เรือจ้าง วางพาย ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนครูผู้เสียสละทุกท่าน ที่ได้ทำงานสอนสั่งลูกศิษย์ให้ได้ความรู้
ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนครูผู้เสียสละทุกท่าน ที่ได้ทำงานสอนสั่งลูกศิษย์ให้ได้ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อก้าวเดินไปสู่สังคมอย่างมั่นคง จนครบวาระต้องวางพาย "เกษียณอายุ" ในวัย 60 ปี ขอให้ทุกท่านได้รับอานิสงส์จากความตั้งใจและอุตสาหะอันยาวนานนี้ มีสุขภาพกายที่แข็งแรง มีจิตใจที่สดชื่น มีความสุขกับครอบครัวตลอดไปครับครูคือเรือจ้าง"ครูคือเรือจ้าง" แต่เป็น "เรือจ้าง" ที่ไม่รับค่าโดยสาร ไม่มีค่าบริการใดๆ แต่มีความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ด้วยความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความใส่ใจในการดูแลอย่างดีที่สุดในระหว่างการเดินทางของผู้โดยสารตัวน้อย ค่าตอบแทนที่เรือจ้างได้รับคือ ความสุขใจ ปลื้มปีติใจทุกๆ ครั้งที่เห็นผู้โดยสารถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย และเขาเหล่านั้นสามารถที่จะดำเนินชีวิตที่ดีมีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมที่หล่อเลี้ยงชีวิต ชื่นใจ อิ่มเอมทุกครั้งที่ได้เห็น ได้ยินข่าว ความสำเร็จ ความก้าวหน้าในชีวิตของลูกศิษย์ แม้ว่า ในสมัยนี้ "ผู้โดยสาร" (บางคนที่คิดหรือถูกสั่งให้คิดว่า ตัวเองหัวก้าวหน้า) บางรายจะไม่คิดเช่นนี้แล้ว ด้วยความเข้าใจผิดๆ ว่า "เรือจ้าง" "ครู" หรือ "ผู้รับจ้างสอน" กันแน่ ก็พ่อแม่เราจ่ายเงินจ้างให้มาสอน ทำงานชำระภาษีให้รัฐบาลจ้าง "ครู" มาสอนไม่ใช่หรือ? แต่ผู้ที่ประกอบอาชีพครูเฉกเช่นอาชีพอื่นๆ ไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะว่า "ครู" ไม่ได้มีหน้าที่เพียงเพื่อเดินเข้ามาสอนในชั้นเรียน หมดเวลา หมดคาบ แล้วจากไป แต่ครูได้ทำหน้าที่อื่นๆ ด้วยความเอาใจใส่มากกว่านั้น ทั้งในเวลา นอกเวลา เป็นครูตลอด 24*7 ของลูกๆ ทุกคน คอยชี้แนะแนวทางในการศึกษาหาความรู้ การประพฤติปฏิบัติให้เป็นคนดีในสังคม แนวทางในการเลือกอาชีพ ทำมาหากินในอนาคต แม้ลูกศิษย์จะเรียนจบไปแล้วก็ยังคอยถามไถ่ถึงความสำเร็จของศิษย์อยู่เสมอ ไม่เคยทวงถามถึงบุญคุณนั้นแม้สักนิดเดียวแต่ด้วยเหตุที่เกิด "โรคระบาดร้ายโควิด" ในช่วงที่ผ่านมา 2-3 ปีนี้แหละ ที่ทั้งครูและนักเรียนไม่ได้พบกันในชั้นเรียนเป็นกลุ่มใหญ่เช่นเดิม จึงขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีดังในอดีต กลายเป็นเจอกันในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ ในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต ที่ถึงบ้างไม่ถึงบ้าง บ้างก็ขาดโอกาสไม่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนผ่านช่องทางนี้ จึงทำให้ความสัมพันธ์อันดีห่างหายไปอย่างน่าเสียดาย แต่คุณค่าของความเป็นครูก็ยังไม่หายไปไหนเมื่อถึงวันอำลา คราเกษียณผมได้มีโอกาสเดินทางไปร่วม "งานแสดงมุทิตาจิต" กับเพื่อนครูที่เคารพนับถือในช่วงนี้หลายครั้งหลายครา ก็ได้รับการปรารภจากเพื่อน พี่น้องครูเราหลายคน ต่างก็มาทั้งแสดงความยินดี ทั้งมาปรับทุกข์ด้วยเรื่องราวหลากหลายที่ผมไม่คาดคิด ว่าในยุคสมัยนี้ครูเราจะยุ่งยากหัวใจได้ขนาดนี้ (ยุคผมก็มี แต่ก็เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึง 3 ใน 10 ส่วนแบบนี้) ผมสรุปมาได้แค่ 2 ข้อใหญ่ๆ"ครูผู้เกษียณ" โล่ง ปลอดโปร่ง (ภาษาอีสานบ้านผมต้องออกเสียงดังๆ ว่า "หวางเด้" คือ โล่งใจจริงๆ) เพราะหลุดออกจากวังวนของกองเอกสารรายงานท่วมหัว สารพันงานนอกหน้าที่ในการสอน จึงเห็นสีหน้าและแววตาของผู้เกษียณนั้นเป็นประกายด้วยความสุขจริงๆ"ครูผู้มาร่วมงานมุทิตาจิต" ให้กับรุ่นพี่ๆ หน้าตามีรอยยิ้มแสดงความยิ้มแย้มแจ่มใสกับพี่ๆ ที่ผ่านวัย 60+ ไปได้อย่างภาคภูมิ แต่ตัวเองกลับมีแววตาหมองหม่น เพราะต้องสู้ทนกับงานเอกสารมากมายที่นอกเหนือหน้าที่การสอนของตน ต้องสร้างข้อมูลลับลวงพรางเพื่อให้ผ่านการประเมินที่มากมายหลายขั้น หลายตอน หลายระดับ ต้องเรียนรู้การประดับตกแต่งโรงลิเก ถ่ายหนัง สร้างละครให้ออกมาดูดี หัวยุ่งอยู่กับกองเอกสารรายงานนับร้อยเรื่อง จนกว่า... จะเดินทางถึงเส้นชัยที่อายุ 60+ ดังรุ่นพี่ๆาพนี้ได้มาจากการประเมิน "ครูผู้ช่วย" เฮ้ย! นี่มันคือ การพัฒนาการศึกษาของชาติ แน่หรือ?ผมนั้นมีความภาคภูมิใจ อึ้งกับทุกๆ ท่านที่เดินทางมาจนถึงเส้นชัยในวัย 60+ ได้นะ (เพราะตัวกระผมนั้น ได้กระโดดออกมาจากระบบราชการตั้งแต่วัย 55+ เหตุผลเดียวคือ เบื่อ!) เมื่อสิบปีที่แล้วที่ตอนนั้น กองเอกสารอาจจะมีเพียงแค่หัวเข่า ไม่ได้สูงท่วมหัวอย่างวันนี้ ก็ขอเป็นกำลังใจให้รุ่นน้องๆ เพื่อนครูได้สู่กันต่อไป และคงจะมีทางออกในทางที่ดีทำให้อาชีพ "ครู" มีคุณค่าดังในอดีตอีกครั้ง หวังว่านะ...ผมเห็นประกาศแบบนี้มานาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการที่มานั่งประชุมออนไลน์ เผยแพร่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในสังกัดได้ทราบอย่างทั่วถึง มีการให้รายงานบ้างล่ะ ระหว่างการถ่ายทอดการประชุมต้องแสดงตัวบ้างล่ะ จึงได้เห็นมีป็อบอัพรายงานตัว ชื่อ-สกุล โรงเรียน เขตฯ "ชมอยู่ครับ ภาพ เสียงชัดเจน" (แล้วก็ปิดหน้าจอ ไปไหนไม่รู้ ปล่อยให้คนอยู่หน้ากล้องถ่ายทอดพล่ามไป ส่วนรายงานนั้นครูเราไม่พลาดการ Copy, Paste, Edit (ชื่อเป็นของตัวเอง) & Print ส่งได้เหมือนกัน) มันแก้ปัญหาไม่ได้เพราะอะไร? ก็เพราะ "อัตตา" ของ "กรรมการผู้ประเมิน" ที่ไม่มีความเป็นกัลยาณมิตร ให้ความช่วยเหลือแนะนำ กลับไม่ลืมอดีตในหัวมีแต่กฏเกณฑ์ที่ยกเลิกไปแล้ว (เอกสารรายงาน วิจัย (ลวงๆ) เป็นรูปเล่ม จัดป้ายนิทรรศการ จัดโต๊ะ ห้องประชุม ผูกผ้าประดับพร้อมดอกไม้อลังการยังกับงานมงคลสมรส มี Presentation หวือหวามืออาชีพ) ผู้ประเมินต้องมีกฏมากมายเพื่อแสดงให้เห็นว่า "เฮ้ย! นี่คณะกรรมการเอาจริงเอาจังนะ ไม่ได้ทำเล่นๆ เข้าใจ๋" ก็ท่านเป็นกันเสียแบบนี้ ส่วนผู้รับประเมินทั้งหลายก็ยังมีรากความคิดเดิมๆ คือ ต้องเตรียมให้พร้อม อาหารเครื่องดื่ม ของขวัญ ซองขาว ฯลฯ เอิ่ม! ไม่รู้ว่าเพื่อติดสินบนกรรมการหรืออย่างไร ทำไมไม่ประเมินสภาพจริง ไม่ต้องมาเอิกเกริกกันอย่างนี้มีหลายเสียง หลายๆ บทความจากผู้รู้ นักวิชาการทางการศึกษา ผู้มีความห่วงใยในการศึกษาของชาติ ที่ดาหน้าออกมาพูด มาบอก มาเตือนถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ถูกต้อง แต่ก็เหมือนกับสายลมที่พัดผ่านไม่มีผลกระทบใดๆ เลย ยังมีกรรมการประเมินผู้มีวัยวุฒิ (อายุมาก แต
ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนครูผู้เสียสละทุกท่าน ที่ได้ทำงานสอนสั่งลูกศิษย์ให้ได้ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อก้าวเดินไปสู่สังคมอย่างมั่นคง จนครบวาระต้องวางพาย "เกษียณอายุ" ในวัย 60 ปี ขอให้ทุกท่านได้รับอานิสงส์จากความตั้งใจและอุตสาหะอันยาวนานนี้ มีสุขภาพกายที่แข็งแรง มีจิตใจที่สดชื่น มีความสุขกับครอบครัวตลอดไปครับ
ครูคือเรือจ้าง
"ครูคือเรือจ้าง" แต่เป็น "เรือจ้าง" ที่ไม่รับค่าโดยสาร ไม่มีค่าบริการใดๆ แต่มีความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ด้วยความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความใส่ใจในการดูแลอย่างดีที่สุดในระหว่างการเดินทางของผู้โดยสารตัวน้อย ค่าตอบแทนที่เรือจ้างได้รับคือ ความสุขใจ ปลื้มปีติใจทุกๆ ครั้งที่เห็นผู้โดยสารถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย และเขาเหล่านั้นสามารถที่จะดำเนินชีวิตที่ดีมีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมที่หล่อเลี้ยงชีวิต ชื่นใจ อิ่มเอมทุกครั้งที่ได้เห็น ได้ยินข่าว ความสำเร็จ ความก้าวหน้าในชีวิตของลูกศิษย์
แม้ว่า ในสมัยนี้ "ผู้โดยสาร" (บางคนที่คิดหรือถูกสั่งให้คิดว่า ตัวเองหัวก้าวหน้า) บางรายจะไม่คิดเช่นนี้แล้ว ด้วยความเข้าใจผิดๆ ว่า "เรือจ้าง" "ครู" หรือ "ผู้รับจ้างสอน" กันแน่ ก็พ่อแม่เราจ่ายเงินจ้างให้มาสอน ทำงานชำระภาษีให้รัฐบาลจ้าง "ครู" มาสอนไม่ใช่หรือ? แต่ผู้ที่ประกอบอาชีพครูเฉกเช่นอาชีพอื่นๆ ไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะว่า "ครู" ไม่ได้มีหน้าที่เพียงเพื่อเดินเข้ามาสอนในชั้นเรียน หมดเวลา หมดคาบ แล้วจากไป แต่ครูได้ทำหน้าที่อื่นๆ ด้วยความเอาใจใส่มากกว่านั้น ทั้งในเวลา นอกเวลา เป็นครูตลอด 24*7 ของลูกๆ ทุกคน คอยชี้แนะแนวทางในการศึกษาหาความรู้ การประพฤติปฏิบัติให้เป็นคนดีในสังคม แนวทางในการเลือกอาชีพ ทำมาหากินในอนาคต แม้ลูกศิษย์จะเรียนจบไปแล้วก็ยังคอยถามไถ่ถึงความสำเร็จของศิษย์อยู่เสมอ ไม่เคยทวงถามถึงบุญคุณนั้นแม้สักนิดเดียว
