โจทย์ใหญ่… “รัฐบาล-ศธ.” แก้ผล “PISA-TIMSS” รั้งท้ายโลก!!
ที่มามติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 ธันวาคม 2559คอลัมน์การศึกษาเผยแพร่วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2559กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในแวดวงการศึกษาไทย หลังโครงการจัดสอบนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ที่ดำเนินการโดย OECD หรือองค์การความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประกาศผล PISA 2015 อย่างเป็นทางการโดยมีประเทศเข้าร่วมการทดสอบ 70 ประเทศ และกลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการทดสอบวิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ในเด็กอายุ 15 ปี ที่สุ่มตัวอย่างมา 540,000 คนปรากฏว่าไทยอยู่อันดับที่ 55 (วิทยาศาสตร์ อันดับที่ 54 การอ่าน อันดับที่ 57 และคณิตศาสตร์ อันดับที่ 54)โดยมีคะแนนลดลงจากการสอบเมื่อปี 2012 ในทุกวิชา และมีคะแนนอยู่ในอันดับท้ายๆขณะที่สิงคโปร์มีคะแนนขยับขึ้นไปอยู่อันดับที่ 1 แทนจีน (เซี่ยงไฮ้) ที่ได้คะแนนอันดับ 1 ติดต่อกัน 2 ครั้งที่ผ่านมาส่วนประเทศที่ได้คะแนนรองลงมา คือ ญี่ปุ่น เอสโทเนีย ไต้หวัน (ไทเป) ฟินแลนด์ มาเก๊า แคนาดา เวียดนาม ฮ่องกง และจีน (ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, เซียงจู, กวางตุ้ง)โดยประเทศที่ถูกจับตาว่ามีผลคะแนน PISA แบบก้าวกระโดดคือเวียดนาม ประเทศเพื่อนบ้านเรานี่เองผลการทดสอบ PISA 2015 ของไทยครั้งนี้ สอดคล้องกับผลการสอบ TIMSS (Trends in International Mathematics and Science Study) ของสมาคมนานาชาติเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ที่เป็นการวัดความสามารถวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกาศผลก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน ปรากฏว่าคะแนนของไทยอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายเช่นเดียวกันแสดงให้เห็นว่าระบบการศึกษาไทย “อ่อนแอ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า!! ร้อนถึง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ที่ถึงกับบ่นเมื่อรู้ผลอย่างเป็นทางการ พร้อมสั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เร่งเพิ่มคะแนน PISA ให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติได้ตั้งเป้าเพิ่มคะแนน PISA อีก 100 คะแนน ใน 15 ปี โดยให้เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ทันทีโดย “นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์” รัฐมนตรีว่าการ ศธ. มองว่าที่คะแนน PISA ของไทยรั้งท้าย สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนที่มีความพร้อมกับโรงเรียนที่ด้อยโอกาส ไม่ใช่ปัญหาคุณภาพการศึกษาอย่างกลุ่มโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนเน้นด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทำคะแนนได้สูงอยู่ในอันดับเดียวกับกลุ่มประเทศที่มีคะแนนสูงๆอีกทั้งปีนี้เป็นการอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ ทำให้เด็กต่างจังหวัดที่เข้าไม่ถึงไอซีที ทำคะแนนได้ไม่ดี จึงต้องปรับแก้ความเหลื่อมล้ำ ทั้งเรื่องทรัพยากร และครูผู้สอน ส่วนหลักสูตรไม่ต้องแก้ไข เพราะใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศขณะที่ “นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์” ปลัด ศธ. ระบุว่า ได้หารือยุทธศาสตร์การปรับกระบวนการเรียนการสอนกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่าต้องให้ความสำคัญกับเด็กที่มีผลการเรียนอ่อน และปานกลางมากเป็นพิเศษเพราะถ้าเด็กกลุ่มนี้มีคุณภาพดีขึ้น ในการประเมินในระดับนานาชาติ ผลคะแนนจะสูงขึ้นส่วนหลักสูตร PISA จะเน้นประเมินในเรื่องกระบวนการคิดวิเคราะห์ ดังนั้น ศธ. จะกลับมาดูหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน แต่อาจต้องใช้เวลา งานนี้ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ ศธ. “นายภาวิช ทองโรจน์” ฟันธงถึงสาเหตุที่คะแนน PISA ของไทยไม่ได้ดีขึ้น แต่กลับลดลงอย่างมีนัยยะ นอกจากระบบการศึกษาไทยไม่พัฒนา สาเหตุโดยตรงน่าจะอยู่ที่ความรู้ที่มีอยู่ในระบบการศึกษาไทยต่ำกว่ามาตรฐานโลก เด็กไทยไม่สามารถคิดเชิงวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ จึงต้องปฏิรูปหลักสูตร และรื้อระบบการผลิตครูโดยก่อนหน้านี้เคยเสนอ ศธ. 3 แนวทางการเพิ่มคะแนน PISA คือ1. เปลี่ยนวิธีการออกข้อสอบ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกข้อสอบไปข้างหน้า ไม่ใช่ออกตามหลักสูตร แม้เด็กจะสอบตกจำนวนมากก็ไม่เป็นไร แต่ต้องมีแผนที่จะทำให้เด็กสอบตกน้อยลงเรื่อยๆ2. ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนของครู รื้อวิธีการผลิตครูโดยทำเป็นระบบปิดตั้งแต่ต้น ตั้งสถาบันผลิตครูที่มีมาตรฐานของฝ่ายผลิต โดยมีคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ 3. ปรับหลักสูตร โดยเพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เสริมการเรียนรู้ในห้องเรียน แต่ไม่ใช่รูปแบบเดียวกับ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่ ศธ. ทำอยู่ รวมทั้ง ระดับประถมต้น ควรเน้นให้เด็กอ่านได้แตกฉาน แทนที่จะให้เรียนวิชาต่างๆ มากมายแต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริหาร ศธ.!! นักวิชาการจากรั้วจามจุรี “นายสมพงษ์ จิตระดับ” อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นสอดคล้องกับอดีตเลขาธิการ กกอ. โดยเห็นว่าอันดับ PISA ของไทยตกชนิดที่ไม่เงย หรือตกซ้ำซาก สะท้อนว่าการปฏิรูปการศึกษาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่สำเร็จและสิ่งที่ทำให้การศึกษาเดินหน้าไม่ได้ คือ1. ศธ. กำหนดนโยบายและแผนการศึกษาในลักษณะรวมศูนย์ เมื่อลงสู่ฝ่ายปฏิบัติจะเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ และปฏิบัติตามที่ตัวเองเข้าใจ2. ข้อสอบ PISA เป็นสากล สะท้อนผลผลิตที่ต้องคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และกล้าตัดสินใจกับสถานการณ์ที่มีอยู่ แต่การวัดผลของไทยตัดองค์ประกอบเหล่านี้ทิ้งหมด ล้าหลัง ไม่ทันการณ์ ซึ่ง สสวท., สทศ. และ สพฐ. ต้องรับผิดชอบร่วมกัน3. การติวเข้มเพื่อสอบ PISA ถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ เพราะใช้วิชามารเพื่อให้รอดพ้นจากการขายหน้า แทนที่จะแก้ไขโดยสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น4. หลักสูตรที่ใช้อยู่มีเนื้อหาตกยุค ครูสอนไม่เต็มที่ และนอกจากไม่ลด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว ยังเพิ่มเนื้อหาเข้าไปอีกและ 5. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน เป็นแกนหลักของประเทศที่จะนำพาไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 แต่สิ่งที่จะตอบโจทย์ทั้ง 3 เรื่อง กลับไม่มี“ศธ. แถลงข่าวหาข้ออ้างที่ไม่ใช่เหตุผลหลัก โทษความเหลื่อมล้ำ และการเข้าไม่ถึงไอซีทีของเด็กในพื้นที่ห่างไกล ทั้งที่เป็นปัญหาปลีกย่อย แทนที่ผู้บริหาร ศธ. จะนำเสนอปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักให้ พล.อ.ประยุทธ์ รับทราบ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด แต่กลับเกรงใจข้าราชการ รายงานไม่ตรงประเด็น เช่นเดียวกับ สทศ. ต้องยกเครื่อง เลิกใช้ตัวเลขมาทำให้ตัวเอง
ที่มา | มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 ธันวาคม 2559 |
---|---|
คอลัมน์ | การศึกษา |
เผยแพร่ |
กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในแวดวงการศึกษาไทย หลังโครงการจัดสอบนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ที่ดำเนินการโดย OECD หรือองค์การความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประกาศผล PISA 2015 อย่างเป็นทางการ
โดยมีประเทศเข้าร่วมการทดสอบ 70 ประเทศ และกลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการทดสอบวิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ในเด็กอายุ 15 ปี ที่สุ่มตัวอย่างมา 540,000 คน
ปรากฏว่าไทยอยู่อันดับที่ 55 (วิทยาศาสตร์ อันดับที่ 54 การอ่าน อันดับที่ 57 และคณิตศาสตร์ อันดับที่ 54)
โดยมีคะแนนลดลงจากการสอบเมื่อปี 2012 ในทุกวิชา และมีคะแนนอยู่ในอันดับท้ายๆ
ขณะที่สิงคโปร์มีคะแนนขยับขึ้นไปอยู่อันดับที่ 1 แทนจีน (เซี่ยงไฮ้) ที่ได้คะแนนอันดับ 1 ติดต่อกัน 2 ครั้งที่ผ่านมา
ส่วนประเทศที่ได้คะแนนรองลงมา คือ ญี่ปุ่น เอสโทเนีย ไต้หวัน (ไทเป) ฟินแลนด์ มาเก๊า แคนาดา เวียดนาม ฮ่องกง และจีน (ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, เซียงจู, กวางตุ้ง)
โดยประเทศที่ถูกจับตาว่ามีผลคะแนน PISA แบบก้าวกระโดดคือเวียดนาม ประเทศเพื่อนบ้านเรานี่เอง
ผลการทดสอบ PISA 2015 ของไทยครั้งนี้ สอดคล้องกับผลการสอบ TIMSS (Trends in International Mathematics and Science Study) ของสมาคมนานาชาติเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ที่เป็นการวัดความสามารถวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกาศผลก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน ปรากฏว่าคะแนนของไทยอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายเช่นเดียวกัน
แสดงให้เห็นว่าระบบการศึกษาไทย “อ่อนแอ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า!!
