ให้เด็กได้ปรับตัวและพื้นฐานการเรียนรู้ ให้เด็กรู้จักที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมเล็ก ๆ แห่งนี้ ปัจจุบันโรงเรียนบ้านหัวฝายมีนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมด 426 คนและเป็นหนึ่งตัวอย่างในระบบการศึกษาของไทยที่มองเห็นถึงความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กลายเป็นแหล่งสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ มีทักษะชีวิต สามารถปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคมได้ และยังเป็นรูปแบบที่ดีของการคุ้มครองเด็กต่างด้าวเพื่อป้องกันการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์ ขณะเดียวกันได้สร้างให้พวกเขาเป็นพลังทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_704804



ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?

like

dislike

love

funny

angry

sad

wow