แต่ด้วยเหตุที่เกิด "โรคระบาดร้ายโควิด" ในช่วงที่ผ่านมา 2-3 ปีนี้แหละ ที่ทั้งครูและนักเรียนไม่ได้พบกันในชั้นเรียนเป็นกลุ่มใหญ่เช่นเดิม จึงขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีดังในอดีต กลายเป็นเจอกันในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ ในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต ที่ถึงบ้างไม่ถึงบ้าง บ้างก็ขาดโอกาสไม่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนผ่านช่องทางนี้ จึงทำให้ความสัมพันธ์อันดีห่างหายไปอย่างน่าเสียดาย แต่คุณค่าของความเป็นครูก็ยังไม่หายไปไหน
เมื่อถึงวันอำลา คราเกษียณ
ผมได้มีโอกาสเดินทางไปร่วม "งานแสดงมุทิตาจิต" กับเพื่อนครูที่เคารพนับถือในช่วงนี้หลายครั้งหลายครา ก็ได้รับการปรารภจากเพื่อน พี่น้องครูเราหลายคน ต่างก็มาทั้งแสดงความยินดี ทั้งมาปรับทุกข์ด้วยเรื่องราวหลากหลายที่ผมไม่คาดคิด ว่าในยุคสมัยนี้ครูเราจะยุ่งยากหัวใจได้ขนาดนี้ (ยุคผมก็มี แต่ก็เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึง 3 ใน 10 ส่วนแบบนี้) ผมสรุปมาได้แค่ 2 ข้อใหญ่ๆ
- "ครูผู้เกษียณ" โล่ง ปลอดโปร่ง (ภาษาอีสานบ้านผมต้องออกเสียงดังๆ ว่า "หวางเด้" คือ โล่งใจจริงๆ) เพราะหลุดออกจากวังวนของกองเอกสารรายงานท่วมหัว สารพันงานนอกหน้าที่ในการสอน จึงเห็นสีหน้าและแววตาของผู้เกษียณนั้นเป็นประกายด้วยความสุขจริงๆ
- "ครูผู้มาร่วมงานมุทิตาจิต" ให้กับรุ่นพี่ๆ หน้าตามีรอยยิ้มแสดงความยิ้มแย้มแจ่มใสกับพี่ๆ ที่ผ่านวัย 60+ ไปได้อย่างภาคภูมิ แต่ตัวเองกลับมีแววตาหมองหม่น เพราะต้องสู้ทนกับงานเอกสารมากมายที่นอกเหนือหน้าที่การสอนของตน ต้องสร้างข้อมูลลับลวงพรางเพื่อให้ผ่านการประเมินที่มากมายหลายขั้น หลายตอน หลายระดับ ต้องเรียนรู้การประดับตกแต่งโรงลิเก ถ่ายหนัง สร้างละครให้ออกมาดูดี หัวยุ่งอยู่กับกองเอกสารรายงานนับร้อยเรื่อง จนกว่า... จะเดินทางถึงเส้นชัยที่อายุ 60+ ดังรุ่นพี่ๆ
าพนี้ได้มาจากการประเมิน "ครูผู้ช่วย" เฮ้ย! นี่มันคือ การพัฒนาการศึกษาของชาติ แน่หรือ?
ผมนั้นมีความภาคภูมิใจ อึ้งกับทุกๆ ท่านที่เดินทางมาจนถึงเส้นชัยในวัย 60+ ได้นะ (เพราะตัวกระผมนั้น ได้กระโดดออกมาจากระบบราชการตั้งแต่วัย 55+ เหตุผลเดียวคือ เบื่อ!) เมื่อสิบปีที่แล้วที่ตอนนั้น กองเอกสารอาจจะมีเพียงแค่หัวเข่า ไม่ได้สูงท่วมหัวอย่างวันนี้ ก็ขอเป็นกำลังใจให้รุ่นน้องๆ เพื่อนครูได้สู่กันต่อไป และคงจะมีทางออกในทางที่ดีทำให้อาชีพ "ครู" มีคุณค่าดังในอดีตอีกครั้ง หวังว่านะ...