ร้อนถึง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ที่ถึงกับบ่นเมื่อรู้ผลอย่างเป็นทางการ พร้อมสั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เร่งเพิ่มคะแนน PISA ให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติได้ตั้งเป้าเพิ่มคะแนน PISA อีก 100 คะแนน ใน 15 ปี โดยให้เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ทันที
โดย “นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์” รัฐมนตรีว่าการ ศธ. มองว่าที่คะแนน PISA ของไทยรั้งท้าย สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนที่มีความพร้อมกับโรงเรียนที่ด้อยโอกาส ไม่ใช่ปัญหาคุณภาพการศึกษา
อย่างกลุ่มโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนเน้นด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทำคะแนนได้สูงอยู่ในอันดับเดียวกับกลุ่มประเทศที่มีคะแนนสูงๆ
อีกทั้งปีนี้เป็นการอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ ทำให้เด็กต่างจังหวัดที่เข้าไม่ถึงไอซีที ทำคะแนนได้ไม่ดี จึงต้องปรับแก้ความเหลื่อมล้ำ ทั้งเรื่องทรัพยากร และครูผู้สอน ส่วนหลักสูตรไม่ต้องแก้ไข เพราะใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ
ขณะที่ “นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์” ปลัด ศธ. ระบุว่า ได้หารือยุทธศาสตร์การปรับกระบวนการเรียนการสอนกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่าต้องให้ความสำคัญกับเด็กที่มีผลการเรียนอ่อน และปานกลางมากเป็นพิเศษ
เพราะถ้าเด็กกลุ่มนี้มีคุณภาพดีขึ้น ในการประเมินในระดับนานาชาติ ผลคะแนนจะสูงขึ้น
ส่วนหลักสูตร PISA จะเน้นประเมินในเรื่องกระบวนการคิดวิเคราะห์ ดังนั้น ศธ. จะกลับมาดูหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน แต่อาจต้องใช้เวลา
งานนี้ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ ศธ. “นายภาวิช ทองโรจน์” ฟันธงถึงสาเหตุที่คะแนน PISA ของไทยไม่ได้ดีขึ้น แต่กลับลดลงอย่างมีนัยยะ นอกจากระบบการศึกษาไทยไม่พัฒนา สาเหตุโดยตรงน่าจะอยู่ที่ความรู้ที่มีอยู่ในระบบการศึกษาไทยต่ำกว่ามาตรฐานโลก เด็กไทยไม่สามารถคิดเชิงวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ จึงต้องปฏิรูปหลักสูตร และรื้อระบบการผลิตครู
โดยก่อนหน้านี้เคยเสนอ ศธ. 3 แนวทางการเพิ่มคะแนน PISA คือ
1. เปลี่ยนวิธีการออกข้อสอบ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกข้อสอบไปข้างหน้า ไม่ใช่ออกตามหลักสูตร แม้เด็กจะสอบตกจำนวนมากก็ไม่เป็นไร แต่ต้องมีแผนที่จะทำให้เด็กสอบตกน้อยลงเรื่อยๆ
2. ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนของครู รื้อวิธีการผลิตครูโดยทำเป็นระบบปิดตั้งแต่ต้น ตั้งสถาบันผลิตครูที่มีมาตรฐานของฝ่ายผลิต โดยมีคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ
และ 3. ปรับหลักสูตร โดยเพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เสริมการเรียนรู้ในห้องเรียน แต่ไม่ใช่รูปแบบเดียวกับ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่ ศธ. ทำอยู่ รวมทั้ง ระดับประถมต้น ควรเน้นให้เด็กอ่านได้แตกฉาน แทนที่จะให้เรียนวิชาต่างๆ มากมาย
แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริหาร ศธ.!!