ผมเห็นประกาศแบบนี้มานาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการที่มานั่งประชุมออนไลน์ เผยแพร่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในสังกัดได้ทราบอย่างทั่วถึง มีการให้รายงานบ้างล่ะ ระหว่างการถ่ายทอดการประชุมต้องแสดงตัวบ้างล่ะ จึงได้เห็นมีป็อบอัพรายงานตัว ชื่อ-สกุล โรงเรียน เขตฯ "ชมอยู่ครับ ภาพ เสียงชัดเจน" (แล้วก็ปิดหน้าจอ ไปไหนไม่รู้ ปล่อยให้คนอยู่หน้ากล้องถ่ายทอดพล่ามไป ส่วนรายงานนั้นครูเราไม่พลาดการ Copy, Paste, Edit (ชื่อเป็นของตัวเอง) & Print ส่งได้เหมือนกัน)
มันแก้ปัญหาไม่ได้เพราะอะไร? ก็เพราะ "อัตตา" ของ "กรรมการผู้ประเมิน" ที่ไม่มีความเป็นกัลยาณมิตร ให้ความช่วยเหลือแนะนำ กลับไม่ลืมอดีตในหัวมีแต่กฏเกณฑ์ที่ยกเลิกไปแล้ว (เอกสารรายงาน วิจัย (ลวงๆ) เป็นรูปเล่ม จัดป้ายนิทรรศการ จัดโต๊ะ ห้องประชุม ผูกผ้าประดับพร้อมดอกไม้อลังการยังกับงานมงคลสมรส มี Presentation หวือหวามืออาชีพ) ผู้ประเมินต้องมีกฏมากมายเพื่อแสดงให้เห็นว่า "เฮ้ย! นี่คณะกรรมการเอาจริงเอาจังนะ ไม่ได้ทำเล่นๆ เข้าใจ๋" ก็ท่านเป็นกันเสียแบบนี้ ส่วนผู้รับประเมินทั้งหลายก็ยังมีรากความคิดเดิมๆ คือ ต้องเตรียมให้พร้อม อาหารเครื่องดื่ม ของขวัญ ซองขาว ฯลฯ เอิ่ม! ไม่รู้ว่าเพื่อติดสินบนกรรมการหรืออย่างไร ทำไมไม่ประเมินสภาพจริง ไม่ต้องมาเอิกเกริกกันอย่างนี้
มีหลายเสียง หลายๆ บทความจากผู้รู้ นักวิชาการทางการศึกษา ผู้มีความห่วงใยในการศึกษาของชาติ ที่ดาหน้าออกมาพูด มาบอก มาเตือนถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ถูกต้อง แต่ก็เหมือนกับสายลมที่พัดผ่านไม่มีผลกระทบใดๆ เลย ยังมีกรรมการประเมินผู้มีวัยวุฒิ (อายุมาก แตสมองน่าจะหยุดพัฒนา) ที่ไม่รับรู้ข่าวสาร ปิดกั้นตัวเองจากสื่อต่างๆ เพียงเพื่อจะวางบทบาทตนเองให้ยิ่งใหญ่ข่ม "ครูน้อย" ทั้งหลายไว้ ก็เท่านั้นเอง เราจะทำอย่างไรจึงจะกำจัดความคิดไดโนเสาร์ เต่าล้านปี ออกจากหน่วยความจำของท่านเหล่านั้นได้บ้างหนอ...
วันนี้ ก็ได้แต่ฝากความหวังไว้กับ "ครูรุ่นใหม่" ที่จะช่วยกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปลดโซ่พันธนาคารต่างๆ ที่เป็นอยู่ให้หลุดพ้นออกไป แน่นอนว่านี่คือ "การบริหารงาน" ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ด้วย "นักบริหารสมัยใหม่" ท่านที่เรียกร้องอยู่ ณ เวลานี้ เมื่อมีโอกาสได้ก้าวสู่ตำแหน่งบริหาร ก็อย่าลืมความตั้งใจที่จะแก้ไขวิธีการเหล่านี้ให้สำเร็จให้จงได้ อย่าไปสิโรราบกับวังวนการบริหารแบบข้าคือผู้ยิ่งใหญ่อย่างเดิมๆ อีกล่ะ ฝากไว้ด้วยครับ
เขียนบทความนี้ขึ้นก็เพื่อแสดงความยินดีกับรุ่นน้องวัย 60+ ที่หมดภาระอันท้าทายหนักอึ้ง มาสู่ความสบายใจ "หวาง" ในอุรา และเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ ที่ยังคงจะต้องต่อสู้กับบรรดาอุปสรรคต่างๆ อีกมากมายในวันข้างหน้าอีกนานนับปี หรือหลายๆ ปี สู้ต่อไปอย่างเพิ่งท้อนะครับ
(อดีต)ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 30 กันยายน 2565
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?