นักวิชาการจากรั้วจามจุรี “นายสมพงษ์ จิตระดับ” อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นสอดคล้องกับอดีตเลขาธิการ กกอ. โดยเห็นว่าอันดับ PISA ของไทยตกชนิดที่ไม่เงย หรือตกซ้ำซาก สะท้อนว่าการปฏิรูปการศึกษาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่สำเร็จ
และสิ่งที่ทำให้การศึกษาเดินหน้าไม่ได้ คือ
1. ศธ. กำหนดนโยบายและแผนการศึกษาในลักษณะรวมศูนย์ เมื่อลงสู่ฝ่ายปฏิบัติจะเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ และปฏิบัติตามที่ตัวเองเข้าใจ
2. ข้อสอบ PISA เป็นสากล สะท้อนผลผลิตที่ต้องคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และกล้าตัดสินใจกับสถานการณ์ที่มีอยู่ แต่การวัดผลของไทยตัดองค์ประกอบเหล่านี้ทิ้งหมด ล้าหลัง ไม่ทันการณ์ ซึ่ง สสวท., สทศ. และ สพฐ. ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
3. การติวเข้มเพื่อสอบ PISA ถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ เพราะใช้วิชามารเพื่อให้รอดพ้นจากการขายหน้า แทนที่จะแก้ไขโดยสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น
4. หลักสูตรที่ใช้อยู่มีเนื้อหาตกยุค ครูสอนไม่เต็มที่ และนอกจากไม่ลด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว ยังเพิ่มเนื้อหาเข้าไปอีก
และ 5. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน เป็นแกนหลักของประเทศที่จะนำพาไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 แต่สิ่งที่จะตอบโจทย์ทั้ง 3 เรื่อง กลับไม่มี
“ศธ. แถลงข่าวหาข้ออ้างที่ไม่ใช่เหตุผลหลัก โทษความเหลื่อมล้ำ และการเข้าไม่ถึงไอซีทีของเด็กในพื้นที่ห่างไกล ทั้งที่เป็นปัญหาปลีกย่อย แทนที่ผู้บริหาร ศธ. จะนำเสนอปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักให้ พล.อ.ประยุทธ์ รับทราบ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด แต่กลับเกรงใจข้าราชการ รายงานไม่ตรงประเด็น เช่นเดียวกับ สทศ. ต้องยกเครื่อง เลิกใช้ตัวเลขมาทำให้ตัวเองมีอำนาจ แต่กลับไม่มีผลต่อการศึกษาเลย”
นายสมพงษ์ กล่าว
หรือแม้แต่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ก็ออกมาร่วมด้วยช่วยกัน โดย “น.ส.ปัทมาวดี โพชนุกูล” รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สกว. และผู้ติดตามโครงการวิจัย “การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย” หยิบยกผลวิจัยเชิงสถิติ พบว่า นักเรียนไทยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในระดับต่ำมาก
แสดงว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการเรียนการสอนด้านการคิดวิเคราะห์ หรือการวัดผลการคิดวิเคราะห์ในโรงเรียนอาจไม่มีประสิทธิผล
นักเรียนที่เรียนพิเศษสามารถคิดวิเคราะห์มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนพิเศษ ชี้ให้เห็นว่าระบบการเรียนในโรงเรียนในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรปรับปรุงหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น
ส่วน “นายสุธีระ ประเสริฐสรรพ์” นักวิจัยด้านการศึกษา ระบุว่า ที่ไทยได้คะแนนเฉลี่ย PISA น้อย แม้เด็กที่ได้คะแนนอันดับ 1 ของประเทศจะได้คะแนนเทียบเคียงสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำ เพราะเด็กไทยเรียนเพื่อสอบ ไม่ใช่เรียนแบบเข้าใจ ขาดระบบคิดแบบเหตุและผล สิ่งที่ควรแก้ไขคือทักษะการอ่านจับใจความ เข้าใจเรื่องราว เพราะเป็นจุดเริ่มต้นการทำข้อสอบ PISA ถ้านักเรียนไม่เข้าใจโจทย์ก็ทำไม่ได้ การอ่านเพื่อเข้าใจโจทย์เป็นปัญหาใหญ่มาก นับเป็นจุดอ่อน…
เหล่านี้ถือเป็น “การบ้าน” ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องรีบแก้ไข!!
ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_18983
898
ปฏิกิริยาของคุณคืออะไร?